l458oyjctd8x

น้องสตางค์ สต๊าฟของอาสามาด้วยกัน กล่าวต้อนรับทุก ๆ ท่านและเล่ารายละเอียดทริปคร่าว ๆ บนรถ

เป็นครั้งที่สองแล้ว สำหรับการออกค่ายกิจกรรมไปกับ "กลุ่มอาสามาด้วยกัน" (ทริปแรกคือ “อาสาพาออเจ้า เลี้ยงข้าวคนชรา ทัศนศึกษาตามรอยละคร” กับ "กลุ่มอาสามาด้วยกัน") ซึ่งทริปแรกนั้น ค่อนข้างสบาย ๆ ไปเลี้ยงอาหารป้า ๆ ลุง ๆ แล้วเที่ยวชมความงามของอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา แต่ครั้งนี้ แตกต่างจากครั้งก่อนแน่นอน เพราะเราจะไป "ทำฝาย ทำโป่ง เพาะกล้า ยิงเมล็ดพันธุ์กัน"

fif4jtgcqt4r

สถานที่ ๆ เราจะไปกันในครั้งนี้ อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน เรียกว่า เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่น้ำภาชี ทันทีที่ทุกคนขึ้นรถกับพร้อมเพรียง ล้อหมุน สต๊าฟของกลุ่มฯ ซึ่งครั้งนี้คือ น้องสตางค์ก็มาให้รายละเอียดคร่าว ๆ ของการทำกิจกรรมในครั้งนี้

fj4jvlkxctk4

ต้นกล้าที่รอการนำลงดิน

uoz1sdndldzc

นั่งรถไปประมาณ 3 ชั่วโมง เราก็เดินทางสู่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่น้ำภาชี จังหวัดราชบุรี กันแล้ว เนื่องจากป่าแม่น้ำภาชีในท้องที่ตำบลสวนผึ้ง ซึ่งเนื้อที่ประมาณ 489.31 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 305,820 ไร่ มีลักษณะภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน สภาพป่าเป็นป่าต้นน้ำลำธาร มีสภาพเป็นป่าดงดิบ ป่าเบญจพรรณ และ ทุ่งหญ้า มีแหล่งน้ำและแหล่งอาหารของสัตว์ป่า อยู่อย่างอุดมสมบูรณ์ และมีสัตว์ป่าหลายชนิดอาศัยอยู่อย่างชุกชุม เช่น ช้าง กระทิง เลียงผา กวาง อีเก้ง หมี เสือ ลิง ค่าง ชะนี นก และสัตว์เลื้อยคลานชนิดต่าง ๆ

9qhlubngg94z

เดินเรียงแถวเข้าไปยังสำนักงานของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฯ

1pm2jkvi0497

ฉะนั้นเพื่อ ให้เป็นที่อยู่ของสัตว์ป่าโดยปลอดภัยและรักษาไว้ซึ่งพันธุ์สัตว์ป่า รวมทั้งเป็นการช่วยป้องกันรักษาต้นน้ำลำธารและป่าไม้ ตลอดจนสภาพสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ ที่มีอยู่ในพื้นที่แห่งนี้ให้คงอยู่ตลอดไป จึงได้มีการกำหนดบริเวณดังกล่าวให้เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2503 เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่น้ำภาชี ได้รับการจัดตั้งโดยตราพระราชกฤษีกาขึ้น เรียกว่า "พระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าแม่น้ำภาชี " เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2521

hxx5xxf8ob12

สำนักงานของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่น้ำภาชี

9wgnvjs6cgrx

เมื่อมาถึงบริเวณที่ทำการ น้อง ๆ สต๊าฟของกลุ่มอาสามาด้วยกัน ก็เริ่มกิจกรรมด้วยการสันทนาการ เพื่อสร้างบรรยากาศเป็นมิตร และสร้างความครื้นเคร่งก่อนที่จะรับฟังข้อมูลเกี่ยวกับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแห่งนี้

xmvns68w1oye

ผู้ร่วมกิจกรรมเต้นไก่ย่าง

rl1pdj1b1ncs

เกมส์ต่าง ๆ

d2wcfhddi9kg
nlk7sct347k7

ผู้แพ้ต้องออกมาเต้น ส่วนผู้ชนะก็รับรางวัลเป็นเสื้อจากอาสามาด้วยกัน

mq1vqunf0nws

บรรยายเกี่ยวกับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่น้ำภาชี

ด้วยลักษณะภูมิประเทศของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่น้ำภาชี เป็นภูเขาสูงสลับซับซ้อน ช่วงชั้น ทำให้เกิดชนิดป่าหลายชนิดกระจายอยู่บนพื้นที่ที่มีความสูงต่าง ๆ กัน ประกอบด้วยป่า 4 ประเภทคือ

