ก่อนมาคิดว่าคงจะแค่ถ่ายรูป แช๊ะๆๆ.. โพสรูปสวยๆ อวดเพื่อนๆ
..
เอาเข้าจริงเป็นการคิดผิดมาก..ตั้งแต่ลงจากรถ มีการพูดคุยเป็นขั้นเป็นตอน ถึงที่มาที่ไป ขบวนการต่างๆทั้งก่อนทำและหลังทำ เห็นออกมาเป็นภาพชัดเจน จนถึงการได้ไปทำฝายในสถานที่จริง ก่อประโยชน์จริง ทั้งที่เมื่อก่อนคินว่าเป็นแค่ทำค่ายตามเทรน ตามกระแส
ถึงแม้ว่าจำนวนสื่อมวลชนอาจจะเยอะกว่าจำนวนอาสาก็ตามในกิจกรรมครั้งนี้
..
พูดถึงอาสา ยอมรับว่าทีมงานคัดเลือกยังไงถึงเลือกคนมาได้ถูกมาก (เห็นประกาศในเฟสบุ๊ก แค่ให้เขียนนิยาม)
และแบ่งเป็นคนรุ่นใหม่ และภาคชุมชนหมู่บ้าน ซึ่งแต่ละคนก็มีโครงการในหมู่บ้านของตนอยู่แล้ว
ถือโอกาสที่ถูกคัดเลือกให้มาต่อยอดความรู้
..
โดยเฉพาะคืนนี้ผมได้มานอนในหมู่บ้าน เป็นบ้านของคุณแม่ลำภา ที่ดูแล้วอายุอานามก็น่าจะปาเข้าไป 60 กว่าปี คอยต้อนรับเป็นมิตรไมตรีตั้งแต่มาถึง
ซึ่งคืนนี้นอนรวมกับทีมผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วย จำนวน 10 คน ที่มาจาก จ.กาญจนบุรี
ในวงสนทนาที่มีเครื่องดื่ม9 กระป๋อง ผมได้รับรู้ถึงความตั้งใจที่จะทำ. ผู้ใหญ่บ้านหลายคนเริ่มทำกันแล้ว บางท่านก็เริ่มโครงการมานานแล้ว เพียงแต่มาหาควมรู้เพิ่มเพื่อไปพัฒนาชุมชนตัวเอง
ก็เลยอดถามไม่ได้ว่าจุดเริ่มต้นที่ทำฝายชลอน้ำที่ชุมชนตัวเอง
เริ่มมาจากอะไรครับ ??
คำตอบที่ได้ยิ่งแปลกใจ คิดว่าคงจะเป็นคำตอบแบบโลกสวยที่เคยได้ยินอยู่บ่อยครั้ง...แต่ไม่เลย หลายท่านเมื่อก่อนไม่ธรรมดา. บอกผมว่าเหมือนมาใช้กรรมที่เคยทำ
ถามว่า. ทำไมครับ. ... ได้ฟังแล้วก็ทำให้รู้ถึงคำตอบเหล่านั้น
เพราะอดีตที่นานมาแล้วแต่ละคนไม่ธรรมดา ไม่ว่าจะเคยตัดไม้ก็มี.
เก็บกล้วยไม้ก็มี เหมือนมาใช้กรรมในสิ่งที่เองเคยทำ
ไม่รู้ว่ามันรักษ์ธรรมชาติขึ้นมาตอนไหน รู้ตัวอีกทีก็หยุดไม่ได้
เป็นคำตอบที่ทำให้ประหลาดใจมาก ในใจก็คิดว่าท่านคงแซวพูดกันเล่นๆ
...
บทสนทนาก็ต่อเนื่องไปเรื่อยๆ แลกเปลี่ยนความรู้ ชี้แนวทางกัน บ้างก็คุยในสิ่งที่เกิดความเปลี่ยนแปลงในแต่ละชุมชนของตัวเอง เป็นการคุยทับกันที่สร้างสรรค์มาก
ผู้ใหญ่ต้องทำอย่างนั้นนะ อย่างนี้นะ. ต้องปิดป้ายเขียนแบบนี้นะ. ต้องหาทางแนวทางชวนวัยรุ่นแบบนี้นะ. เหมือนที่บ้านผม บ้านนั้น บ้านนี้ ฯลฯ .....
=================
"เมื่อไหร่พ่อจะเลิกเข้าป่า???
