ศรีสัชนาลัยเมืองมรดกโลก เมืองรองที่ไม่เป็นรองใคร วันนี้พาแอ่วเมืองเชลียง เมืองโบราณเก่าแก่ของสุโขทัยกันค่ะ พาลูกสาวเรียนรู้ประวัติศาสตร์เมืองโบราณที่สวยงาม และทานก๋วยเตี๊ยวพื้นบ้านโบราณ เพิ่มประสบการณ์ชีวิตนอกห้องเรียนกัน ^^
เมืองโบราณศรีสัชนาลัย อยู่ในเขตหมู่บ้านพระปรางค์ ตำบลศรีสัชนาลัย เดิมชื่อว่า “เมืองเชลียง” แล้วเปลี่ยนชื่อเป็น “ศรีสัชนาลัย” ในสมัยกษัตริย์ราชวงศ์พระร่วงขึ้นครองกรุงสุโขทัย
ภายในอุทยานประวัติศาสตร์ มีโบราณสถานที่สวยงามตรึงตาตรึงใจมากมายกว่า 238 แห่ง ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกจากองค์การ UNESCO ตั้งแต่พ.ศ 2534 ค่ะ
ทริปนี้ขี่จักรยานชมเมิองโบราณกัน ภายในกำแพงเมืองไม่ไกลมาก ขี่วนรอบได้ระยะทางประมาณ 1 กิโลเมตร แต่ถ้าใครไม่ชอบขี่จักรยาน จะเดินหรือใช้บริการรถรางได้ค่ะ มีของเอกชนให้บริการประมาณคนละ 100 บาทลูกสาวชอบขี่จักรยานมากกว่าแปลกใหม่ดีค่ะ
เช่าจักรยานขี่ชมเมืองโบราณกัน มีตั้งแต่คันละ 20 บาท-80 บาทค่ะเลือกได้ตามความพอใจ
คันนี้นั่งได้ 3 คนเลย 80.- บาท
มาหน้าร้อนเดือนเมษายนก็ยังได้บรรยากาศร่มรื่นค่ะ ต้นไม้เยอะ
ไปกันเลยยยยยยย
วัดแรกที่เที่ยวชม วัดนางพญา เป็นวัดที่มีลวดลายปูนปั้นงดงามมาก โดยปรากฏอยู่บนซากผนังวิหารด้านตะวันตกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นวิหารขนาดเจ็ดห้อง เสาวิหาร
มีเจดีย์ทรงลังกาประกอบซุ้มเรือนธาตุเป็นประธาน ก่อด้วยศิลาแลงสูงใหญ่ และมีสภาพสมบูรณ์
วิหารขนาดเจ็ดห้อง เสาวิหาร
ขี่จักรยานชมเมืองไปเรื่อยๆได้บรรยากาศแบบย้อนยุค เงียบสงบ
บรรยากาศสวยงาม เงียบสงบ
วัดสวนแก้วอุทยานใหญ่ มีโบราณสถานที่สำคัญคือ เจดีย์ประธานทรงกลม ก่อด้วยศิลาแลง องค์ระฆังได้พังทลายลง ด้านหน้ามีบันไดขึ้นไปจากมุขหลังของวิหารถึงเรือนธาตุเพื่อสักการะพระพุทธรูป
วัดเจดีย์เจ็ดแถว เป็นหนึ่งในโบราณสถานที่สำคัญของอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย ตัววัดตั้งอยู่ด้านหน้าวัดช้างล้อมค่ะ
จุดเด่นของวัดนี้คือ มีเจดีย์แบบต่างๆ อยู่มากมาย และเป็นศิลปะศรีวิชัยผสมศิลปะสุโขทัยโดยแท้ มีความสวยงามมากค่ะ เจดีย์ประธานเป็นรูปดอกบัวตูม อยู่ด้านหลังพระวิหาร และเจดีย์รายรวมทั้งอาคารขนาดเล็กแบบต่างๆ จำนวน 33 องค์ล้อมอยู่ มีกำแพงแก้วล้อมรอบอีกชั้นหนึ่ง นอกกำแพงมีโบสถ์ และบ่อน้ำ เจดีย์รายที่วัดเจดีย์เจ็ดแถวแห่งนี้ได้รับอิทธิพลศิลปะจากที่ต่างๆ หลายแห่ง เช่น ลังกา และพุกาม
วัดช้างล้อม เป็นโบราณสถานสำคัญ และสวยงามสมบูรณ์ มีเจดีย์ทรงลังกาที่ตั้งอยู่บนฐานประทักษิณ รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มี
