เห็น Facebook TAT Bangkok (https://www.facebook.com/tatbangkok) โพสต์ประชาสัมพันธ์ กิจกรรมเดินท่องเที่ยวชุมชนย่านบางลำพู “เสนาะเสียง เสน่ห์แสง แห่งย่านบางลำพู” สมัครร่วมกิจกรรม 8 รอบเท่านั้น พิเศษ! ได้ขึ้นชมฐานแรกของป้อมพระสุเมรุ ถนนพระอาทิตย์ วันที่ 25-26 มิย. 65 พบกัน พิพิธบางลำพู

ก็สมัครทันทีแบบไม่ลังเลใจ เพราะเมื่อ 3 ปีก่อนเราเคยร่วมกิจกรรมเดินทัวร์ย่านบางลำพู โดยไกด์เด็กบางลำพู แล้วประทับใจมากกกกกกกก ทั้งที่ดูแล้วกิจกรรมครั้งนี้น่าจะน้อยกว่าครั้งก่อนและเสียเงิน 300 บาทด้วย (ครั้งก่อนฟรี) 

แต่เป็นเงินที่เอาไว้สนับสนุนกิจกรรมของ "ไกด์เด็กบางลำพู" และที่สำคัญคือได้ขึ้นชมฐานป้อมพระสุเมรุที่ไม่เคยเปิดให้ใครขึ้นชมใาก่อนด้วยน่ะสิ แบบนี้จะพลาดได้ไง ก็เลยรีบสมัคร รีบโอน ก่อนที่จะเต็มซะก่อน เพราะเขารับรอบละ 20 คนเท่านั้นเอง

9f318lp85c3h

เราเลือกสมัครรอบที่ 3 เวลา 17.00 - 18.30 น. วันเสาร์ที่ 25 มิถุนายน 2565 เพราะช่วงบ่ายถึงบ่าย 3 ต้องไปร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ “เรียนรู้ศิลปะสมัยใหม่ของไทย สู่รากฐานการอนุรักษ์งานศิลปะ” แถวๆ นั้นอยู่แล้ว ก็เลยออกวันเดียวให้จบๆ 

9r19r7lclexb

จบกิจกรรมตอนบ่าย 3 ที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ตรงข้ามมาบุญครอง ก็นั่งรถเมล์สาย 15 ต่อเดียวมาถึงบางลำพูเลย ใช้เวลาเดินทางประมาณครึ่งชั่วโมง ... ตั๋วรถเมล์เลขสวยดี ไม่ได้ใบ้หวยน้าาา

vpnw8zrt7yqo

มาถึงก่อนเวลา 1 ชั่วโมง หาอะไรกินก่อน
ก๋วยเตี๋ยวเป็ดแห้ง ร้านฮ่องกงนูดเดิ้ล อยู้ตรงหัวมุมแยกบางลำพู

asu6cwuctq41

กินเสร็จก็เดินไปที่พิพิธบางลำพู เพื่อลงทะเบียนก่อนเวลา 20 นาที (เขานัดไว้แบบนั้น)

u79gtpeurpor

ลงทะเบียนแล้วเข้าไปนั่งตากแอร์รอในพิพิธบางลำพู (https://www.facebook.com/pipitbanglamphu) ชั้นล่างเป็นส่วนที่ให้ชมฟรี

วันเวลาทำการ

วันอังคาร - วันศุกร์
8.30 - 16.30 น.
รอบเข้าชมรอบสุดท้าย 15.00 น.

วันเสาร์ - อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์
10.00 - 18.00 น.
รอบเข้าชมรอบสุดท้าย 16.00 น.

อัตราค่าเข้าชม
บุคคลทั่วไป บัตรราคา 50 บาท
เด็ก/นักเรียน อายุ 10-18 ปี บัตรราคา 20 บาท

บุคคลที่ยกเว้นค่าเข้าชม :
ผู้สูงอายุ เด็กอายุต่ำกว่า 10 ปี

ข้อมูลจาก http://banglamphumuseum.treasury.go.th/

y7qm9vgsh530

แนวกำแพงเมืองอยู่ในส่วนของ "ป้อมเขตขัณฑ์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์"

