ไหว้พระย่านสามเสน เที่ยวชมโบสถ์เก่า บ้านเขมร บ้านญวน


แวะชิมอาหารเวียดนามยามเช้า ณ ตลาดบ้านญวน สามเสน แล้วเข้าเยี่ยมชมโบสถ์คริสต์ ณ ชุมชมบ้านญวน สามเสน หรืออีกชื่อหนึ่งว่า "วัดญวน"

ก่อนไปไหว้พระที่ วัดเทวราชกุญชรวรวิหารและวัดราชาธิวาสราชวรวิหาร ปิดท้ายด้วยการเรียนรู้เรื่องธนบัติที่ พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทยในวังบางขุนพรหม วังอันโอ่อ่าริมแม่น้ำเจ้าพระยา

กำหนดเดิมควรเป็นเช่นนี้ แต่ด้วยเวลาที่ไม่เอื้อ เลยต้องตัดอาหารเวียดนามยามเช้าและพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย (วังบางขุนพรหม) ออก

จากพื้นที่นาในสมัยกรุงศรีอยุธยา ชุมชนย่านสามเสนได้รับการพัฒนาจนกลายเป็นพื้นที่กรุงเทพฯ ชั้นใน ที่มีสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ตั้งอยู่หลายแห่ง

สามเสนนอกจากจะมีโบสถ์เก่าแก่ที่สุดในกรุงเทพฯ แล้ว ยังมีวัดที่มีศิลปะสวยงาม รวมทั้งวังที่มีสถาปัตยกรรมที่งดงามแบบยุโรปอีกด้วย

ชุมชนสามเสนก่อร่างขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยา เป็นหมู่บ้านประมงเล็กๆ ที่มีชนเชื้่อสายโปรตุเกสอาศัยอยู่บนที่ดินที่ได้รับพระราชทาน และพวกเขาได้ก่อสร้างโบสถ์สำหรับประกอบพิธีกรรมขึ้น นับเป็นวัดคาทอลิคหลังแรกของเมืองบางกอก

มาสมัยรัชกาลที่ ๑ พระองค์โปรเกล้าฯ ให้ชาวเขมรที่หนีภัยจากการจลาจลในกัมพูชามาตั้งบ้านเรือนอยู่ในชุมชมแห่งนี้ เพราะนับถือศาสนาเดียวกัน นานวันเข้าก็เรียกหมู่บ้านแห่งนี้ว่าบ้านเขมร

ถัดไปจากบ้านเขมรไปทางเหนือเล็กน้อย เป็นที่ตั้งของชุมชมชาวญวน หรือชาวเวียดนามที่อพยพหนีภัยสงครามจากประเทศตนเข้ามาอาศัยอยู่ตั้งแต่สมัย รัชกาลที่ ๑

ต่อมาสมัยรัชกาลที่ ๓ ได้มีชาวญวนที่นับถือศาสนาคริสต์หนีการเบียดเบียดทางศาสนาอพยพเข้ามาอยู่เพิ่มขึ้น พระองค์ทรงพระเมตรา จึงทรงใช้พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ซื้อที่ดินพระราชทานให้เป็นที่อยู่อาศัยพร้อมกับสร้างศาสนาที่ทำด้วยไม้ไผ่ให้ใช้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาเป็นการชั่วคราว ต่อมาได้มีการสร้างโบสถ์ก่ออิฐ ถือปูนแล้วให้ชื่อว่า "วัดแซงต์ฟรังซัวซาเวียร์" หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า "วัดญวน"

ในรัชสมัยรัชกาลที่ ๕ พื้นที่บริเวณสามเสนได้รับการพัฒนาขึ้นอย่างมาก เมื่อมีการก่อสร้างพระราชวังดุสติขึ้นบนท้องทุ่งสามเสน ทำให้เกิดการขุดคลองและตัดถนนเพื่อเชื่อมต่อเส้นทางคมนาคมจากวังหลวงมายังพระราชวังแห่งนี้ นอกจากนั้นพระองค์ยังทรงสละพระราชทรัพทย์ส่วนพระองค์ซื้อที่ดินเพื่อสร้างวังพระราชทานแก่บรรดาพระเจ้าลูกยาเธอและเจ้าจอม ส่งผลให้เกิดการสร้างสาธารณูปโภคอื่นๆ ตามมา ได้แก่ ประปา ไฟฟ้า และเส้นทางรถราง ชุมชนสามเสนจึงขยายตัวอย่างรวดเร็วด้วยบรรดาขุนนาง ข้าราชบริพารจำนวนมาก พากันมาตั้งบ้านเรือนใกล้กับวังและตำหนักของเจ้านายพระองค์ต่างๆ กลายเป็นเมืองชั้นใน ในปัจจุบัน

เริ่มต้นที่ตลาดเทวราช ..


