พิพิธภัณฑ์พัฒน์พงศ์ (Patpong Museum) ย้อนประวัติศาสตร์ในม่านแสงสี วิถีชีวิต และธุรกิจ 18+ ที่ พัฒน์พงศ์มิวเซียม

วันนี้ Pira Story ขอพาทุกคนไปสัมผัสเรื่องราวของ “พัฒน์พงศ์” ย่านธุรกิจกลางคืนที่โด่งดังแห่งหนึ่งในประเทศไทย ในมุมมองที่แตกต่างจากที่เคย นั่งไทม์แมชชีนย้อนเวลาไปดูจุดเริ่มต้นของการทำงานเป็น “Sex Worker” ซึ่งเคยเป็นอาชีพที่ถูกกฎหมายและสร้างรายได้ให้ประเทศเป็นกอบเป็นกำ การตั้งฐานลับของ CIA จากอเมริกาในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จุดเริ่มต้นของ “บาร์อะโกโก้” ว่าทำไมสาว ๆ ถึงต้องขึ้นไปเต้นรูดเสาบนเวทีกัน หรือแม้แต่ผับบาร์สำหรับรสนิยมทางเพศแบบต่าง ๆ เช่น แบบซาดิสม์ แบบรักร่วมเพศ เป็นต้น

egohidmyic6r

พิระเรียนจบจากมหาวิทยาลัยใกล้ ๆ ซอยพัฒน์พงศ์นี่เองค่ะ ถึงจะเคยใช้ชีวิตอยู่แถวนี้มาหลายปี แต่ก็ไม่เคยมีโอกาสได้ไปเยือนซอยพัฒน์พงศ์ในยามค่ำคืนสักที

เดินผ่านตอนกลางวัน อาจจะรู้สึกว่านี่คือห้างร้านตึกแถวที่แสนเงียบเหงา ธรรมดา ไม่มีอะไรหวือหวาน่าสนใจ แต่พออาทิตย์เริ่มลับขอบฟ้า เปลี่ยนจากกลางวันเป็นกลางคืน ตอนนี้แหละที่พัฒน์พงศ์จะเริ่มกลับมาคึกคัก แสงไฟต่าง ๆ เริ่มสว่างไสว เสียงเพลงก้องดัง พร้อมกับผู้คนมากหน้าหลายตาที่เดินไปมากันขวักไขว่ ราวกับเมืองร้างที่เพิ่งตื่นจากการหลับใหล

w3kd5kgi3q6a
2oercj0f074c

พัฒน์พงศ์ ซอย 2 ที่มีบาร์สะพานลอยชื่อ Black Pagoda ทำด้วยกระจกใส พร้อมแสงไฟวูบวาบดึงดูดความสนใจ ตรงข้าม Foodland นี่คือที่ตั้งของ “พิพิธภัณฑ์พัฒน์พงศ์” (Patpong Museum) พิพิธภัณฑ์เล็กๆ แต่อัดแน่นด้วยกลิ่นอายความเป็นพัฒน์พงศ์ ที่เราจะได้ชมกันในวันนี้ค่ะ

ปกติพิพิธภัณฑ์แห่งนี้จะเปิดทุกวัน ตั้งแต่เวลา 11.00 - 20.00 น. โดยนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่มักจะเป็นชาวต่างชาติ เมื่อมีสถานการณ์โควิด ที่นี่จึงปรับเปลี่ยนวันเข้าชมเป็น วันศุกร์ - จันทร์ แทน โดยวันศุกร์และเสาร์ เปิดตั้งแต่ 13.00 - 22.00 น. วันอาทิตย์และจันทร์ เปิดตั้งแต่ 12.00 - 21.00 น. แทน กลุ่มคนที่เข้าชมก็เปลี่ยนเป็นนิสิต นักศึกษาระดับมหาวิทยาลัยที่เข้ามาศึกษาเรียนรู้เรื่องราวของพัฒน์พงศ์

g35npz44jqc8

พิพิธภัณฑ์ล้อมรอบด้วยผับบาร์ต่าง ๆ มากมาย ทุกที่คือของจริง คนที่ทำงานที่นี่ก็คือตัวจริงเสียงจริง นอกจากการเดินชมเดินฟังเรื่องราวต่าง ๆ ในพิพิธภัณฑ์แล้ว เรายังออกมาสัมผัสกับบรรยากาศสถานที่จริง รวมถึงสามารถเข้าใช้บริการในสถานที่ต่าง ๆ เหล่านี้ได้จริงๆด้วยค่ะ

