สิ่งที่ต้องระวัง ในการขึ้นรถไฟเที่ยวสวิตเซอร์แลนด์ คือ...
.
แม้ขบวนรถไฟเดียวกัน แต่จุดหมายปลายทางอาจจะคนละทาง
รถไฟสามารถแยกตู้จากกันได้ เพื่อวิ่งไปถึงจุดหมายที่กำหนด ทำให้ก่อนจะขึ้นรถไฟในสวิตเซอร์แลนด์
ต้องเช็คตู้ที่จะขึ้นให้ดี ไม่ได้เช็คเฉพาะเลขสายรถไฟเท่านั้น.
.
จู้จี้ พามาดู วิธีขึ้นรถไฟในสวิตเซอร์แลนด์ ขึ้นรถไฟเที่ยวสวิตเซอร์แลนด์ยังไง ไม่ให้หลง ไม่ให้ผิดขบวน ไม่ให้ผิดตู้!
ขอแชร์จากประสบการณ์ส่วนตัวของจู้จี้ ในการไปเที่ยวสวิตเซอร์แลนด์ อัพเดตปี 2024 นะคะ
.ตัวอย่างหน้าจอที่รถไฟขบวนเดียวกัน แต่ปลายทางคนละปลายทาง
กรณีที่เรามาถึงสถานีรถไฟแล้ว เราสามารถเช็คดูจากหน้าจอได้เลยค่ะ ว่า... สายรถไฟที่เราจะไป ผ่านสถานีไหนบ้าง? ปลายทางคือที่ไหน? และที่ชานชลาที่เราจะต้องรอรถไฟ ต้องรอที่ชานชลาอะไร?
เช่น ในรูป ถ้าต้องการไปที่ ปลายทางคือที่ Domodossola(I) ให้รอที่ช่อง A-D เพื่อขึ้นที่ตู้รถไฟ หรือ Car นั้น ๆ
และถ้าต้องการไปที่ Brig ให้รอที่ช่อง D-G ค่ะ
มาดูตัวอย่าง ขั้นตอนวิธีการขึ้นรถไฟในสวิตเซอร์แลนด์กันค่ะ สำหรับใครที่กำลังวางแผนไปเที่ยวสวิตเซอร์แลนด์กันค่ะ
ขั้นตอนที่ 1: เช็คจากหน้าแอพ SBB Mobile หรือ เช็คจากหน้าจอที่ชานชลารถไฟ
นักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวสวิตเซออร์แลนด์แบบเรา ๆ สามารถตรวจสอบ
เส้นทางการเดินรถไฟ, รถบัส, และเรือ ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ จากแอพ SBB Mobile ได้เลยค่ะ
ซึ่งเราจะดู
- ชานชลาที่ต้องขึ้น,
- เวลาของรถไฟที่จะมาถึงเทียบสถานี และเวลาของรถไฟที่จะออกสถานี (คือเวลาที่รถไฟจะจอดที่สถานีนานเท่าไหร่? เช็คได้ว่าเรามีเวลากี่นาทีเพื่อที่จะขึ้นให้ทัน),
- จำนวนคนของผู้โดยสาร ชั้น 1st Class และ ชั้น 2nd Class มีความหนาแน่นเท่าไหร่?
