....แม้ว่านักบุญแห่งที่ราบสูงหรือ หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ จะลาจากโลกนี้ไปแล้ว แต่เชื่อว่าคำสอนและคุณความดีของท่านยังคงอยู่ในใจชาวไทยไปตราบนานเท่านาน และอีกหนึ่งสถานที่สำคัญที่เกี่ยวเนื่องกับชีวิตของท่านก็คือ วัดบ้านไร่ ที่ตอนนี้หลายคนคงอยากไปเที่ยวชมให้ได้สักครั้ง...

วัดเก่าแก่ ตั้งแต่สมัย ร.5 ขอเริ่มต้นจากประวัติความเป็นมาของวัดบ้านไร่กันก่อน วัดบ้านไร่เดิมเป็นสำนักสงฆ์ที่มีมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2436 ในช่วงรัชกาลที่ 5 โดยมีพระอาจารย์เชื่อม วิรโช เป็นเจ้าอาวาสรูปแรกได้มีการก่อสร้างศาสนอาคารต่างๆ ขึ้น ต่อมาในช่วงที่หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ เป็นเจ้าอาวาส ได้มีการพัฒนาวัดมากที่สุด ด้วยมีผู้ศรัทธาจากทั่วประเทศได้ร่วมถวายวัตถุปัจจัยเป็นเงินมหาศาล หลวงพ่อคูณได้ก่อตั้งเป็นมูลนิธิหลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ เพื่อกิจกรรมสาธารณประโยชน์ต่างๆ เช่น การบูรณะวัด การสร้างโรงเรียน โรงพยาบาล เป็นต้น

สถานที่สำคัญในวัด
ภาพจิตรกรรมหลวงพ่อคูณภายในวัดมีสิ่งปลูกสร้างสำคัญๆ อยู่หลายอาคาร ได้แก่ พระอุโบสถ พิพิธภัณฑ์หลวงพ่อคูณ หอแก้ว หอระฆัง อาคารประชาสัมพันธ์ ศูนย์โอทอป (OTOP) และหอเทพวิทยาคม เฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา (อาคารปริสุทธปัญญา)

หน้าทางเข้าหอเทพวิทยาคม

จุดเสี่ยงโชคและทำบุญ

จุดสอยดาวรับวัตถุมงคล

บริเวณภายในวัด
หอเทพวิทยาคม อุทยานธรรมกลางบึง

ด้านหน้าอุทยานธรรมอีกมุมสถานที่ที่โดดเด่นที่สุดในวัดแห่งนี้คงหนีไม่พ้น หอเทพวิทยาคม เฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา(อาคารปริสุทธปัญญา) ที่นี่เป็นอุทยานธรรมกลางบึงน้ำขนาดใหญ่ของวัดบ้านไร่ เพิ่งสร้างเสร็จในปี 2554 ถือเป็นจุดเด่นสำคัญของวัดบ้านไร่ ลักษณะเป็นอาคารประติมากรรมช้าง ตั้งอยู่บนพื้นที่บึงน้ำขนาด 30 ไร่ เป็นอาคารสูง 5 ชั้น รวมชั้นใต้ดิน (ชั้นบาดาล) และชั้นดาดฟ้า อาคารตั้งอยู่บนลานทรงกลมมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 65 เมตร เรียกว่าหอเทพวิทยาคมเป็นพุทธสถานในนิกายเถรวาทที่มีชนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย

ทางขึ้น

รูปปั้นพญานาคกลางน้ำ
แนวคิดการออกแบบหอเทพวิทยาคม
ซุ้มประตูวิจิตรสวยงามภายในหอเทพวิทยาคมถูกออกแบบให้เป็น มหาวิหารแห่งพระไตรปิฎกเป็นดินแดนที่รวบรวมพุทธประวัติ พระวินัย และพระธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ทรงแสดงไว้ทั้งหมด เพื่อจรรโลงพระศาสนาให้เป็นไปตามบัญญัติของพระพุทธองค์ ที่นี่จึงเป็นสถานที่แห่งแรกและแห่งเดียวในโลกที่นำเอาพระไตรปิฎกมาแสดงและให้ความรู้แก่ประชาชนทั่วไป
นอกจากนี้ หอเทพวิทยาคมยังประกอบขึ้นด้วยโมเสกมากกว่า 20 ล้านชิ้น และใช้แรงงานชาวบ้านเป็นผู้ติดอย่างละเอียดด้วยจิตศรัทธาและสมาธิ เพราะ 1 วัน 1 คน สามารถติดเซรามิกโมเสกชิ้นเล็กที่สุดเท่าเม็ดถั่วเขียวได้เพียงไม่เกิน 1 ตาราง

ภาพจิตรกรรมฝาผนัง
ชั้นบนดิน : จัดแสดงภาพพุทธประวัติและต้นโพธิ์อธิษฐาน มีความสวยงามในเชิงสัญญะ แต่ละภาพบอกเล่าถึงความศรัทธาของประชาชนที่มีต่อพระพุทธศาสนา รวมถึงเรื่องราวต่างๆ ของพุทธประวัติ