เคยมาแล้วครั้งหนึ่งแต่ค่อนข้างนานมาก จำทางไ่ปวัดเทวราชกุญชรวรวิหารไม่ค่อยได้ อาศัยถามทางไปเรื่อยๆ
ถึงสามแยกไฟแดงเลี้ยวซ้ายแล้วเดินเข้าซอยไปหน่อย พอจะคุ้นทางแล้ว ตามมาตามมาครับ

v9ot6xw05toc


วัดเทวราชกุญชรวรวิหาร
เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร เดิมเป็นวัดราษฏร์ วัดเก่าแก่สร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ชื่อเดิม "วัดสมอแครง" เป็นวัดเก่าแก่โบราณ มีมาก่อนกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑ ทรงได้สถาปนาใหม่ ต่อมาเจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษ์มนตรี พระโอรสของรัชกาลที่ ๒ ทรงบูรณะปฏิสังขรณ์

วัดเทวราชกุญชร ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อปี พ.ศ.๒๔๐๐ เหตุที่เรียกว่าวัดสมอแครงเล่ากันว่าเพราะมีต้นสมอร่องแร่งมาก แต่บางท่านสันนิษฐานว่า คำว่าสมอ เพี้ยนมาจากคำว่า ถมอ(ถะมอ) เป็นภาษาเขมรแปลว่าหิน วัดนี้คงเรียกกันครั้งแรกว่าถมอแครง แปลว่า หินแกร่หรือหินแข็ง

ต่อมารัชสมัย รัชกาลที่ ๔ พระองค์ทรงรับเป็นพระอา
รามหลวงและพระราชทานนามว่า "วัดเทวราชกุญชร วรวิหาร" พระองค์ทรงนำคำว่า เทวราชมานำหน้าพระนามของพระองค์เจ้ากุญชร ซึ่งเป็นพระนามเดิมของกรมพระพิทักษ์เทวศรผู้ทรงบูรณะปฏ
ิสังขรณ์วัดนี้


เดินเข้ามาถึงวัดเห็นประตูปิด ไม่แน่ใจว่าเข้าได้ไหม สอบถามคุณป้าที่อยู่ตรงนั้น ได้ความว่าต้องเดินอ้อมไปอีกด้าน มีประตูทางเข้าอยู่อีกด้าน ไม่รอช้าเดินตามทางไป ถึงประตูเปิดอยู่อย่างที่คุณป้าบอก

โบสถ์อยู่ตรงนี้ตั้งตระหว่าน ถอดรองเท้าให้เรียบร้อยเข้าโบสถ์ไปกราบพระ
ใช่แล้ว ที่นี่ เคยมา ฉันเคยมา จำองค์พระได้ ข้างในโบสถ์ค่อนข้างเงียบ วันนี้ไม่ค่อยมีใครเข้ามา ไหว้พระขอพร ขอเก็บภาพรอบๆ

b8jqra4dj1la


เก็บภาพอยู่สักพัก มีคนขึ้นมาไหว้พระ เริ่มมากันหลายคนแล้วตอนนี้ เก็บภาพเสร็จออกไปเดิมชมรอบๆ ต่อ

lwnirs20cien


มณฑปจตุรมุข
เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปเก่าแก่ ใช้เป็นสถานที่สวดมนต์ปฏิบัติธรรมและทำบุญถวายสังฆทาน โดยได้เริ่มทำการก่อสร้าง เมื่อวันที่ ๔ กันยายน ๒๕๓๖
ขนาดของมณฑปจตุรมุขเท่ากันทั้ง ๔ ด้าน คือประมาณ ๑๒.๔๐เมตร ยกพื้นสุงประมาณ ๑.๔๐เมตร พื้นและผนังด้านในมณฑปปูด้วยหินอ่อน แล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๔


เห็นอาคารด้านข้างเปิดประตูอยู่ ไม่แน่ใจว่าคืออาคารใดเข้าไปใกล้ๆ "พิพิธภัณฑ์สักทอง วัดเทวราชกุญชร วรวิหาร" มีคุณป้าเดินออกมาพอดี

ป้าครับ ไม่ทราบว่าที่นี่เข้าได้ไหมครับ
อ๋อเข้าได้ๆ เชิญด้านในเลย
ขอบคุณครับ

r451z7zpzlcv

zn6dy9xv4xey


"พิพิธภัณฑ์สักทอง วัดเทวราชกุญชร วรวิหาร"

ในนี้เป็นพิพิธภัณฑ์สักทอง ลองเข้าไปดูหน่อยสิว่ามีอะไรบ้าง
ถอดรองเท้าเปิดประตูเข้าไปเจอจนท.ยิ้มรับ เชิญครับ ขอบคุณที่แวะมาเยือนครับ ค่าบัตรเข้าเพื่อบำรุงสถานที่ ๓๐บาท โอเครครับ
เชิญชมรอบๆ ได้เลย มีสองชั้น ขึ้นไปชมด้านบนได้นะครับ
ครับ ขอบคุณมากครับ

