สถานที่ท่องเที่ยว เวลาเราไปจ.นครราชสีมา "ปราสาทหินพิมาย" น่าจะเป็นหนึ่งในจุดมุ่งหมายที่จะต้องไป Check-in กัน

ปราสาทหินพิมาย เป็นศาสนสถานที่สร้างในพุทธศาสนาลัทธิมหายาน
คำว่า "พิมาย" น่าจะเป็นคำเดียวกับคำว่า "วิมาย" ที่ปรากฎอยู่ในจารึกภาษาเขมรบนแผ่นหิน บริเวณกรอบประตูภายในโคปุระระเบียงคดด้านทิศใต้
พิมายเป็นเมืองขนาดใหญ่ที่มีแผนผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีคูและกำแพงล้อมรอบและมีปราสาสาทตั้งอยู่บริเวณที่เป็นจุดศูนย์กลางของเมือง มีแม่น้ำมูลไหลผ่าน
พอเราซื้อบัตร (20 บาท/คน) เรียบร้อย เราก็เดินเข้าไปข้างในกัน
จุดที่ 1 สะพานนาคราช เป็นบันไดทางขึ้นสู่ตัวปราสาท มีลักษณะเป็นลานยกพื้นรูปกากบาท ซึ่งตามความเชื่อของศาสนาฮินดู สะพานนี้เป็นทางเชื่อมต่อระหว่างโลกมนุษย์กับสวรรค์

ราวสะพานโดยรอบสลักเป็นลำตัวนาค ชูคอแผ่พังพานเป็นนาคเจ็ดเศียร มีลักษณะรูปแบบศิลปกรรมแบบนครวัด

จุดที่ 2 ซุ้มประตูและกำแพงแก้ว


จุดที่ 3 ชาลาทางเดิน เป็นทางเชื่อมต่อระหว่างซุ้มประตูทางเข้าด้านทิศใต้และระเบียงคด ลักษณะยกพื้นเป็นขอบทางเดินขึ้นลงได้โดยรอบ จึงทำให้เกิดช่องว่างเป็นรูปสีเหลี่ยมผืนผ้า จำนวน 4 ช่อง จึงทำให้เป็นแผนผังรูปกากบาท


จุดที่ 4 หลุมบรรจุวัตถุมงคล ซึ่งภายใในพบแผ่นทองรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส จำนวน 8 แผ่น มีการตอกลวดลายเป็นลายดอกบัว 8 กลีบ เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่อาคาร และยังพบเม็ดพลอยสีขาวและสีแดงปนอยู่ในแผ่นทองด้วย

จุดที่ 5 ปรางค์หินแดง ก่อสร้างด้วยหินทรายสีแดง ตั้งอยู่บนฐานสีเหลี่ยมจตุรัสย่อมุม ประตูทางเข้าก่อเป็นมุขยื่นออกไปทั้ง 4 ด้าน ส่วนฐานต่อเนื่องกับหอพราหมณ์



จุดที่ 6 พลับพลา ภายในลานชั้นในด้านตะวันออก มีฐานอาคารก่อสร้างด้วยหินทรายสีแดงเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสย่อมุม พื้นที่ตรงกลางเป็นช่องสี่เหลี่ยมและมีหลุมขนาดใหญ่ สันนิษฐานว่าอาคารหลังนี้ใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรม

จุดที่ 7 ปรางค์พรหมทัต ก่อสร้างด้วยศิลาแลง มีฐานเป็นสี่เหลี่ยมจตุรัสย่อมุม ประตูก่อเป็นมุขยื่นออกมาทั้ง 4 ด้าน ภายในประดิษฐานรูปจำลองของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ที่เป็นมหาราชองค์สุดท้ายแห่งอาณาจักรเขมร


ถ้าออกจากปราสาทหินพิมาย เราก็ต้องแวะไปที่พิพิธภัณฑ์พิมาย ที่อยู่ห่างจากปราสาทประมาณ 750 เมตร เพื่อศึกษาและดูวัตถุโบราณที่ได้มาจากปราสาทหินพิมาย และปราสาทหินต่างๆ ก็เอามาเก็บไว้ที่นี่ด้วย
พิพิธภัณฑ์แห่งชาติพิมาย เป็นแหล่งรวบรวมความรู้ด้านประวัติศาสตร์โบราณคดี ซึ่งเก็บหลักฐานโบราณวัตถุศิลปวัตถุและจัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับราฐานและการพัฒนาการของวัฒนธรรมอีสานในอดีตจนถึงปัจจุบัน
*** ปัจจุบันพิพิธภัณฑ์กำลังปรับปรุง ปิดชั่วคราว ตั้งแต่วันที่ 17 เมษายน 2563 ***


ภายในพิพิธภัณฑ์จัดแสดงวัตถุโบราณที่ได้มาจากปราสาทหินพิมาย และปราสาทหินต่างๆในอีสานใต้







ภายในเป็นอาคาร 2 ชั้น ชั้น 1 จะเป็นห้องโถงขนาดใหญ่ และจัดแสดงเกี่ยวกับทับหลังจากปราสาทหินพิมายและปราสาทหินต่างๆ



เวลามาเที่ยว จ.นครราชสีมา ก็อย่าลืมแวะมาเที่ยวปรสาทหินพิมายกันนะ
ปราสาทหินพิมาย
ที่ตั้ง: ถ.วนปรางค์ ต.ในเมือง อ.พิมาย จ.นครราชสีมา
เวลา: เปิดทุกวัน ตั้งแต่ 07.00-18.00 น.
เบอร์: 044-471 535
ค่าเข้า: ราคา 20 บาท/คน และชาวต่างชาติ 100 บาท/คน
** ถ้าชอบการท่องเที่ยว ร้านอาหาร โรงแรม แค้มปิ้ง มาเจอเราได้ที่
www.facebook.com/followmeonear...
www.facebook.com/pratuneung
www.pratuneung.com
Pratuneung
วันจันทร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2566 เวลา 13.02 น.