"ทริปเชียงใหม่ก่อนผ่าตัดหัวใจ" by ลูกสาวพาทัวร์ ตอน 4

วัดอุโมงค์



ออกจากวัดต้นเกว๋น มาถึงวัดอุโมงค์เกือบ 5 โมงเย็น แดดร่มลมตก บรรยากาศร่มรื่น

มาที่นี่เพราะอยากมาดูภาพจิตรกรรมผาผนังภายในอุโมงค์ของวัดอุโมงค์

วัดอุโมงค์ (สวนพุทธธรรม) เป็นวัดเก่าแก่ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของเมืองเชียงใหม่

และตั้งอยู่บริเวณเชิงดอยสุเทพ บริเวณหลังมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และอยู่ไม่ห่าง

จากย่านท่องเที่ยวอย่างนิมมานเหมินทร์

บันไดเพื่อขึ้นไปนมัสการเจดีย์ที่ชั้นบน

ได้แต่มองส่งด้วยสายตา ไม่มีปัญญาลากสังขารตัวเองขึ้นไปได้

วัดอุโมงค์ เดิมชื่อ วัดเวฬุกัฏาราม แปลว่า วัดป่าไผ่ 11 กอ ตามตำนานกล่าวว่า

ในสมัยของพญามังราย สร้างเมืองเชียงใหม่แล้ว ประมาณปี พ.ศ. 1840

ได้สร้างวัดขึ้นบริเวณป่าไผ่ 11 กอ เพื่อถวายเป็นที่พำนักแด่พระภิกษุนาม เถรจันทร์

และ พระภิกษุชาวสิงหล (ลังกา) ต่อมาในสมัยพญากือนา เจ้าผู้ครองเชียงใหม่

พระองค์ได้บูรณะวัดแห่งนี้ขึ้นใหม่ ทรงซ่อมแซมองค์เจดีย์ และยังได้สร้างอุโมงค์

ถัดจากฐานพระเจดีย์ด้านเหนือขึ้น เป็นอุโมงค์ขนาดใหญ่และสวยงาม

ทางเดิน 4 ช่องซึ่งเชื่อมต่อกันได้ ข้างฝาผนังด้านในอุโมงค์เจาะช่องสำหรับจุดประทีป

ให้เกิดความสว่างเป็นระยะ สะดวกแก่พระเดินจงกรมและภาวนาอยู่ด้านใน

เสาหินอโศกจำลอง 

หัวเสาทำเป็นปั้นรูปสิงหฺโตแบกธรรมจักร เสาจำลองนี้ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2507