ข้างในนี้ค่อนข้างเย็นมาก เดินมาร้อนๆเข้ามาด้านในนี้เย็นมาก ไม่รอช้าเดินขึ้นไปชมชั้นบนก่อน

7g7egjzteh9x


30บาท เข้าชมได้เลย

ขึ้นมาถึงชั้นบน โอ้โห.. สวยมากกก ข้างในนี้มีแต่ไม้สัก ไม้สักทองแผ่นใหญ่ เงางาม สวยมาก พื้นเงามันเรียบ ในนี้จัดเป็นห้องแสดงตกแต่งประดับไฟงดงาม สิ่งที่เห็นในห้องใหญ่ด้านซ้ายมือ เป็นห้องที่พิพิธภัณฑ์แสดงหุ่นขึ้ผึ้ง อดีตสมเด็จพระสังฏราช ๑๙ พระองค์ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

l21vn2szlbg4


พิพิธภัณฑ์แสดงหุ่นขึ้ผึ้ง อดีตสมเด็จพระสังฏราช ๑๙ พระองค์ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

เข้าไปชมใกล้ๆ มีตั้งแต่พระสังฆราชองค์แรกไล่มาจนถึงองค์ปัจจุบัน (แต่องค์ปัจจุบันที่ ๒๐ ยังไม่ใช่หุ่นขี้ผึ้ง) หุ่นขี้ผึ้งเหมือนจริงมาก ยกมือไหว้และขอเก็บภาพและประวัติทีละองค์จนครบ

เสร็จจากห้องนี้ห้องด้านขวาถัดไปเป็นห้องแสดงหุ่นขี้ผึ้งพระอริยสงฆ์ ๒๐รูป แห่งกรุงรัตนโกสินทร์เช่นกัน เข้าไปชมใกล้ๆ พร้อมยกมือไหว้และขอเก็บภาพและประวัติที่ละองค์จนครบ

13wxa1em9o75


พิพิธภัณฑ์แสดงหุ่นขึ้ผึ้งพระอริยสงฆ์ ๒๐รูป แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

ข้างบนนี้เป็นไม้สักทองทั้งหลังงดงามมากจริงๆ มีโอกาสอยากให้แวะมาชมกันครับ มีเรื่องราวของอดีตสมเด็จพระสังฆราชและพระอริยสงฆ์ ส่วนด้านล่างมีเรื่องราวต่างๆ อีกมากมาย ยังมีส่วนหนึ่งแสดงเรื่องราวของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ อีกด้วย ภาพเก่าหาชมได้ยาก สวยงามมาก

0rml9z5796q9


คิดถึงพ่อหลวง

aolt69f72ikb


ภาพถ่ายพ่อหลวงและเรื่องราว

vb16z5ay0lu4


เก็บภาพและชมรอบๆ วัดเสร็จจากวัดเทวราชกุญชรไปต่อที่วัดราชานิวาสฯ จำได้ว่าอยู่ถัดไป แต่จะไปอย่างไร ก็ต้องสอบถามทางไปเช่นเคย แต่ระหว่างทางแอบเห็นมีทางเดินต่อไปที่ปลายทางนั่นน่าจะเป็นแม่น้ำเจ้าพระยา ตรงนั้นมีอะไรลองเดินไปหน่อยดีกว่า เดินๆๆ ครับเดินไปเรื่อยๆ สองข้างทางเป็นบ้านเรือนชาวบ้าน เหมือนจะมีที่พักเป็นโฮมสเตย์อยู่บ้าง อืม น่าสนใจๆ ไว้เป็นทางเลือกเผื่อมาพัก

0ysywdbyh3uy


ท่าเรือหลังวัด มีปล่อยปลา วิวมองเห็นสะพานพระราม ๘

xt4mkjsryaf8


ศาลาสำหรับปล่อยปลา

ที่ปลายทางเป็นศาลาท่าน้ำมีให้อาหารปลา มุมที่มองเห็นสะพานพระรามแปด ลมพัดเย็น ปลาที่ท่าน้ำนี้มีพอสมควร เยอะมากนะ เห็นคนให้อาหารปลา ปลาขึ้นมากินหนาแน่นมาก ตัวใหญ่พอประมาณ บรรยากาศรวมร่มรื่นเย็นสบายครับ

8w5wjc87i4n4


ปลาเยอะมากๆ ครับ

เสร็จจากตรงนี้ สถานที่ถัดไป วัดราชานิวาสฯ

เดินออกไปปากซอยเริ่มต้นตั้งต้นใหม่ เดินไปได้นะ อยู่ไม่ไกล หนึ่งป้ายรถเมล์เดินเดี๋ยวเดียวก็ถึง เดินไปสักพักเจอสามแยกเลี้ยวซ้าย มีป้ายอยู่หน้าซอย ระยะทางไปวัดก็ระยะเดียวกับที่เดินเข้าวัดเทวราชกุญชร เดินๆ กันต่อ

