วันนี้จะพาเที่ยวเเพร่ 1วัน ในพื้นที่เขตตัวเมืองของจ.เเพร่
ที่เเรกเราจะเริ่มต้นกันที่ วัดจอมสวรรค์
สร้างขึ้นด้วยแรงศรัทธาของชาวไทใหญ่ ซึ่งเดิมมีถิ่นฐานอยู่ในประเทศพม่า และเดินทางมาค้าขายที่เมืองแพร่ สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2437 ใช้เวลาสร้างประมาณ 5 ปี จึงแล้วเสร็จ
ไปต่อที่ต่อไป จอดรถทิ้งไว้ที่วัดจอมสวรรค์เเล้วข้ามถนนไปอีกฝั่งจะเจอ วัดสวรรค์นิเวศ
กลับไปเอารถก่อนเเล้วจะพาไปต่ออีกที่ ทีนี้จะเข้าไปเขตเมืองเก่าเเพร่ เขตในกำเเพงเมืองเเพร่
เริ่มที่วัดหัวข่วง
ภายในวัดหัวข่วงมีปูชนียสถานที่สำคัญเป็นมรดกที่อยู่คู่วัดมาเป็นพันปี คือ พระธาตุหัวข่วง เป็นพระธาตุเจดีย์ที่สร้างด้วยอิฐจำนวนมาก มีฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยม กว้างด้านละ 13.50 เมตร สูง 25.60 เมตร ภายใต้ฐานเจดีย์มีสำเภาเงิน สำเภาทอง บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า
ขับออกจากวัดหัวข่วงเริ่มยังอยู่กันเขตกำเเพงเมือง ไปต่อกันที่วัดศรีชุม
วัดศรีชุมเป็นวัดที่เก่าแก่ที่สุดของจังหวัดแพร่ สร้างเมื่อปี พ.ศ. 1322 มีอายุนับพันปี ซึ่งมีมาก่อนการสร้างเมืองแพร่ ในอดีตนั้นวัดศรีชุมเป็นวัดที่มีความงดงามมากเจดีย์หุ้มด้วยทองคำ เวลาต่อมามีกองทัพพม่าบุกมายึดอาณาจักรล้านนาแล้วยกทัพบุกเมืองแพร่ ได้เผาทำลายวัดและลอกเอาทองคำจากเจดีย์ไปด้วยและจากการบุกเมืองแพร่คราวนั้นทำให้วัดศรีชุมกลายเป็นวัดร้าง ภายในวิหารวัดศรีชุมเป็นที่ประดิษฐานพระยืน ชาวบ้านเรียกกันว่า “พระเจ้ายืน” เป็นพระยืนในวิหารที่มีความสูงมากที่สุดของจังหวัดแพร่
ขับรถออกจากวัดศรีชุมไปต่อที่ วัดพระนอน
วัดพระนอนสร้างโดย เจ้าพระยาชัยชนะสงครามและพระนางเจ้าอู่ทองศรีพิมพาเมื่อ จ.ศ.236 แต่เดิมนั้นวัดนี้มีพระพุทธรูปปางไสยาสน์ คือพระนอนซึ่งองค์จริงนั้นเป็นหินยาวขนาดหกศอก ต่อมาเจ้าปู่ท้าวคำ ซึ่งเป็นพระอัยกาของเจ้าพระยาชัยชนะสงคราม เห็นว่าไม่ปลอดภัย จึงสั่งให้สร้างพระนอนองค์ใหญ่ครอบองค์เดิมไว้ และช่วยกันตกแต่งพระพุทธรูปนอนองค์ใหม่ให้สวยงาม พอดีมีกองทัพพม่ามารุกรานเมืองโกศัย ชาวเมืองตื่นกลัวพากันอพยพหลบลี้ตามป่าเขา โดยยังมิทันได้ฉลองพระพุทธรูปนอน
ขับรถออกไปไม่ไกลมากนักจะเจอคุ้มวงศ์บุรี นั้นคือที่ต่อไปที่เราจะไป
คุ้มวงศ์บุรี เริ่มก่อสร้างในปี พ.ศ.2440 แล้วเสร็จในปี พ.ศ.2443 โดยนายช่างชาวจีน จากมณฑลกวางตุ้ง มาเป็นผู้ควบคุมการก่อสร้างและมีช่างพื้นเมืองเป้นผู้ช่วยจนเสร็จสมบูรณ์ เป็นเรือนไม้สักทองขนาดใหญ่ 2 ชั้น ทรงไทยผสมยุโรป สีชมพูอ่อน ซึ่งเป็นสีดั้งเดิม ประดับตกแต่งด้วยลวดลายไม้ฉลุที่เรียกว่า “ขนมปังขิง” หรือ “Ginger Bread” ทั่วอาคาร
ที่ต่อขับรถไปอีกไม่ไกล เเต่ละพื้นที่อยู่ใกล้กัน ต่อที่วัดพงษ์สุนันท์
