โอ้อาหมวย… ชะตาเจ้าช่างน่าสงสารนัก
นางระหกระเหินรอนแรมจากเมืองจีนหอบเสื่อผืนหมอนใบ หวังมาลงหลักปักฐานในแผ่นดินสยาม ... ชีวิตนางจะเป็นอย่างไรต่อไปหนอ!?
เราแอบนึกพล๊อตเรื่องสนุกๆ ตอนที่ยัยหมวยมาชวนเราไปเที่ยว "เมืองมัลลิกา ร.ศ. 124" ที่กาญจนบุรี"
เราไปหาข้อมูลมาละ ที่นี่เป็นที่เที่ยวแห่งใหม่ที่พาเราย้อนเวลากลับไปสัมผัสกรุงรัตนโกสินทร์ในช่วงรัชกาลที่ 5 ซึ่งเป็นยุคที่เมืองไทยมีการเปลี่ยนแปลงเยอะมาก ทั้งเลิกทาส ทั้งมีการพัฒนาประเทศแบบก้าวกระโดด เราว่าช่วงนั้นเป็นช่วงเวลาที่คลาสสิคและมีเสน่ห์สุดๆ เลย
ยิ่งเห็นใครๆ ไปเที่ยวก็ต้องแต่ชุดไทยไปเดินเนียนๆ ทำตัวโบราณๆ ถ่ายรูปกัน เฮ้ย!! ของมันต้องไป
เมืองมัลลิกา… กับขนาดเมืองที่ใหญ่ไม่ใช่เล่น
"เพราะการเดินทางทำให้โลกใบเดิมของเรากว้างขึ้น" ประโยคนี้ทำให้ผมและแฟนจับมือกันออกเดินทางไปเรียนรู้โลกกว้าง เราสองคนทำเพจเล็กๆ ชื่อ "หนีงานไปเที่ยว" และ Blog ที่ชื่อ www.ibreak2travel.com
อ่านมาถึงบรรทัดนี้เราอยากบอกว่า…ย้อนกลับไปหลายปีก่อนตอนรู้จักกันใหม่ๆ "ผม คือ นักท่องเที่ยวที่ต้องทำงานประจำ ส่วนแฟนผม คือ คนทำงานประจำที่อยากเที่ยวบ้าง" เราต่างกันเหลือเกิน แต่เมื่อมาคบกัน 2 ความต่างก็หาจุดลงตัวจนทำให้เรามาถึงจุดที่อยากทำเพจพาเพื่อนๆ คนทำงานไปเที่ยวกับพวกเราบ้างเราไปได้ ใครๆ ก็ไปแบบเราได้แน่นอนขอฝากร้านด้วยครับ
แวะไปกด Like เพจกันสักนิด เป็นกำลังใจให้พวกเราสักหน่อย จะได้รู้ว่าพวกเรายังมีคุณๆ อยู่เสมอ"ทำงานให้เป็นต้องรู้จักเที่ยวนะครับ"
https://www.facebook.com/ibreak2travel/
http://ibreak2travel.com/
คุณพี่ คุณป้า ใครๆ เค้าก็ไปกัน "เมืองมัลลิกา ร.ศ. 124" ที่กาญจนบุรี"
กลับมามองดูหน้ายัยหมวยแล้ว ไอ้ครั้นจะให้สาวหน้าตาอินเตอร์ขนาดนี้ใส่ชุดไทยมันก็คงจะไม่เข้าพวก ดังนั้นถ้าจะเที่ยวให้อินสุดๆ มันก็ต้องมีคอนเซ็ปท์ ดังนั้นการไปเมืองมัลลิกาของเรา เลยมาสไตล์
"อาหมวยหลงกรุง ณ เมืองมัลลิกา ร.ศ. 124" ไปติดตามดูกันครับ
การเดินทาง
เมืองมัลลิกา ร.ศ. 124 อยู่ไม่ไกลเลย จาก กทม. ใช้เวลาแค่ 2-3 ชม. โดยขับรถมาตามเส้นทาง กรุงเทพ – กาญจนบุรี และไปตามทางหลวงหมายเลข 323 เส้นทางสายกาญจนบุรี -ไทรโยค จนถึงกิโลเมตรที่ 15 เมืองมัลลิกาตั้งอยู่ซ้ายมือข้างปั๊มน้ำมันบางจาก ก่อนถึงทางเข้าปราสาทเมืองสิงห์