41torgjlqeru


ปากทางเข้าวัดราชานิวาส

เดินเข้าซอยไป ฝั่งซ้ายมือและขวามือค่อนข้างต่างกัน ฝั่งซ้ายมือจะเป็นบริเวณวัด ที่ไม่มีพระสงฆ์ ส่วนฝั่งขวามือจะมีพระสงฆ์จำพรรษามีแม่ชี สถานที่ดูร่มรื่น สะอาดตา เดินเข้ามาถึงหน้าโบสถ์พอจำเรื่องราวที่เคยมาได้

j1loig0qu6pa


วัดราชาธิวาส เดิมชื่อวัดสมอราย ผูกพัทธสีเมื่อปี พ.ศ.๒๓๑๐ เดิมเป็นวัดฝ่ายอรัญวาสี (วัดป่า) ต่อมารัชกาลที่ ๔ ทรงพระราชทานนามใหม่ว่า "วัดราชาธิวาสวิหาร" ด้วยทรงปรารถว่า เจ้านายผู้ใหญ่ในพระบรมราชจักรีวงค์หลายพระองค์ ทรงพระผนวชแล้วเสด็จมาบำเพ็ญสมณธรรม รวมทั้งพระองค์ด้วย มีสถานะเป็นพระอารามหลวงชั้นโทชนิดราชวรวิหาร และเป็นพระอารามหลวงฝ่ายธรรมยุต

พระอุโบสถวัดราชาธิวาสวิหาร ซึ่งเป็นวัดต้นกำเนิดพระคณะธรรมยุต ต่างจากพระอุโบสถในยุคเดียวกัน คือเป็นลักษณะนครวัดในประเทศกัมพูชา ทั้งหน้าบัน หลังคา เสารับโครงสร้างและประตูหน้าต่างล้วนแต่ออกไปทางขอมหรือเขมร

8wto2r0x54fp


ตอนนี้ยังเข้าโบสถ์ไม่ได้ยังไม่ถึงเวลา รอ 13.00น. ก่อนค่อยเข้า
ระหว่างรอเก็บภาพไปเรื่อยๆ เดินไปยังพระตำหนักสี่ฤดู สภาพในวันนี้ไม่ต่างอะไรกับที่เคยมาเมื่อหลายปี บรรยากาศยังคงเงียบ สภาพยังพอจะเหมือนเดิม แต่ต้นไม้ใหญ่ใบร่วงหรือรอเวลาแตกใบใหม่กันนะ

x2g7ry2vghlz


ต้นโพธิลังกา พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ ๒) ทรงปลูกไว้

ยังไม่ถึงเวลา 13.00น. กลับมานั่งรอที่หน้าโบสถ์ มีน้องอีกคนมากับคุณแม่ นั่งคุยไปคุยมาทราบว่าจะมาทำเรื่องขอบวช ไปติดต่อพระแล้วพระไม่อยู่ ออกไปข้างนอกเลยมานั่งรอตรงนี้ ระหว่างนี้ก็คุยกันไปเรื่อยๆ มาจากไหน ไปไหน มาทำไร ถ่ายรูปเก็บภาพ พร้อมเล่าเรื่องราววัดนี้คร่าวๆ แบ่งปัน เรื่องราวละแวกใกล้ๆ วัดไหนน่าสนใจอะไรอย่างไร พอได้เป็นข้อมูลสำหรับครั้งหน้า

บ่ายโมงล่ะ ทีแรกก็ว่าจะมีคนมาเปิด ที่ไหนได้ หลวงพี่เปิดจากด้านใน (หลวงพี่อยู่ด้านใน) เปิดแล้วก็เข้าไปไหว้พระขอพร ขอถ่ายรูปเก็บภาพ เรื่องราวที่เคยมาในวันนั้นกับวันนี้สถานที่ยังคงเหมือนเดิม เดี๋ยวไว้เล่าในใต้ภาพ

qvbew5idqmqu

r1zwos8ez1xj



a3vfxqx0e9p0


หลวงพ่อบอกว่าให้ไปดูที่ช้าง ท่าบอกดูให้ดีเวลาเราเดินไปทางไหนช้าจะหันมองตาม เป็นการวดแบบที่ฝรั่งเขานิยมวาดตามแกลลอลี่หรือตามพวกรูปปั้นประมาณนั้น (ถ้ามีโอกาสได้เข้ามาลองสังเกตดูครับ ช้างกำลังมองตามมาจริง)

