ดำและขาว

          เมื่อไม่นานมานี้สมาชิกของเราได้เลื่อน Tiktok และพบกับสถานที่ มูเตลู แห่งหนึ่งในเมืองกรุง เป็นสถานที่ ๆ ว่ากันว่าหากมามูกลางคืนแล้วจะได้ผลยิ่งนัก สมาชิกแก๊งสายมูก็พาเราไปด้วย ไอเราก็ใจง่ายไปกับเขา....รู้แค่ว่าจะพาไปไหว้ "ย่าแฟง"

          หลังจากกลับมาและเก็บเรื่องดองไว้ ก่อนจะได้ฤกษ์งามยามว่างเขียนบทความนี้ ได้ไปทำการบ้าน และศึกษาประวัติอย่างคร่าว ๆ ตามเว็ปต่าง ๆ  เพื่อที่จะสอดแทรกสาระความเป็นมาให้ทุกท่านที่เข้ามาอ่านได้รับทราบกันไปด้วย และก่อนจะเข้าสู่เนื้อหา ด้วยความเคารพต่อผู้ที่อ้างถึง เรานั้นมิได้มีเจตนาใด ๆ ในทางไม่ดี มีแต่ความปราถนาที่จะเผยแผ่เรื่องราวและแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวให้กับทุกท่านด้วยใจบริสุทธิ์ กับเรื่องราวของ ..."วัดที่สร้างจากผลประโยชน์ของหญิงงามเมือง"


ที่มาของ

          วัดคณิกาผล  ตั้งอยู่ตรงกันข้ามกับสถานีตำรวจนครบาลพลับพลาไชย วัดแห่งนี้สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 เดิมทีชาวบ้านเรียกวัดแห่งนี้ว่า วัดใหม่ยายแฟง ซึ่งยายแฟงประกอบอาชีพเป็นแม่เล้า หรือเจ้าของซ่องโสเภณี ที่ชาวบ้านเรียกกันว่า "โรงยายแฟง" อยู่แถวตรอกเต๊า ถนนเยาวราช ย่านโคมเขียว (ปัจจุบันก็คือซอยเจริญกรุง 14)

        ย่าแฟง หรือยายแฟง มีฐานะร่ำรวยจากกิจการจึงได้รวบรวมเงินรายได้จากการค้าประเวณีของโสเภณีในสำนักมาสร้างวัดแห่งนี้ ต่อมาลูกหลานของยายแฟงได้บูรณะวัดใหม่  และขอพระราชทานนามวัดใหม่ รัชกาลที่ 4 จึงพระราชทานนามให้จากวัดใหม่ยายแฟง เป็น “วัดคณิกาผล" ซึ่งมีความหมายว่า "วัดที่สร้างขึ้นจากผลประโยชน์ของหญิงงามเมือง" (คณิกา = หญิงงามเมือง = โสเภณี)

เรื่องราวกับสมเด็จโต

          เมื่อเราเลี้ยวเข้ามาจอดรถบริเวณวัด ก็จะพบกับรูปปั้นองค์สมเด็จโตอยู่ทางขวามือ ซึ่งวัดแห่งนี้ก็มีเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับสมเด็จโตอยู่ว่า ครั้งหนึ่งยายแฝงได้นิมนต์ สมเด็จพระพุฒาจารย์โต (เป็นมหาโตในตอนนั้น) ไปเทศน์ในงานสมโภชฉลองการสร้างวัด ท่านเป็นพระที่เทศน์สไตล์ขวานผ่าซาก จึงเทศน์ไปตรงๆว่า “เจ้าภาพทำบุญด้วยทุนรอนจากผลเช่นนี้ (เงินจากการขายบริการ) ย่อมได้อานิสงส์เพียงสลึงเฟื้องของเศษบุญเท่านั้น” ซึ่งหมายถึงได้บุญเพียงเศษเสี้ยวน้อยนิดไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย ยายแฟงได้ฟังดังนั้น ก็โกรธมากแต่ด้วยมหาโตเป็นพระสงฆ์ที่ผู้คนต่างนับถือกันมาก ยายแฟงจึงได้แต่แสดงความไม่พอใจด้วยการยกเครื่องกัณฑ์เทศน์กระแทกถวาย (ลุยกรุง & รอบกรุง, 2565)