การที่พิพิธภัณฑ์ตั้งอยู่ในสถานที่จริงเช่นนี้ จึงทำให้เรารู้สึกอินและสัมผัสได้ถึงกลิ่นอายของพื้นที่นี้อย่างแท้จริงค่ะ

i3yn72vd4ubz

🎋เมื่อก้าวเข้าไปในพิพิธภัณฑ์ สิ่งแรกที่เห็นคือซุ้มประตูทรงจีน อาบไล้ด้วยแสงนีออนสีแดง ผสมผสานทั้งความเป็นจีนและไฟนีออนที่สื่อถึงสถานบันเทิงยามค่ำคืน เห็นแวบแรกก็งงว่าทำไมถึงทำเป็นสไตล์จีน ทั้ง ๆ ที่เวลานึกถึงซอยพัฒน์พงศ์ เรามักจะนึกถึงฝรั่งที่มานั่งดริงค์มากกว่าคนจีนเสียอีก

pz4ehfm6yo3r
pv58u0pm8qk6

นั่นเป็นเพราะพัฒน์พงศ์ตั้งอยู่บนที่ดินของชาวจีนไหหลำ ชื่อ “คณตุ้น แซ่ผู่” ซึ่งอพยพจากจีนเข้ามาตั้งรกรากในไทย ขยันขันแข็งทำงานจนได้รับสัมปทานเหมืองหินขาวที่เป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตปูนของบริษัทปูนซีเมนต์ไทย ต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 จึงพระราชทานบรรดาศักดิ์ให้คุณตุ้น แซ่ผู่ เป็น “หลวงพัฒน์พงศ์พานิช”

qy248nao7n59
skrkpihe9qvp

🌿พ.ศ. 2470 หลวงพัฒน์พงศ์พานิช ซื้อสวนกล้วยพร้อมบ้านไม้สักย่านชานเมืองกรุงเทพ ในราคา 3,000 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งกลายมาเป็นย่าน “พัฒน์พงศ์” ในปัจจุบันนั่นเอง แถมปัจจุบัน ราคาที่ดินแถวนี้ยังพุ่งสูงขึ้นเป็นอันดับต้น ๆ ของกรุงเทพฯ อีกด้วยค่ะ

lc8v4gguho7f

💚“โคมเขียว” ในยุคที่ Sex Worker ยังถูกกฎหมาย

ช่วงปลายรัชกาลที่ 5 เราสามารถสังเกตได้ว่าที่ไหนคือซ่องหรือโรงโสเภณีบ้างจากการดู “โคมไฟสีเขียว” ที่ห้อยอยู่หน้าสถานที่นั้น โดยสมัยนั้นมี “พระราชบัญญัติป้องกันสัญจรโรค รัตนโกสินทร์ศก รศ.127” (พ.ศ.2453) ที่กำหนดให้โรงโสเภณีหรือซ่องโสเภณีต้องห้อยโคมไว้หน้าบ้าน เพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถตรวจตราได้อย่างทั่วถึง

15jfc4medb85

แรกเริ่มเดิมทีนั้น ไม่ได้บังคับว่าจะต้องห้อยโคมสีเขียวค่ะ จะใช้โคมสีอะไรก็ได้ ขอให้นำโคมมาห้อยหน้าบ้านก็พอ แต่ตอนที่เจ้าหน้าที่นำตัวอย่างโคมมาให้ประชาชนดูนั้น เจ้าหน้าเลือกใช้โคมที่ทำจากกระจกสีเขียว ประชาชนก็เลยนำไปใช้ตามบ้าง จนกลายเป็น “โคมเขียว” ไปโดยปริยายนั่นเองค่ะ

