ตอนที่ 2: จากลาซา สู่หลังคาโลก The Everest Base Camp

เรื่องราวมันเกิดขึ้นหลังจากได้อ่านหนังสือเล่มหนึ่ง “นั่งรถไฟไปหลังคาโลก” (ที่เป็นกระทู้แนะนำในพันทิพนี่แหละค่ะ) เป็นเรื่องราววัยรุ่นไทยเรียนจบใหม่ๆ ออกไปไขว่คว้าหาประสบการณ์ ผ่านการเดินทางขึ้นรถไฟจากหัวลำโพงไปถึงทิเบต อ่านรอบแรก ให้หวนคิดถึงความรู้สึกตื่นตาตื่นใจของตัวเองที่ได้เดินทางออกไป “เห็น” โลกเป็นครั้งแรก เลยตัดสินใจวางแผนใช้วันหยุดยาวช่วงสงกรานต์ไปเยือนดินแดนหลังคาโลก “ทิเบต” อีกสักครั้ง คราวนี้ตั้งใจจะต้องนั่งรถไฟสายที่สูงที่สุดในโลกให้ได้ แถมไปปิ๊งไอเดียจากโปรแกรมทัวร์ที่พาดั้นด้นไปถึง Everest Base Camp อีก ทีนี้แผนการที่วางไว้เลยกลายมาเป็นรูปเป็นร่าง ทริป 11 วัน 3 โลเคชั่น ใน1 ประเทศจึงได้เริ่มขึ้น

kr30epw845ch

ตารางการเดินทาง

Day 1: กรุงเทพฯ-เฉิงตู โดยสายการบินไทย ถึงเฉิงตูราว 2 โมงเย็น ลากกระเป๋าไปรับตั๋วรถไฟ – เช็คอินที่โฮสเทล – กินหม้อไฟเสฉวน (หม่าล่า)

Day 2: ศูนย์แพนด้า!!! – เดินเล่นย่าน Wide and Narrow Alley (Kuanzhai Xiangzi) – แพคกระเป๋าเตรียมกินนอนบนรถไฟเป็นเวลา 2 คืน

Day 3: ขึ้นรถไฟไปหลังคาโลก – นอนกลิ้ง กินมาม่า เสพย์หนังสือ ฟังเพลงดูหนังไปตามทาง – คืนแรกบนรถไฟ

Day 4: กินนอนเม้าท์กับเพื่อนใหม่ชาวจีน บนเส้นทางรถไฟที่สูงที่สุดในโลก - (รถไฟไต่ระดับฝึกงับอ๊อกซิเจน) – คืนที่สองบนรถไฟ

Day 5: ตื่นเช้ามาชมวิว ดูพระอาทิตย์ขึ้น - ถึงลาซา โดยสวัสดิภาพ – เค้าให้พักแต่เราออกไปเดินเล่นกิน KFC ถึงลาซา

Day 6: อยู่ดีๆก็ได้ไป Drepung Monastery – ออกกำลังขาและหัวใจไตปอดต่อที่ Potala Palace – เดินเล่นตลาด Bakhor Street

Day 7: ออกเดินทางบนถนนสายมิตรภาพทิเบต – เนปาล มุ่งหน้าสู้เมือง ชิกาซส์ (Shigaze/Shigatse)

Day 8: มุ่งหน้าหาอ้อมกอดหิมาลัย – Everest Base Camp –ชมแสงสุดท้ายแตะยอดเขา Everest – พัก Rongbuk Hotel สัมผัสความเย็นติดลบ 15 องศา บนความสูงเหนือน้ำทะเลกว่า 5,000 เมตร

Day 9: ชมพระอาทิตย์ขึ้นที่ Everest Base Camp ความทรงจำที่ดีทีสุดอีกครั้งกับยอดเขาเอเวอร์เรสท์ – เดินทางกลับสู่เมืองชิกาซส์ (Shigaze)

Day 10: วัดTashilunpo Monastery – เดินทางกลับสู่เมืองลาซาผ่านเส้นทางชมแม่น้ำ

Day 11: ออกเดินทางแต่เช้าตรู่สู่สนามบิน Lhasa Gongga – ไฟลท์มาถึงเฉิงตู ต่อเครื่องกลับกรุงเทพฯโดยสวัสดิภาพ เย่!

