rib66b5z8uom

Yala 2021 ชมไฟประดับของดีเมืองยะลา ใต้สุดสยาม เมืองงามชายแดน ที่วงเวียนหอนาฬิกา เทศบาลนครยะลา

ทริปนี้ Pira Story ขอพาทุกคนล่องใต้ไปชมความสวยงามของไฟประดับพร้อมแสงสีเสียงสวยงามที่จังหวัดยะลา จังหวัดที่อยู่ใต้สุดของประเทศไทยกันค่ะ
😊 แผนที่หอนาฬิกา: https://goo.gl/maps/YUNvfKQJZR...

y0tncvao0lwr

เทศบาลนครยะลานำไฟประดับมาตกแต่งเมืองแบบนี้เป็นปีที่ 6 แล้วค่ะ เพื่อปรับภาพลักษณ์ของเมืองยะลาให้เป็นเมืองที่น่าอยู่ น่าท่องเที่ยว ยามค่ำคืนก็คึกคัก และที่พิเศษมาก ๆ คือปีนี้มีการนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ รวมไปถึงแสงเลเซอร์เคลื่อนไหววิบวับ น่าสนใจมากขึ้น แถมยังนำเสนอเอกลักษณ์ของจังหวัดยะลาให้ได้ชมในรูปแบบสนุก ๆ ด้วยค่ะ แนะนำให้มาตอนเย็นจนถึงมืด จะได้ชมความสวยงามของแสงสียามค่ำคืนท่ามกลางอากาศสบาย ๆ กันค่ะ

ไฟประดับแบ่งออกเป็น 4 โซน รอบวงเวียนหอนาฬิกา เทศบาลนครยะลา ได้แก่

❤ โซนแห 

โซนนี้จะมีตาข่ายแหขนาดใหญ่สีน้ำเงินส่องแสงวิบวับ ออกแบบให้เหมือนแหตามลักษณะที่มาของชื่อเมือง และเหมือนแหที่โดนเหวี่ยงออกปกคลุมพื้นที่ โดยชื่อจังหวัดยะลา (เขียนเป็นภาษามลายูว่า Jala) หรือสำเนียงภาษามลายูพื้นเมืองเรียกว่า “ยาลอ” (เขียนเป็นภาษามลายูว่า Jalor, ญาโลร์) แปลว่า “แห” ซึ่งเป็นคำยืมมาจากภาษาบาลี – สันสกฤตว่า ชาละ หรือ ชาลี หมายถึง “แห” หรือ “ตาข่าย” 

eic872zp0fzn

ที่มาของคำว่า “ยะลา” ซึ่งแปลว่า “แห” นี้ตั้งตามลักษณะของมีภูเขาในเขตอำเภอเมืองยะลาที่มีลักษณะเหมือนแหจับปลาที่ผูกจอมแหแล้วถ่างตีนแหไปโดยรอบ เหมือนแหที่กำลังถูกทอดออกไป คนจึงเรียกภูเขาลูกนี้ว่า “ยะลา” หรือ “ยาลอ” ก่อนที่จะนำมาตั้งเป็นนามเมืองค่ะ 

33sd8ajpies0



❤ โซนปลามังกร 

โซนนี้จะจัดแสดงรูปปั้นปลามังกรหลากสี ซึ่งปลามังกรนี้เป็นปลาประจำอำเภอรามัน จังหวัดยะลา 

8co724fl8o4n

ปลามังกรเป็นปลาที่ชอบเล่นแสงไฟ เวลาจับปลาพันธุ์นี้ ชาวประมงจะนำไฟสี ๆ ไปล่อแล้วใช้สวิงดักจับ ตัวของปลามังกรเองก็มีหลากหลายสีสันขึ้นอยู่กับชนิด เลยเกิดเป็นแนวคิดการทำรูปปั้นปลามังกรที่สามารถเปลี่ยนสีไปมาได้ กำลังแหวกว่ายอยู่ท่ามกลางทุ่งหลอดไฟที่ชาวประมงนำมาใช้ล่อปลานั่นเองค่ะ

ci55jxpegbv9
pas4dzedk6o3



❤ โซนปลาพลวงชมพู 

ปลาพลวงชมพูเป็นปลาประจำจังหวัดยะลา โดยใน พ.ศ.2542 พระพันปีหลวงเสด็จฯ มาปล่อยพันธุ์ปลาพลวงชมพูที่เขื่อนบางลาง ก่อนที่จะมีพระราชดำริให้เลี้ยงในฟาร์มพระราชดำริ จนสถานีประมง จังหวัดยะลาสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้ปริมาณมากค่ะ 