zvihyo7qe763

พระราชบัญญัติฯ นี้ยังครอบคลุมและบังคับใช้ในประเด็นด้านล่างนี้ด้วยค่ะ

  • ผู้ที่จะเป็นนายโรงหญิงนครโสเภณีต้องเป็นผู้หญิงเท่านั้น นี่จึงเป็นจุดเริ่มต้นของ “แม่เล้า” นั่นเอง
  • การตั้งโรงหญิงนครโสเภณีต้องได้รับอนุญาตและมีใบอนุญาตเสียก่อน
  • นายโรงต้องทำบัญชีหญิงนครโสเภณี ทั้งผู้หญิงที่ทำงานประจำและคนที่เพิ่งเข้ามาใหม่
  • ห้ามรับเด็กหญิงที่ไม่มีใบอนุญาต
  • ห้ามรับเด็กหญิงที่อายุต่ำกว่า 14 ปี
  • ห้ามกักขังหญิงนครโสเภณี
  • ห้ามทำสัญญาผูกมัดหญิงนครโสเภณี
  • ห้ามจุ้นจ้าน เช่น ยื้อยุด ฉุด ลาก ให้ผู้ชายเข้ามาเที่ยว
  • ห้ามล่อลวงผู้หญิงมาเป็นโสเภณีโดยไม่สมัครใจ เพื่อป้องกันการข่มขืนล่วงประเวณี เป็นต้น
y2oc1a4a250z

✈️พัฒน์พงศ์กับขบวนการเสรีไทย ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2

ก่อนจะกลายเป็นย่านสถานบันเทิงเช่นในปัจจุบัน พัฒน์พงศ์เคยเป็นที่ตั้งของบริษัทต่างชาติมากมาย รวมถึงสำนักงานของ CIA ประจำประเทศไทยด้วย

xer8g92mqqxk
berkovvmyfpj
58zoz7eivedc
l23s7v194oyw
uxgds62po3kr
1rgafrgyn84a
5vljlqrcyv5p


คุณอุดม พัฒน์พงศ์พานิช ลูกชายของหลวงพัฒน์พงศ์พานิชไปเรียนที่อเมริกา ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 คุณอุดมเดินทางกลับมาที่ไทยและเข้าร่วมกับ “ขบวนการเสรีไทย” เพื่อต่อต้านการรุกรานของกองทัพญี่ปุ่น ซึ่งขบวนการเสรีไทยนั้นก็ได้รับการสนับสนุนจากสำนักข่าวกรองกลางของรัฐบาลสหรัฐ หรือ CIA

pbqy0b9dum1j
vah4nv91krf6

ทำให้คุณอุดมมีเพื่อนเป็น CIA มากมาย จึงชวนเพื่อน ๆ เข้ามาทำธุรกิจในพัฒน์พงศ์ ไม่ว่าจะเป็น IBM (ตึกพิพิธภัณฑ์แห่งนี้เคยเป็นตึก IBM มาก่อนค่ะ) บริษัทน้ำมัน Caltex และสายการบินจากทั่วโลก (สมัยนั้นไม่มีการขายตั๋วเครื่องบินผ่านทางออนไลน์ ต้องมาซื้อผ่านบริษัทเท่านั้น) จนทำให้พัฒน์พงศ์เป็นที่ตั้งของธุรกิจยักษ์ใหญ่จากต่างชาติมากที่สุดในยุคนั้น เกิดเป็นอาคารพาณิชย์ทันสมัยขึ้นมากมาย กลายเป็นย่านธุรกิจที่สำคัญแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ เลยค่ะ

1rrlq738hf54
o3so6twsz7en

🛩️สำนักงานและฐานที่ตั้งของ CIA ในประเทศไทย

ซอยพัฒน์พงศ์แห่งนี้ เคยเป็นที่ตั้งของสำนักงาน CIA ประจำประเทศไทย โดยมีการจำลองโต๊ะทำงานของ CIA ในเราดูในพิพิธภัณฑ์ด้วยค่ะ

i4jyeb33gi5i
9pxn91cmdwvt
jtp9a8jle80w
i3vsye2ziexg
xzs0ctkj1ebq
oks7myhdmtkr

ถ้าพูดถึง CIA บุคคลหนึ่งซึ่งมีชื่อเสียงเลื่องลือในเรื่องความโหดและเคยเข้ามาอยู่ในประเทศไทย คือ “แอนโทนี โพเชอปนี” (Anthony Poshepny) หรือ “Tony Poe” CIA ผู้มีบทบาทสำคัญในสงคราม และเป็นที่รู้จักจากการตัดหู และตัดหัวของฝ่ายศัตรู เพื่อเป็นการส่งรายงานให้กับผู้บัญชาการค่ะ