ค่าใช้จ่ายโดยประมาณ

1. ตั๋วเครื่องบิน กรุงเทพฯ-เฉิงตู-กรุงเทพฯ โดยสายการบินไทย : THB 13,XXX

2. ตั๋วเครื่องบิน จากลาซา – เฉิงตู โดยสายการบิน Sichuan Airlines : THB 6,XXX

3. CHINA VISA : THB 1,000

4. FlipFlop Lounge Hostel 2 คืน ในเฉิงตู : THB 1,990 = ตกคนละแค่ THB 663เท่านั้น!!

5.ค่าทริปทิเบต-EBC รวมตั๋วรถไฟเฉิงตู – ลาซา Soft Sleeper คนละ 1,XXX USD

6. ค่าเดินทางในเฉิงตู / ค่าทัวร์แพนด้า / ค่าทิป / ค่าอาหาร / ค่าขนม / ค่า Mobile Roaming / จิปาถะยิบย่อย – ไม่นับ 555

*แนะนำถ้าไปหลายคนเปิดโรมมิ่ง (นี่ใช้ของ AIS ค่ะ) แล้วแชร์ Hot Spot กันนะคะ เล่น FB/LINE etc. ได้เลยไม่ต้องพึ่ง VPN.

*ในส่วนของการเดินทางท่องเที่ยวในทิเบต เราไม่สามารถแบกเป้ขึ้นรถไฟ หรือขึ้นเครื่องไปลงลาซาแล้วเดินดุ่มๆหาเที่ยวเองได้นะคะ ไปทิเบตต้องมีใบอนุญาติ (ที่เรียกกันง่ายๆว่า ใบ Permit) ต้องใช้บริการบริษัททัวร์นำเที่ยวเท่านั้นค่ะ บริษัทที่แนะนำ ก็หาเอาในกระทู้พี่น้องใน Pantip นี่แหละค่ะ สรุปได้เลือกใช้บริการของ Tibet Vista ( www.tibettravel.org ) ซึ่งถือว่าบริการได้มาตรฐาน ราคาดี และคุณภาพเยี่ยมค่ะ เราซื้อแพคเกจ Tibet + EBC Everest Base Camp และให้เขารวมตั๋วรถไฟจากเฉิงตูไปลาซาด้วยเลย การจองไม่ยากค่ะ พนักงานที่ติดต่อ (ภาษาอังกฤษ) ก็ว่องไวและครบถ้วนดี ไกด์ คนขับรถ ที่พัก โดยรวมถือว่าประทับใจและให้ 5 ดาวไปเลยค่ะสำหรับการบริการของ Tibet Vista.


พร้อมแล้วไปต่อกันกับภาค 2 ได้เลยค่า เอ้า ลุ๊ย!!!!

Day 6: อยู่ดีๆก็ได้ไป Drepung Monastery – ออกกำลังขาและหัวใจไตปอดต่อที่ Potala Palace – เดินเล่นตลาด Bakhor Street

วันนี้ไกด์มารับเราและชาวคณะตอน 9โมงเช้า พอขึ้นรถปุ๊บ เค้าก็แจ้งโปรแกรมคร่าวๆ ปรากฏว่า โปรแกรมของเราและชาวคณะคลาดเคลื่อนกันเล็กน้อย อบ่ากระนั้นเลย ด้วยความรวดเร็วไกด์โทรติดต่อต้นสังกัดแล้วจัดการโยกย้ายกรุ๊ปหญิงไทยสามคนของเราไปอยู่กับกรุ๊ปที่ถูกต้อง แต่ .. แต่ ตอนนี้เราต้องไปเที่ยววัด Drepung Monastery กับกรุ๊ปนี้ก่อน ช่วงบ่ายค่อยกลับเข้าโปรแกรมที่ควรจะเป็นของเรา คือ เที่ยวพระราชวังโปตาลา