1. ป่าดิบชื้น (Evergreen Forest) ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด 27,523.8 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 9 ของพื้นที่ โดยมีการกระจายอยู่ทางตอนใต้และตะวันตกของพื้นที่และบริเวณลำห้วยสายใหญ่ๆ กระจายอยู่ในหลายระดับความสูง เช่น บริเวณ ลำห้วยพุน้ำร้อย ห้วยต้องกินเจ้า ห้วยพุระกำ และหุบเขาจมูก เป็นต้น

สภาพโดยทั่วไปของพื้นที่จะรกทึบ ประกอบไปด้วย ไม้ยืนต้น ไม้พุ่ม หวายและเถาวัลย์ชนิดต่างๆ เป็นไม้ที่เป็นดัชนีสำคัญ ได้แก่ ตะเคียนทอง กระบาก หว้า กระทุ่มน้ำ นอกจากนี้ยังพบกล้วยไม้และเฟิร์นอีกหลายชนิด เช่น ชายผ้าสีดา

6xj7celrwhiu

หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่น้ำภาชี

2. ป่าดิบแล้ง (Dry Evergreen Forest) ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 204,899.4 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 67 ของพื้นที่ พบกระจายอยู่ทางตอนกลางและตอนใต้ของพื้นที่ ซึ่งปกคลุมพื้นที่มากที่สุด ลักษณะภูมิประเทศที่พบการกระจายตัวของป่าประเภทนี้ ได้แก่ สันเขา หุบเขา และบริเวณลำห้วยที่มีน้ำเฉพาะในช่วงฤดูฝน ในช่วงหน้าแล้งจะมีไฟป่าเกิดขึ้นในบางแห่ง องค์ประกอบของพันธุ์ไม้เรือนยอดที่เด่น ได้แก่ สมพง ยางนา กร่าง ข่อยหนาม ตาเสือ ฯลฯ ส่วนไม้ชั้นรองและไม้พุ่มที่ปรากฏในป่าชนิดนี้ ได้แก่ มะปริง พลองขาว มะเดื่อปล้อง มีกล้วยป่า เฟิร์นและหวาย กระโถนฤาษี ขนุนดิน เป็นไม้พื้นล่าง

xeg7gl7b7bo3

อาหารมื้อเที่ยงของเราวันนี้

3. ป่าเบญจพรรณ (Deciduous Forest) ครอบคลุมพื้นที่ 55,047.6 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 18 ของพื้นที่ พบตอนเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือของพื้นที่ ลักษณะเด่นที่ปรากฏในป่าชนิดคือป่าโปร่งประกอบด้วยไม้ขนาดกลางจำนวนมาก การผลัดใบของพันธุ์ไม้ที่ขึ้นอยู่ในป่าชนิดนี้ก็เพื่อลดอัตราการคายน้ำในช่วงปริมาณความชุ่มชื้นในดินมีน้อย พันธุ์ไม้จะเริ่มทิ้งใบช่วงปลายเดือนธันวาคมและจะค่อยๆ ผลิใบใหม่ในช่วงเดือนเมษายนของทุกปี ป่าชนิดนี้มักจะมีไฟป่าเกิดขึ้นในช่วงฤดูแล้งเพราะมีไผ่อยู่มาก พันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ ตะแบก เสลา ประดู่ มะค่าโมง ขี้อาย แดง เก็ดดำ ฯลฯ ส่วนไม้พื้นล่างประกอบด้วย สาบเสือ หญ้า เถาวัลย์ต่างๆ และไม้ไผ่ชนิดต่างๆ เช่น ไผ่รวก ไผ่ป่า ไผ่บง

i0qqlugypkvv

ต้มยำไก่สุดแซบ

4. ป่าเต็งรัง (Deciduous Dipterocarp Forest) ครอบคลุมพื้นที่ 18,349.2 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 6 ของพื้นที่ ป่าชนิดนี้จะพบทางตอนเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ โดยอยู่ถัดจากป่าเบญจพรรณออกมา ดินจะมีลักษณะเป็นทรายและลูกรัง ลักษณะโครงสร้างของป่าชนิดนี้จะเป็นป่าโปร่ง มีต้นไม้ขนาดเล็กและขนาดกลางกระจายอยู่ทั่วไป และมีหญ้าชนิดต่างๆ กระจายอยู่ทั่วไปเช่นกัน ไม้เด่นขององค์ประกอบโครงสร้างของป่าชนิดนี้ได้แก่ ไม้เต็ง รัง เหียง พลวง กว้าว พะยอม ส่วนไม้วงศ์อื่นๆ ที่พบ เช่น มะขามป้อม รักเขา ไข่เต่าตะแบกแดง เป็นต้น

