บางคนอาจจะยังไม่ทราบว่า ภายในชุมชุนกุฎีจีน ชุมชมที่ตั้งอยู่ริมแม่เจ้าพระยาจะมีพิพิธภัณฑ์แอบซ่อนอยู่ ซึ่งในวันนี้เราจะขออาสาพาทุกคนไปรู้จักกับ พิพิธภัณฑ์บ้านกุฎีจีน แหล่งรวบบรวมข้อมูลและประวัติของชาวสยามโปรตุเกสตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงปัจจุบัน

อาคารบ้านไม้สีครีม พิพิธภัณฑ์บ้านกุฎีจีน เปิดให้เข้าชมฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่าย ก่อตั้งโดย คุณนาวินี พงศ์ไทย ซึ่งภายในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ มีทั้งหมด 4 ชั้น ได้แก่

ชั้นที่ 1

เป็นส่วนของร้านอาหารและคาเฟ่เล็กๆ ซึ่งนักท่องเที่ยวที่มาเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์สามารถนั่งพักผ่อน ถ่ายรูปตามมุมต่างๆได้ อีกทั้งยังมีของที่ระลึกจำหน่ายอีกด้วย

2
3
4

ชั้นที่ 2

จัดแสดงนิทรรศการ “กำเนิดสยามโปรตุเกส” ที่บอกเล่าเรื่องราวกว่า 500 ปี ที่ชาวโปรตุเกสได้เข้ามาทำการค้าและเจริญสัมพันธไมตรีกับชาวสยาม รวมถึงอิทธิพลในด้านต่างๆของชาวโปรตุเกสที่มีต่อชาวสยาม ไม่ว่าจะเป็นในด้านของภูมิปัญญาและวัฒนธรรม, การก่อสร้าง, การทหาร, การแพทย์, และอาหาร เป็นต้น

5
6
7
8

ชั้นที่ 3

จัดแสดงข้าวของเครื่องใช้จำลองของชาวสยามโปรตุเกสในชุมชนกุฎีจีน อาทิเช่น เตียงนอน พัดลม ถ้วยชาม และโต๊ะอาหารที่จำลองเมนูอาหารต่างๆของชาวโปรตุเกส เป็นต้น อีกทั้งยังมี ตุ๊กตาผีหัวพริก หรือ ผีหนูเลี๊ยบ ซึ่งเป็นเป็นกุศโลบายที่ให้ลูกหลานในชุมชนกลับเข้าบ้านเมื่อถึงเวลาหกโมงเย็น ไม่เช่นนั้นจะโดน ผีหัวพริก หรือ ผีหนูเลี๊ยบ จับตัวไป

ชั้นที่ 4

เป็นชั้นดาดฟ้า ในส่วนของชั้นนี้เราสามารถขึ้นไปชมวิวหรือถ่ายรูปมุมสูงของชุมชนกุฎีจีนได้

หลังจากที่เยี่ยมชม พิพิธภัณฑ์บ้านกุฎีจีน เสร็จเรียบร้อย อย่าลืมแวะไปอุดหนุนขนมกุฎีจีนกันนะคะ ขนมขึ้นชื่อของชุมชนกุฎีจีน ซึ่งตอนเราไปเราซื้อที่ “ร้านธนูสิงห์” อยู่ใกล้กับพิพิธภัณฑ์นิดเดียว

สำหรับใครที่นึกไม่ออกว่า “ขนมกุฎีจีน” หน้าตาและรสชาติเป็นอย่างไร ให้นึกถึงขนมไข่ รสชาติจะคล้ายๆกัน แต่ขนมกุฎีจีนจะมีความกรอบนอกนุ่มในมากกว่า

ข้อแนะนำในการเดินทางไป พิพิธภัณฑ์บ้านกุฎีจีน ให้เดินเลียบริมแม่น้ำเจ้าพระยาไป อย่าเดินตาม Google Map งงมาก พาเราเดินทะลุบ้านชาวบ้านในชุมชนอย่างเมามันเลยกว่าจะถึงพิพิธภัณฑ์ แต่ก็ได้ฟีลไปอีกแบบ


ข้อมูล พิพิธภัณฑ์บ้านกุฎีจีน

เว็บไซต์ : Baan Kudichin Museum

เปิดให้เข้าชม : วันอังคาร - วันอาทิตย์ เวลา 09:30 - 18:00 น.

ค่าเข้าชม : เข้าชมฟรี

พิกัด : พิกัดพิพิธภัณฑ์บ้านกุฎีจีน

สถานที่จอดรถ : วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร และเดินเลียบริมแม่น้ำเจ้าพระยา

ภาพถ่ายและปรับแต่งภาพโดย SasisDiary ผู้เขียน


Sasi's Diary

 วันพฤหัสที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2567 เวลา 22.59 น.

ความคิดเห็น