kftwpj5rrtrk
wpapykzgk0qz
8ps4r7ba5dlt

เรื่องราวของ Tony Poe ถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์เรื่อง Apocalypse Now (1979) ใครสนใจก็ลองตามไปดูกันได้นะคะ

yz3bomdnfv24
ksuod1gc4pss

มีปืนของ Tony Poe ให้ดูด้วยค่ะ

yk6ivjxjyhnx
hl58kw9u7tjd

โดยภายในพิพิธภัณฑ์จะมีทั้งคลิปวิดีโอที่สัมภาษณ์อดีต CIA ถึงเรื่องราวการใช้ชีวิตในพัฒน์พงศ์ รวมไปถึงภาพถ่ายต่างๆอีกเพียบ ใครที่สนใจการที่ CIA เข้ามาตั้งสำนักงานในไทยในช่วงสงครามเย็น มาศึกษาที่นี่เลยค่ะ มีทั้งบันทึก ภาพถ่าย คลิปวิดีโอให้ชมมากมายแบบไม่มีกั๊กเลยค่ะ

obxpvgdeczh4

ตรารูปปีกนกมุมขวาบนคือตราของ "Air America" สายการบินที่ก่อตั้งขึ้นอย่างลับ ๆ โดยรัฐบาลสหรัฐอเมริกา เพื่อใช้ส่งผู้โดยสารและขนส่งสินค้า โดยเฉพาะใช้งานในโครงการข่าวกรองของ CIA เพื่อปฏิบัติงานข่าวกรองในประเทศจีนค่ะ

kdhjrfxa5xy6

ในห้อง Dragon เราจะพบกับมังกรสีแดงขนาดใหญ่ พร้อมโมเดลจำลองพื้นที่พัฒน์พงศ์ทั้งหมด เราเดินดูโมเดลเสร็จแล้ว ก็สามารถออกไปชมตึกอาคารของจริงที่ด้านนอกพิพิธภัณฑ์ต่อได้เลยค่ะ

g9sf314pjjg8

พัฒน์พงศ์ ซอย 2 ที่มีบาร์สะพานลอยชื่อ Black Pagoda ทำด้วยกระจกใส พร้อมแสงไฟวูบวาบดึงดูดความสนใจ ตรงข้าม Foodland นี่คือที่ตั้งของ “พิพิธภัณฑ์พัฒน์พงศ์” (Patpong Museum) พิพิธภัณฑ์เล็กๆ แต่อัดแน่นด้วยกลิ่นอายความเป็นพัฒน์พงศ์ ที่เราได้ชมกันในวันนี้ค่ะ

dhfza72llj6l

บาร์สะพานลอยชื่อ Black Pagoda ทำด้วยกระจกใส พร้อมแสงไฟวูบวาบดึงดูดความสนใจ ในพัฒน์พงศ์ ซอย 2

cqswploa73qo
lf20badhzasx
jyhib9ekr2t3
b5k9ovx2w87g

อาคารที่เคยใช้เป็นสำนักงานของ CIA ก็มีการจำลองเป็นโมเดลให้ชมกัน แถมตึกของจริงก็ยังตั้งอยู่ในซอยพัฒน์พงศ์ เดินไปชมตึกจริงกันได้เลยค่ะ (สำนักงานของ CIA ในพัฒน์พงศ์ มี 2 ตึก เป็นตึกสีแดงในโมเดลด้านล่างนี้ค่ะ)

lxco2ta5xsl9
agv16l5oqx18
b15waern09xc

🌃 จุดเริ่มต้นของย่านสถานบันเทิงยามค่ำคืนที่พัฒน์พงศ์

กลางยุค 70s ถึงต้นยุค 80s บริษัทต่างชาติเริ่มย้ายออกจากพื้นที่พัฒน์พงศ์ บริษัทห้างร่านต่าง ๆ จึงถูกแทนที่ด้วยไนท์คลับ และเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เกิด “บาร์อะโกโก้” แห่งแรกในประเทศไทย