7i440klekvwk

ถึงเวลา 5 โมงเย็น รวมตัวกันที่หน้าประตูทางเข้าพิพิธบางลำพู ตรงจุดที่ลงทะเบียน

น้องๆ ไกด์เด็กบางลำพูเล่าประวัติของป้อมพระสุเมรุและพิพิธบางลำพู ตั้งแต่สมัยที่เป็นพระนิเวศน์ของรัชกาลที่ 1 ก่อนจะย้ายไปอยู่ที่วังหน้าแล้วยกให้กรมหลวงจักรเจษฎา --> กรมธนารักษ์ --> กระทรวงศึกษาธิการเช่าพื้นที่เปิดโรงพิมพ์คุรุสภา

มีโรงเรียนช่างพิมพ์วัดสังเวช เป็นโรงเรียนการพิมพ์แห่งแรกของไทยอยู่ที่นี่ด้วย น้องไกด์ฯ บอกว่ายังมีอาคารเหลือให้ชมอยู่ด้านใน ไว้วันหลังต้องมาชมแบบเจาะลึกสักทีละ

หลังโรงพิมพ์ถูกปิดช่วงเศรษฐกิจตกต่ำหลังสงครามโลก ที่นี่ก็กลายเป็นตึกร้างมานาน และจะถูกรื้อทิ้ง แต่ชาวบ้านแถวนี้ไม่เห็นด้วย เลยร่วมแรงร่วมใจกันมานั่งเรียกร้องคัดค้านการรื้ออาคารที่ริมถนน จนอาคารนี้ได้รับขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานจากกรมศิลปากร มีการบูรณะซ่อมแซมมาตลอดจนกลายมาเป็นพิพิธบางลำพูนั่นเอง

686w2slo4xeh

น้องๆ พาเดินไปที่ชุมชนเขียนนิวาสน์-ตรอกไก่แจ้ ระหว่างทางมีปั๊ม ปตท.ที่เคยเป็นโรงละครร้องแม่บุนนาค ที่ใช้นักแสดงหญิงล้วน แต่พอถึงยุคที่มีโรงหนังเปิดกันเยอะๆ โรงละครนี้ก็ปิดตัวลง กลายเป็นโรงถ่าน และปั๊มน้ำมัน

p2a885wvq46k

เริ่มที่ตรอกไก่แจ้กันก่อน

ชื่อชุมชนมาจากการที่คนเดินผ่านไปผ่านมาไม่รู้จะเรียกแถวนี้ว่ายังไง เลยเรียกชื่อตามกังหันบอกทิศทางลมรูปไก่แจ้ที่อยู่บนหลังคาบ้านพระนิติธานภิเษก

แต่ไม่ใช่หลังนี้นะ บ้านของพระยานิติธานภิเษกถูกรื้อไปแล้ว บ้านตระกูลอำพันเจอกังหันลมนี้ตอนปรับปรุงบ้าน ก็เลยเอามาติดให้ดูเป็นตัวอย่าง น่ารักจริงๆ

n7ngvesvod3p

ภาพสตรีทอาร์ตชุดใหม่ "แม่เปี๊ยก บ้านปักชุดโขนชุดละคร" 

แต่ก่อนไม่ใช่รู่ปนี้ แต่ต้องทำใหม่เพราะโดนบอมบ์งานจากคนเมา


ดูคลิปคำขอโทษจากเหตุการณ์ที่มีกลุ่มวัยรุ่นเข้ามาพ่นสี
หรือที่เรียกว่า "การบอม" ทับงานภาพวาดชุมชน ... จากเพจเสน่ห์บางลำพู https://www.facebook.com/watch...

2r2xfczs2u49

สสส. (สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ) ผู้สนับสนุนไกด์เด็กบางลำพู

tpiggy8hj2tl

แผนที่บอกเล่าเรื่องราวของบางลำพู ใครไม่รู้จะเดินไปชุมชนไหน ก็มาดูแผนที่ตรงนี้ได้

ชุมชนในย่านบางลำพูมี 7 ชุมชน

  1. ชุมชนเขียนนิวาสน์-ตรอกไก่แจ้ (เด่นเรื่องการทำชุดโขน-ละคร)
  2. ชุมชนมัสยิดจักรพงษ์ (เด่นเรื่องการทำทอง)
  3. ชุมชนวัดสังเวช (เด่นเรื่องบ้านดนตรีไทยดุริยประณีต)
  4. ชุมชนวัดสามพระยา (เด่นเรื่องขนมข้าวต้มน้ำวุ้น)
  5. ชุมชนวัดใหม่อมตรส (เด่นเรื่องการแทงหยวกและเชิดสิงโต)
  6. ชุมชนบ้านพานถม (เด่นเรื่องการทำขันน้ำพานรอง)
  7. ชุมชนบวรรังษี (เด่นเรื่องการทำทองคำเปลว)
hjq70ep4vlf1