    พระอุโบสถ์

              ถัดจากรูปปั้นสมเด็จโต ก็จะพบกับพระอุโบสถของวัดคณิกาผล ตั้งสูงใหญ่เด่นเป็นสีทองจากแสงของไฟ ซึ่งในยามค่ำคืนดูเยือกเย็นกว่าปกติแต่ก็สงบในคราวเดียวกัน ภายในพระอุโบสถเป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อทองคำ พระพุทธรูปศิลปะสุโขทัยเป็นองค์ประธาน ด้านในดูเรียบง่าย และสวยงาม เป็นอย่างมาก

    พระวิหาร

                ส้วนทางด้านขวาของพระอุโบสถ (เมื่อหันหน้าเข้าพระประธาน) ก็จะเป็นพระวิหาร แต่ตอนกลางคืนพระวิหารนั้นปิดไปก่อนแล้ว แต่จากข้อมูลภายในพระวิหารเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปที่สร้างมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 คือ หลวงพ่อองค์ดำ แต่ปัจจุบันมีการปิดทองสวยงามไปแล้ว (จึงเป็นข้อสันนิษฐานว่าในอดีตน่าจะเป็นองค์สีดำมาก่อน ) แต่มีพระพุทธรูปองค์จำลองสีดำประดิษฐานอยู่ด้านหน้า พระพุทธรูปปางบำเพ็ญทุกรกิริยา

    จุดไหว้ย่า

              หลังจากกราบพระประธานในพระอุโบสถ เราก็จะไปไหว้ย่าแฟง ตามวัตถุประสงค์ที่มายังวัดแห่งนี้ โดยมาซื้อเครื่องไหว้ที่บริเวณทางเข้ามาเมื่อสักครู่ ในราคาชุดละ 100 บาทเครื่องไวห้จะประกอบไปด้วย พวงมาลัย น้ำแดง ธูปเทียน และสร้อยลูกปัด จากนั้นก็เดินไปยังหลังพระอุโบสถ เพื่อขอพรในสิ่งที่เราประสงค์ ส่วนใหญ่จะมาขอพรเรื่องความรัก

              หลังจากไหว้ย่าแฟงเสร็จ เมื่อเดินออกมาและเลี้ยวขวาไปจะเจอกับหอระฆังใหญ่ ด้านในมีศาล ฮั่วน้อยม่า หรือร่างของผู้หญิงที่ถูกขุดค้นพบตอนจะสร้างวัดแห่งนี้ เดิมทีบริเวณนี้เป็นป่าช้าเก่า ส่วนมากผู้ที่มาไหว้ก็เป็นสายหวย สายเลข ว่ากันว่าอาม่าใจดี ให้โชคถูกกันอยู่เรื่อย ๆ

              เป็นอย่างไรกันบ้างครับสำหรับสถานที่มูเตลูยามค่ำคืนของชาวกรุงเทพฯ มาไม่ยากกลับมืด ๆ ไม่ร้อนดี ส่วนเราแล้วที่นี่ก็เหมือนวัดทั่วไปที่มีเรื่องราวมาแต่เก่าก่อนมีที่มามีที่ไป แต่ที่แน่ ๆ เรารับรู้ได้อยู่ 2 ประการ

    1. ไม่ว่าคุณจะสูงศักดิ์ ร่ำรวย หรือยากจน สุดท้ายแล้วสิ่งเดี่ยวที่ทุกคนจะต้องพบเจอคือ ความตาย (แต่ก่อนตานนี่หละสิ)

    2. จงทำดีเข้าไว้ เพราะตายไปแล้วหลายคนอาจจะลืมหลายคนยังจำได้ แต่ไม่เป็นไรตอนนั้นเราตายแล้วคงไม่ได้รับรู้อะไร แต่ที่แน่ ๆ ก่อนที่เราจะจากโลกนี้ไปเราทำอะไรไว้ให้คนรุ่นหลัง ลูกหลานของเราบ้าง


    สถานที่ : https://maps.app.goo.gl/nQfdFV...

    วัดเปิดให้เข้าทุกวัน ตั้งแต่เวลา 07.00-18.00 น. 

    (แต่สำหรับมาไหว้ย่าแฟงสามารถสักการะได้ถึงช่วงเวลา 22.00 น.)

    วิธีการเดินทาง

    - รถส่วนตัว

    - นั่ง MRT ลงที่สถานีวัดมังกร เดินทะลุตรอกอิสรานุภาพ หรือเดินไปตามถนนพลับพลาไชยก็ได้


    สวัสดี

    -เสือซ่อนยิ้ม-

    เสือซ่อนยิ้ม

     วันจันทร์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2567 เวลา 11.03 น.

    ความคิดเห็น