แต่ถ้าไม่มีรถก็ให้นั่งรถตู้หรือรถบัส กาญจนบุรี-กรุงเทพ มาลงที่ท่ารถ บขส กาญจนบุรี แล้วต่อรถประจำทางสาย ไทรโยค ทองผาภูมิ สังขละ หรือต่อรถตู้กาญจนบุรี-สังขละ มาลงที่เมืองมัลลิกา (32 กม.) ติดปั๊มน้ำมันบางจาก ปากทางเข้าปราสาทเมืองสิงห์
ถึงเมืองมัลลิกาจะพื้นที่เยอะ แต่ถ้าจะให้มาเดินตั้งแต่เช้า-เย็น ก็ดูจะใช้เวลานานเกินไป เราเลยวางแผนให้มาถึงเมืองมัลลิกาตอนบ่าย 2 เพื่อจะได้เดินยาวๆ ไปถึงตอนเย็น จากนั้นจะไปลองทานมื้อเย็น + ดูการแสดงตอนหัวค่ำทีเดียวเลย
การมาถึงช่วงเช้ากับบ่ายให้ผลต่างกันนะ ถ้ามาถึงตอนเช้าเราจะได้เห็นกิจวัตรของชาวเมืองมัลลิกา ที่ตื่นแต่เช้ามาหุงหาอาหาร เตรียมของขาย เตรียมเปิดร้าน แต่ถ้ามาช่วงบ่ายๆ ก็จะพบกิจวัตรชาวเมืองอีกแบบนึง ซึ่งเดี๋ยวเราจะไปดูกัน
เมื่ออาหมวยรอนแรมมาถึงเมืองมัลลิกา ร.ศ. 124
"ที่นี่ที่หนาย… ทำไมร้อนอย่างงี้"
เออ มันร้อนจริงๆ แหล่ะ ก็เรามาเที่ยวกันตอนต้นเดือนเมษาฯ อากาศก็ร้อนไปนิด แต่ใจเย็นก่อน เราว่าข้างในต้นไม้เยอะอยู่ เดี๋ยวเดินๆ ไป ก็คงจะเย็นเองล่ะน่า ตอนนี้เราต้องไปซื้อบัตรผ่านประตูก่อน ซึ่งเราว่าราคาก็โอเคนะ ไม่ถือว่าแพง
โปรโมชั่นค่าเข้าชมเดือนเมษายน 2560 เป็นดังนี้
- ผู้ใหญ่ 200 บาท/ เด็ก, ผู้สูงอายุและผู้พิการ 100 บาท
- ค่าเข้าชม+ สำรับเย็น + ชมการแสดง ราคา ผู้ใหญ่ 700 บาท เด็ก 350 บาท (โปรโมชั่นลด 10%)
หมายเหตุ :
- เด็ก – ความสูงต่ำกว่า 100 cm. เข้าฟรี
- เด็กความสูงตั้งแต่ 100 – 130 cm. และผู้สูงอายุ – อายุ 70 ปีขึ้นไปใช้ราคาเด็ก
วันนี้เราเลือกเข้าชมแบบ Full Option เลยจ้า ค่าเข้าชม + สำรับเย็น + ชมการแสดง ราคาเต็ม 700 บาท แต่ลด 10% เหลือคนละ 630 บาท นั่นแปลว่าถ้าหักค่าเข้าชม 200 บาทออกไปแล้ว จะเป็นค่าอาหารเย็นกับค่าดูโชว์ 430 บาท เฮ้ย!! อันนี้เราว่าคุ้ม ปกติไปกินมื้อเย็นดีๆ หน่อย ก็หัวละ 300-400 บาทแล้ว นี่ยังได้ดูโชว์ด้วย งั้นจัดไป
ได้บัตรผ่านประตูมาแล้ว ตอนนี้ก็ได้เวลาเข้าเมือง อาหมวยงอแง บอกอากาศร้อนไม่อยากเดิน งั้นไปนั่งรถลากกัน (ค่าบริการรถลาก 50 บาท / เที่ยว)
จะเข้าเมืองต้องผ่านนายทวารก่อน
หล่านายทวาร คนลากรถ นั่งรอเก็บบัตรอยู่ตรงทางเข้า ส่วนเสื้อขาวหนวดงามนั่นคือเจ้าเมือง