jw1oa5o9zjmi

ไข่เจียว และผัดผักรวมมิตรกุ้ง

สัตว์ป่าสงวนที่หายาก เช่น สมเสร็จ เก้งหม้อ ส่วนใหญ่พบบริเวณตอนล่างพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่น้ำภาชี เลียงผา พบในบริเวณภูเขาสูงชันทั่วไปของพื้นที่เขตฯ เช่น เขาพุน้ำร้อน เขาจารุณีย์ เขาลำบัวทอง สัตว์อื่นๆ ที่สำคัญได้แก่ กระทิง หมี วัวแดง ส่วนใหญ่อยู่บริเวณป่าดิบแล้งตอนล่างของเขตฯ เสือ เก้ง กวาง และสัตว์เล็กๆ พบกระจายทั่วไปของพื้นที่

51tsmgwvau9h

โดยแยกเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 93 ชนิด สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก 11 ชนิด สัตว์เลื้อยคลาน 31 ชนิด และปลา 21 ชนิด สำหรับ นก ที่สำคัญอยู่ในพื้นที่เขตฯ บริเวณตอนกลางและตอนล่าง ที่มีพื้นที่ป่าอุดมสมบูรณ์ สามารถพบเห็นนกได้หลายชนิด เช่น นกแก้ว นกแกง นกกาฮัง นกเงือกกรามช้าง นกเงือกกรามช้างปากเรียบ นกเงือกสีน้ำตาล นกแซวสวรรค์ นกแก๊ก พบในบริเวณ ลำห้วยสวนพลู ลำห้วยพุน้ำร้อน นกจาบคาเคราสีน้ำเงิน นกจาบคาเคราแดง พบในบริเวณเขตฯ และหลังสำนักงานเขตฯ และนกชนิดอื่นๆ รวมทั้งสิ้นจำนวน 186 ชนิด ( สำรวจเริ่มจากปี 2539-2540 ) (ข้อมูลจาก :: สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า)

feyqx84kxwgl

สัปรดปัตตาเวีย อาหารขึ้นชื่อของสวนผึ้ง ราชบุรี

จากข้อมูลที่ได้กล่ามาทั้งหมดจะเห็นได้ว่า เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่น้ำภาชี มีความอุดมสมบูรณ์เป็นอย่างมาก แม้นว่าในปัจจุบันสัตว์ป่าบางชนิดจะลดน้อยถอยลง เนื่องจากมีการบุกรุกทำลายป่า และการรุกคืบเข้าไปทำสวนทำไร่ในส่วนที่เคยเป็นป่า ให้กลายเป็นพื้นที่ทางการเกษตรไป

o0hojgr3jha7

อร่อยอย่าให้เซด

ดังนั้น เพื่อให้ป่ายังคงมีความอุดมสมบรูณ์ เราจึงต้องสร้างจิตสำนึกในการรักษาป่า รวมถึงให้ความรู้ควบคู่ไปกับการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับการดูแลรักษาป่า ดังนั้น กิจกรรมในวันนี้ จะช่วยสร้างความตระหนัก นึกรัก มีส่วนร่วม และมีความเป็นเจ้าของให้แก่เยาวชนที่มาเข้ารร่วมได้เป็นอย่างดี

luw3cd9f5hsl

กินอาหารร่วมกันแบบบุฟเฟต์

หลังจากจบการบรรยายจากหัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่น้ำภาชี ก็ได้เวลาเติมพลัง ก่อนที่เราจะออกไปยังพื้นที่ ๆ ต้องทำฝายและโปงเทียม

rbetuqan8tr7

หาที่เหมาะ ๆ จับกลุ่มนั่งกินข้าวร่วมกัน

sge19gp49n7t

ถ่ายรูปร่วมกันเป็นที่ระลึกก่อนที่จะออกเดินทางเข้าป่าไปทำฝายและโปงเทียม

6yva0g9msft2

พาหนะที่ใช้ในการเดินทางในครั้งนี้

j28jz6g5iouy

แนวหลังค่อยเก็บภาพ

so5suf3fdl2u

รถแล่นไปบนเส้นทางคดเคี้ยวและสวยงาม

cjjrkf972dl7
4clkcmk0acya

สำนักสงฆ์

c29hrut8mf2r

ในที่สุดก็มาถึง

s5d32uuyn9uu

อุทยานแห่งชาติ เฉลิมพระเกียรติไทยประจัน

5zr0lrenrnri

สายน้ำเย็น ๆ ให้ลงแช่สลับกับน้ำพุร้อนที่อยู่ในเต้นท์

50qe74ahljl6

น้ำพุร้อนที่ต่อสายมาจากบ่อน้ำพุร้อนเพื่อให้นักท่องเที่ยวได้เดินทางมาแช่ตัว

hia0ud8urqfe

บ่อน้ำพุร้อน

hsyfubljcxqu

คณะอาสามาด้วยกัน เริ่มออกเดินเข้าป่า เพื่อไปยังจุดที่จะต้องทำฝายและโปงเทียม

rwhodm84eoy5
avash9s62rrm

มาถึงแล้ว จุดที่จะต้องทำฝายทดน้ำ

na2v5lwmoxge
395a5giwbyfn

เริ่มจากการสร้างโครงเพื่อบรรจุหิน ซึ่งหนุ่ม ๆ รับหน้าที่ปักไม้ไผ่ ตอก ตัดให้ได้รูป