จุดเริ่มต้นของบาร์อะโกโก้ เกิดจากการที่มีสาว ๆ ขึ้นไปเต้นบนบาร์ เมื่อตำรวจเข้ามาตรวจสอบ ก็พยายามที่จะเก็บค่าปรับ เพราะมีการเต้นรำกันภายในบาร์ แต่เจ้าของบาร์ซึ่งเป็นชาวต่างชาติให้เหตุผลว่า การเต้นรำจะต้องมีการจับคู่ เต้นกันเป็นคู่ ๆ แบบการเต้นลีลาศ ซึ่งแตกต่างจากการยืนเต้นบนบาร์ ที่ผู้หญิงแต่ละคนก็ต่างคนต่างเต้น ไม่มีการจับคู่ ด้วยเหตุผลนี้จึงสามารถรอดพ้นจากข้อหานี้มาได้ และเกิดเป็น "บาร์อะโกโก้" ขึ้นครั้งแรกในพัฒน์พงศ์ และถือเป็นบาร์อะโกโก้แห่งแรกในประเทศไทยด้วยค่ะ

สาเหตุที่เรียกบาร์ที่มีสาว ๆ ขึ้นไปเต้นโชว์แบบนี้ว่า "อะโกโก้" เพราะเวลาที่ลูกค้าส่งเสียงเชียร์ มักจะตะโกนว่า "Go! Go!" เลยกลายเป็น "A-go-go" นั่นเองค่ะ

4q9n1mftxpz7
93s4t61q83en

คราวนี้มาถึงโซน 18+ ที่จะพาทุกคนไปชมโลกอีกใบหนึ่งของพัฒน์พงศ์กันค่ะ มีอะไรซ่อนอยู่เบื้องหลังม่านแดง 18+ นี้บ้าง ตามมาดูกันค่ะ (ไปฝึกท่าโพสแบบนี้มากจากไหนนนน 55555)

fe18n0zrsfyc

เริ่มต้นกันที่บาร์ที่จำลองมาจากบาร์อะโกโก้ของจริง มีเครื่องดื่มให้ดื่มจริง มีสาว ๆ มาเต้นให้ดู(ในจอทีวี)จริง ๆ
ที่นี่ เราสามารถสั่งเครื่องดื่มเย็นชื่นใจมาจิบกันเพลิน ๆ ได้แบบไม่จำกัดเวลา ถ้าใครซื้อบัตรเข้าชมราคา 350 บาท จะมีเครื่องดื่มให้เลือกฟรีถึง 2 เมนูเลยค่ะ คุ้มมาก ๆ เพราะแค่ค่าเครื่องดื่มก็เกินราคาค่าเข้าชมแล้ว เหมือนได้เข้าชมฟรีเลยค่ะ

trh0oulorw7p
7mynyyr7ggie

บัญชีเงินของการประกอบธุรกิจในเวลา 1 เดือน เมื่อปี พ.ศ. 2534 จะเห็นว่ามีเม็ดเงินที่สะพัดอยู่ในธุรกิจนี้มากมายขนาดไหน

bz4yrn4jhdt6

q7s1qmp6yb9i

มาถึงโซนที่พิระชอบมาก นั่นก็คือ "ปิงปองโชว์" ค่ะ!
สำหรับใครที่สงสัยว่าปิงปองโชว์คืออะไร มันคือการแสดงโชว์ โดยนำลูกปิงปองใส่เข้าไปตรงนั้นของผู้หญิงแล้วยิงออกมาเหมือนยิงลูกกระสุนค่ะ

ในห้องนี้จะมีเครื่องยิงลูกปิงปองหน้าตาสุดเซ็กซี่พร้อมไม้กระชอนให้เราฝึกความว่องไวในการรับลูกปิงปองกันค่ะ พี่ไกด้บอกว่า ถ้าเป็นนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ เขามักจะใช้ไม้ปิงปองตีโต้กลับค่ะ ก็น่าสนุกไปอีกแบบนะคะ ห้องนี้พิระขอเซนเซอร์ภาพเอาไว้ เพื่อความปลอดภัยในสวัสดิภาพของเพจ และอยากให้ทุกคนได้ไปชมด้วยตาตัวเองค่ะ