มาเตรียมขึ้นรถลากนะจ๊ะ
เราว่ารถลากของไทยโบราณ ก็คล้ายๆ ของจีนเหมือนกันนะ
พอขึ้นรถลากแล้ว เค้าก็จะลากเข้าไปในเมือง
จากหน้าประตู คนลากรถจะลากมาส่งด้านใน ให้เราเดินต่อเข้าไปยังสะพานหัน
หลังจากรถลากมาส่งอาหมวยที่ตรงหน้าสะพานหันแล้ว อาหมวยชักจะเริ่มลืมร้อน เพราะย่านนี้มีของแปลกๆ น่าสนใจเยอะเลย สาวหลงกรุงอย่างอาหมวยเลยตื่นตาตื่นใจน่าดู มารู้จักสะพานหันกันหน่อยนะ
สะพานหัน
ชื่อนี้เรียกตามลักษณะตัวสะพาน สมัยก่อนจะเป็นไม้แผ่นเดียวพาดข้ามคลอง ยึดปลายข้างนึงไว้ ส่วนอีกข้างวางพาดไว้เฉยๆ เวลาเรือจะผ่านก็จับหันไปมาเพื่อให้เรือผ่านได้ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้เปลี่ยนทำเป็นแบบสะพาน "ริอัลโต" ในเมืองเวนิซ ประเทศอิตาลี คือ เป็นสะพานไม้โค้งกว้าง สองฟากสะพานมีห้องแถวเล็กๆ ให้ขายของ ส่วนตรงกลางเป็นทางเดิน ซึ่งสะพานนี้ล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 โปรดเสด็จประพาสเพื่อซื้อผลไม้แห้งที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ เช่นลูกพลับแห้ง และผลไม้แห้งต่างๆ นานาชนิด
ปัจจุบันสะพานหันแบบนี้ไม่มีแล้วนะจ๊ะ อยากดูของดั้งเดิมต้องมาดูที่เมืองมัลลิกา แบบยัยหมวยเนี่ยแหล่ะ
ด้านในสะพานหันจะแบ่งเป็นห้องแถว 2 ข้าง ตรงกลางเป็นทางเดิน
แวะมาดูผลไม้สดๆ บนสะพานหัน
มีผลไม้ตากแห้งด้วย
หมวยขอลองชิมหน่อย บ้านอั๊วม่ายมี
ถ้าเอ็งไม่ซื้อ เอ็งจะมาชิมเยอะขนาดนี้ไม่ได้นะ!!!
คุณยายเจออาหมวย ก็ใจดีให้กินขนมฟรี
ที่สะพานหันมีผ้าไทยขาย แค่ได้ลองสัมผัส อาหมวยก็อยากเปลี่ยนไปใส่ชุดไทยทันที
"อีพริ้ง…อั๊วอยากใส่ผ้าไทย อั๊วอยากเป็นสาวไทย"
ยัยหมวยบอกเราหลังจากเดินเล่นบนสะพานหันไปได้แป๊บเดียว คนไทยมีน้ำใจโอบอ้อมอารี อาหารก็อร่อย ผลไม้ก็สด แถมเสื้อผ้าแบบไทยๆ ก็สวยงามประณีต ใครๆ ก็ตกหลุมรักเมืองไทยได้ง่ายๆ งั้นเราพาอาหมวยไปเปลี่ยนชุดเป็นสาวไทยกันก่อนดีกว่า
การเช่าชุดไทยที่เมืองมัลลิกา
ที่เมืองมัลลิกามีชุดไทยไว้ให้เช่าครับ มีหลายแบบ หลายสีให้เลือกใส่ ซึ่งค่าเช่าชุดเป็นดังนี้
- เช่าชุดไทย ผู้หญิงแบบสไบ 200 บาท
- แบบลูกไม้สีขาวแขนยาวสมัย ร. 5 : 300 บาท, ผู้ชาย 100 บาท
- ผู้ชายแบบราชปะแตน 300 บาท
- เด็ก 50 บาท
สามารถติดต่อเช่าชุดได้ที่ห้องเช่าชุด ซึ่งอยู่ใกล้กับห้องจำหน่ายบัตรเข้าเมืองมัลลิกา