0qw9t6jmo5mi


27r7cb42h7qq


จิตกรรมฝาผนัง

จิตกรรมฝาผนังพระอุโบสถวัดราชาธิวาสวิหาร เป็นภาพวาดเรื่องเวสสันดรชาดก ๑๓ กัณฑ์ สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงค์ทรงออกแบบ วาดโดยท่านศาสตราจารย์ ริโกลี ชาวอิตาเลี่ยน ผู้ที่วาดภาพฝาผนังพระที่นั่งอนันตสมาคม วาดด้วยสีเฟรสโก มีความสวยงามมาก

4w46mrms246o


j82eeulr34hj


b6dfdpq9y24j


7enoiv917l59


ซ้ายภาพร่างที่สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ได้ทรงร่าง ลักษณะคล้ายๆ ปราสาทนครวัด มองจากด้านนี้จะเห็นค่อนข้างชัด

ขวาภาพเปรียบเทียบ ด้านหน้าโบสถ์หลังเก่า ดังภาพจะเห็นหลังคาแนวขวาง
หลังจากรื้ออาคารด้านหน้าออกแล้ว

ศาลาโบสถ์แพ (หลวงพ่อบอกว่าเดิมเคยอยู่ในน้ำ)
ภาพร่างที่สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงค์ได้ทรงร่างไว้

s5v24fmp2cdm


600v2bluu4ow


x24ldkze19x9

พระตำหนักสี่ฤดู

lvrq4j8mq7om


พระแท่นมนังคศิลาบาตรจำลอง

พ่อขุนรามคำแห่งมหาราช ทรงสร้างในปี พ.ศ. ๑๘๓๕ กาลต่อมาเมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๖ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นไปธุดงค์ทางมณฑลฝ่ายเหนือถึงเมืองสุโขทัย ทรงทอดพระเนตรเห็นพระแท่นมนังศิลาบาตร จึงโปรดเกล้าฯ ให้ส่งลงมาเก็บรักษาไว้ ณ วัดราชาธิวาส

ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๕๔ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงให้ย้ายไปประดิษฐาน ณ พิพิธภัณฑ์ในพระบรมมหาราชวังจนถึงปัจจุบันนี้

60vnvrxg19h8

ศาลาการเปรียญวัดราชาธิวาสวิหาร เป็นอาคารที่รัชกาลที่ ๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นด้วยไม้สักทองทั้งหลัง และสร้างพร้อมๆ กับพระอุโบสถ
ศาลาการเปรียญหลังนี้เคยได้รับยกย่องว่าเป็นอาคารที่สร้างด้วยไม้สักทองที่ใหญ่และสวยงามที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้



เก็บภาพเสร็จสถานที่ถัดไปก็ชุมชมญวน ตามที่เคยไปก็อยู่หลังวัดเลียบริมกำแพง เดินไปเรื่อยๆ จะผ่านชุมชมไปเรื่อยๆ เดี๋ยวก็ถึง ระหว่างทางเห็นที่ปลายท่าน้ำมีเด็กๆ กลุ่มหนึ่งกำลังยืนถ่ายรูป มีฝูงนกพิราบอยู่ข้างหน้า กะด้วยสายตาราวๆ ยี่สิบถึงสามสิบตัวอยู่ตรงนั้น คิดไว้ว่าเดี๋ยวเด็กๆ ก็คงจะแกล้งนก เดินกันมาตรงนี้เร็วๆให้นกตกใจ รอเก็บภาพเลยมีแน่ๆ แล้วก็เป็นอย่างที่คิด หนึ่งสองสาม เด็กๆ สองสามคนเดินเร็วๆ ให้นกบิน จับภาพไว้ได้ทันอย่างที่ต้องการ สวยมากเลย

b3qv142s9cs5


น้องๆ เด็กๆเดินมาทางนีี้ "กรูว่าแล้วพี่เค้าต้องรอถ่าย" น้องๆ มาใกล้ๆ เปิดภาพให้น้องๆ ดู ชอบกันใหญ่หัวเราะกันฮา 555 หัวเราะพอได้หายเหนื่อยไปกันต่อ เดินลัดๆ ไปชมชนญวน จำได้ว่าบ้านญวน ที่บนระเบียงบ้านหรือหลังคาจะมีอะไรสักอย่างที่จะแตกต่างจากบ้านไทย ครั้งนี้เดินหาหลายรอบเข้าซอยนั้นออกซอยนี้ก็ไม่เจอ เจอคุณป้าท่านนึงกำลังนั่งทำเล็บ แต่ไม่ได้ถามหาบ้านดังกล่าวแต่ถามทางไปโบสถ์เก่า คุณป้าชี้มือพร้อมบอกทาง ขอบคุณครับ แล้วเดินต่อ

rxekshug8duj


ทางเดินไปบ้านญวน จำได้ว่าต้องเดินไปทางนี้

aw4cloprttc9


หลายปีที่แล้วมาตรงนี้ก็เห็นป้ายนี้ ครั้งก่อนเป็นป้ายไวนิล แต่ครั้งนี้เป็นป้ายฟิวเจอร์บอร์ด ต่างกันที่ชนิดป้าย แต่ที่เหมือนกันคือข้อความที่ติดอยู่บนนั้น

