ทัชมาฮาลจุดหมายยอดฮิตของคนไทยหลายๆคน ซึ่งทัชมาฮาลนั้นจะตั้งอยู่ที่เมืองอัครา Agra การเดินทางไปสามารถทำได้หลายวิธีซึ่งเราจะมาบอกกันในบทความนี้นี่แหละค่ะ ว่าหากเราอยากจะเดินทางไปด้วยตัวเองโดยไม่ง้อทัวร์นั้นจะต้องเดินทางยังไง จองยังไง

ogzu4rn7na70

และนอกจากเมืองๆ นี้จะน่าสนใจตรงที่มีทัชมาฮาลแล้วนั้นส่วนตัวเรายังรู้สึกว่ามันเป็นเมืองที่เที่ยวง่าย สำหรับคนไปครั้งแรกก็จะไม่เจออะไรที่ชวนช็อคมากนั้น จริงๆ แล้วอินเดียไม่ได้เที่ยวยากหรอกนะแต่แค่หลายๆ อย่างในเมืองนี้ไม่เหมือนประเทศอื่นรวมถึงแนวคิดด้วย ดังนั้นหากจะเที่ยวเองต้องทำการบ้าน รู้เขารู้เราให้เยอะที่สุด แต่ถ้าคิดง่ายๆ ว่า ไปก่อนแล้วค่อยไปหาข้อมูลเอาข้างหน้า บอกเลยว่ามากกว่า 70% จะจบลงที่ได้รับประสบการณ์ที่ไม่ค่อยประทับใจ เอาล่ะเรามาดูวิธีเดินทางด้วยตัวเองได้เลย 

ส่วนตัวเราเลือกรถไฟในการเดินทางทุกครั้ง ไม่ว่าจะทางไกลหรือใกล้ เหตุเพราะไม่ต้องไปนั่งติดหรือนอนเบียดกับใคร อ่อ แล้วอย่าเพิ่งคิดว่ารถไฟน่ากลัวหรือไม่ปลอดภัยนะ บางคนไปอ่านจากไหนมาไม่รู้ว่ามีคนบอกว่ามีคนมาเลียเท้าตอนกลางคืนนะ ในกรณีนี้แสดงว่าจองรถไฟแบบโลเคิลใครขึ้นใครลงก็ได้ เพราะถ้าจองประเภท AC จะมิดชิดและมีเจ้าหน้าที่เดินตรวจบ่อยกว่าชั้นโลเคิล โดยเฉพาะ AC2 ขึ้นไป แต่สำหรับทัชมาฮาลนั้น ถ้าเดินทางจากนิวเดลีจะแค่ 1-2 ชั่วโมง ดังนั้นจองแค่รถไฟประเภทนั่งก็ได้ ส่วนใครเริ่มจากชัยปุระก็ยังมีรอบรถไฟ Daytime เดินทางกลางวันไม่มีกี่ชั่วโมงก็ถึงเช่นกัน 

7lzxf7jhvnr6
4afgoum1uccj

นอกจากจะต้องดูชื่อรถไฟแล้วก็ต้องรู้จักประเภทชั้นของรถไฟและระบบตัวย่อต่างๆ ด้วย 

  • SL = Sleeper Class เป็นรถไฟแบบนั่งนอนแต่จะเป็นแบบโลคอล ส่วนใหญ่จะดูเก่าๆ แต่ก็ยังมีที่ชาร์จแบตให้นะ แต่ถ้าเดินทางช่วงหน้าหนาวแนะนำให้เลี่ยงหรือหาผ้าห่มไปด้วยเพราะภายในรถไฟลมเข้าตลอดเวลาจะหนาวมากกก
  • CC = AC Chair car  อันนี้จะนั่งอย่างเดียวเลย แต่ยังจัดว่าเป็นรถไฟที่ค่อนข้างดี และถ้าอยากได้แบบดีแบบในภาพให้เลือกรถไฟที่ชื่อว่า Vande Bharat EXP
  • EC = Exec Chair car เป็นที่นั่งอย่างดีเช่นกัน
  • 3A = AC Tier 3 เป็นรถไฟแบบนั่งนอนแต่สะดวกกว่า SL มี 3 เตียงซ้อน ภายในตู้มิดชิด มีจนท เดินตรวจบ่อยกว่า ทำให้หมดปัญหาเจอคนแอบขึ้นรถไฟมานั่งนอนข้างๆ เรา และอุ่นกว่า SL  
  • 2A = AC Tier 2 เป็นรถไฟแบบนั่งนอนแบบชั้น 2 มี 2 เตียงซ้อน และมีม่านปิด เวลานอนเลื่อนม่านมาปิดได้ จนทเดินบ่อยกว่า เงียบกว่า
  • 1A = AC First Class เฟิร์สคลาสจะเป็นห้อง มีให้เลือกแบบห้อง 2 เตียงและห้อง 4 เตียง
  • 2S = Second Sitting ประเภทนี้คือนั่งแบบท้องถิ่น ไม่อึดจริงอย่าหาไป วุ่นวาย จอแจ ห้องน้ำไม่สะอาด ทางเราเคยเดินทาง 8 ชม. ต้องอั่นปัสสาวะตลอดทางเพราะห้องน้ำไม่สะอาดเลย แต่ประเภท AC นั้นจะมีคนค่อยทำความสะอาด แต่จะถี่แค่ไหนก็แล้วแต่ความขยันของพนง อีกที แต่สภาพห้องน้ำของ AC จะไม่เลวร้ายแบบ SL หรือ 2S