ช้างปูนปั้นที่วัดช้างล้อมเมืองศรีสัชนาลัย มีลักษณะเด่นกว่าช้างปูนปั้นที่วัดอื่นๆ คือ ยืนเต็มตัวแยกออกจากผนัง มีขนาดสูงใหญ่กว่าช้างจริง
ด้านหน้าเจดีย์ประธานมีบันไดขึ้นสู่ลานประทักษิณ เหนือฐานประทักษิณมีซุ้มพระพุทธรูปประทับนั่งปางมารวิชัย 20 ซุ้ม แต่คงเหลือเพียงองค์เดียวด้านทิศเหนือค่ะ
ภาพมองมุมสูงจากยอดเจดีย์ช้างล้อม ตรงกันข้ามคือวัดสวนแก้วอุทยานใหญ่
ชมเมืองโบราณชั้นใน ในกำแพงเมืองเต็มอิ่มแล้ว นำจักรยานไปคืนที่สำนักงานอุทยานฯ และเปลี่ยนมาใช้รถยนต์ เพื่อชมวัดโซนรอบนอกเพราะระยะทางค่อนข้างไกลขับรถชมสะดวกดีค่ะ แต่ถ้าใครชอบขี่จักรยานก็ค่อยๆขี่ไปได้เรื่อยๆได้แต่ขอบอกว่าไกลพอสมควรค่า
วัดราหู ตั้งอยู่นอกเมืองศรีสัชนาลัยไปทางทิศตะวันตกประมาณ 150 เมตร
เจดีย์ประธาน
วัดหัวโขน เป็นโบราณสถานขนาดใหญ่ บนเนินเขาหันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีฆณฑป
วัดเจดีย์เก้ายอด เป็นโบราณสถานสมัยสุโขทัย ตั้งอยู่นอกกำแพง เมืองศรีสัชนาลัยด้านทิศตะวันตกบนสันของ
โบราณสถานสำคัญประกอบด้วยเจดีย์ประธาน มียอดเจดีย์อยู่ข้างบน 9 ยอด ห้องกลางของเรือนธาตุประดิษฐานพระพุทธรูปประทับนั่งเป็นพระประธาน
วัดเจดีย์เอน ตั้งอยู่ด้านหลังเจดีย์เจ็ดยอด โดยอยู่แนวเทือกเขาเดียวกัน สิ่งก่อสร้างที่สำคัญของ
ภาพด้านข้างจะมองเห็นเจดีย์ที่มีลักษณะเอียงเล็กน้อย
วัดพญาดำ สาเหตุที่เรียกวัดนี้ว่าพญาดำเนื่องจากมีคนร้ายลักลอบขุดหาพระพิมพ์ และ
วัดโคกสิงคาราม หลังจากขับเลียบแม่น้ำยมไปเรื่อยๆ ก็จะเจอวัดโคกสิงคาราม อยู่ติดกับกำแพงเมืองช่วงติดต่อระหว่างเมือง
วัดเจ้าจันทร์ มีประวัติเป็นศาสนสถานที่มีอายุเก่าแก่กว่าสมัยสุโขทัยค่ะ กำหนดอายุได้ราวพุทธศตวรรษที่ 18 ร่วมสมัยกับศิลปะขอมแบบบายน สิ่งสำคัญภายในวัดประกอบด้วย ปรางค์ประธานศิลปะขอมก่อด้วยก้อนศิลาแลงขนาดใหญ่ และมีปูนฉาบประดับตกแต่งผิว ฐานชั้นล่างสุดเป็นชุดบัวคว่ำ-บัวหงาย ที่เรือนธาตุมีซุ้มประกอบทั้งสี่ด้าน ด้านหน้ามีห้องสำหรับประดิษฐานรูปเคารพ กรมศิลปากรได้ขุดพบพระพิมพ์ทำด้วยชิน ทรงเครื่องแบบกษัตริย์ และเมื่อขุดลึกลงไปอีกในระดับลึกพบโบราณวัตถุสมัยทวารวดี เครื่องถ้วยหริภุณไชย ลูกปัดแก้ว และชิ้นส่วนโครงกระดูกคน วัดเจ้าจันทร์นี้มีหลักฐานว่า พระบาทสมเด็จพระมงกฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จมาทอดพระเนตรด้วยค่ะ
วัดชมชื่น ตั้งอยู่ริมแม่น้ำยม ห่างจากวัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียงมาทางทิศตะวันออกประมาณ 400 เมตร มีหลักฐานโครงกระดูกมนุษย์จำนวน 15 โครง อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 9 ต้องพาน้องเจ้าขาไปสำรวจดูสักหน่อย กระดูกมนุษญ์โบราณและความเป็นมา
