สวัสดีนักเดินทาง
มาถึงคิวสังขละบุรี ส่วนหนึ่งในจังหวัดกาญจนบุรี ที่ติดต่อกับชายแดนพม่า ห่างจากตัวเมืองประมาณ 215 กิโลเมตร การเดินทางจากกรุงเทพมหานครก็ใช้เวลาถึง 5 ชั่วโมงหากเดินทางด้วยรถยนต์ โดยสังขละบุรีมีแม่น้ำซองกาเลียที่ต้นกำเนิดจากในประเทศพม่าไหลผ่านหล่อเลี้ยงผู้คนสองฟากฝั่งแม่น้ำ แม่น้ำซองกาเลียจึงเป็นชื่อเรียก จากภาษามอญแปลเป็น ไทยว่า"ฝั่งโน้น"
การแบ่ง 2 ฟากฝั่งด้วยแม่น้ำซองกาเลีย คือ ฝั่งหนึ่งคือตัวอำเภอ คนส่วนใหญ่เป็นคนไทยที่พูดภาษาไทย ส่วนฝั่งโน้นเป็นหมู่บ้านของชาวมอญทั้งที่ตั้งรกรากมานานนับร้อยปี จึงถือว่าป็นเมืองที่มีความงามหลากหลาย ทางเชื้อชาติและวัฒนธรรมของพี่น้องต่างเผ่าพันธุ์ ทั้งมอญ กระเหรี่ยง ไทย ลาว พม่า โดย ตัวอำเภอตั้งอยู่บริเวณที่เรียกว่า"สามประสบ" คือบริเวณ ที่ลำน้ำสามสาย อันได้แก่ ห้วยซองกะเลีย ห้วยบิคลี่ และห้วยรันตี ไหลมาบรรจบกันเป็นของแม่น้ำแคว
มาที่นี้อย่างแรกที่นึกถึงคือ <strong>สะพานมอญ</strong> หรือที่ เรียกกันว่า"สะพานไม้อุตตมานุสรณ์" เป็นสะพานไม้ที่ยาวที่สุดในประเทศ ยาวประมาณ ๑ กม. หลวงพ่ออุตตมะผู้ริเริมก่อสร้างเพื่อให้คนไทย กะเหรี่ยงและมอญได้สัญจรไปมาหาสู่กัน เป็นการสร้าง ความสัมพันธ์ของคนทั้งสามกลุ่ม ใครมาที่นี้ก็ต้องเดินชมสะพาน ชมแสงของพระอาทิตย์ขึ้นในยามเช้า ชมวิถีชีวิตของชาวไทยและมอญที่เดินข้ามไปมาหากัน
ในช่วงเช้าสิ่งแรกที่มามาที่นี้คือการได้แ<strong>แต่งชุดมอญ</strong>เดินไป<strong>ตักบาตรพระ</strong>ฝั่งหมู่บ้านมอญ เวลาประมาณ 6.30น. ซึ่งพวกเราก็ไม่พลาดกิจกรรมนี้
บนสะพานมอญแห่งนี้ยังถ่ายทอดวิธีชีวิตของคนมอญให้เราได้สัมผัสตลอดริม 2 ฝั่งของแม่น้ำ ไม่ว่าจะกิจกรรมชีวิตประจำวัน การทำมาหากิน รวมทั้งกิจกรรมของการท่องเที่ยวเอง ก็ไม่หยุดนิ่ง
ส่วนสีสันบนสะพานก็คึกคักไม่แพ้กัน ประทับใจที่สุดก็คงไม่พ้นบรรดาเด็กๆผู้บริการสร้างสีสันบนใบหน้าด้วยทานาคา ที่แสนจะสดใสและน่ารัก และที่สำคัญเป็นมิตรกับกล้องถ่ายรูปสุดๆ โดยเฉพาะ เด็กหญิงพิมใจ
เดินผ่านไปบนสะพานหากไม่ช่วงเวลาเย็นๆ แดดร่มลมตกก็จะมีกิจกรรมของเด็กตัวเล็ก โดดน้ำโชว์กันอยู่หลายรอบ สำหรับนักท่องเที่ยวท่านใดมีน้ำใจก็แบ่งสตางค์ให้ค่าขนมน้องๆแลกกับการกระโดดนน้ำโชว์ให้ดู
มาสังขละแล้ว การได้ล่องเรือไป วัดจมน้ำ เมืองบาดาล ก็เป็นสิ่งที่พลาดไม่ได้ การหาเรือก็มีตั้งแต่เป็นรายคน หรือเหมาทั้งลำเฉพาะกลุ่มเพื่อนก็มีบริการ ก็สามารถติดต่อที่สะพานมอญได้เลย .. หรืออย่างพวกเรานอนพักที่ พนธ์นที รีสอร์ท มีบริการเรือมารับที่ท่าเรือของโรงแรมเลย สะดวกมาก...