ขั้นตอนแรก ก็ต้องมาเลือกสไตล์ชุดที่ชอบก่อน จากนั้นก็เลือกสีไปด้วยเลย ซึ่งบนผนังจะมีการให้คำแนะนำเรื่องสีที่เหมาะกับวันเกิดอยู่ด้วย หากสงสัยก็สอบถามพนักงานได้เลยครับผม
มีชุดให้เลือกเยอะมากเลย
อาหมวยถูกใจชุดลูกไม้สีครีมแขนยาว ดูแล้วเป็นคุณหญิงดีนะ
เมื่อเลือกชุดเสร็จแล้วก็จะมีห้องให้เปลี่ยนชุด พร้อมกับมีตู้ Locker ไว้ให้เราเก็บของใช้ส่วนตัว เราแนะนำให้ติดตัวไปเท่าที่จำเป็นนะ โทรศัพท์มือถือ กระเป๋าเงิน กล้องถ่ายภาพ อะไรแบบนี้
ด้านในมีตู้ Locker ไว้ให้เก็บของส่วนตัว
มีร่มให้ยืมด้วยนะขอรับ ^_^
ผ่านไปเพียงครู่ อาหมวยหลงกรุงของเรา ก็ได้แปลงโฉมกลายเป็นคุณหญิงติ๊ดตี่ แห่งย่านตลาดน้อย ไปในทันที
อ้อ!! ในห้องแต่งตัวจะมีเครื่องประดับและร่มให้ยืมด้วยนะ อย่าไปวิ่งโลดโผนมากนะ เดี๋ยวเครื่องประดับเค้าหล่นหาย ต้องมาใช้เงินคืนเค้าอีก
พอได้แต่งชุดไทยสมใจ นางก็ดี๊ด๊าอารมณ์ดี พร้อมกลับเข้าไปเที่ยวเมืองมัลลิกาอีกรอบในมาดคุณหญิงติ๊ดตี๋ แห่งย่านตลาดน้อย
คุณหญิงติ๊ดตี่มาแล้ว
กลับมานั่งรถลากอีกรอบ ไม่มีใครจำได้เลย
คุณหญิงแวะกลับมาหาคุณยายอีกที คุณยายจำไม่ได้เลยทีเดียว
คุณยายขายถั่วลิสง อร่อยดีนะ
ย่านการค้า
ภายในเมืองมัลลิกาได้จำลองย่านการค้าสำคัญในอดีตเอาไว้ครบเลย ทั้งย่านถนนแพร่งนรา ย่านถนนแพร่งภูธร ย่านถนนแพร่งสรรพศาสตร์ ย่านบางรัก และย่านเยาวราช โดยนำเสนอจุดเด่นของแต่ละย่านเอาไว้ครบเลย
การจะจับจ่ายในย่านต่างๆ นั้น เราไม่สามารถใช้เงินปัจจุบันได้นะขอรับ (เริ่มติดคำลงท้ายละ) เราต้องแลกเงินเป็นสตางค์รู เหมือนที่ใช้กันในสมัยก่อน อัตราแลกเปลี่ยนอยู่ที่ 1 สตางค์รู = 5 บาท สามารถแลกได้ที่จุดให้บริการภายในเมืองมัลลิกา
แลกเงินก็ต้องมาธนาคารสิครัส ใครรู้จักแบก์สยามกัมมาจลบ้าง
สาวๆ ธนาคารนี่หน้าตาดีมาตั้งแต่ยุคโน้น
ย่านการค้าในเมืองมัลลิกา
มีความน่าสนใจมาก เพราะมีสินค้าหลากหลายจากครั้งอดีต มาวางขายกันจริงๆ บรรดาพ่อค้าแม่ค้าในย่านนี้ทุกคน คือพนักงานของเมืองมัลลิกา ที่ถูกกำหนดบทบาทให้ทำหน้าที่ในเมือง บ้างก็เป็นพ่อค้าแม่ค้า บ้างก็เป็นยาม บ้างก็เป็นชาวนา และทุกคนต้องผ่านการอบรมวิถีชีวิตจริงของคนสมัยรัชการที่ 5 เพื่อที่จะทำหน้าที่ของตัวเองได้อย่างสมจริง!!!