efxvh6vfm50b

เมื่อการถ่ายภาพโป๊ผิดกฎหมาย จึงมีการสร้างสรรค์ "ภาพวาดโป๊" ขึ้นมาแทนที่ หากเราลองซูมดูรูปในกรอบสีแดง จะเห็นภาพวาดโป๊เปลือยในอิริยาบถต่าง ๆ มากมายค่ะ

dfprx0maq72c

อีกจุดหนึ่งที่เป็นมุมถ่ายรูปยอดนิยมในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้คือ "เสา Pole dance" หรือ "การเต้นรูดเสา" ซึ่งเป็นการแสดงหนึ่งที่ต้องอาศัยทั้งความอ่อนช้อยของสรีระ และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อในการโหนตัวเองขึ้นไปบนเสา ที่พิพิธภัณฑ์พัฒน์พงศ์ มีจัดคลาสสอนการเต้นรูดเสาด้วยนะคะ หากใครสนใจ สามารถมาฝึกฝน ออกกำลังกายกันได้ค่ะ

gwb6p46893m1

อีกโซนที่น่าสนใจไม่แพ้กันคือ โซน "Fetish" หากใครเคยชมภาพยนตร์เรื่อง Fifty shades of Grey น่าจะเคยได้ยินคำว่า "Fetish" กันมาบ้าง รสนิยมทางเพศแบบนี้ต้องอาศัยความสมัครใจและยินยอมพร้อมกันกันทุกฝ่าย ที่นี่มีการจัดแสดงโมเดล และกรงของจริงให้เราลองเข้าไปถ่ายภาพด้านในได้ค่ะ

9zcjw16mj1pa
wesq4bgkdyr1

โมเดลจำลองการใช้อุปกรณ์แบบ Fetish

npajasgkvp8o

❤️พิพิธภัณฑ์พัฒน์พงศ์ แห่งนี้เริ่มต้นก่อตั้งโดย คุณไมเคิล เมสซ์เนอร์ (Michael Messner) ผู้เติบโตมาในครอบครัวศิลปิน และมีประสบการณ์การดูแลพิพิธภัณฑ์ที่บ้านเกิดมาก่อน ก่อนที่จะเดินทางมาลงหลักปักฐานในประเทศไทย เริ่มทำธุรกิจร้านอาหารในย่านพัฒน์พงศ์ ก่อนที่จะเปิดพิพิธภัณฑ์เพื่อบอกเล่าเรื่องราวทางประวัติศาสตร์และเบื้องหลังความเป็นมาของแสงสีอันเย้ายวนใจในย่านสถานบันเทิงยามราตรีกันเก่าแก่แห่งนี้นั่นเอง

b0wkmlpb9q6y
ys35yz3k69tb

🌻ในพิพิธภัณฑ์พัฒน์พงศ์ มีอะไรให้ดูบ้าง?

  • จุดเริ่มต้นของ “โคมเขียว” และ “Sex Worker” ในประเทศไทย
  • กฎหมายเกี่ยวกับธุรกิจ Sex Worker ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
  • ฐานบัญชาการลับของ CIA ที่เคยตั้งอยู่ในพัฒน์พงศ์
  • บาร์อะโกโก้แห่งแรกในประเทศไทย
  • ย่านสถานบันเทิงยามค่ำคืนแห่งแรก ๆ ในประเทศไทย
  • เรื่องราวของ “ปิงปองโชว์” นอกจากการยิงลูกปิงปองแล้ว ยังมีโชว์อื่นๆอีกมากมาย เช่น เปิดขวดเป่าเทียน เขียนหนังสือ ฯลฯ
3skilr4g76iw

ด้านหน้าพิพิธภัณฑ์ เราจะพบกับโซนขายของที่ระลึกมากมาย ทั้งเสื้อ กระเป๋า โปสการ์ด หนังสือ
พิระผู้ชื่นชอบการช้อปปิ้งก็ไม่พลาดที่จะซื้อหนังสือมาสักเล่มค่ะ

