4yl23go9tp6c

เนื่องในโอกาสครบรอบ ๑๕๐ ปีวันประสูติพระราชชายาดารารัศมี ทางจังหวัดเชียงใหม่ จัดให้มีการเฉลิมฉลอยด้วยการนำนางรำมาฟ้อนรำบริเวณประตูท่าแพกว่า 3,000 นาง เรียกได้ว่าโชว์ความงามได้อย่างทั่วถึง โดยพิธีดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อเป็นการเทิดพระเกียร์ติของ พระราชชายาเจ้าดารารัศมี พระราชชายาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕

ktpettoa73ec

เจ้าดารารัศมีประสูติ เมื่อวันอังคารที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2416 ณ คุ้มหลวง กลางนครเชียงใหม่ เป็นพระธิดาในพระเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่และแม่เจ้าทิพเกสร (เทพไกรสร) ทรงได้รับการศึกษาจากพระชนกชนนีในเรื่องอักษรไทยเหนือและใต้เช่นเดียวกับกุลบุตรกุลธิดาในสมัยนั้น

kvazp7soi5uk

เมื่อเจ้าดารารัศมีทรงเจริญชันษาได้ 11 ปี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณราโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าอินทวิชยานนท์จัดพิธีโสกันต์ พร้อมกับพระราชทานเครื่องโสกันต์ระดับเจ้าฟ้าให้เจ้าดารารัศมีทรงในพิธีอีกด้วย

nxx2shbrvnen

เมื่อเจ้าดารารัศมีได้ตามเสด็จพระบิดาซึ่งเสด็จมาร่วมงานพระราชพิธีลงสรงและเฉลิมพระนามสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศสยามมงกุฎราชกุมาร พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าดารารัศมีถวายตัวเข้ารับราชการฝ่ายในในฐานะเจ้าจอม เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2429 เจ้าดารารัศมีมีพระราชธิดาพระนามว่า พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าวิมลนาคนพีสี แต่ทรงเจริญพระชันษาเพียง 3 ปีเศษ ก็ประชวรสิ้นพระชนม์

s54grvrrqqvu

ภายหลังจากพระเจ้าอินทวิชยานนท์พระบิดาถึงแก่พิราลัย เมื่อปี พ.ศ. 2440 ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2451 เจ้าจอมมารดารัศมีมีพระประสงค์จะเสด็จกลับไปเยี่ยมพระประยูรญาติและเพื่อถวายความเคารพพระอัฐิพระบิดาที่ถึงแก่พิราลัยจึงกราบบังคมทูลลากลับ พร้อมกับเจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์ พระเชษฐาผู้เป็นเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ 8 ซึ่งเสด็จลงมาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่กรุงเทพ

llrv9sgzjp8x

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระบรมราชานุญาต อีกทั้งยังโปรดเกล้าฯ จัดงานพระราชพิธีสถาปนาพระอิสริยยศเจ้าดารารัศมีจากเจ้าจอมมารดาขึ้นเป็น “พระราชชายาเจ้าดารารัศมี” (อ้างอิง:หนังสือสายใยรักสองแผ่นดิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)

arjyofky722q
hgp2d4in7kgs

แต่หลังจากที่พระราชชายาฯ เสด็จกลับจากเชียงใหม่ได้เพียง 10 เดือน ก็ต้องทรงประสบความเศร้าโศกอันยิ่งใหญ่ เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453

606d2lfehskw

เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เถลิงถวัลยราชสมบัติสืบต่อมา พระราชชายาเจ้าดารารัศมียังคงประทับ ณ พระตำหนักสวนฝรั่งกังไส พระราชวังดุสิต จนกระทั่งปี พ.ศ. 2457 จึงได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตเสด็จกลับนครเชียงใหม่

9jd8ukd73l6l

พระราชชายาเจ้าดารัศมีทรงดำรงพระชนม์ชีพอย่างสงบสุข ณ พระตำหนักดาราภิรมย์ อยู่หลายปีจนสิ้นพระชนม์ด้วยโรคปัปผาสะพิการ (โรคปอด) เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2476 ณ คุ้มรินแก้ว รวมสิริพระชันษาได้ 60 ปี

lv8o17vgye5d

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดงานพระศพเป็นงานพิธีหลวง พระอัฐิส่วนหนึ่งบรรจุไว้ที่กู่วัดสวนดอก จังหวัดเชียงใหม่ อีกส่วนหนึ่งอัญเชิญไปบรรจุไว้ ณ สุสานหลวง วัดราชพิธสถิตมหาสีมาราม