pu3krvvrxr4z
21c1kzbbhrz3

ตรงโซนนี้จึงฉายภาพฝูงปลาพลวงหินสีชมพูบนสนามหญ้า ให้ทุกคนเดินชม ถ่ายภาพสวย ๆ กันได้ โซนนี้เด็ก ๆ ชอบกันมากเลยค่ะ วิ่งเล่นไล่จับปลากันสนุกสนานเลยค่ะ

enho083uh6m3
f6vwiy65v9nb



❤ โซนนกเขาชวา 

โซนนี้น่ารักมากค่ะ มีปะติมากรรมนกเขาชวาสวย ๆ ที่กำลังร้องกุ๊กกู ๆ ดังกังวลไปทั่ว ให้ฟังเพลิน ๆ ระหว่างเดินชมความสวยงามด้วย แรงบันดาลใจของโซนนี้เกิดจากการที่จังหวัดยะลาเป็นเมืองแห่งนก มีทั้งนกเขา นกกรงหัวจุก นกเงือกที่มีชื่อเสียง 

9jrfhdfgelw1
psxau5whq2rs

นอกจากนี้ที่ยะลายังมีงานแข่งนกเขาชวาเสียงอาเซียนที่มีชื่อเสียงระดับชาติแถมยังเป็นเป็นกิจกรรมที่เชื่อมสัมพันธ์ระหว่างคนต่างเชื้อชาติ ศาสนา และวัฒนธรรมอีกด้วยค่ะ

21humsol4uwl
dnfp31vy2v3i


มองแวบแรกอาจจะคิดว่านี่คือไฟประดับตกแต่งเพื่อต้อนรับปีใหม่ที่กำลังจะมาถึงเพียงเท่านั้น แต่หากเราลองมองลึกลงไปถึงวัตถุประสงค์ในการจัดแสดงไฟประดับเหล่านี้เพื่อให้พื้นที่บริเวณนี้มีสีสัน สว่างไสว คึกคัก ทำให้รู้ว่า สิ่งที่เรากำลังดูอยู่นั้นไม่ใช่เพียงแค่ไฟประดับเพื่อความสวยงามเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่นี่คือความพยายามที่จะเล่าเรื่องราวให้คนทั่วไปได้รับรู้ว่ายะลามีอะไรดี ยะลาเป็นเมืองน่าเที่ยว ยะลาไม่น่ากลัวอย่างที่ใคร ๆ คิด 

เมื่อรู้อย่างนี้แล้ว พิระจึงอยากให้ความพยายามของเค้าสำเร็จ อยากจะส่งต่อ บอกเล่าเรื่องราวดี ๆ ของจังหวัดนี่ ในฐานะนักท่องเที่ยวคนหนึ่งที่เดินทางมาที่นี่ด้วยตัวเองจริง ๆ ค่ะ

ปกติเพจ Pira Story มักจะลงท้ายว่า ใครที่ผ่านมาแถวนี้ก็แวะมาดูได้ ครั้งนี้มันไม่ใช่ เพราะจังหวัดยะลาอยู่ใต้สุดของประเทศไทย ถ้าจะมาเที่ยวก็คือต้องตั้งใจเดินทางมาจริง ๆ วันนี้พิระจึงไม่ได้เดินทางมาที่นี่ในฐานะของ Blogger ที่จะมาทำคอนเทนต์ แต่พิระเดินทางมาในฐานะของนักท่องเที่ยวคนหนึ่ง ที่เดินทางมาเที่ยว มาเยี่ยมเยือนมาสัมผัสยะลาด้วยตัวเอง และก็รับรู้ได้ถึงความสงบ สวมงาม มีเสน่ห์ของยะลา จึงอยากเชิญชวนทุกคนให้มาสัมผัสความน่ารักของยะลาด้วยกันค่ะ มาเถอะค่ะ มาให้เห็นด้วยตาตัวเองว่าที่นี่น่าเที่ยวขนาดไหนค่ะ
------------------------------------
ติดตามช่องทางอื่น ๆ ของ Pira Story ได้ที่
😊 Facebook: https://www.facebook.com/PiraP...
😊 Twitter: https://twitter.com/PiraPira_S...
😊 Instagram: https://www.instagram.com/pira...
😊 Blog: https://pirastory.com/

ความคิดเห็น