โดยเฉพาะย่านเครื่องหอมย่านนี้ แต่ละร้านจะมีเครื่องหอมโบราณทั้งบุหงา แป้งร่ำ เทียนหอม ฯลฯ ให้เราได้เลือกซื้อ แถมยังสาธิตการทำแบบจริงๆ ได้เลย
ดอกมะลิ ดอกจำปา ถูกนำมาตากแห้งไว้ในถาด เพื่อนำไปทำบุหงา
ถุงบุหงากลิ่นต่างๆ ที่ทำขึ้นจริงๆ
พนักงานเมืองมัลลิกา ที่ถูกมอบหมายบทบาทให้เป็นแม่ค้าร้านบุหงา
แม่ค้าร้านเทียนหอม ไว้ทำขนมอบควันเทียน
อันนี้คือแป้งร้ำ ที่ถูกนำมาทำเป็นพวงๆ คล้ายพวงมาลัย ถึงเวลาก็เด็ดมาใช้ทีละกลีบ
พวงแป้งร่ำ
คุณป้าขายกล้วยฉาบ กล้วยตาก เผือกฉาบ
ร้านนี้ขายขนมข้าวตูมะพร้าว....ใครไม่เคยกินโปรดลอง รสชาติดีมาก
อีกหนึ่งร้านที่ไม่ควรพลาดคือร้านขนมไทยร้านนี้ ภายในร้านมีขนมไทย 3 ชนิด ที่เราควรได้ลองชิม นั่นคือขนมทองเอก จ่ามงกุฎ เสน่ห์จันทร์ ซึ่งปัจจุบันนี้หากินได้ยากมากแล้ว
สามสาวนี้ขายขนมไทย ทองเอก ทองหยิบ ทองหยอด
เราชอบขนมไทยจัง
คุณน้าคนนี้ขายหมูหวาน หมูฝอย ขายคู่กับข้าวเหนียวร้อนๆ ห่อใบตองกลัดด้วยไม้กลัด
มีร้านขายเครื่องจักรสานด้วย
ขนมเบื้องขนาดใหญ่ ไส้เยอะมากกกก… อร่อย
พอตกเย็น ก็เจอคุณหลวงแอบมาพักผ่อน หาอะไรรองท้อง
ร้านขายผักผลไม้ ที่ใช้บรรจุภัณฑ์แบบดั้งเดิม ใส่ชะลอมกันเลย
ลูกชุบต้องมี
ขนมไทยนี่มาครบเลย
เค้าก็ช่างเลือกพนักงานมาประจำร้านโชว์ห่วยเนอะ
เดินมาไม่นานคุณหญิงติ๊ดตี่รู้สึกกระหายน้ำ อยากหาอะไรเย็นๆ ทาน เราก็มาเจอร้านน้ำแข็งไสชื่อร้าน "ติหมา" ความน่าสนใจอยู่ตรงวิธีการไสน้ำแข็ง ที่ใช้เครื่องไสแบบเก่า แถมยังใช้ใบลานมาห่อเป็นถ้วยสำหรับใส่ขนมหวานซะด้วย เฮ้ย!! เก๋มากนะ ไม่ต้องใช้ถ้วยโฟมอ่ะ
ตักขนมใส่ถ้วยที่ทำจากใบลาน
หลังจากไสน้ำแข็งจนเป็นฝอยแล้ว ก็ตักใส่ถ้วยใบลาน
เครื่องไสน้ำแข็งแบบโบราณ
พร้อมเสิร์ฟเจ้าค่ะ