"การให้ชีวิต ย่อมได้ชีวิตที่ยาวขึ้น...
ยังไงคุณก็สุขใจแล้วที่ตั้งใจทำดี"


fm9g2sqpzaoy


ตรงนี้เป็นทางเข้าเชื่อมต่อไปยังชุมชน มีประตูเล็กๆ อยู่ตรงนี้ (ป้ายบอกเวลาเปิด-ปิด)

c820266954v5


วัดคอนเซ็ปชัญ
เป็นวัดของคริสต์ศาสนา นิกายโรมันคาธอลิก บริเวณที่ตั้งวัดเป็นที่ดินพระราชทาน ซึ่งสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงพระราชทานให้แก่ มิสซังสยาม ซึ่งบริเวณนั้นมี ชาวกุย หรือ ชาวกวย อาศัยอยู่

โบสถ์หลังแรกสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๒๑๗ เรียกกันว่า วัดน้อย ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๒๘ มีชาวโปรตุเกสและชาวเขมรเข้ามาอาศัยอยู่ในบริเวณวัด โบสถ์หลังนี้จึงถูกเรียกว่า โบสถ์บ้านเขมร

ในสมัยของรัชกาลที่ ๓ เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๗๗ ได้มีชาวญวนอพยพเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาพ พระองค์ทรงพระราชทานที่ดินที่อยู่ใกล้กับวัดให้เป็นที่ตั้งบ้านเรือนอยู่อาศัย พร้อมกับพระราชทางทรัพย์สินส่วนพระองค์ให้สร้างโบสถ์ขึ้นอีกหลังหนึ่ง เรียกกันว่า โบสถ์บ้านญวน ส่วนโบสถ์หลังปัจจุบันสร้างขึ้นใน พ.ศ. ๒๓๗๙ โดยสังฆราชปาเลอกัวซ์ ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสในขณะนั้น


เดินมาสักพักก็ถึงหน้าโบสถ์ วันนี้มีรถมาจอดหน้าโบสถ์พอสมควร

oyhzqp9ib9pt


เห็นคุณน้าท่านนึง กำลังรดน้ำต้นไม้อยู่ เลยทักทายและสอบถาม วันนี้โบสถ์ปิดเข้าไม่ได้ ไม่เป็นไร ไว้มาใหม่ ก่อนกลับหันไปเห็นท่าน้ำอยู่ตรงข้ามกับโบสถ์ คุณน้าบอกนั่นเห็นไหมศาลาไกลๆ นั่นในหลวงท่านเสด็จมาที่นี่ ปูพรมแดงกันตั้งแต่นั่นมาจนหน้าโบสถ์ลองเดินไปดูสิ (เราก็นึกว่าเร็วๆ นี้ อ๋อเมื่อนานมาแล้ว) ลองเดินไปดูหน่อย ... เดินผ่านบ้านชาวบ้าน มาถึงท่าน้ำศาลาท่านำ นั่นข้างบนนั้นมีเขียน ศาลารับเสด็จ นี่เป็นศาลารับเสด็จที่ทำไว้เฉพาะกิจ เหมือนว่าในหลวง(ร.๙) ท่านเคยเสด็จมาที่นี่

946x55h6wz70


ที่สุดปลายทางมีศาลารับเสด็จ ในหลวงรัชกาลที่ ๙ เคยเสด็จมาที่ตรงนี้


jtieqpzdfv29


ศาลารับเสด็จ

q3yxxaiuslua


ท่าน้ำหลังชุมชน

ux9c596wibla


และน่าจะเป็นโบสถ์เก่า หลังแรกของกรุงเทพฯ

เสร็จเดินไปต่อ สถานที่ถัดไปโบสถ์ญวน เดินลัดเลาะไปตามตรอกซอกซอย

zc8vd5aaz0i6

ระหว่างทางเดินไปโบสถ์อีกหลัง ชาวบ้านเรียกว่าโบสถ์หน้า


kym93wzxqg64


หาบานญวนลักษณะเก่าแบบที่ต้องการไม่เจอแล้ว ลักษณะที่จะบอกได้ว่านี่คือบ้านญวน เดินหาเดินมองอยู่นานไม่เห็นไม่เจอสักหลัง

jen3djmrlzjy


รู้สึกเหมือนจะหิวยังไม่ได้กินอะไรแต่เช้า เห็นร้านเล็กๆ น่าจะเป็นผัดไท ไม่รอช้าสั่งผัดไทมารองท้อง

bah92tdacnrl

ระหว่างรอผัดไทคุยกับคุณน้าเจ้าของร้าน ถามทางไปโบสถ์และชุมชน คุณน้าพูดบอกทั้งแนะนำ ครับๆ ได้เลย ผัดไทเสร็จพอดี แบบนี้แหละครับที่ต้องการ ร้านค้าเล็กๆ ไม่่ต้องดีมากมาย กินแบบนี้ง่าย อร่อยด้วย แถมได้คุยสนทนากับเจ้าของร้านเป็นกันเองดี ข้อมูลที่ต้องการอยากได้อยากฟังมีมาให้หมด