อาคารหลุมขุดค้นโบราณคดีวัดชมชื่น ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำยม
อัตราค่าเข้าชม
หลักฐานที่พบ
พบซากโบราณสถาน ปรางค์ เศษภาชนะดินเผา ลูกปัด เครื่องถ้วยเชลียง โครงกระดูกผู้หญิง ผู้ชาย เด็ก และไม่อาจแยกเพศได้ 15 โครง ในระดับลึก7-8 เมตร ลักษณะโครงกระดูกนอนตะแคง
โครงกระดูกโบราณค่อนข้างสมบูรณ์ค่ะ
สะพานเหล็กริมฝั่งแม่น้ำยม
สองริมฝั่งแม่น้ำยมสวยจังเลย
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุราชวรวิหาร เป็นวัดสำคัญของเมืองเชลียง ในปัจจุบันเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร
วัดนี้ไม่มีหลักฐานการสร้างที่แน่ชัด แต่ดูจากหลักฐานทางโบราณคดีแล้ว วัดนี้มีอายุตั้งแต่
วัดนี้ปรากฏหลักฐานแน่ชัดในศิลาจารึกหลักที่ 1 และในสมัยกรุงธนบุรี เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเสด็จไปปราบชุมนุมพระฝางเมืองสวางคบุรี แล้วได้เสด็จสมโภชพระบรมธาตุเมืองเชลียงนี้ด้วย และวัดนี้ยังเป็นที่สรงน้ำมูรธาภิเษก สำหรับพระเจ้าแผ่นดินใหม่ที่จะขึ้นเสวยราชสมบัติมาแต่ครั้งโบราณกาล
วิหารสองพี่น้อง อยู่ทางซ้ายพระอัฏฐารส ก่อด้วยศิลาแลง มีพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัย 2 องค์อยู่บนแท่นพระ งดงามมากค่ะเป็นพุทธศิลป์แบบสุโขทัย เศียรพระองค์น้องหรือองค์ด้านหน้า ชาวบ้านเล่ากันว่า กรมศิลปากรตัดเอาของจริงไป แล้วปั้นของใหม่มาสรวมแทน เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมาก็ปรากฏมีคนร้ายหักนิ้วพระพุทธรูปให้ได้รับความเสียหาย
กำแพงวัดเป็นศิลาแลงแท่งกลมขนาดใหญ่ปักเรียงชิดติดกันเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า
ปรางค์ประธานวัดก่อด้วยศิลาแลงฉาบปูนเสร็จแล้วลงสีชาดทับ ลักษณะรูปแบบสถาปัตยกรรมจัดอยู่ในสมัยอยุธยาตอนต้น นักประวัติศาสตร์ศิลปะประมาณไว้ที่พุทธศักราช 2017 ภายในองค์พระปรางค์มีสถูปรูปดอกบัวตูมขนาดเล็กโผล่ขึ้นมาคล้ายถูกสร้างครอบทับ น่าจะบรรจุสิ่งของสำคัญสำหรับการบูชาอยู่ ชาวบ้านเรียกกันว่า "หัวใจพระพุทธเจ้า" สวยงามค่ะ
บริเวณด้านหน้ามีบันไดขึ้นองค์ปรางได้ ค่อนข้างสูงชัน ด้านล่างเป็นรูปเทพธิดานั่งในกรอบ ซุ้มด้านล่างเป็นรูปนางอัปสรร่ายรำ
วิวมุมสูงถ่ายจากบนพระปรางค์
สูงขนาดนี้น้องเหมียวยังขึ้นมานอนตีพุงได้^^
ในอดีตภายในจะบรรจุของมีค่าเช่น พระพุทธรูป แก้ว แหวน เงิน ทอง ต่างๆ ซึ่งปัจจุบันได้สูญหาย และถูกขโมยไปจนหมดแล้ว ข้างบนยอดพระเจดีย์จะมีทางลับลงไปข้างล่าง สร้างขึ้นเพื่อให้พระมหากษัตรย์ใช้หลับหนี้ภัยจากข้าศึก