ระหว่างทาง มองเห็นจากแม่น้ำซองกาเลีย <strong>พระเจดีย์พุทธคยา</strong> เป็นปูชนียสถานที่สำคัญคู่กับวัดวังก์วิเวการาม เป็นเจดีย์องค์ใหญ่นี้ตั้งตระหง่านอยู่บนเนินเขาใกล้ริมฝั่งแม่น้ำ มีสีเหลืองทอง
<strong>วัดใต้น้ำ หรือ วัดจมน้ำ</strong> คือวัดวังก์วิเวการามเดิมที่มีซากโบราณสถานจมอยู่ใต้น้ำ เป็นสถานที่เล่าขานถึงตำนานความเป็นมาของวัดหลวงพ่ออุตตมะ จนหลายคนเรียกกันว่าเมืองบาดาล นักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวในช่วงฤดูร้อนถึงต้นฤดูฝน ตั้งแต่ประมาณเดือนมีนาคม – มิถุนายน เป็นช่วงหน้าแล้ง น้ำจะลดลงมาก จะสามารถเดินเข้าไปเยี่ยมชมโบสถ์เก่าได้ แต่เรามาช่วงฤดูหนาว ตั้งแต่ประมาณกันยายน – มกราคม ก็ได้เห็นแค่บางส่วนของตัวโบสถ์ที่โผล่พ้นน้ำ
<strong><span class="bold">วัดสมเด็จ(เก่า</span>)</strong>
ตั้งอยู่ตรงข้ามกับเมืองบาดาลเป็นอุโบสถของวัดสมเด็จเก่า ที่ถูกทิ้งร้าง เมื่อคราวย้ายเมืองสังขละบุรี ตอนที่เริ่มมีการสร้างเขื่อนเขาแหลม (เขื่อนวชิราลงกรณ ในปัจจุบัน) วัดนี้ตั้งอยู่บนเนินเขาไม่ได้จมอยู่ใต้น้ำ ภายในอุโบสถมีพระประธานสภาพยังค่อนข้างสมบูรณ์ ต้องลงเรือที่ท่าแล้วเดินขึ้นบันไดไปสักพัก
<span class="bold">สถานที่ต่อมา ขึ้นจากเรือเพื่อขึ้นรถเดินทางไป <strong>วัดวังก์วิเวการาม (วัดหลวงพ่ออุตตะมะ)</strong> </span>ประดิษฐานพระพุทธรูปหินอ่อนอันงดงามและเป็นที่จำพรรษาของ หลวงพ่ออุตตมะ ซึ่งประชาชนชาวไทย ชาวมอญ เคารพนับถือ ตั้งอยู่บนเนินสูงในบริเวณที่เรียกว่า สามประสบ เพราะมีแม่น้ำ 3สายไหลมาบรรจบกัน คือแม่น้ำซองกาเลีย แม่น้ำบีคลี่ และแม่น้ำรันตี
<span class="bold"><strong>เจดีย์พุทธคยา</strong> </span>เป็นเจดีย์องค์ใหญ่ บนยอดเจดีย์ประดับด้วยฉัตรทองคำหนัก 400 บาท เป็นที่ประดิษฐาน พระบรมสารีริกธาตุที่หลวงพ่ออุตตมะอัญเชิญมาจากประเทศศรีลังกา ที่หลวงพ่ออุตตามะให้้สร้างจำลองขึ้น เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาติ กระดูกนิ้วหัวแม่มือขวาของพระพุทธเจ้าที่ขนาด เท่าเมล็ดข้าวสาร ไว้เป็นที่ สักการะของพุทธศาสนิกชน เจดีย์แบบพุทธคยา มีลักษณะฐาน เป็น รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส
<strong>ถนนคนเดินสังขละบุรี </strong>จัดขึ้นในทุกเย็นวันเสาร์ และวันหยุดช่วงเทศกาล ณ บริเวณถนนด้านข้างโรงแรมศรีแดง ใกล้ตลาดสดเทศบาลสังขละบุรี ตั้งแต่ 17.00 – 22.00 น. มีทั้งของกิน ของพื้นเมือง โดยเฉพาะมีการแสดงของน้องๆนักเรียน ซึ่งเป็นเจ้าถิ่นสังขละบุรี แต่งกายพื้นเมือง สร้างสีสันในถนนคนเดินคึกคักเลยทีเดียว
และทีเด็ดที่นี้ หมูจุ่มพม่า....
ของที่ระลึกก็หลากหลาย....
และนี่แหละ เสน่ห์...สังขละบุรี
ขอบคุณสำหรับการติดตาม
Be Traveler
Be Traveler
วันอังคารที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 เวลา 16.30 น.