scbdplu6x4t7


เติมพลังเสร็จแล้วรีบไปต่อบ่ายกว่าแล้ว เดินมาอีกสักพักก็มาถึงโบสถ์เก่าอีกหลัง (ชาวบ้านเรียกว่าโบสถ์นอก)

hvtjotdwl9ed


เดินมาสักพักก็ถึง โบสถ์หน้าที่ชาวบ้านเรียกกั


ใช่ครับ ข้างในเหมือนเคยเข้าไปสวยมากวันนี้มีงานอีกสักพักจะมีงานแต่งงาน ขอเข้าไปเก็บภาพข้างในอีกสักหน่อย

voqahiy0h6v5


6qebyvsedfgc


วัดนักบุญฟรังซิสเซเวียร์

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจาอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ทรงพระกรุณาโปรเกล้าฯ ให้ คริสตังญวน จำนวนประมาณ ๑,๓๕๐ คน ซึ่งหนีภัยสงครามและการเบียดเบียนทางศาสนาในประเทศญวน มาขอพึ่งพระบรมโพธิสมภานในประเทศไทย โดยเข้ามาตั้งบ้านเรือนอยู่ในบริเวณวัดส้มเกลี้ยง เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๗๗ และพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ เพื่อซื้อที่ดินบริเวณใกล้เคียงเพิ่มเติมให้เป็นที่อยู่อาศัย และเพื่อสร้างวัดหลังแรก ซึ่งเป็นวัดชั่วคราว ทำด้วยไม้ไฟ่ ใช้ชื่อว่า วัดแซงต์ฟรังชัวซาเวียร์ (ออกเสียงเป็นภาษาฝรั่งเศส) วัดหลังแรกนี้อยู่ได้เพียง ๓ ปีเท่านั้น เพราะในปี พ.ศ.๒๓๘๐ ได้เกิดพายุใหญ่ วัดเสียหายหมด พระคุณเจ้า กูรเวอซี ประมุขมิซซังกรุงสยามในสมัยนั้น ได้ออกเงินให้สร้างวัดใหม่ ทำด้วยไม้ ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๓๙๖ คุณพ่อ ปีแอร์ เมาริส ยิบาร์ตา ซึ่งได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส เห็นว่า วัดไม้หลังที่สองเป็นวัดเล็ก ไม่เพียงพอสำหรับสัตบุรุษ จึงเริ่มขอเงินบริจาค และเริ่มสร้างวัดหลังใหม่ เป็นวัดใหญ่ ก่ออิฐถือปูน ตามแบบสถาปัตยกรรมยุโรป ซึ่งเป็นวัดหลังปัจจุบันนั่นเอง โดยใชเวลาก่อสร้างประมาณ ๑๐ ปี มีมิซซาสมโภชฉลองอย่างมโหฬาร โดยพระคุณเจ้า โยเซฟ ดูปองค์ ในวัดฉองนักบุญ ฟรังซิสเซเวียร์ ในปี พ.ศ. ๒๔๑๐ ปัจจุบันเรียกวัดนี้ โดยออกเสียงเป็นภาษาอังกฤษว่า วัดนักบุญฟรังซิสเซเวียร์


69l5ulnmrbw4


สารนักบุญ


จวนใกล้เวลางานแต่งออกจากโบสถ์เจอคุณยายที่นั่งทำเล็กเมื่อสักพักที่เดินผ่าน คุณยายยิ้มให้

ntwiif0c2q0f


อ้าวคุณยายเมื่อกี้เห็นคุณยายอยู่ตรงโน้น อ๋อ ยายมารับงาน ดูข้างๆ มีรถเข็นเป็นอุปกรณ์ทำเล็บล้างเล็บ คุณยายรับงานตามบ้านนี่เอง คุณยายบอกบ้านเก่าบ้านญวนเดี๋ยวนี้ไม่ค่อยมีแล้ว เขาทำใหม่หลังเก่าบ้างก็เป็นบ้านปูน บ้านญวนเก่าหลังเก่าที่เคยมีรั้วระเบียงก็เปลี่ยนไปใหม่ทำใหม่แทบจะไม่มีหลงเหลือแล้ว


นั่นแหละที่ตามหา ไม่มีแล้วจริงๆ คุณยายพูดขึ้นมา เดี๋ยวนะ มีอีกหลังเข้าไปสุดซอยอยู่ซ้ายมือ ต้นไม้ใหญ่ๆตรงต้นไม้ใหญ่ๆ นั่น