อย่างไงดีล่ะ เราอยู่บนรถแล้วนี่นะ แล้วรถก็วิ่งมาจอดหน้าวัด Drepung แล้ว ถือว่าเป็นของแถมจากสวรรค์บันดาล เราได้ทัวร์วัด Drepung ฟรี เพิ่มเติมจากโปรแกรมของเราที่จริงๆแล้วไม่ได้รวมวัดนี้ ประโยชน์ตกเป็นของจำเลยแล้ว เราก็เลยตามเลยแล้วกัน (แอบร้องเย่ในใจเบาๆ)

a9bfjk7qdekz

วัดเดรปุง ว่ากันว่า เป็นวัดที่นอกจากจะมีพื้นที่กว้างขวางที่สุดในทิเบต คือ 200,000 ตารางเมตร บนความสูงเฉลี่ย 3,900 เมตรแล้ว ยังเป็น วัดที่ร่ำรวยที่สุดในทิเบตอีกด้วย วัดเดรปุงเป็น 1 ใน 6 วัดสำคัญของนิกายเกลุกปะ (นิกายเกลุก หรือเกลุกปะ หรือนิกายหมวกเหลือง) สร้างขึ้นในปี ค.ศ.1416 สมัยดาไลลามะองค์ที่ 2 ผู้เป็นลูกศิษย์ของพระอาจารย์จงคาปา มีขุนนางตระกูลใหญ่เป็นผู้อุปถัมภ์ ต่อมาสมัยดาไลลามะองค์ที่ 5 ได้ขยายให้กว้างขวางขึ้น จนกลายเป็นอารามที่มีขนาดใหญ่ เคยมีพระจำวัดอยู่ถึงกว่า 10,000 รูป แต่ในปัจจุบันเหลืออยู่เพียง 465 รูป (โดยประมาณ)

7lh2viiushcg

ว่ากันว่า ในปี ค.ศ. 1959 พระกว่าสามพันรูปที่ประจำอยู่ที่วัดนี้หนีตามองค์ดาไลลามะไปอยู่อินเดีย รวมทั้งลามะสมณศักดิ์สูงอีกหลายองค์ส่วนที่เหลือสึกจากสมณเพศกลับบ้านเดิมของตนเพื่อไปทำการค้าขายหรือไม่ก็แต่งงานมีลูกมีเต้า ปัจจุบันมีพระสงฆ์และเณรอาศัยอยู่ประมาณ465รูป วัด “เดรปุง” มีชื่อเสียงว่าปลูกสวนแอปเปิ้ลได้อร่อยที่สุดในลาซา (แต่ไม่ยักกะเห็นว่ามีแอปเปิลขายนะคะ)

ชื่อของวัดมีความหมายว่า กองข้าว เนื่องจากอาคารของวัดทาสีขาว เมื่อมองจากระยะไกลจึงคล้ายกองข้าวอยู่บนเชิงเขา

cn4yfhcp6ecv
jszozs2v6jp5

วันนี้เราโชคดีได้เห็นพิธีตรรกะวิภาษ (ถกพระธรรม) เป็นของขวัญแถมให้ในการได้มาเยือนอารามเดรปุงในวันนี้ด้วยค่ะ นั่งดูเพลิน แม้ฟังไม่รู้เรื่องแต่รู้สึกสนุกไปกับเขาด้วย

6sc9rs8g20jp

พระจะแบ่งข้างถกปัญหาธรรม ฝ่ายหนึ่งเป็นฝ่ายซักถามหรือผู้ปุจฉา และอีกฝ่ายหนึ่งเป็นฝ่ายวิสัชนา โดยฝ่ายถามจะออกลีลาท่าทางร่ายรำราวกับมวยจีน ส่งเสียงดังซักถามพร้อมตบมือตรงหน้าอีกฝ่ายคล้ายจะเป็นการทำลายสมาธิของฝ่ายถูกซักถาม ฝ่ายถูกซักถามก็จะต้องควบคุมสติสมาธิให้เกิดปัญญาแล้วตอบข้อธรรมให้ถูกต้องตามหลักธรรม เหมือนเป็นการฝึกฝนความมั่นคงของจิต (ตบกันเสียงดังดีทีเดียวค่ะ เลยยิ่งดูยิ่งสนุก)