ก็จนกว่าจะไม่ไหวซิลูก. เพื่อชุมชนของเรา หนึ่งในนั้นก็มีลูกด้วย" ....อีกหนึ่งในบทสนทนา
ความรู้หางอึ่งอย่างผมก็ทำได้เพียงแค่เป็นคนฟังที่ดี และสิ่งที่เห็นได้ชัดคือรอยยิ้ม ที่ดูพวกเขาจะมีความสุขที่ได้พูดคุยกัน กับเรื่องการฟื้นฟูธรรมชาติ ให้บ้านตัวเอง ก่อนจะแยกย้ายเข้านอนในตอน 23 นาฬิกา
===================================
"อีกหนึ่งเรื่องราวที่ผมได้เห็น ในการเดินทางมาครั้งนี้
ตามไปชมภาพบรรยากาศกิจกรรมกันได้เลยครับ"
#รักษ์น้ำTheJourney #สานต่อที่พ่อทำสร้างฝายทั่วไทย
#SCGรักษ์น้ำเพื่ออนาคต
(ภาพานกิจกรรก่อนส้รางฝาย รับฟังการบรรยายเรื่องราวต่างๆ รวมไปถึงวิธีสร้างฝายอย่างถูกต้อง และประโยชน์ของการสร้างฝายชะลอน้ำ ในภาคเช้าภายในบริษัท ปูนซีเมนต์ไทย (ลำปาง)
โดยทาง SCG ได้ค้นหาผู้เข้าร่วมกิจกรรมอายุระหว่าง 17-28 ปี และภาดคชุมชน ที่อยู่ในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี นครศรีธรรมราช หรือ ขอนแก่น ร่วมออกเดินทางไปนำของขวัญจากพ่อกลับมาพัฒนาชุมชนของตัวเอง ณ จังหวัดลำปางและเชียงใหม่ กับทริป
“รักษ์น้ำ The Journey สานต่อที่พ่อทำ สร้างฝายทั่วไทย”
ในวันที่ 24-27 มิถุนายน 2560
ติดตามกิจกรรม้พิ่มเติมได้ที่เพจ SCG รักษ์น้ำ เพื่ออนาคต
https://web.facebook.com/SCGWater/.............
และกิจกรรมครั้งนี้เป็นครั้งแรกของผมเช่นกันที่ได้ร่วมกิจกรรมสร้างฝายชะลอน้ำในครั้งนี้ ไปชมภาพกิจกรรม และประโยชน์ของการสร้างฝายชะลอน้ำของพวกเราในครั้งนี้กันเลย
วิธีหนึ่งของการรักษ์น้ำ คือการสร้างฝาย ฝายชะลอน้ำเชื่อว่าคำนี้น่าจะคุ้นๆกันไม่มากก็น้อย
มีกิจกรรมสร้างฝายที่จัดขึ้นให้เห็นก็มากมาย หลายคนทราบดีว่าฝายชะลอน้ำนั้นมีประโยชน์อย่างไร
ผมจะขอยกตัวอย่างให้เข้าใจง่ายๆ จากการที่ได้ร่วมกิจกรรมในครั้งนี้กันครับ
==================ภาคบ่ายพวกเราออกเดินทางไปสร้างฝายกัน
ฝายชะลอน้ำนั้นมีความสำคัญกับระบบนิเวศมาก โดยเฉพาะในพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม
เราจึงมาสร้างฝายชะลอน้ำ เพื่อกั้นหรือขวางทางน้ำ ตามร่องน้ำ ร่องห้วย
ในบริเณป่าต้นน้ำ ป้องกันการชะล้างหน้าดิน ดักตะกอนต่างๆ
หรือถ้าเป็นช่วงหน้าฝน ที่มีน้ำไหลแรก ก็สามารถช่วยในการชะลอการไหลของน้ำให้ช้าลงได้
จึงทำให้ดินมีโอกาศซึมซับน้ำไว้ได้มากขึ้น ทำให้ต้นไม้เจริญเติบโตได้ดี
สอดคล้องกับแนวพระราชดำริของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9
เกี่ยวกับการพัฒนาการและฟื้นฟูป่าไม้
ฝายชะลอน้ำนั้นแบ่งออกด้วยกันเป็น 3 ประเภทคือฝายชะลอน้ำแบบผสมผสาน , ฝายชะลอน้ำแบบกึ่งถาวร และฝายชะลอน้ำแบบถาวรนั้นเอง
กิจกรรมในวันนี้พวกเราจะมาสร้างฝายชะลอน้ำแบบผสมผสาน
เป็นฝายภูมิปัญญาท้องถิ่น หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า "ฝายแม้ว"
หรือการสร้างฝายจากเศษวัสดุธรรมชาติ เช่น กิ่งไม้ หิน หรือไม้ล้ม มาวางเรียงซ้อนๆกัน
โดยจะเริ่มสรัางลงมาจากตอนบนของลำห้วย