หิวเมื่อไหร่ก็แวะมา…ย่านเรือนแพ
ในยุคสมัยนั้น การสัญจรไปมาส่วนใหญ่จะใช้ทางน้ำ ร้านค้าขายก็มักจะอยู่ริมน้ำเช่นกัน ซึ่งในเมืองมัลลิกาก็สร้างเรือนแพขนาดใหญ่ เอาไว้สำหรับค้าขาย ซึ่งมีทั้งร้านกาแฟตงฮู (อารมณ์เหมือนสตาร์บั๊คสมัยนี้) ซึ่งจะขายกาแฟที่นำเข้าเมล็ดกาแฟสดจากต่างประเทศเข้ามา แล้วก็จะมีร้านข้าวแกงทรงโปรดอยู่ที่เรือนแพนี้ด้วย ซึ่งที่ร้านข้างแกงทรงโปรดนั้นจะมีอาหารที่ในหลวงรัชกาลที่ 5 ทรงโปรดด้วยนะ
เรือนแพที่มีอาหารอร่อยขาย ทั้งข้าวแกง ขนมจีน ส้มตำ และกาแฟ
แต่กว่าเราจะมาถึงย่านนี้ ตลาดก็วายเสียแล้ว เลยอดลิ้มลองอาหารเลย
คุณยายขายข้าวแกง
ถ้าอยากมาลิ้มลองอาหารที่เรือนแพ แนะนำให้มาตั้งแต่กลางวันนะขอรับ
เรือนเดี่ยวกับการจำลองวิถีชีวิตชาวนา
ไม่ไกลจากย่านเรือนแพ ให้เราเดินเลาะข้ามคลองมา ก็จะเจอบ้านทรงไทยเรือนเดี่ยว ที่มีการสาธิตการทำนาด้วยควายเอาไว้ให้เราได้ศึกษา โดยบนบ้านไทยนั้นก็มีสองตายายอาศัยอยู่จริงๆ รวมถึงข้าวที่ปลูกได้ก็จะถูกนำไปสี ไปโม่ เพื่อทำขนมขายในเมืองมัลลิกาจริงๆ อีกด้วย โอ๊ว!!! นี่มันจริงจังเกินไปแล้ว
บ้านทรงไทยเรือนเดี่ยว กับแปลงนา และหุ่นไร่กา ดูโดดเด่นในยามเย็น
มีคอกเลี้ยงควายอยู่ใต้ต้นไม้ใหญ่หน้าบ้าน
คุณหญิงติ๊ดตี่ถึงกับเพลิดเพลินกับบรรยากาศร่มรื่นหน้าบ้าน
บ้านไทยโบราณ มักมีเรือนท่าน้ำ ไว้เป็นท่าขึ้น-ลงเรือ
ย่านโรงครัว มุมออกกำลังกายของคนโบราณ
เราค่อยๆ เดินลัดเลาะมาตามทางเดินด้านหลังบ้านไทยเรือนเดี่ยว ไม่นานก็มาถึงโรงครัว ที่นี่เป็นพื้นที่หลักในการทำอาหารของเมืองมัลลิกา ซึ่งมีทั้งโรงสีข้าว ยุ้งข้าว โรงครัวสำหรับปรุงอาหาร ใครจะไปคิดว่าการโม่ข่าว การสีข้าว และการตำข้าว จะช่วยให้เราเผาผลาญไขมันได้มากขนาดนี้!!!