หากกดดูเพิ่มเติมเข้าไปในแต่ละช่อง จะมีข้อมูลบอกแผนที่ และ วิธีการรอที่ตู้ หรือช่องชานชลาด้วยค่ะ
เดี๋ยวจู้จี้จะทำวิธีการใช้งานแอพ SBB Mobile มาฝากในบทความถัดไปนะคะ
เมื่อเราดูจากแอพแล้ว ให้มารอดูที่ชานชลา หากข้อมูลรถไฟไม่ใช่หมายเลขรถไฟที่ตรงกับทางแอพ หรือปลายทางที่เราจะไป อย่าเพิ่งขึ้นขบวน
ต้องรอจนกว่า หน้าจอบนชานชลาจะเปลี่ยนเป็นรถไฟที่เราจะขึ้น จึงจะสามารถขึ้นได้ค่ะ
ตัวอย่างในภาพ
จากภาพจะเป็นว่า จุด C และ D คือตำแหน่งที่รถไฟจะจอดในชานชลานั้น ๆ
- เลข 2 ที่โชว์บนหน้าจอ คือ สำหรับตั๋ว 2nd Class ให้ยืนรอรถไฟที่ต้นทางของช่อง C และ ปลายทางของช่อง D
- เลข 1ที่โชว์บนหน้าจอ คือ สำหรับตั๋ว 1st Class ให้ยืนรอรถไฟที่ระหว่างช่อง C และ D
ตั๋ว 1nd Class สามารถขึ้นไปนั่งที่ตั๋ว 2nd Class ได้ แต่ตั๋ว 2nd Class ไม่สามารถไปนั่งในตู้ของ 1st Class ได้นะคะ
ขั้นตอนที่ 2: เช็คเส้นทางที่แสดงในรถไฟ และเช็คหมายเลขคลาสของตู้รถไฟนั้น ๆ
เมื่อเราดูขึ้นรถไฟในสวิตเซอร์แลนด์ของขบวนนั้น ๆ มาแล้ว (หรือจะเป็นรถบัสก็ได้นะคะ)
เพื่อความถูกต้อง จู้จี้แนะนำให้เช็คจากด้านบนจออีกครั้ง ว่าขบวนนี้ ผ่านเส้นทางที่เราจะไปหรือไม่? ปลายทางใช้จุดหมายที่เราต้องการไปหรือเปล่า?
จากนั้นเช็คตัวเลขคลาสของตู้รถไฟ ว่าเป็น เลข 1 หรือ เลข 2 เพื่อนั่งให้ถูกต้องตามประเภทตั๋วค่ะ
โดยเลข 1 สำหรับ 1st Class และเลข 2 สำหรับ 2nd Class
อีกหนึ่งจุดที่สามารถว่าเรานั่งถูกตู้ ถูกประเภทตั๋วไหม? เช็คได้จากหมายเลขบนเบาะ ว่าเป็นเลข 1 หรือ เลข 2แต่ละขบวน จะมีเจ้าหน้าที่มาตรวจตั๋วค่ะ กรณีนักท่องเที่ยวที่ใช้ Swiss Travel Pass โชว์ QR Code ที่ได้รับจากอีเมลล์ได้เลยค่ะ)
ใครที่ขึ้นรถไฟในสวิตเซอร์แลนด์ หรือนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวสวิตเซอร์แลนด์ จะต้องเลิฟเลยก็คือ
รถไฟที่นี่ มีที่ชาร์จแบตให้ด้วยค่ะ
ส่วนใหญ่มีห้องน้ำ, มีถังขยะ, มีที่วางกระเป๋า, มีที่วางจักรยาน, มีพื้นที่สำหรับผู้ใช้วีลแชร์,
บางขบวนมีโซน Business ไว้ให้ทำงาน, มีโซนสำหรับครอบครัวที่มีเด็ก, และก็มีห้องอาหาร ไว้บริการอาหารและเครื่องดื่ม ด้วยค่ะ
ขั้นตอนที่ 3: เช็คเส้นทางต่อรถไฟได้ที่หน้าจอก่อนลง
อีกหนึ่งข้อดีของรถไฟในสวิตเซอร์แลนด์ คือ เมื่อถึงสถานีต่าง ๆ หน้าจอบนรถไฟ ไม่ใช่แค่บอกชื่อสถานีเท่านั้น
แต่ หน้าจอของรถไฟในสวิตเซอร์แลนด์ ยังบอกอีกด้วยว่า
สถานีนั้น กำลังจะมีรถไฟสายไหนออกที่ช่องชานชลาไหนบ้าง? เวลากี่โมง? เพื่อให้สะดวกต่อคนที่ต้องต่อสายรถไฟ เดินไปยังชานชลานั้น ๆ ได้เลย
ตัวอย่างในภาพจู้จี้ต้องต่อรถไฟสาย R30 ปลายทางไป Montreux
หน้าจอแสดงเลยว่า จู้จี้ต้องไปยืนรอที่ชานชลา5 โดยรถไฟจะออกจากสถานีรถไฟตอน 07:02 น.