7857l3uezpvc

วัดเดรปุงนี้เป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์ที่เคยยิ่งใหญ่แต่ครั้งอดีตที่ผู้ชายชาวทิเบตจะต้องเข้าไปบวชเรียนเพื่อศึกษาหาความรู้ ว่ากันว่าวัดแห่งนี้เคยมีพระสงค์มากมายถึงหมื่นรูปเลยทีเดียว

nah9gv2x6bav

วัดเดรปุงเพิ่งจะเฉลิมฉลองครบรอบ 600 ปีวันก่อตั้งวัดไปเมื่อปี 2016-ปีนี้วัดจึงมีอายุ 601 ปีแล้วค่ะ

บันไดขึ้นและขึ้น มีลงบ้าง วันนี้บริหารปอดและหัวใจที่ความสูง3ม900 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล เหนื่อยก็พักค่ะ ค่อยๆเดินไป เวลาที่นี่หมุนช้า เวลาเราก็จะได้ช้าไปด้วย

vnb1szr4b35c

เดินตามตรอกซอกซอย ไม่ต้องกลัวหลงค่ะ หากพลัดหงกับไกด์ยังพอมีป้ายชี้บอกทางไปยังจุดเยี่ยมชมต่อไปจนถึงทางออกเลย

jy9vp7nq65vy

ชาวทิเบตจะใช้การจุดไฟเผา Juniper Twigs (ไม้พุ่มประเภทหนึ่งที่นำมาจุดเพื่อให้มีกลิ่นหอม) เพื่อเป็นการบูชา (ถุงละ 5หยวน)

3cdsjn94ioo6

บางคนก็หิ้วกระติกน้ำร้อน ภายในบรรจุเนยเหลวเอามาเติมตะเกียง/กระถางประทีปภายในอาราม (ซึ่งมีเยอะมาก) บางคนก็อุ้มกระปุกเนยมาเลยค่ะ ใช้ช้อนตักถวายเป็นพุทธบูชา กลิ่นเนยหอมฟุ้งกระจายไปทั่วบริเวณ

pqb74thr6xx0

ในอารามมีบริการแลกเงินย่อยด้วยค่ะ เงินเล็กๆแบบ 1-5-10 เจียว (หน่วยสตางค์ของจีน) คนทิเบตทำบุญด้วยเงิน จะมีตู้บริจาคอยู่ทั่ววัด เงินแทบไม่มีความหมาย กลายเป็ฯสัญลักษณ์ของการสละกิเลส บางคนถือเงินเป็นฟ่อนหยอดตามตู้จนรอบวัด (คาดว่าครบทุกตู้) คนหนุ่มคนแก่ ทำบุญเหมือนกัน คนรวยคนจน ทำบุญเหมือนกัน เห็นกระทั่งขอทานที่เจอด้านล่างก่อนขึ้นมาที่วัด เอาเงินที่ได้มาแลกเงินย่อยๆแล้วเดินสวดมนต์หยอดตามตู้ เห็นแล้วก็ได้ข้อคิดหลายๆอย่างติดตัวกลับมาจากอารามเดรปุงค่ะ

l8mbbs1ffah0

ออกจากวัดเดรปุง เราก็แยกย้ายกับกรุ๊ปที่เรามาด้วย ไปเจอกับไกด์คนใหม่ของเราที่จะมาพาไปเที่ยวพระราชวังโปตาลา Potala Palace

7sbl24wqprzj

พระราชวังโปตาลาตั้งอยู่บนเขา “แดง” (Red Hill) ทาสีขาว สูงเด่นเห็นได้แต่ไกลรอบทิศ

วังที่เห็นอยู่ในปัจจุบันสร้างขึ้นและขยายใหม่จากของเก่าในสมัยการปกครองของดาไลลามะองค์ที่ห้าคือในศตวรรษที่สิบเจ็ด และได้รับการปรับปรุงให้เป็นวังฤดูหนาวในปี ค.ศ. 1755 โปตาลาเป็นศูนย์กลางการปกครองทั้งด้านการเมืองและด้านศาสนาของดาไลลามะหลายองค์ มีอทั้งหมดถึงหนึ่งพันห้องและแบ่งออกเป็นสิบสามชั้น ปัจจุบันวังนี้จึงได้ถูกยกให้เป็นพิพิธภัณฑ์ขึ้นทะเบียนเป็นสมบัติของชาติซึ่งเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวทิเบตไว้อย่างเหนียวแน่น