9qwux8i3mbtr
aiihc010ccw2

arumuiera56m

การเข้าชมจะมีมัคคุเทศก์หรือไกด์พาเข้าชม พร้อมอธิบายเรื่องราวความเป็นมาของ “พัฒน์พงศ์” ในแต่ละยุคสมัยอย่างเจาะลึก เปิดเผย ชัดเจน เรียกได้ว่าข้อมูลหลาย ๆ อย่างที่เราเคยฟังแบบอ้อม ๆ จากที่อื่น เบื้องลึกเบื้องหลังบางอย่างที่ยังคงเป็นปริศนาจนถึงทุกวันนี้ เช่น ประเทศไทยมีคนที่ทำงานเป็น Sex Worker จริง ๆ ไหม? เคยมี CIA จากอเมริกาแฝงตัวอยู่ในประเทศไทยจริง ๆ หรือเปล่า? ที่นี่อธิบายแบบตรงไปตรงมา ชัดเจนสุด ๆ เพราะฉะนั้น ไม่ควรพลาดนะคะ ข้อมูลวงในมากค่ะ

เราจะใช้เวลาเดินชมพร้อมมัคคุเทศน์ประมาณ 50 นาที - 1 ชั่วโมง หลังจากนั้น เราสามารถเดินชมภายในพิพิธภัณฑ์ต่อได้เต็มที่โดยไม่จำกัดเวลาค่ะ

dujq8hbba9eg


เดินชมพิพิธภัณฑ์เสร็จแล้ว ใครที่รู้สึกติดใจอยากแวะเที่ยวชมสถานที่จริงต่อ ลองพลิกดูด้านหลังของบัตรเข้าชม จะมีที่เที่ยวแนะนำอีก 5 ที่ในย่านพัฒน์พงศ์ให้เราแวะไปเยี่ยมชมกัน

แวะไปเที่ยวแล้วก็อย่าลืมบอกให้ร้านนั้นปั๊มตราปั๊มให้ เมื่อสะสมครบ 5 ดวง 5 ร้านแล้ว นำตราปั๊มแลกเสื้อยืดสุดพิเศษ Limited edition ที่พิพิธภัณฑ์พัฒน์พงศ์ได้เลยค่ะ!

ndjekgk15twt

zpgs94izxaes

กว่าจะจบทริปวันนี้ก็เกือบ 3 ทุ่มครึ่ง พิระเดินลงมาหน้าพิพิธภัณฑ์ก็พบสาว ๆ ในชุดอันเดอร์แวร์สุดเซ็กซี่กำลังยืนรอต้อนรับลูกค้ากันอยู่ การชมพิพิธภัณฑ์ในวันนี้ ทำให้พิระมองสาว ๆ และคนทำงานธุรกิจนี้ในมุมมองที่เปลี่ยนไป มีโอกาสได้เปิดใจ เปิดโลกทัศน์ในการเรียนรู้ของเราให้กว้างยิ่งขึ้น รู้สึกเข้าใจ เห็นอกเห็นใจทุกคนมากยิ่งขึ้น ใครที่ยังไม่มีประสบการณ์ได้สัมผัสเรื่องราวในมุมนี้ พิระอยากแนะนำให้ลองมาสัมผัสด้วยตัวเองจริง ๆ ค่ะ เราจะได้เห็นมุมมองใหม่ที่เราไม่เคยได้เห็นมาก่อนค่ะ

--------------------------------------------------------

Patpong Museum (พิพิธภัณฑ์พัฒน์พงศ์) ตั้งอยู่ที่ ถนนพัฒน์พงศ์ ซอย 2 (ใกล้ BTS ศาลาแดง และ MRT สีลม)

แผนที่: https://g.page/PatpongMuseum?s...

เข้าชม วันศุกร์ - วันจันทร์

  • วันศุกร์ - วันเสาร์ เวลา 13.00-22.00 น.
  • วันอาทิตย์ - วันจันทร์ 12.00-21.00 น.

ปิดให้บริการในวันอังคาร - วันพฤหัสบดี

ค่าเข้าชม:

  • นักเรียน นิสิต นักศึกษา 150 บาท
  • คนไทยและชาวต่างชาติ 250 บาท
  • คนไทยและชาวต่างชาติ พร้อมรับเครื่องดื่มพิเศษฟรี 2 เมนู 350 บาท ***คุ้มมากค่ะ

Facebook : https://www.facebook.com/patpo...

Website : https://www.patpongmuseum.com/...

E-mail : [email protected]

Tel. : 0918876829

------------------------------------------------------

ความคิดเห็น