“โนรา” หรือ “มโนราห์” เป็นศิลปะการแสดงชั้นสูงของภาคใต้ที่มีมานานหลายศตวรรษเล่ากันต่อๆมาว่าการเล่นโนรามีมาตั้งแต่ก่อนสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี แต่เดิมการแสดงโนราจะมีการร้อง การรำตามแบบฉบับของครูต้น ท่ารำและบทร้องของโนรา จึงมีลักษณะใกล้เคียงกัน ในอดีตการแสดงพื้นบ้านภาคใต้ที่เป็นที่นิยมกันแพร่หลายคือ โนราและหนังตะลุง ดังนั้นอดีตครึ่งศตวรรษที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันผู้คนในท้องถิ่นปักษ์ใต้ด้วยกันมักจะคุ้นกับสำนวนที่ว่า “มาแต่ตรัง ไม่หนังก็โนรา” โนราตรังที่ว่าหมายถึง ”นายเติม อ๋องเซ่ง” หรือศิลปินที่ชาวภาคใต้รู้จักกันในนาม “โนราเติม เมืองตรัง”


โนราเติมคือปรมาจารย์การขับกลอนมุตโตหรือกลอนสดแห่งวงการโนราที่ทิ้งมรดกศิลปะทางการแสดงโนราไว้ให้ลูกหลานอย่างเราได้เรียนรู้ โนราเติมเป็นการแสดงโนราที่ได้รับความสนใจและโด่งดังไปทั่วจังหวัดตรัง และเสน่ห์ของโนราเติมที่ทำให้แตกต่างจากโนราคณะอื่นๆนั้นก็คือการมีปฏิภานไหวพริบในการขับร้องกลอนสดได้เป็นอย่างดี และมีการประยุกต์เครื่องแต่งกายจากชุดลูกปัดดั้งเดิมมาเป็นการแต่งกายด้วยชุดสากลเพื่อให้เข้ากับยุคสมัยที่เปลี่ยนไป ในลิงก์ทัวร์ 360 องศามีการจัดแสดงห้องครูหมอโนรา มรดกทางการแสดงโนรา เศียรพ่อแก่ เทริดโนราซึ่งเชื่อว่าเป็นที่สถิตของครูโนรา และทับที่ใช้ในการแสดงจนวาระสุดท้ายของโนราเติม http://livingmuseumthailand.com/norateum/norateummuseum.html


Credit: กรมศิลปากร / The Fine Arts Department

Create by: มูลนิธิพิพิธภัณฑ์มีชีวิต / Living Museum Foundation


ติดตาม Living Museum Foundation ได้ที่

Webpage: http://livingmuseumthailand.com

Facebook: https://www.facebook.com/livingmuseumth

Line: @livingmuseumth

IG: https://www.instagram.com/livingmuseum.th

Twitter: https://twitter.com/livingmuseumth

E-mail: [email protected]


Admin: Numsomns

ความคิดเห็น