คุณป้าคนนี้กำลังสาธิตวิธีการสีข้าวแบบโบราณ
คุณพี่คนนี้กำลังสอนคุณหญิงติ๊ดตี่ให้ตำข้าว
ข้าวเปลือกที่ปลูกและเก็บเกี่ยวได้เองในเมืองมัลลิกา
เวลาล่วงเลยมาจนเย็นย่ำ เหล่าผู้คนในเมืองก็เริ่มจะเก็บร้าน เก็บข้าวของกลับบ้าน ซึ่งก็ได้เวลาที่เราทั้งคู่จะต้องไปที่เรือนหมู่ เพื่อทานอาหารเย็นดั้งเดิมแบบชาววัง และชมการแสดงพิเศษที่เมืองมัลลิกาจัดไว้ต้อนรับนักท่องเที่ยว
เรือนหมู่
เป็นเรือนไทยขนาดใหญ่ สำหรับรับรองแขกบ้านแขกเมือง ของเหล่าขุนนางผู้ทรงศักดิ์ หรือคหบดีผู้มั่งคั่ง ถ้าใครเคยดูหนังเรื่อง "โหมโรง" จะเห็นว่าคหบดีสมัยก่อนนิยมมีคณะนาฎศิลป์เป็นของตนเอง ไว้ต้อนรับแขก เรือนหมู่ที่เมืองมัลลิกาจัดเป็นเรือนหมู่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ช่วงกลางวันจะมีสาธิตการแสดงนาฎศิลป์ไทย ส่วนกลางคืนจะเป็นเรือนรับประทานอาหารเย็นและมีการแสดงนาฎศิลป์ไท
กำลังแนะนำเมนูอาหารให้เราได้รู้จัก
รายการสำรับเย็นวันนั้นมีดังนี้
- ข้าวตังหน้าตั้ง
- น้ำพริกขี้กา คล้ายๆกับพริกหนุ่ม ย่างใต้
- หมี่กรอบกุ้งสด
- ไก่ห่อใบเตยทอด
- มัสมั่นไก่
- ยำทวาย
- สายบัวกะทิปลาทู
สำรับ 1 ชุดสำหรับ 4 คน ซึ่งเราสามารถเติมข้าวและกับข้าวได้ไม่อั้นเลยนะจ๊ะ
พอได้เวลาอาหาร พนักงานก็จะตักข้าวหอมมะลิหอมๆ ลงจาน
หมี่กรอบกุ้งสด รสหวานนำ รสชาติดีทีเดียว
ข้าวตังหน้าตั้ง ถือเป็นเมนูทานเล่นในวัง ทานเพลินๆ ก่อนมื้ออาหาร รสชาติอร่อย
มัสมั่นไก่ถ้วยนี้รสชาติเข้มข้นมากทีเดียว ไก่นุ่มเปื่อยกำลังดี
ชามนี้คือยำทวาย ประกอบด้วย ไก่เส้น ผัก ผักบุ้ง หัวปลีถั่วฟักยาว พริกหยวก ราดซอสขนมจีนน้ำยาใส่ถั่ว
น้ำพริกขี้กา ลักษณะคล้ายกับน้ำพริกหนุ่ม
ถ้วยนี้ชอบมาก หากินยากแล้วนะ แกงสายบัวกะทิ ใส่ปลาทู
ไก่ห่อใบเตย
แถ้วนี้เป็น Welcome Drink ที่เราชอบมาก ดื่มแล้วชื่นใจจริงๆ น้ำอัญชันมะนาว
สำรับนี้สำหรับ 4 คนนะ เราสามารถเติมข้าวและกับข้าวได้ไม่อั้น
ในส่วนของการแสดงนาฏศิลป์ไทย
มีทั้งหมด 8 ชุด รวมระยะเวลา 1 ชั่วโมง โดยจะเริ่มแสดงที่เวลา 19.00 น. เรานั่งดูการแสดงไปพร้อมๆ กับค่อยๆ ทานอาหารไปอย่างอร่อย ยอมรับว่าการได้ดูนาฏศิลป์ไทยแกล้มอาหารสำรับชาววังแบบนี้ เป็นประสบการณ์พิเศษที่ไม่เกิดขึ้นบ่อยในชีวิตเรา
ตลอดเวลาที่ได้เดินเที่ยวในเมืองมัลลิกา เราขอสรุปสั้นๆ ดังนี้
- เมืองมัลลิกาสร้างขึ้นมาแบบจริงจัง ไม่ใช่แค่ทำเป็นที่เที่ยวเก็บเงิน แต่คิดไว้แล้วว่าจะทำให้อยู่นานๆ โดยไม่เละ!!
- ผู้คนทั้งหมดในเมืองฯ ไล่ตั้งแต่ ยาม (โบราณเรียกแบบนี้), คนลากรถ, แม่ค้า, ชาวนา, ชาวบ้าน, ลูกชาวบ้าน อายุตั้งแต่ 18-81 ปี คือ พนักงานของเมืองมัลลิกา!!!
