ชมตำหนักสวนสุนันทา ศึกษาประวัติศาสตร์สมัยรัชกาลที่ 5 ผ่าน พิพิธภัณฑ์อาคารสายสุทธานภดล มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
- วันที่เปิดให้บริการ: ทุกวันจันทร์ - อาทิตย์ ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์
- เวลา: 9.30 - 16.00 น.
- Facebook: สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
https://www.facebook.com/ArtsandCultureSSRU/
หลายคนน่าจะเคยได้ยินชื่อของ "มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา" เป็นอย่างดี แต่รู้หรือไม่ว่าพื้นที่ของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ เคยเป็นพื้นที่ที่ประทับและที่พำนักของพระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายใน และยังมีการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมดั้งเดิมเอาไว้ให้เที่ยวชมได้จนปัจจุบัน
วันนี้พิระมีโอกาสได้ไปชมงาน 100 ปี เสด็จขึ้นตำหนักสวนสุนันทา และได้เข้าไปชมพิพิธภัณฑ์ โดยมีคุณชนะภพ วัณณโอฬาร ทำหน้าที่เป็นผู้พาชมพร้อมให้ความรู้ตลอดทริปนี้ค่ะ
พิระจึงขอนำไฮไลท์ที่น่าสนใจ และไม่ควรพลาด มาฝากทุกคนกันค่ะ
ภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนส
จุดหมายของเราในวันนี้คือ อาคารสายสุทธานภดล หมายเลข 27 ค่ะ
ระหว่างทางที่เดินมาชมตำหนัก ก็สามารถแวะชมความสวยงามของร้านค้าที่ออกแบบรูปทรงและการตกแต่งให้เข้ากับเขตวังได้เป็นอย่างดี
มาถึงแล้วก็ตรงเข้าไปลงทะเบียน รับแผ่นพับอธิบายประวัติความเป็นมา แล้วเข้าไปชมพร้อมกันเลยค่ะ
ตอนนี้หลายๆ คนอาจจะเริ่มสงสัยว่าตำหนักนี้คือตำหนักของใคร แล้วสวนสุนันทานี่ใครเป็นผู้สร้าง สร้างขึ้นมาเพื่ออะไร มีประวัติความเป็นมาอย่างไรบ้าง ตาม Pira Story ไปพร้อมๆ กันเลยค่ะ
ที่ประทับและที่พำนักของพระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายใน
ราชสำนักฝ่ายใน หรือ พระราชฐานชั้นใน มีทั้ง "พระที่นั่ง" อันเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ ก็ยังมี "ตำหนัก" และ "เรือน" ต่างๆ ที่โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ประทับและที่พำนักของพระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายใน
ประวัติของสวนสุนันทา
หลังจากรัชกาลที่ 5 เสด็จกลับจากประพาสยุโรปครั้งที่ 2 มีพระราชประสงค์ให้สร้างสวนสุนันทา เพื่อใช้เป็นที่ประทับอีกแห่ง แต่เมื่อสิ้นรัชกาลของรัชกาลที่ 5 ก็ยังสร้างสวนสุนันทาไม่เสร็จ
พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างต่อจนเสร็จ สวนสุนันทา จึงกลายเป็นราชสำนักฝ่ายในขนาดใหญ่ ตลอดสมัยรัชกาลที่ 6 - 7