การจองเข้าไปจองที่เว็ป IRCTC วิธีจองแบบละเอียดสามารถเข้าไปศึกษาต่อได้ที่ วิธีจองรถไฟอินเดียด้วยตัวเอง

0sejk7lm6btb


 สำหรับรถไฟ Vande Bharat EXP นิวเดลีไปอักรานั้น ค่าตั๋วรถไฟประมาณ 600 กว่ารูปีตกเป็นเงินไทยราวๆ สามร้อยรูปี ใช้เวลาเดินทางราวๆ 2 ชั่วโมงรวมดีเลย์นิดหน่อย

nwn7em5zmoll
1fy2pbgomdok


และสิ่งหนึ่งที่เราอยากจะเน้นย้ำเลยนะ คุณจะเจอผู้คนสไตล์แบบไหนขึ้นอยู่กับคลาสรถไฟที่เลือกนั่นแหละ อยากเจอคนที่พอจะคุยรู้เรื่อง มีมารยาท ต่างคนต่างอยู่ไม่รบกวนกันก็เลือก AC3 ขึ้นไป หรือประเภทนั่งแบบดี พวกนี้ส่วนใหญ่คนจะดูภูมิฐานหรือไม่ก็หิ้วกระเป๋าไปทำงานไม่มาวอแวจอแจ แต่ถ้าไปโลเคิลก็มีคนหลายระดับตั้งแต่ล่างจนถึงชีวิตดี สิ่งที่เราบอกนี้อาจดูเหมือนเหยียดแต่ไม่ได้เหยียดนะ อินเดียยังคงมีระบบวรรณะ ดังนั้นมีคนที่ใช้ชีวิตอย่างดี ก็มีคนที่ลำบาก และคนที่มีทางเลือกในชีวิตไม่มากนัก แล้วในบางคนก็จะชอบคิดเองว่ามารยาทที่เป็นอยู่ก็ปกติ ใครๆ ก็ทำกัน เขาไม่รู้ตัวว่าสิ่งที่เขาทำมันไม่โอเค เพราะสภาพแวดล้อมหล่อหลอมเขามาแบบนั้น แต่คนที่เติบโตมาด้วยสภาพแวดล้อมที่ดี หรือต้นทุนชีวิตเขาดีเขาก็จะเป็นอีกแบบ เราพูดได้เลยว่ามันเป็นแบบนี้จากประสบการณ์ที่คบหาผู้ชายอินเดีย รวมถึงการมีเพื่อนที่เยอะมากๆ และในนั้นก็ที่มีทั้งต้นทุนชีวิตดีและแบบต้นทุนชีวิตน้อย นิสัยของทั้งสองแบบก็ต่างกันจริงๆ  แต่ไม่ได้หมายความว่าเรียนสูงงานดีเป็นคนดีหมดเรียนน้อยนิสัยไม่ดีนะ จากความรู้สึกของเราเราว่ามันขึ้นอยู่กับ "สภาพแวดล้อมที่เขาเติบโตมา" และสภาพแวดล้อมในอินเดียมีผลต่อบุคคลนั้นๆ จริงๆ จะมากจะน้อยอันนี้ก็อยู่ที่ตัวบุคคลด้วย

เราไม่อาจบอกให้คนอื่นเปลี่ยนตัวเองหรือมายเซตเพื่อตัวเราได้นะ มีแต่เราต้องปรับตัวเองชั่วขณะระหว่างเดินทาง และเราเลือกได้นะ เราเลือกได้ว่าจะพาตัวเองไปเจออะไร

4a70aiy04gft

ข้อดีของรถไฟอินเดียที่เราชอบมากๆ คือมันมีแอปเช็คสถานะรถไฟค่ะ รถไฟอยู่ไหน จะถึงกี่โมง ดีเลย์หรือไม่ อีกกี่นาทีถึงเราจะรู้หมดเลยค่ะ แอปนี้ชื่อแอปว่า RailYatri สามารถค้นหาและติดตั้งได้ทั้งระบบไอโอเอสและเอนดรอยเลย

fp4fjjvba2l7
doggksyufkev

สุดท้ายใครชอบบทความแชร์ออกไปได้เลย บทความหน้าจะพาไปไหนมารอกันได้เลย หรือแวะหรือติดตามเรื่องราวอื่นๆ ของเราได้ที่ twitter ที่ Artinime หรือ Facebook เพจ แบกกล้องชิวเที่ยวไปเรื่อย ได้เลยค่ะ และถ้าใครอยากอ่านเรื่องราวการเดินทางอื่นๆ ของเราก็สามารถดาวน์โหลด Ebook ได้ ซึ่งจัดโปรลดราคาแค่ช่วงเดือนพฤษภาคม 2024 เท่านั้น 

สนใจดาวน์โหลด Ebook คลิกเลย

4h235h2lyo1l



อ่านบทความอื่น ( ฟรี ) ต่อ

ความคิดเห็น