- ร้านค้าด้านในทั้งหมด มีความสมจริง ทำกันจริงจัง "เครื่องหอมทำเอง สาธิตวิธีทำให้ดูได้" "ขนมก็ทำเอง สาธิตวิธีทำให้ดูได้" "ข้าวปลูกเอง เลี้ยงควายไว้ไถนา เก็บเกี่ยวข้าว สีข้าว โม่ข้าว ทำเองหมด"
- การวางผังเมือง จุดจำหน่ายตั๋ว จุดเปลี่ยนเสื้อผ้า การรักษาความสะอาดห้องน้ำและพื้นที่โดยรอบ การดูแลความปลอดภัย ล้วนออกแบบและดูแลได้อย่างดี
- อ้อ!! เราใช้เงินปัจจุบันในเมืองฯ ไม่ได้นะ ต้องแลกเป็นสตางค์รูแบบที่ใช้ในสมัยก่อน โดยมีจุดแลกเงินอยู่ทั้งด้านนอกและด้านในเมืองมัลลิกา
ดราม่า
มีคนตำหนิว่าค่าเข้า 200 ยังไม่รวมค่าเช่าชุดไทย 150-300 บาท ก็ถือว่าแพงสำหรับบางครอบครัว แต่เรื่องนี้เรามองแบบนี้นะ ค่าเช่าชุดไทยตามร้าน ปกติก็ 300-500 บาทละ ถ้าไม่อยากเสียเงินเช่าชุด เค้าก็ไม่ได้บังคับ แต่ถ้าคุณอยากจะอินกับสถานที่ คุณก็เช่าชุดเข้าไป เรื่องนี้ไม่ควรดราม่า
ราคาค่าเข้า + ค่าตั๋ว + ค่าอาหาร ในมุมเรา เราว่าอยู่ในจุดที่พอดี ลองคิดดูว่าถ้าต้องบริหารกิจการแบบนี้ให้อยู่ได้นานๆ มันต้องมีรายได้นะ เค้าทำมาดีขนาดนี้ เราสนับสนุนเค้าบ้างเถอะ เวลาไป ตปท. ทำไมเรายินดีจ่ายแพงกว่านี้ล่ะ
ข้อเสีย
- เพิ่งเปิดมาไม่นาน ร่มเงาจากต้นไม้ยังน้อย รับแดดไปเต็มๆ
- พนักงานที่คอยดูแลในส่วนห้องแต่งตัวยังน้อย บริการยังไม่ดี
- ควรมีจุดให้นั่งพักหลบแดด พร้อมร่มเงา มากกว่านี้
สรุป
เมืองมัลลิกา ร.ศ. 124 เหมาะกับคนที่อยากไปเรียนรู้ว่าอดีตเราเป็นยังไง เราผ่านอะไรมา ไปเรียนรู้เพื่อจะได้เล่าเรื่องประเทศไทยให้คนอื่นฟังอย่างถูกต้องและภูมิใจ และถ้าจะให้ดีควรพาเพื่อนต่างชาติมาเที่ยวด้วย
เมืองมัลลิกาไม่เหมาะกับ… คนที่จะมาเที่ยวแบบฉาบฉวย คนที่แค่จะมาถ่ายรูปในชุดไทยเก๋ๆ แล้วก็กลับบ้านไปโดยไม่คิดจะเรียนรู้อะไรเลย ที่นี่ไม่ใช่ที่เที่ยว แต่เป็นแหล่งเรียนรู้ความเป็นไทยในสมัยรัชกาลที่ 5 และเค้าติดป้ายบอกเอาไว้ตั้งแต่หน้าทางเข้าแล้ว
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
โทร : 034 540884-86
โทรสาร : 034 540883
Website :
www.mallika124.com/
Facebook :
www.facebook.com/MallikaR.E.124/
รีวิวอื่นๆ ของหนีงานไปเที่ยว
https://th.readme.me/id/ibreak2travel
แวะไปกด Like เพจกันสักนิด เป็นกำลังใจให้พวกเราสักหน่อย จะได้รู้ว่าพวกเรายังมีคุณๆ อยู่เสมอ
https://www.facebook.com/ibreak2travel/
หนีงานไปเที่ยว
วันศุกร์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2560 เวลา 08.54 น.