เสร็จจากกิจกรรมสร้างฝาย คืนนี้เราจะนอนกับชาวบ้านโดยแบ่งกันไปนอนหลังละ 3-4 คน
ทำให้ได้ใกล้ชิด ได้พูดคุยกับชาวบ้าน และแลกเปลี่ยนความรู้กันในกิจกรรมช่วงที่ผ่านมา
มื้อเย็นได้มีการร่วมรับประทานอาหารร่วมกับชาวบ้านแบบขันโตก พร้อมกับพิธีบายศรีสู่ขวัญ
ให้กับน้องๆที่เข้าร่วมกิจกรรม พร้อมรับขมการแสดงจากเด็กนักเรียนในหมู่บ้าน
ถือได้ว่าเป็นการต้อนรับอย่างอบอุ่มมาก
เช้าอีกวันพวกเราเดินทางายังห้วยฮ่องไคร้ ที่
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ ที่ก่อขึ้นจากพระราชดำริของสมเด็จพระปรมิทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2525 เพื่อเป็นศูนย์กลางการศึกษา ทดลอง วิจัย
หารูปแบบการพัฒนาที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ภาคเหนือ
และเผยแพร่แก่ราษฎรนำไปปฏิบัติได้ด้วยตนเอง
วันนี้ถือเป็นโอกาศที่ดีที่ท่าน ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล
ประธานกรรมการมูลนิธิอุทกพัฒน์ในพระบรมราชูปถัมภ์
และ กรรมการกิจการสังคมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน เอสซีจี
มาเป็น วิทยากรกิตติมศักดิ์ พูดคุยให้ความรู้ถ่ายทอดเรื่องราว
ศึกษาเส้นทางทรงงานของ “พ่อ” ในวันนี้
โดยเฉพาะประโยคหนึ่งที่ท่านได้พูดให้พวกเราฟัง
"เราจะส่งแผ่นดินแห้งแล้งให้ลูกหลานเราเหรอ? เราต้องส่งต่อความอุดมสมบูรณ์ให้ลูกหลาน
เพื่อให้ลูกหลานได้ส่งต่อความอุดมสมบูรณ์นี้ต่อไป นี่สิถึงเรียกว่าความยั่งยืน"
ระหว่างที่น้องๆที่มาจาก 3 จังหวัดฟังบรรยายภายในห้องประชุม
ผมได้มีโอกาศเดิมชมภายในบริเวณศูนย์ โดยมีวิทยากรพิเศษคอยอธิบายให้ความรู้ต่างๆ
หลังจากฟังคำบรรยายต่างๆ ที่ได้เข้ามาเยี่ยมชมศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้
ในครั้งนี้ ทำให้เห็นว่าพ่อของเราทรงงานหนักมาก
จากป่าที่แห้งแล้ง จนกลายมาเป็นป่าที่เขียวอุดมสมบูรณ์
ทั้งยังกลายเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับราษฎรได้เข้ามาศึกษา
เพื่อก็ประโยชน์ทั่งกับตนเอง และธรรมชาติ
ผมขออนุญาตยกภาพขึ้นเป็นตัวอย่างให้ได้ชม ก่อนและหลังโครงการที่พระองค์ท่านได้จัดตั้งขึ้น
โดยเป็นภาพที่ถ่ายจากโดรนมุมสูง แล้วมาเปรียบเทียบกับภาพเมื่อครั้งก่อตั้งศูนย์ในช่วงแรกๆ
ผมเห็นแล้วรู้สึกถึงพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น อันหาที่สุดมิได้
..
หวังว่ารีวิวเล็กๆนี้ จะเป็นแรงต่อยอดให้ท่านได้รักษ์ธรรมชาติ
และเรียนรู้เกี่ยวกับการสร้างฝายชะลอน้ำ ถึงแม้ข้อมูลจะไม่มากหากไม่ได้มาศึกษาและลงมือทำด้วยตัวเอง
แต่โอกาศหน้าทาง SCG. ก็ยังดำเนินกิจกรรมรูปแบบนี้ต่อเนื่อง สามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่เพจ
SCG รักษ์น้ำ เพื่ออนาคต
https://web.facebook.com/SCGWater/
สะพายเป้ เท่ทั่วไทย
วันพฤหัสที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2560 เวลา 20.03 น.