l7clgil7jgl3

ด้านในเปิดสามารถเข้าชมได้หลายห้อง แต่ไม่สามารถถ่ายภาพได้ค่ะ

จากนั้นเราแวะตลาด Bakhor Street ไม่ได้ซื้ออะไรเป็นชิ้นเป็นอัน ได้แต่หยิบจับสอบถามราคาแล้วร้องอู้หูอ้าหากันไป ไม่ได้ซื้อ เพราะคราวนี้ตั้งใจจุดมุ่งหมายจดจ่ออยู่ที่ทริปการเดินทางในวันรุ่งขึ้น

4m0jzwtn671s

สุดท้ายเราเลยไม่ได้อะไรติดไม้ติดมือมาจากตลาดเลย นอกจากโยเกิร์ตและขนมกรอบแกรบไว้เป็นเสบียงในการเดินทางต่อไป

wzhwof3pczim

เดินกลับโรงแรมจากตลาดมาไม่เกิน 5 นาทีค่ะ สะดวกสบายจริงๆ

อันนี้รถเมล์ของเค้า ... เย็นแล้วประมาณ 6โมง คนเยอะทีเดียว

nbrtjk5qd13t

Day 7: ออกเดินทางบนถนนสายมิตรภาพทิเบต – เนปาล มุ่งหน้าสู้เมือง ชิกาซส์ (Shigaze/Shigatse)

วันนี้เราได้ครอบครัวใหม่ - ได้จอยกับอีกกรุ๊ปใหม่ ไกด์คนใหม่ ซึ่งบริการไฉไลเหมือนเดิมกับรถประจำกรุ๊ปที่จะพาเราไปให้ถึง The Everest Base Camp

cow80c1ye55k

จุดแรกที่ไกด์จอดให้เราได้ถ่ายรูปสวยๆคือริมฝั่งแม่น้ำยาร์ลุงซางโป (Yarlung Tsangpo) [แปลว่าเลือดขัตติยะ] เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำพรหมบุตร (Brahmaputra) ที่กั้นเขตแดนสายสำคัญสายหนึ่งของทวีปเอเชีย มีความความยาว 2,900 กิโลเมตร

rtd0y7vrfryi
lmomwhgzfvp3

ไกด์เล่าให้ฟังว่า คนทเบตมีความเชื่อว่า หากอธิษฐานสิ่งใดแล้วเรียงหินขึ้นไว้ไม่พังลงมา ความปราถนานั้นจะสัมฤทธิ์

e0knv89uj1bt

*ไม่ได้เรียงกับเค้าหรอกค่ะ ได้แต่แอบถ่ายรูปกองที่เค้าเรียงไว้มา 555

จากนั้นเราก็ไต่เขาวกไปวนมามีความเวียนหัวเล็กน้อย แต่สบายค่ะ วิวข้างทางทำเอาลืมมึนได้ชะงัดนัก

z8r4g62bz95j

แถมระหว่างทางมีหนุ่มหล่อให้ถ่ายรูปคู่เสียด้วย ทิเบตันมัสทิฟ (ตอนแรกว่าจะไม่สนุบสนุนค่ะ แต่เห็นหน้าแล้วอดใจอ่อนไม่ได้ ถือว่าช่วยค่าอาหารน้องหมาเนอะ คนละ 5 หรือ 10 หยวนก็ได้ค่ะแล้วแต่จะให้-คนอื่นไม่แน่ใจนะคะ แต่คุณลุงเจ้าของเจ้าไทชิตัวนี้แกไม่ได้บังคับว่าต้องจ่ายค่าตัวเจ้าพระเอกนี่เท่าไหร่ แถมฟัดได้ไม่ยั้งด้วย เพลินเลยค่ะ)

hr5f8xg5uwce

ลุงบอกไกด์ว่า นี่นะ อายุ 8เดือน !!!