bclww2tvufr7

ในระหว่างที่ทรงรับราชการเป็นเจ้าจอมในพระบรมมหาราชวัง ซึ่งรวมเป็นระยะเวลาถึงประมาณ 28 ปี นั้น พระราชชายาเจ้าดารารัศมีได้ทรงดำรงพระองค์อย่างเหมาะสม กล่าวคือ ยึดมั่นในการรักษาวัฒนธรรมประเพณีและเอกลักษณ์ของท้องถิ่นล้านนา โดยโปรดให้ข้าหลวงนุ่งซิ่น ไว้ผมมวย แต่งกายแบบชาวเชียงใหม่ พูดภาษาเมืองเหนือ และกินเมี่ยง

vqr1td8t3py7

ขณะเดียวกันก็ทรงเรียนดนตรีไทยภาคกลางจนทรงดนตรีได้หลายอย่าง ทั้งซออู้ ซอด้วง แต่ที่ทรงคล่องมากคือ จะเข้ และทรงสนับสนุนให้พระญาติและข้าหลวงของพระองค์ท่านเรียนและฝึกเล่นดนตรีไทยภาคกลางจนสามารถตั้งวงเครื่องสายได้ในเวลาต่อมา ท่านเหล่านี้เมื่อกลับไปเชียงใหม่ก็ได้เป็นผู้ถ่ายทอดวิชาดนตรีไทยและการขับร้องให้แก่ชาวเชียงใหม่ นับเป็นการส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างภาคกลางและภาคเหนือ

655tqvr4mp4f

อกจากนี้ยังทรงสนพระทัยในเรื่องการถ่ายรูปซึ่งเป็นของใหม่ที่เพิ่งเข้ามาจากต่างประเทศในรัชกาลที่ 5 และแพร่หลายก่อนในพระบรมมหาราชวัง พระญาติพระองค์หนึ่งที่อยู่ร่วมพระตำหนักได้ชื่อว่าเป็นช่างภาพผู้หญิงคนแรกของไทย รับงานถ่ายรูปของราชสำนัก

1wa2xwdtu7zj

การมีพระจริยาวัตรงดงามตลอดเวลาที่ประทับอยู่ในพระบรมมหาราชวัง จึงทำให้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานตราปฐมจุลจอมเกล้าสำหรับฝ่ายในแก่พระราชชายาเป็นรุ่นแรกของฝ่ายในพร้อมกับพระภรรยาเจ้าและพระราชธิดา ซึ่งมีเพียง 15 พระองค์ และยังได้โปรดเกล้าฯ ให้พระราชชายาทรงออกรับแขกเมือง คือเจ้าฟ้าหญิงแสนหวี แห่งแคว้นแสนหวี ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาทด้วย

u1l9i1sw500h

ในส่วนศิลปะการฟ้อนพื้นเมืองทางเหนือนั้น ทรงเอาพระทัยใส่มาก โปรดให้ฝึกซ้อมเพื่อออกแสดงในงานเฉลิมฉลองต่าง ๆ ระบำและฟ้อนที่โปรดให้ฝึกมีหลายประเภท เช่น ฟ้อนเล็บ ฟ้อนเทียน(ทรงดำริขึ้นเพื่อฟ้อนในเวลาค่ำ) ฟ้อนม่านแม่เล้ ฟ้อนมอญหรือผีมด ระบำจีนรำพัด ระบำงู ฟ้อนม่านมุ้ยเชียงตา ซึ่งทรงปรับปรุงจากระบำในราชสำนักพม่า

u298kdhq1x9r

ในการนี้ต้องทรงคัดเลือกและฝึกนักร้องหรือช่างซอให้ร้องเพลงพื้นเมืองประกอบ กล่าวได้ว่าทรงสร้างและอุปถัมภ์ทั้งช่างฟ้อนและช่างซอพร้อม ๆ กัน ด้วยเหตุนี้ผลงานทางด้านการประพันธ์ของพระองค์ จึงยังคงปรากฏอยู่ในพระนิพนธ์บทร้องเพลงพื้นเมืองเหนือสดุดีพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อคราวเสด็จพระราชดำเนินประพาสมณฑลพายัพ พ.ศ.2469 ในบทละครเรื่องพระลอตอนนางรื่นนางโรยไปหาปู่เจ้าสมิงพราย ในบทละครเรื่องไจยา-แว่นแก้ว และซอเงี้ยว เป็นต้น

r2ymuqi75on4

นอกจากนี้ยังทรงปฏิบัติพระกรณียกิจอันก่อให้เกิดคุณูปการแก่แผ่นดินในด้านต่าง ๆ อีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นในด้านส่งเสริมการเกษตร ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ทำนุบำรุงเมืองเชียงใหม่และการศึกษา ทรงฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมล้านนา และผสมผสานวัฒนธรรมภาคกลาง และอื่น ๆ อีกมากมาย 

btb24lb974g9

ขอบคุณที่รับชม

ความคิดเห็น