rh3qy1a5pupv

เริ่มเป็นรูปเป็นร่าง

klyn6jz4xy2c
1o5o45ldvuoz

จากนั้น ก็จะช่วยกันลำเลียงหินมาใส่ในกรอบไม้ไผ่ที่ทำไว้ เพื่อให้สามารถกักเก็บน้ำให้อยู่ในเส้นทางธรรมชาติได้นานขึ้น บริเวณโดยรอบของฝายที่สมบรูณ์มักจะมีพืชพันธุ์มาขึ้นอย่างรกครึม เพราะได้รับน้ำท่าอุดมสมบูรณ์

aik2cdxs0vee

กลุ่มนี้เริ่มต่อยดินเพื่อเตรียมทำโปงเทียม

7cbhjkcp048d

นำแร่ธาตุออกมาทุบให้ละเอียด เตรียมทำโป่งเทียม

awp9wq2ddhxc
gqqklv32qurh

จากนั้น ขุดหลุมผสมแร่ธาตุกับเกลือแล้วเกลี่ยลงบนหลุมดินที่เตรียมไว้พร้อมกลบหน้าดินกันน้ำฉะแร่ธาตุไป

lwwvttp8rjbf

สนุกสนานกับการต่อยแร่ธาตุให้แตกเป็นผง

2o5j572372p7

สาว ๆ ช่วยคุณลุงหัวหน้าเขตฯ ขุดหลุมทำโป่งเทียม

x6abpjvfo7rv

ถ่ายรูปเป็นที่ระลึกกับฝายที่เสร็จแล้ว

jj8vp2krp3ma

จากนั้น พวกเราก็ออกเดินทางมายังชายป่า เพื่อยิงเม็ดพันธุ์ เป็นเมล็ดพันธุ์มะค่าโมง ที่เราต้องตั้งแถวยิงเข้าไปในแนวป่า เพื่อให้มันฝังตัวลงไปในดิน แล้วแตกยอดออกเป็นต้นไม้ในป่าสืบต่อไป

9eb0arbr0g8w

ยิ่งเมล็ดพันธุ์เข้าป่า

ถือเป็นการจบกิจกรรม "เพาะกล้าไม้ ขยายผืนป่า อาสามาด้วยกัน ... เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่น้ำภาชี" ด้วยความสมบูรณ์ จากนั้น พวกเราก็เดินทางกลับสู่กรุงเทพฯ กันต่อไป


"กลุ่มอาสามาด้วยกัน" เป็นใคร ???

djlmxc5ro7i0

กลุ่มอาสามาด้วยกัน คือ กลุ่มเพื่อนที่เรียนหนังสือมาด้วยกัน และร่วมทำกิจกรรมมาด้วยกัน จนวันหนึ่ง เกิดความคิดที่ว่า การทำสาธารณะประโยชน์ ไม่ควรถูกจำกัดอยู่ที่กลุ่มเพื่อน ควรขยายโอกาสในการทำสาธารณะประโยชน์ ด้วยการจัดกิจกรรม เชิญชวนให้บุคคลทั่วไป ทั้งที่สนใจ และไม่สนใจ ได้รับรู้ว่า ยังมีกลุ่มคน กลุ่มเล็ก ๆ ชวนไปทำสาธารณะประโยชน์ร่วมกันอยู่ตรงนี้

ด้วยการจัดกิจกรรมสาธารณะประโยชน์อยู่อย่างสม่ำเสมอ ไม่ว่าจะเป็นการ ปลูกป่าชายเลน, เพาะกล้าโกงกาง, สร้างฝาย และอื่น ๆ อีกมากมาย ไปแวะเยี่ยมชม ให้กำลังใจ ค้นหาตัวตนของพวกเขา หรือเข้าร่วมกิจกรรมกับพวกเขาได้ที่ เฟสบุ๊ค อาสามาด้วยกัน :: https://www.facebook.com/asa.kreate/ลองดูนะคะ เผื่อคุณจะค้นพบอะไรดี ๆ ในตัวคุณเพิ่มขึ้นอีก

ขอบคุณที่รับชม

ความคิดเห็น