อุดหนุนแผงของที่ระลึกคุณลุงด้วย ต่อราคาได้ค่ะ ต่อไปเลย 50% ได้ไม่ได้ว่ากัน - ราคาถูกกว่าที่ตลาดบาคอร์นะ

7me4594n5530

จากนั้น รถก็จอดอีกครั้งที่ทะเลสาปยัมดร๊อกเป็นหนึ่งในสามทะเลสาบศักดิ์สิทธิ์ของชาวทิเบต อีกสองแห่งคือทะเลสาบนัมโฉะและทะเลสาบมานัสโรวาร์ (Manassarovar-Tso) ทะเลสาบยัมดร๊อกตั้งอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเล 4,441 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล ทะเลสาบแห่งนี้เป็นทะเลสาบที่ใหญ่ที่สุดในทิเบต กินอาณาเขตกว่า 658 ตารางกิโลเมตรกว้างใหญ่คดเคี้ยวเป็นรูปคล้ายแมงป่อง

z0bo2g8at8y6

น้ำในทะเลสาบเป็นสีเทอร์ควอยซ์สวยงามเป็นประกายระยิบระยับ มีเทือกเขาหิมะโนจินคางซังเป็นฉากหลัง ยอดเขาโนจินคางซังนี้สูงเป็นอันดับที่ 105 ของโลกด้วยความสูง 7,206 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล

เชื่อกันว่าทะเลสาบแห่งนี้เป็นจิตวิญญาณของชนชาติทิเบต หากน้ำในทะเลสาบแห่งนี้เหือดแห้งก็หมายถึงการล่มสลายของทิเบต

9drt3vauojo6

ที่นี่มีบริการให้เช่าขี่จามรีถ่ายรุปด้วย 10หยวนเท่านั้นค่ะ มีน้องหมาทิเบตัน มัสทิฟเหมือนกัน แลดูเป็นธุรกิจที่นักท่องเที่ยวชาวจีนชื่นชอบเป็นพิเศษ

ไต่ระดับกันขึ้นมาอีกนิด จากทะเลสาปเราจอดแวะที่ ธารน้ำแข็ง Kharola Glacier ธารน้ำแข็งขนาดใหญ่ที่ระดับความสูง 5560เมตรเหนือระดับน้ำทะเล

i8fnf4rjl43e

ณ ความสูงระดับนี้ ทางชาวคณะเรายังชิลล์ๆ สวยๆ ไม่เหนื่อยไม่หอบ ไม่อะไรเลย สงสัยจะชินกับความสูงและอากาศเบาบางของทิเบตเสียแล้ว แต่ก็ไม่ประมาทค่ะ หายใจลึกๆยาวๆ ทำอะไรให้ช้าลงกว่าปกตินิดนึง....เพื่อความปลอดภัย

1gqg7t7g5lxj
ksn7wt7m2gez

นั่งรถผ่านภุเขาหิมะ ขึ้นๆลงๆสักพักก็จอดอีกที่จุดชมวิวเหนือเขื่อน Yamdrok Dam - รัฐบาลจีนได้เริ่มโครงการสร้างเขื่อนเพื่อผลิตไฟฟ้าพลังน้ำบริเวณสุดปลายตะวันตกของทะเลสาบแห่งนี้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1985 ท่ามกลาง การคัดค้านของชาวทิเบตรวมถึงท่านปันเชนลามะองค์ที่ 10 ก็ได้ออกมาต่อต้านด้วย เนื่องจากทะเลสาบแห่งนี้เป็นทะเลสาบศักดิ์สิทธิ์และเป็นเสมือนจิตวิญญาณขอบชนชาติทิเบต ซึ่งการออกมาคัดค้านของท่านปันเชนลามะนั้นสามารถชะลอโครงการไปได้หลายปี แต่หลังจากท่านปันเชนลามะมรณภาพ ได้ไม่กี่เดือน รัฐบาลจีนก็ออกมาประกาศว่าจะดำเนินการโครงการนี้ต่อ แม้จะมีเสียงคัดค้านจากหลายๆฝ่ายรวมทั้งท่านดาไลลามะซึ่งลี้ภัยอยู่ในอินเดียด้วยแต่ก็ไร้ผล ในที่สุดโรงไฟฟ้าแห่งนี้ก็ถูกสร้างเสร็จในปีค.ศ. 1996