ใครที่มีเวลาต่อรถไฟแค่ 1-2 นาที ถือว่าดีมาก ๆ และสะดวกมาก ๆ เลยค่ะ
ใครกำลังจะไปเที่ยวสวิตเซอร์แลนด์ จู้จี้แนะนำว่าโหลดแอพ SBB Mobile
ซึ่งเป็นแอพของรถไฟสวิตเซอร์แลนด์เพื่อเช็คข้อมูลแบบ Real-time ได้ด้วย
เพราะตัวอย่างที่จู้จี้เจอ บางครั้งเกิดเหตุไม่คาดฝัน ทำให้รถไฟดีเลย์ จะมีแจ้งในแอพ SBB Mobile เลยค่ะ(เผื่อบางทีอยู่ในขบวน แล้วฟังประกาศไม่ชัด หรือฟังภาษาอังกฤษไม่แข็งแรง ไม่คุ้นสำเนียง มีแอพช่วยได้เยอะเลยค่ะ)
กรณีที่แบตโทรศัพท์หมด ไม่ต้องกังวลไปน๊าา
มาเที่ยวสวิตเซอร์แลนด์ แต่แบตโทรศัพท์หมด ลืมสายชาร์จไว้ที่โรงแรม ก็ไม่ต้องห่วงเลย เพราะ
สามารถเช็ครอบรถไฟ ได้ที่ป้ายสีเหลือง เพื่อดูรอบรถไฟของสถานีนั้น ๆ ว่าสายรถไฟที่เราต้องการขึ้น เป็นสายไหน? ผ่านสถานีอะไร? และต้องไปขึ้นที่ชานชลาไหนบ้าง?
จุดสังเกตุ: จะเป็นป้ายสีเหลืองใหญ่ ๆ ตั้งไว้ในสถานีรถไฟเลยค่ะ
.
เนื่องจากจู้จี้ ใช้บัตร 𝗦𝘄𝗶𝘀𝘀 𝗧𝗿𝗮𝘃𝗲𝗹 𝗣𝗮𝘀𝘀 บัตรสำหรับนักท่องเที่ยวที่จะเดินทางไปเที่ยวสวิตเซอร์แลนด์
ข้อดีคือ แม้ว่าจะมีโอกาสขึ้นผิดขบวน ต่อรถไฟไม่ทัน ก็ขึ้นใหม่ หรือรอรถไฟรอบถัดไปได้
โดยไม่จำเป็นต้องจอง หรือไม่ต้องจ่ายเพิ่ม ถือเป็นข้อดีของคนที่จะมาเที่ยวสวิตเซอร์แลนด์เลยค่ะ
เพราะนักท่องเที่ยวแบบเรา จะให้เดินทางถูกต้อง โดยไม่หลง มันมีโอกาสยากมาก ๆ
แม้จะเตรียมตัวแค่ไหน แต่บางทีก็อาจจะเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน
หรือมีการเปลี่ยนแพลนเที่ยวกระทันกันจากสภาพอากาศ หรือปัจจัยอื่น ๆ อยู่ดี
.
ใครจะมาเที่ยวสวิตเซอร์แลนด์ แล้วอยากหาข้อมูลเพิ่มเติมของ บัตร Swiss Travel Pass
ลองกดดูได้แบบภาษาไทยที่ SwissASAP หรือ จากของทางสวิตเซอร์แลนด์เป็นภาษาอังกฤษได้ Travel Switzerland
.
ฝากติดตามข้อมูลการเที่ยวสวิตเซอร์แลนด์ ได้กับ จู้จี้ Joojee'n Nature นะคะ
ไม่ใช่แค่วิธีการรถไฟในสวิตเซอร์แลนด์ แต่....จู้จี้จะมาสรุปข้อมูล, แชร์ทริคเที่ยวสวิตเซอร์แลนด์, และแจกที่เที่ยวสวย ๆ ในสวิตเซอร์แลนด์ให้เพื่อน ๆ ได้อ่านกันอีกค่ะ
.
#JoojeeinNature #JoojeeinSwitzerland #joojeeineurope
#SwissTravelPass #SwissASAP #TravelSwitzerland
#Switzerland #INeedSwitzerland
#เที่ยว #เที่ยวสวิตเซอร์แลนด์ #SwissTrain #วิธีขึ้นรถไฟ
#เที่ยวสวิส #เที่ยวยุโรป #สวิตเซอร์แลนด์
Joojee'n Nature
วันศุกร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2567 เวลา 15.30 น.