โอเครครับลองเดินไปดูอีกรอบ เดินไปสักพักก็เจอต้นไม้ใหญ่ ที่ใกล้ๆมีบ้านหลังสีเขียวๆ สภาพค่อนข้างเก่า มีชาวบ้านสี่ห้าคนนั่งอยู่ตรงต้นไม้กำลังพูดคุยอะไรกัน

ขอโทษนะครับ พอดีจะหาบ้านญวนเก่าๆ ไม่ทราบแถวนี้มีไหม

น้าๆ ที่นั่งอยู่มองหน้ากันแล้วก็ อ๋อ ไม่มีหรอก หลังเก่าๆ เดี๋ยวนี้ทำใหม่กันหมดแล้ว (เราก็อธิบายสิ่งที่เราอยากเห็น) คุณน้าบอกว่านี่ไงหลังนี้
เก่าสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง พวกญี่ปุนมาขึ้นบ้านหลังนี้ ดูจากสภาพแล้วค่อนข้่างเก่าจริง คุณน้าบอกเดี๋ยวดูให้ว่ามีคนอยู่ไหม ข้างในบ้านหลังนี้ มีไม้แผ่นเท่านี้ (พร้อมทำมือ) ดูจากสภาพและบรรยากาศรอบๆ อ่อ..ไม่ต้องก็ได้ครับ ขอถ่ายจากตรงนี้ก็ได้ ยกมือขึ้นไหว้ขออนุญาตเก็บภาพ โอเครครับ ถ่ายไว้สักรูปก็พอครับ ขอบคุณๆ น้าและเดินกลับไปยังวัดญวนเมื่อครู่นี้

eqmn5bloaxzc


บ้านญวนหลังเก่า ที่น่าจะเหลือเป็นอีกหลังสุดท้ายในละแวกนี้

9u3tbyrgfklt


ลักษณะบ้านโดยทั่วไป เหมือนบ้านไทย แต่เมื่อก่อนที่เคยมา บริเวณหน้าต่างบนจั่วระเบียง จะมีจั่วหรือมีอะไรสักอย่าง มองแล้วรู้เลยว่าไม่ใช่บ้านไทย แต่ปัจจุบันนี้หาไม่พบเจอแล้ว


พอเดินมาถึงคุณยาย อ้าวว คุณยายได้ลูกค้า คุณยายกะคุณน้าอีกคนก็บอก นี่ๆมีอีกหลังนะ นึกได้ เก่าเลย เป็นบ้านคุณหลวง คุณหลวงมีบ้านริมน้ำ เคยใช้ถ่ายละครหลายเรื่องเลย หนูจำทางเดินที่มาตรงนี้ได้ไหม ท้ายวัดราชานิเวสฯ หนูมาที่นี่เลี้ยวขวาใช่ไหม แต่บ้านเก่าหลังนั้นอยู่ทางซ้าย เลีียบไปทางซ้าย อืม... นึกออกครับ แต่ไกลเหมือนกันถ้าจะย้อนกลับไป
นั่นแหละหลังนั้นเลยเก่าเลย บ้านญวนเก่าโบราณเลย โอเครครับไว้ครั้งหน้าค่อยแวะมาใหม่ วันนี้บ่ายแล้วเดี๋ยวกลับบ้านไม่ทัน

ก่อนกลับขอเก็บภาพคุณยายและคุณน้าไว้หน่อย สองคนยิ้มหัวเราะให้อย่างมีความสุข แบบสนุกคนเก็บภาพก็สนุก มีความสุขไปด้วยกัน

odwgl0mit20w


ร่ำลาทั้งสองคนขอตัวกลับมีโอกาสจะแวะกลับมาใหม่ เดินอ้อมไปหน้าวัด มุมนี้ยังเหมือนเดิมมีร้านค้ามาตั้งรถเข็นขายของ เก็บภาพแล้วมองไม่เห็นป้ายชื่อ

jbm7f7pxxtc1


แต่ไม่เป็นไร รีบกลับดีกว่าวันนี้เวลาจะหมดแล้ว ระหว่างเดินออกไปปางทางเพื่อรถรถเมล์ไปท่าราชวรดิฐเพื่อขึ้นรถกลับบ้าน ผ่านสุสาน หันไปเก็บป้ายไว้สักหน่อย

nimeavk8cj85


ได้เวลาเดินทางกลับ ทำเวลาได้ตามที่วางไว้ ภาพไม่ค่อยสวยแต่ก็ได้เรื่องราวๆ ดีๆ อีกเช่นเคย จบไปอีกหนึ่งทริปเบาๆ วันหยุดของฉัน

ขอบคุณทุกท่านที่ติดตามและสวัสดิี
คนทะเล

zoonvors

#สามเสน
#สามเสนเส้นทางแห่งศรัทธา
#ซอกแซกบางกอก

Vorayooth Panakul

zoonvors

 วันพฤหัสที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2561 เวลา 23.56 น.

ความคิดเห็น