zji913mlhl32

เบื้องหลังความสวย ... ยังมีความเศร้า เราได้แต่ถ่ายรูปเก็บมาเป็นที่ระลึก

เมื่อเรามาถึงเมืองเจียนเซ่ (Gyantse) เราได้เยี่ยมชมวัดปาลคอร์ (Palkhor) บางคนเรียกว่า ปาลโช (Palcho Monastery) เป็นวัดเก่าแก่ ว่ากันว่าสร้างมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 9 ใช้เวลาในการสร้างถึง 10 ปี (ค.ศ. 1418-1428) ชื่อวัดตั้งตามพระนามของกษัตริย์ทิเบต ปาลคอร์ โชเด (Palkhor Chode)  

ujrsl9vjscgr

วัดนี้เป็นวัดที่ถือว่าเป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนาทิเบต นิกายสาเกียปะ (สักยะ) วัดนี้เป็นศิลปะผสมผสานระหว่างศิลปะจีน ทิเบต และเนปาล

za8v2hhvi7sx

เราได้เข้าไปไหว้พระในวิหารหลัก เห็นจิตรกรรมฝาผนังและพระพุทธรูปแล้วต้องยอมเสียเงินค่าถ่ายรูปบำรุงให้วัดไป 20 หยวนค่ะ สวยและเก่าและดั้งเดิมมาก ยอมเลย

m57ujzm6qlau
2lp8sm58yqt8

พอออกมาด้านนอก จะเจอเซ็นเตอร์พีซของวัดนี้ คือ พระเจดีย์คุมบุม ซึ่งสร้างเสร็จปี ค.ศ. 1427 แปลว่า พระรูปศักดิ์สิทธิ์หมื่นพระองค์ เจดีย์นี้มีความสูง 32 เมตร มีวิหารภายในเป็นชั้นๆ ซ้อนๆ กัน 9 ชั้น มีประตู 108 บานเพื่อเข้าสู่ 76 หอสวดมนต์

ztqtskdmiltl
sj03z1vmh1gl

มีแท่นบูชาที่ระดับชั้นต่างๆ ภายในมีพระพุทธรูปและรูปอื่นๆ มากกว่าหมื่นรูป ภายในห้องสวดมนต์ทั้ง 9 ชั้น มีรูปและพระพุทธรูปมากมาย และแน่นอนค่ะ ยอมเสียอีก 10 หยวนเพื่อถ่ายภาพจิตรกรรมฝาผนังภายใน ยอมใจในความงาม

v9n6vogqhkx1
o28084cnil8l

ออกจากวัดปาลคอร์อย่างอิ่มเอมใจ คืนนี้เราค้างกันที่ เมือง Shigatze ค่ะ - นั่งรถต่อไปอีกราว 2 ชั่วโมงเพลินๆ เราก็มาถึงตัวเมือง

ความคิดเห็นส่วนตัวคิดว่า Shigatze ดูมีความเจริญกว่าลาซาด้วยซ้ำ ถนนหนทาง ผู้คน รถรา ดูมีความเจริญและจากความเป็นทิเบตไปบ้าง เป็นเมืองใหญ่ทีเดียวค่ะ

rozruxh69oxz

คืนนี้เราพักที่โรงแรม Manasarovar Hotel (3 ดาว) สะอาดสะอ้านดีทีเดียวค่ะ - อาหารอร่อยด้วย ฝากท้องสำหรับอาหารเย็นที่นี่ใช้ได้เลยทีเดียว

7ezkpc7zpbhc

จบตอนที่ 2 สำหรับรีวิวนี้ก่อนนะจ๊ะ ไปต่อกันตอนที่ 3 เราจะพาขึ้น Everest Base Camp กัน เย่ เย่ เย

ฝากเพจนิด กดติดตามกันได้ค่ะ ไม่รกแน่นอนเพราะนานๆขยันที https://www.facebook.com/ww4travel/

กดไลค์เหอะ ... อยากเจอ 555

หรือจะ Instagram: @nickyww4trvl อันนี้บ้าลงรูป ใครชอบดูรูปไปกด Follow กันได้ค่า

ความคิดเห็น