ภาพจิตรกรรมฝาผนัง
ชั้นบนดิน : จัดแสดงภาพพุทธประวัติและต้นโพธิ์อธิษฐาน มีความสวยงามในเชิงสัญญะ แต่ละภาพบอกเล่าถึงความศรัทธาของประชาชนที่มีต่อพระพุทธศาสนา รวมถึงเรื่องราวต่างๆ ของพุทธประวัติ

ภาพจิตรกรรมฝาผนัง รูปปั้นม้า
ชั้นบนดิน : จัดแสดงภาพพุทธประวัติและต้นโพธิ์อธิษฐาน มีความสวยงามในเชิงสัญญะ แต่ละภาพบอกเล่าถึงความศรัทธาของประชาชนที่มีต่อพระพุทธศาสนา รวมถึงเรื่องราวต่างๆ ของพุทธประวัติ

ดาดฟ้า : จัดแสดงรูปปั้นหลวงพ่อคูณและสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีความสูงรวม 42 เมตร

ดาดฟ้า : จัดแสดงรูปปั้นหลวงพ่อคูณและสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีความสูงรวม 42 เมตร
จุดถ่ายรูปด้านหน้าหอเทพวิทยาคม



สิ่งที่น่าสนใจในพิพิธภัณฑ์
ห้องจัดแสดงภายในพิพิธภัณฑ์ได้สะท้อนเรื่องราวต่างๆ ของหลวงพ่อคูณ ผ่านภาพจิตรกรรมที่สร้างสรรค์ขึ้น บอกเล่าภาพชีวิตในอดีต สิ่งของเครื่องใช้จำนวนมากมาย ซึ่งผู้มีจิตศรัทธานำมาถวาย อัฐบริขารและเครื่องใช้จำเป็นในการครองสมณเพศ อีกทั้งยังจัดแสดงภาพเสมือนจริงที่จำลองบรรยากาศการออกธุดงค์ของหลวงพ่อคูณ แสดงให้เห็นถึงบารมีธรรมอันยิ่งใหญ่
ภาพจิตรกรรมฝาผนังสวยงามมีประติมากรรมที่สื่อถึงผลบุญของการให้ทานอันเป็นวัตรปฏิบัติสำคัญของหลวงพ่อคูณ มหาทานของหลวงพ่อคูณที่ได้บริจาคเงินจำนวนมหาศาล เพื่อสาธารณประโยชน์ หลวงพ่อคูณยังได้บริจาคร่างกายเพื่อเป็นประโยชน์ในการศึกษา แสดงให้เห็นถึงความแน่วแน่ในวิถีสันโดษอันเป็นวัตรปฏิบัติที่หลวงพ่อคูณได้ยึดถือมาตลอด

ภายในหอเทพวิทยาคม

ภายในหอเทพวิทยาคม

ภายในหอเทพวิทยาคม

ภายในหอเทพวิทยาคม

ภายในหอเทพวิทยาคม

ภายในหอเทพวิทยาคม

ภายในหอเทพวิทยาคม
การเดินทาง
จากกรุงเทพฯ ใช้ถนนพหลโยธิน (ทางหลวงหมายเลข 1) มุ่งหน้าสู่จังหวัดสระบุรี ประมาณ 75 กิโลเมตร เมื่อถึงตัวเมืองสระบุรีแยกขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 2 (มิตรภาพ) จากนั้นมุ่งหน้าสู่จังหวัดนครราชสีมา ประมาณ 89 กิโลเมตร จะถึงเขื่อนลำตะคอง ขับตรงไปอีกประมาณ 14 กิโลเมตร จะพบกับป้ายบอกทางถนนสาย 201 ให้เลี้ยวซ้ายไปทางถนนสาย 201 ไปตามทางที่จะไปจังหวัดชัยภูมิ จากนั้นขับตรงไปมุ่งหน้าสู่อำเภอด่านขุนทด พอถึงอำเภอด่านขุนทดให้ท่านขับตรงไปอีก จากนั้นเลี้ยวซ้ายเข้าถนนสาย 2217 จากนั้นขับตรงไป ประมาณ 11 กิโลเมตร ก็จะถึง วัดบ้านไร่
รูปภาพเพิ่มเติม

จุดถ่ายรูปกับรูปปั้นหลวงพ่อคูณ

รูปปั้นควาย

รูปปั้นเทวดา

ขอพรกับรูปปั้นเทวดา

รูปปั้นพญานาคทางขึ้นหอเทพวิทยาคม
#ไปเที่ยวกันเยอะๆน่ะ
เพจ https://mobile.facebook.com/pr...
ig https://www.instagram.com/jakk...
JakkritNukorkit
วันพุธที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 เวลา 03.22 น.