โบสถ์ ตั้งอยู่ด้านหน้าพระวิหาร ปัจจุบันทางวัดได้บูรณปฏิสังขรณ์ใหม่ทั้งหลังโดยสร้างทับโบสถ์เดิม ยังปรากฏรากฐานศิลาแลงด้านหลังพระอุโบสถพอเป็นที่สังเกต รวมทั้งใบเสมาหินชนวนคู่ รอบพัทธสีมาก็จัดว่าเป็นของที่มีมาแต่โบราณ โดยพัทธสีมาของพระอุโบสถนี้สันนิษฐานว่านำมาจากเมืองสุโขทัยเก่า เพราะเหมือนกับรูปแบบที่พบมากมายในเมืองสุโขทัย อีกทั้งเมืองศรีสัชนาลัยไม่มีแหล่งหินชนวนในลักษณะนี้ค่ะ
ภายในโบสถ์
หลวงพ่อธรรมจักร พระพุทธรูปโบราณปางประทานพรค่ะ คาดว่าสร้างมาก่อนกรุงสุโขทัย เชื่อกันว่าศักดิ์สิทธิ์ในเรื่องของการสาบาน ถ้าสาบานสิ่งใดมักจะได้เป็นไปดังคำสาบาน ด้านหลังหลวงพ่อเป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่ปางมารวิชัย เป็นพระพุทธรูปโบราณเก่าแก่ที่บูรณะโบกปูนปั้นปิดทองไว้ จนเป็นเหลืองทองอร่าม
ท่องเที่ยวเมืองโบราณกันจนเต็มอิ่มแล้ว ไปทานก๋วยเตี๊ยวโบราณกันบ้างดีกว่าค่ะ ไปร้าน ข้าวเปิ๊บยายเครื่องกัน เป็นร้านต้นตำหรับค่ะ มาสุโขทัยห้ามพลาดนะคะ ห่างจากอุทยานประวัติศาตร์ประมาณ 69 กิโล ตั้งอยู่ที่บ้านาต้นจั่น ตำบลบ้านตึก อำเภอศรีสัชนาลัย ไปสัมผัสบรรยากาศและรสชาติกันนนนน
บ้านเรือนไทยของคุณยายเครื่องสวยงามมากค่ะ มียักษ์อยู่ด้านหน้า สวยมาก
คุณยายเครื่อง ผู้คิดค้นต้นตำรับ“ก๋วยเตี๋ยวพระร่วง” หรือ “ข้าวเปิ๊บ” เป็นอาหารพื้นบ้าน รสชาติอร่อย คุณยายใช้ชื่อก๋วยเตี๊ยวนี้เป็นคนแรกเมื่อราว 40 ปีมาแล้ว ปัจจุบันอายุ 70 กว่าปีแล้วค่ะ คุณยายยังแข็งแรง แจ่มใสค่ะ พูดจาไพเราะหวานหูมาก
บริเวณร้านร่มรื่น มีโต๊ะนั่งทานท่ามกลางดงกล้วยตานีสูงใหญ่มากค่ะ
ข้าวเปิ๊บ คือก๋วยเตี๋ยวชนิดหนึ่ง ที่มีกรรมวิธีการทำเส้นคล้ายคลึงกับข้าวเกรียบปากหม้อ โดยใช้ผ้าขาวบางขึงบนปากหม้อดินจนตึง ในหม้อดินต้มน้ำให้เดือด จากนั้นละเลงแป้งข้าวเจ้าลงบนปากหม้อ ไอน้ำเดือดที่พลุ่งขึ้นมาจะทำให้แป้งสุกอย่างรวดเร็วโดยเส้นกับผัก ถูกห่อรวมกันในสไตล์ของข้าวเกรียบปากหม้อ (คำว่า เปิ๊บ ในภาษาเหนือ แปลว่า พับ) และจะใส่ไข่นึ่ง หมูแดง และน้ำซุป ในก๋วยเตี๊ยวคะ
ก๋วยเตี๊ยวแบ อร่อยมากค่ะ คล้ายก๋วยเตี๊ยวแห้งแต่เส้นก๋วยเตี๊ยวจะนำไปนึ่งแทนการลวกค่ะเข้าใจว่าสมัยก่อนจะช่วยเก็บเส้นก๋วยเตี๊ยวให้อยู่ได้นาน มีถั่วป่นผักแคปหมู ถั่วหงอกใส่มะนาวไปหน่อย อร่อยที่สุดดดดดดดดดลูกสาวชอบมาก 2 จานยังแทบไม่พอ
หมี่พันของกินเล่น
อิ่มหนำแล้วขอจบทริปไว้แค่นี้ แล้วไปแอ่วโตยกันใหม่นะเจ้า^^
ฝากติดตามเพจท่องเที่ยวเล็กๆด้วยนะเจ้า ไปแอ่วกัน Fun Trip ^^
ไปแอ่วกัน Fun Trip
วันอังคารที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2561 เวลา 10.00 น.