เคยมีพระบรมวงศานุวงศ์หลายพระองค์เสด็จมาประทับ ณ สวนสุนันทา โดยบางพระองค์ก็ประทับเป็นครั้งคราวแค่ระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น เช่น พระราชธิดาของรัชกาลที่ 4 และ พระราชธิดาเพียงพระองค์เดียวในรัชกาลที่ 6 เป็นต้น โดยในสมัยนั้น มีตำหนักพระวิมาดาเธอฯ เปรียบเสมือนศูนย์กลาง
ตำหนักพระวิมาดาเธอฯ ถือเป็นศูนย์กลางของตำหนักฝ่ายใน เพราะเป็นตำหนักที่มีเจ้านายพระยศสูงประทับอยู่ ดังนั้นตำหนักแห่งนี้จึงเป็นศูนย์รวมของเจ้านายฝ่ายใน เวลาที่มีกิจกรรมเสด็จเยี่ยมเยียนตำหนักต่างๆ ก็มักจะมารวมกันอยู่ที่ตำหนักนี้ เช่น การเสวยพระกระยาหารค่ำ เป็นต้น
หลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง สวนสุนันทาถือเป็นราชสำนักฝ่ายในรุ่นสุดท้าย เนื่องจากหลังจากนั้น ราชสำนักฝ่ายในไม่จำเป็นต้องมาอาศัยอยู่รวมกันภายในเขตที่ประทับเดียวกันอีกต่อไป สามารถสร้างวังเองข้างนอกได้
สวนสุนันทาจึงเปลี่ยนเป็นสถานศึกษา ซึ่งตำหนักเดิม ปัจจุบันเหลือเพียงแค่ 10 หลังเท่านั้น
ปัจจุบันพื้นที่ส่วนใหญ่ของสวนสุนันทา กลายเป็นพื้นที่ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ซึ่งมีอาคารโบราณที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์และสถาปัตยกรรมหลายหลัง เช่น พระที่นั่งซึ่งเป็นอาคารที่มีการใช้เสารับน้ำหนักเป็นยุคแรกๆ ของประเทศไทย จึงเป็นต้นแบบทางสถาปัตยกรรมที่น่าศึกษาและอนุรักษ์ไว้
พิระมีข่าวดีมาแจ้งทุกคนด้วยค่ะ ว่าในอนาคตจะมีการปรับปรุงและพัฒนาให้ทุกตำหนักในสวนสุนันทากลายเป็นพิพิธภัณฑ์ที่เปิดให้บริการ ต้อนรับนักท่องเที่ยว และผู้สนใจสามารถเข้ามาเที่ยวชมได้ทุกตำหนัก ถ้าทุกตำหนักพร้อมให้เข้าชมเมื่อไหร่ รับรองว่าพิระจะต้องไปชมอย่างแน่นอนค่ะ!
ประวัติของพระวิมาดาเธอฯ
พระวิมาดาเธอฯ คือหนึ่งในพระมเหสีของรัชกาลที่ 5 มีพระราชโอรส และ พระราชธิดากับรัชกาลที่ 5 ทั้งหมด 4 พระองค์ โดยองค์เล็กสุดคือ สมเด็จหญิงพระองค์น้อย ซึ่งภายหลังได้มาอาศัยอยู่ในตำหนักเดียวกับพระวิมาดาเธอฯ
มุมประทับของพระวิมาดาเธอฯ ซึ่งมีของสำคัญ 2 ชิ้นที่จะขาดไปไม่ได้ คือ พระสุธารสชา และ พานหมาก เพราะโปรดเสวยชามาก เวลาที่เสด็จไปประทับที่ไหน
ทราบประวัติคร่าวๆ ของตำหนักในสวนสุนันทากันไปเรียบร้อยแล้ว คราวนี้ เราเข้าไปชมความงดงามภายในตำหนักกันค่ะ
ไฮไลท์ของพิพิธภัณฑ์อาคารสายสุทธานพดล
พิพิธภัณฑ์อาคารสายสุทธานพดล มีไฮไลท์ที่น่าสนใจ ที่พิระเลือกมาแล้วว่าอยากแนะนำให้ทุกคนไปชมกันค่ะ
ภาพพระวิมาดาเธอฯ
ภายในพิพิธภัณฑ์จะมีภาพพระวิมาดาเธอฯ รวมไปถึงเจ้านายอีกมากมายหลายท่าน ติดประดับประดาไปทั่วทั้งตำหนัก แต่มีภาพภาพหนึ่งที่พิเศษกว่าภาพอื่นๆ นั่นคือภาพด้านล่างนี้ค่ะ