อุโมงค์กลาง

ภายในอุโมงค์ถูกก่อด้วยอิฐสีแดงมีทางเข้าหลักด้วยกันอยู่ 3 ทาง

ภายในสามารถเดินเชื่อมต่อถึงกันได้ ผนังอุโมงค์บางส่วน ยังคงปรากฏ

ภาพจิตรกรรมที่สภาพลบเลือนไปมาก รวมไปถึงพระพุทธรูปที่ประดิษฐาน

ตามจุดต่างๆ อยู่เป็นระยะ

อุโมงค์กลาง พยายามมองหาภาพเขียนฝาฝนัง มองไม่เห็นเลย

พระพุทธรูปในอุโมงค์กลาง

อุโมงค์กลาง มองจากองค์หน้าพระพุทธรูปออกไป

ฝั่งขวามือ อุโมงค์กลาง จากตำแหน่งยืนหันหน้าเข้าพระพุทธรูป

ฝั่ซ้ายมือ อุโมงค์กลาง จากตำแหน่งยืนหันหน้าเข้าพระพุทธรูป

ดีนะที่บันได้ไม่ชัน ค่อย ๆ เดินไป อุโมงค์ มีลักษณะเป็นกำแพงภายใน

เป็นทางเดินหลายช่องทะลุกันได้ ภายในอุโมงค์นั้นมีภาพจิตรกรรมฝาผนัง

สันนิษฐานว่าวาดขึ้นในระหว่าง พ.ศ. 1900-2000 เดิมคงเป็นภาพจิตรกรรม

เต็มบริเวณของทุกห้อง ภาพจิตรกรรมฝาผนังภายเหล่านี้ พบว่าเขียนเป็น

“ลวดลายประดับ” ล้วนๆ ประกอบด้วย ลายนกยูง นกกระเรียน นกกระสา

นกแก้ว ลายดอกบัว ดอกโบตั๋น ลายไข่มุกไฟ ลายก้อนเมฆ ลายเพชรพลอย

ในส่วนของลวดลายนั้นเมื่อแยกออกมาชิ้นเดี่ยวๆ พบว่าเป็นลวดลายแบบจีน

ที่ใช้เขียนบนภาชนะเครื่องถ้วยสมัยราชวงศ์หยวนตอนปลายและราชวงศ์หมิง

สีที่ใช้คือสีเขียว สีดำ สีน้ำตาล วาดบนพื้นสีแดงชาด

ลวดลายประดับล้วนๆ คล้ายลายพิมพ์ผ้าซ้ำไปซ้ำมา จัดวางเป็นจังหวะเต็มผนังโค้ง

ซึ่งลักษณะการวางจังหวะลวดลายเช่นนี้ คล้ายกับองค์ประกอบของลวดลายในภาพ

จิตรกรรมฝาผนังที่พุกาม ลายจิตรกรรมที่พบภายในอุโมงค์

  • ภาพจิตรกรรมนกสลับดอกโบตั๋น
  • ภาพจิตรกรรมดอกบัวสลับลายเมฆ
  • ภาพจิตรกรรมดอกบัวสลับลายประจำยาม

คิดว่าเป็นลายบัวสลับลายเมฆ

ทั้งสีทั้งลาย ลบเลือนมาก

ภายในอุโมงค์เสื่อมไปตามกาลเวลา ภาพเขียนก็จางหายไปมาก

ตัวอุงโมงค์มีร่องรอยความเสียหายจากการแตกร้าว น้ำซึมตามรอยแตก

ชะล้างภาพเขียนโบราณหายหมด คนเข้ามาเที่ยวก็ไม่รู้ว่ามีภาพวาดอยู่

ลายนก นกอะไร? นกยูง นกระสา นกกระเรียน

ลายนกและดอกโบตั๋น

ลายนกและดอกโบตั๋น

ภาพนกสลับดอกโบตั๋น

ภาพนกสลับดอกโบตั๋น

ลายนก

ภาพจิตรกรรม นกสลับดอกโบตั๋น

ดอกโบตั๋น

เห็นลาง ๆ เค้าลายดอกโบตั๋น

สีเขียวยังเห็นชัด

ภาพจิตรกรรมที่นี้มีสีที่ใช้มากอยู่ 2 สี คือ สีแดงสด (แดงชาด) และลีเขียวสด

เห็นมีทางออก เดินจนสุดทางอุโมงค์ จะเห็นบันไดเล็ก ๆ ฝั่งซ้ายมือ

สำหรับปีนขึ้นด้านบน ไปหาองค์เจดีย์ แต่เราไม่ได้ขึ้นไป

การวางหลังคาโค้งเกือกม้า

ปัจจุบันวัดอุโมงค์กลายเป็นสถานปฏิบัติธรรม ที่ที่คนมาแสวงหาความสงบ

เป็นสถานที่ท่องเที่ยวสวยงามแปลกตา เมื่อมาเยือนที่วัดอุโมงค์จะได้พบกับ

ความร่มรื่นและความเงียบสงบภายในวัด

🌸•*¨*•.¸¸✧ Joy'Gangster •*¨*•.¸¸✧



เอนทรี่ที่เกี่ยวข้อง :

พระธาตุลำปางหลวง - ทริปเชียงใหม่ก่อนผ่าตัดหัวใจ ตอน 1
https://th.readme.me/p/44604
จิบน้ำชา เก๊าไม้ล้านนา - ทริปเชียงใหม่ก่อนผ่าตัดหัวใจ ตอน 2
https://th.readme.me/p/44621

วัดต้นเกว๋น - ทริปเชียงใหม่ก่อนผ่าตัดหัวใจ ตอน 3
https://th.readme.me/p/44640

ขอบคุณข้อมูลจาก :

https://th.wikipedia.org/wiki/...

https://www.matichonweekly.com...

https://www.smk.co.th/newsdeta...


Joy'Gangster

 วันพฤหัสที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2566 เวลา 15.38 น.

ความคิดเห็น