เดิมเป็นวัดร้างชื่อ "วัดปงสนุก" ไม่มีหลักฐานปรากฏว่าสร้างในสมัยใด แต่พบบันทึกว่าเมื่อปี พ.ศ. 2472 ผนังวิหารได้พังทลายลงเพราะเกิดน้ำท่วม ทำสังฆกรรมไม่ได้หลายปี ในปี พ.ศ. 2472 จึงได้มีการบูรณะวัด และสร้างวิหารใหม่ โดยหลวงพงษ์พิบูลย์และเจ้าสุนันตามหายศปัญญา พระมหาโกศล อคฺคธีโรจึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น “วัดพงษ์สุนันท์” ตามชื่อหลวงพงษ์พิบูลย์ และ เจ้าแม่สุนันตา วัดพงษ์สุนันท์ จนถึงปัจจุบัน และตั้งเป็นวัดประจำตระกูลวงศ์บุรีแต่นั้นมา
เดินต่อไปอีกวัดกันเลย วัดหลวง
วัดหลวง วัดเก่าแก่ที่สำคัญอยู่คู่บ้านอยู่เมืองแพร่มานับพันปีที่ วัดแห่งนี้สร้างขึ้นพร้อมๆ กับการสร้างเมืองแพร่ หลังสถาปนาเมืองได้ 1 ปี พญาพล กษัตริย์ผู้ก่อตั้งเมืองแพร่ จึงได้สร้างวัดหลวงขึ้น
เพื่อเป็นสถานที่ประกอบพิธีทางศาสนาและเป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาชน ถึงแม้จะผ่านกาลเวลามาเป็นพันปีแต่วัดหลวงอยู่อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์มาก ปัจจุบันทางกรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนให้วัดหลวงเป็นโบราณสถานของชาติที่มีอายุเก่าแก่นับพันปี
ภายในวัดมีวิหารหลวงพลนคร ซึ่งตั้งตามชื่อของกษัตริย์ผู้สร้างวัดและสร้างเมืองแพร่ เพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระเจ้าแสนหลวง พระประธานของเมืองแพร่ พระเจ้าแสนหลวงเป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่ประทับนั่งปางสมาธิสร้างโดยศิลปะ ล้านนาผสมกับสุโขทัย ในสมัยที่ขอมยกทัพเข้ารุกรานเมือง ใน ได้เผาทำลายทั้งเมืองและวัดรวมทั้งเผาลอกเอาทองหุ้มพระเจ้าแสนหลวงไปด้วย พร้อมกับได้ทำการเปลี่ยนชื่อเมืองพลเป็น "เมืองโกศัย"
ขับรถต่อไปกันที่ คุ้มวิชัยราชา เเต่เสียดายที่เข้าไปถ่ายด้านในไม่ได้
คุ้มวิชัยราชา อาคารไม้เก่าแก่ที่เป็นสถาปัตยกรรมอันล้ำค่ามีอายุกว่าร้อยปี อยู่คู่เมืองแพร่มายาวนาน สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างขึ้นก่อนปี พ.ศ. 2441 แต่เดิมนั้นคุ้มวิชัยราชา เป็นที่อยู่อาศัยของ เจ้าหนานขัติ แสนศิริพันธุ์ เสนาฝ่ายคลังในสมัยเจ้าพิริยเทพวงษ์ เจ้าผู้ครองนครแพร่องค์สุดท้าย เป็นราชบุตรในเจ้าแสนเสมอใจ ซึ่งเป็นเครือญาติเจ้าหลวงเทพวงศ์ และเป็นต้นราชสกุล แสนศิริพันธุ์
คุ้มแห่งนี้ก็ยังมีเรื่องราวความเป็นมาที่เกี่ยวพันกับประวัติศาสตร์และเหตุการณ์สำคัญหลายๆช่วงที่เกิดขึ้นในจังหวัดแพร่และประเทศไทย
ในช่วงที่โจรเงี้ยวก่อจลาจลปล้นเมืองแพร่และเข่นฆ่าข้าราชการไทยที่มาจากภาคกลางนั้น เจ้าหนานขัติ ซึ่งในขณะนั้นดำรงตำแหน่งดูแลคลังเมืองแพร่ ได้ให้ความช่วยเหลือข้าราชการที่ถูกพวกโจรเงี้ยวตามล่า ได้พาข้าราชการขึ้นไปหลบซ่อนบนเพดานบ้านหลังนี้เป็นเวลาหลายวันจนปลอดภัย และภายหลังท่านได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น “หลวงวิชัยราชา”
ไปต่อกันที่สุดท้ายกันเลย ที่ชุมชนเหมืองหิต สตรีทอาร์ตเเพร่
จบเเล้วทริปเที่ยว 1วัน 10ที่เที่ยวของจังหวัดเเพร่
สามารถติดตาม เพิ่มเติมอื่นๆได้ที่ เพจ เเพร่ชิล
https://www.facebook.com/ReviewPhrae8
แพร่ชิล
วันศุกร์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2563 เวลา 21.01 น.