เมื่อขึ้นมาถึงตำหนักชั้น 2 จะพบกับภาพถ่ายของพระวิมาดาเธอฯ ภาพนี้มีความพิเศษตรงที่เป็นภาพที่รัชกาลที่ 5 ฉายด้วยพระองค์เองค่ะ
พัดชัก
สภาพอากาศร้อนๆ แบบนี้ หลายคน (รวมถึงพิระด้วย) อาจนึกสงสัยว่า คนในอดีตเขาอาศัยอยู่ท่ามกลางอากาศร้อนแบบนี้กันได้ยังไง เวลานอนไม่ร้อนเหรอ วันนี้พิระของพาทุกคนไปชมสุดยอดนวัตกรรมที่จะมาช่วยแก้ปัญหาอากาศร้อนตอนนอน
นั่นก็คือ "พัดชัก" เครื่องโบกลมรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ติดระบายติดห่วงแขวนกับเพดานมีเชือกชัก ซึ่งติดอยู่ด้านบนเหนือเตียง แล้วมีเชือกห้อยยาวลงมา เมื่อดึงเชือก พัดชักก็จะพัดกลับไปกลับมาซ้ายขวาเป็นการพัดลมเย็นๆ ลงไปที่เตียง ผู้ที่นอนบนเตียงก็สามารถนอนหลับได้เย็นสบาย เหมือนมีพัดลมระบบอัตโนมือ
ลักษณะของห้องบรรทมจะมีแท่นบรรทมตั้งอยู่ตรงกลาง
ห้องเซฟ
ชั้นบนของตำหนัก มุขฝั่งที่เป็นที่ประทับของสมเด็จหญิงพระองค์น้อย จะมีห้องบรรทมที่มีเตียงตั้งอยู๋กลางห้อง และด้านหลังเตียงนั่นเองคือไฮไลท์สำคัญที่อยากให้ทุกคนได้ชมกัน
นั่นก็คือ "ห้องเซฟ" เป็นห้องเล็กๆ สำหรับเก็บสมบัติของมีค่า โดยจะเก็บเอาไว้ในหีบสีดำ วางเรียงต่อกันเป็นชั้นๆ ตั้งแต่พื้นจนถึงเพดานห้อง ก่อนที่จะปิดประตู ล็อคกุญแจ แล้วให้คุณข้าหลวงผู้ดูแลกุญแจทำหน้าที่นั่งเฝ้าอยู่หน้าห้อง
ภาพวาดสีน้ำ ลายดอกไม้
เมื่อเข้ามาในตำหนักแห่งนี้
โดยดอกไม้ที่อยู่ในรูปเหล่า
พัดรอง
พัดรองในงานฉลองพระพรรษาครบ
ตราประจำพระองค์ของพระวิมาด
ตู้เสื้อผ้าไม้ สไตล์ดั้งเดิม
ห้องประทับสมเด็จหญิงพระองค์น้อย มีตู้เสื้อผ้า หรือ ตู้ฉลองพระองค์แบบดั้งเดิมในลักษณะของเฟอร์นิเจอร์บิวท์อิน สวย คลาสสิก ประหยัดพื้นที่ในห้อง
โดยการแต่งกายของเจ้านายฝ่ายในในตำหนักนี้ จะมี 2 ลักษณะ คือ
- การแต่งกายของเจ้านายฝ่ายใน คุณข้าหลวง เจ้านายรุ่นใหญ่ จะยังคงแต่งกายตามแบบสมัยรัชกาลที่ 5 คือ สวมเสื้อแขนกระบอก ตัดผมสั้น หวีเสย ห่มสไบและแพรแถบ
- การแต่งกายของเจ้านายรุ่นสาวๆ จะเริ่มเปลี่ยนแปลงตามสมัยนิยม คือ นุ่งซิ่น ไว้ผมยาว ดัดผมลอน เป็นต้น
โต๊ะเสวยแบบตะวันตก
ในยุคสมัยนี้เป็นยุคที่ประเทศไทยเริ่มมีการนำช้อนส้อมเข้ามาใช้ในการรับประทานอาหาร ดังนั้น เจ้านายฝ่ายในในสวนสุนันทาจึงเป็นผู้หญิงไทยกลุ่มแรกที่เริ่มใช้ช้อนส้อม เริ่มสัมผัสวัฒนธรรมความเป็นสมัยใหม่ โดยจะได้รับการฝึกฝนวิธีการใช้ช้อนส้อม รวมไปถึงมารยาทบนโต๊ะอาหาร เนื่องจากในพระราชพิธีสำคัญ เลี้ยงอาคันตุกะต่างๆ ต้องให้ผู้หญิงร่วมนั่งงาน หรือ ออกรับรอง พบปะแขกคนสำคัญ
ชักโครกไม้
ชักโครกไม้ที่สร้างจำลองให้
มาลัยจากดอกไม้และใบไม้หลายชนิด