ภาพ "น้องประสิทธิโชค" และ "ขนมเกสรลำพู"

85nh4jvavduq

หัวโขนหนุมานแบบร่วมสมัย มีหุ่นยนต์อยู่ข้างใน เป็นการประยุกต์รวมของอดีตกับปัจจุบัน

5k5o6mqcderi

กราฟิตี้ของทีมฟ้อนต์สวัสดี คำว่า "Banglamphu" (บางลำพู)

uu80e68n4kn2

น้องๆ พาเดินเข้าซอยลับที่ทะลุออกชุมชนเขียนนิวาสน์ แต่ไม่แนะนำให้มาตอนมืดๆ นะ มันเปลี่ยว

บ้านแม่เปี๊ยกที่ปักชุดโขนชุดละครในภาพสตรีทอาร์ต อยู่ในชุมชนเขียนนิวาสน์ แต่ไม่ได้เข้าไป เพราะแม่เปี๊ยกอายุมากและไม่ได้ฉีดวัคซีน ถ้าจะชมงานปักชุดก็ชมได้ที่แม่อ้อย (ลูกสะใภ้แม่เปี๊ยก) ที่ทำเวิร์กช็อปที่พิพิธบางลำพู

ชื่อชุมชนเขียนนิวาสน์มาจากชื่อโรงเรียนเขียนนิวาสน์ ที่ก่อตั้งโดย ม.ล.เติม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา แต่ต้องยุบโรงเรียนเพราะไม่มีคนสืบทอด ตอนนี้เป็นหมู่บ้านจัดสรรไปแล้ว

upc6fhbs7pnw

ระหว่างทางเดินไปสวนสันติชัยปราการ มีซุ้มประตูวังเก่า แนวกำแพงพระนคร 

ศาลที่เห็นนี้คือ ศาลกรมหลวงจักรเจษฎา (พระอนุชาของรัชกาลที่ 1) คนในชุมชนจะจัดงานประจำปีรำถวายให้กับท่าน

uc2xsw5a0nqk

ตึกสีเขียวแดงทั้งหมดเป็นที่ของทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ มีร้านอาหารอร่อยๆ เรียงรายทั้งใหม่และเก่า เช่น ร้านพัวกี่ ร้านครัวนพรัตน์ ร้านมะตะบะ ฯลฯ

08godtu6hq5z

เดินขึ้นสู่สวนสันติชัยปราการ

q1osdmlpcqz8

ประติมากรรมวิถีชีวิตคนในย่านบางลำพูสมัยก่อนในแต่ละยุคสมัย

o8b1mmm8dgpe

น้องๆ เล่าเรื่องที่มาของบางลำพูและต้นลำพู

zs931z7he8g8
do4mvw5tq35c

ขนม “เกสรลำพู” ทำจากมันม่วง ข้างในเป็นไส้นม ใช้หญ้าหวานแทนน้ำตาล ที่พัฒนามาจากขนมไร้กังวลในซีรีย์จีน

แต่ละคนได้ลายไม่เหมือนกัน มีทั้งหมด 9 ลาย เป็นวัฏจักรของบางลำพู เราได้ลายป้อมพระสุเมรุ

น้องๆ รับพรีออเดอร์ที่เพจเสน่ห์บางลำพู https://www.facebook.com/sanae...

dne2dx9p438l

ภาพลายทั้ง 9 แบบจากเพจเสน่ห์บางลำพู คลิกดูรายละเอียดของขนมเกสรลำพูที่นี่ https://www.facebook.com/13754...


ติดตามเรื่องราวของพระที่นั่งสันติชัยปราการ บรรยากาศริมแม่น้ำเจ้าพระยา สะพานพระราม 8 อาคารเก่าแก่ริมแม่น้ำ และประวัติความเป็นมาป้อมพระสุเมรุ พร้อมกับขึ้นชมรอบฐานชั้นแรกของป้อมพระสุเมรุที่เป็นไฮไลต์ของกิจกรรมวันนี้ได้ในตอนต่อไปน้าาาาา 

(อ่านตอนที่ 2 https://th.readme.me/p/41598)

จรรย์สรณ์ บัวภา

Read.Trip หยิบใส่เป้

 วันอาทิตย์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2565 เวลา 16.32 น.

ความคิดเห็น