งานดอกไม้เป็นกิจกรรมที่คุณข้าหลวงในตำหนักแห่งนี้ต้องทำกันเป็นประจำ เนื่องจากพระวิมาดาเธอฯ และ สมเด็จหญิงพระองค์น้อย จะต้องใช้มาลัยสำหรับสวดมนต์เย็นทุกวัน จึงต้องร้อยมาลัยเตรียมเอาไว้ให้อย่างสม่ำเสมอ
มาลัยที่ตำหนักนี้จะแตกต่างจากมาลัยทั่วไป ตรงที่ไม่มีข้อจำกัดว่าต้องใช้ดอกไม้หรือใบไม้อะไรเท่านั้น สามารถนำดอกไม้ที่ปลูกในพื้นที่ของสวนสุนันทา ใบไม้ และใบตองมาร้อยเป็นมาลัยได้เช่นกัน
สูตรอาหารตำรับชาววัง
เมื่อนึกถึงสวนสุนันทา โดยเฉพาะตำหนักของพระวิมาดาเธอฯ เนื่องจากพระวิมาดาเธอฯ เป็นผู้ควบคุมห้องเครื่อง มีหน้าที่ทำอาหารถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงมีชื่อเสียงโดดเด่นเรื่องอาหารเป็นอย่างมาก เอกลักษณ์สำคัญที่ขึ้นชื่อลือนามก็คือเรื่องสูตรการทำอาหาร ที่มีการคิดค้นสูตรใหม่ๆ เป็นเคล็ดลับเฉพาะที่แตกต่างจากวังอื่นๆ
เช่น "น้ำพริกลงเรือ" ซึ่งมีที่มาจากครั้งที่เจ้านายต้องการเสวยในเรือ แต่ห้องเครื่องยังไม่ได้เตรียมเครื่องเสวย จึงต้องใช้ไหวพริบในการนำอาหารที่มีอยู่ในครัวมาสร้างสรรค์ค์ให้เป็นเมนูใหม่ โดยใช้น้ำพริกกะปิและหมูหวานซึ่งเป็นเมนูสามัญประจำครัว ต้องมีติดครัวอยู่เสมอ มาผัดรวมกัน ตอกไข่เค็มเฉพาะไข่แดง ใส่ปลาดุกฟูลงไปรวมกัน
น้ำพริกลงเรือของสวนสุนันทา จะนำอาหารทุกอย่างจัดเรียงรวมกันเป็นชั้นๆ ในภาชนะเดียว ไม่มีการจัดเครื่องเคียงแยกออกไปด้านนอก เมื่อตักขึ้นมาหนึ่งคำก็จะได้รสสัมผัสของส่วนประกอบทั้งหมดในคำเดียว นอกจากนี้ การเสวยในเรือ หากใช้ภาชนะ จาน ชามหลายใบจะไม่สะดวก การทำอาหารลงในภาชนะใบเดียวจึงสะดวกมากกว่าอีกด้วยค่ะ
นอกจากนี้ ยังโปรดการทำขนมหวานต่างๆ เช่น ขนมผิง หรือ ลูกกวาดที่ทำจากเม็ดถั่วเคลือบน้ำตาล
วันที่พิระไปชม มีสาธิตการทำขนมสัมปันนี หรือ สำปันนี เป็นขนมโบราณที่ปรากฏอยู่ในประเทศไทยตั้งแต่สมัยอยุธยาตามบันทึกของพ่อค้าชาวฝรั่งเศส วิธีทำคือ นำแป้งมันมาคั่วให้สุก อบควันเทียนให้ได้กลิ่นหอม ผสมน้ำเชื่อม กะทิ น้ำตาลทราย เคี่ยวจนเหนียว คลุกกับแป้งมัน อัดใส่พิมพ์ ตากลมให้หน้าขนมแห้ง แล้วจึงเคาะออกมารับประทาน หอมกลิ่นเทียนอบ รสหวานกำลังดี
อ่านบทความของ Pira Story เพิ่มเติม ได้ที่นี่ค่ะ
- นั่งรถไฟไปหาช้าง: เที่ยวพิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ (The Erawan Museum) จังหวัดสมุทรปราการ
- เรียนรู้ประวัติศาสตร์ไทย ที่ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
- โพธิเธียเตอร์: แก่นเดิม เปลือกใหม่ ของพุทธศาสน์’ (BODHI THEATER, BUDDHIST PRAYER : RE-TOLD) งานศิลปะดิจิทัลในอุโบสถวัด
- เที่ยวคุ้มเมืองแพร่ : คุ้มเจ้าหลวง คุ้มวงศ์บุรี บ้านวิชัยราชา
Pira Story
วันอาทิตย์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2562 เวลา 15.25 น.