สะพานมอญ อ.สังขละบุรี สะพานไม้ที่ยาวที่สุดในประเทศไทย
เราออกจากกรุงเทพฯ ตอน 5ทุ่ม มุ่งหน้าไปทาง อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี โดยที่ยังไม่มีที่นอนในคืนนี้ เส้นทางไป อ.สังขละบุรี ดูเงียบ ไม่ค่อยมีผู้คน (ก็มันดึกแล้วอ่ะนะ555) ระหว่างทางฝนก็ตกปร่อยๆ เหมือนจะตกเป็นเพื่อนคนขับ (เพราะคนในรถหลับกันหมด%^&^) ขับไปเรื่อยๆ มุ่งหน้าไปที่ อ.สังขละบุรี จุดมุ่งหมายของเรานั้นเอง
^^***************^^
ก่อนที่จะถึงสังขละบุรี ขอเล่าความเป็นมาของสังขละบุรีอย่างคร่าวๆนิสนุง อ.สังขละบุรี จ. กาญจนบุรี เป็นอำเภอชายแดนที่มีพื้นที่ติดกับประเทศพม่า แต่ก่อนนั้นมีชื่อว่า อ.วังกะ ในปี พ.ศ. 2508 ได้เปลี่ยนเป็นชื่อ อ.สังขละบุรี ภูมิประเทศของ อ.สังขละบุรี เป็นป่าอุดมสมบูรณ์ มีภูเขา และแม่น้ำสามสายมารวมกันเป็นแม่น้ำสามประสบ ที่สังขละบุรีมีชาวมอญอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ชาวมอญมีวิถีชีวิต และวัฒนธรรมที่เรียบง่าย ธรรมมะธรรมโม ชอบเข้าวัด จิตใจดี
และแล้วเราก็มาถึง อ.สังขละบุรี ตอน ตี 5 ใช้เวลาเดินทางจาก กรุงเทพถึง สังขละบุรี ประมาณ 6 ชั่วโมง โค้งค่อนข้างเยอะบวกกับฝนตกตลอดทาง ต้องเดินทางด้วยความระมัดระวัง ช้าแต่ถึง ดีกว่าค่ะ
สะพานมอญ หรือ สะพานอุตตมานุสรณ์ เป็นสะพานไม้ที่ยาวที่สุดในประเทศไทย มีความยาวถึง 850 เมตร สะพานแห่งนี้เกิดจากการร่วมแรงร่วมใจของชาวบ้าน สร้างโดยไม่ใช้เครื่องจักร โดยมีหลวงพ่ออุตตมะเป็นผู้นำชาวบ้าน สะพานสร้างข้ามลำน้ำซองกาเลีย จากบนสะพานสามารถมองเห็นลำห้วยสายต่างๆ คือซองกาเลีย, บีคลี่ และรันตี ไหลมารวมกันเป็นสามประสบ ^^
พูดมาก็เยอะเดินทางมาก็นาน ท้องเริ่มร้องแล้วสิ อย่างว่าแหละนะ กองทัพต้องเดินด้วยท้อง 555 ก่อนที่จะทำอะไรต่อ เราไม่รีรอที่จะเติมสารอาหารให้ตัวเอง เดี๊ยวจะไม่มีแรงเที่ยวต่อ55555
ที่นี่ มีร้านโจ๊ก ร้านกาแฟ เปิดกันตั้งแต่ 6โมงเช้า มีหลากหลายร้านให้เลือก แต่เมนูอาหารจะเหมือนๆกันหมด หลังจากเดินวนไปมาอยู่หลายรอบ เอาว่ะ..!! ร้านนี้ล่ะกัน
อิ่ม..ล่ะก็ไปกันต่อเลยจร้า ทุกๆเช้าของที่นี่จะมีการใส่บาตร ฝั่งมอญ
ชุดใส่บาตรชาวมอญ ชาวบ้านที่นี่จะเตรียมของไว้ให้สำหรับนักท่องเที่ยว ที่สนใจใส่บาตรมอญในยามเช้า ชุดล่ะ 99บาท ราคาแสนถูก แต่ที่ถูกใจไปกว่านั้นคือ แถมแต่งชุดมอญฟรีนี่แหละคร้าา....
วันธรรมดาพระจะมา 6.30น. แต่ถ้าเป็น เสาร์-อาทิตย์ พระจะมา 7.40น. น๊าจร้า....
ใส่บาตรเสร็จแล้วก็ได้เวลาเดินเล่นส่องหนุ่มๆสาวๆชาวมอญกันหน่อยดีกว่า คนไหนเป็นคนมอญดูได้ง่ายๆ
คะคนมอญจะชอบทาแป้งทะนาคาที่แก้ม แล้วก็ชอบเอาของเทินไว้บนหัว
ช่วงเช้าคนมอญจะเดินข้ามสะพานมาทำงาน ซื้อของฝั่งสังขละบุรี
สาวมอญแม่เหมย อยากเป็นเขยบ้านมอญ .... เพลงก็มา 555
คนก็จะเริ่มเยอะขึ้น ทั้งชาวไทยที่มาเที่ยวชมสถานที่แห่งนี้ หรือแม้แต่ชาวมอญที่ออกมาค้าขาย ไม่เว้นแม้แต่น้องสองคนนี้...^^
พี่ครับๆ... ดูผมกระโดดน้ำมั้ยครับ จะให้กี่บาก็ได้ครับ
น้องๆ... ถ้าพี่ถ่ายรูปไม่ทัน ขึ้นมากรโดดใหม่ให้พี่อีกรอบมั้ยล่ะ 5555 (พี่ไม่ใจร้ายขนาดนั้น)
1 2 3 จุ๊ม.... มันสูงมาก แต่น้องๆกล้ากระโดดลงไป พี่นี่ยอมใจเลยจร้าา
เดินถ่ายรูปเลยไปเรื่อยๆ ก็จะสังเกตุเห็น เด็กๆตัวน้อยๆ นั้งเรียงรายกันริมสะพาน พี่คะพี่ขา ปะแป้งมั้ยค่ะ^^ น้องน่ารักมากๆ ยิ้มเก่ง หน้าตาเป็นมิตรกับทุกคน
ตีนสะพานมอญจะมีแพขนาดเล็ก ขนาดใหญ่ อาศัยอยู่กันเป็นชุมชนเล็กๆ บางแพก็เปิดให้นักท่องเที่ยว เข้าพัก บางแพก็เป็นที่อยู่อาศัย
เดินแตร่ๆ..มาพักใหญ่ๆ ก็ถึงเวลาแล้วสินะ ไปดูวัดจมน้ำกันเถอะ เค้าว่ากันว่าเป็น Unseen Thailand เลยนะ
สะพานมอญ มุมมองจากทางท่าเรือ
สะพานมอญ มุมมองจากทางท่าเรือ
วัดศรีสุวรรณ(เก่า) วัดสมเด็จ(เก่า) และวัดวังก์วิเวการาม(เก่า) โดยค่าเรือจะคิดตามจำนวนวัดที่ไป 1 2 3 แห่ง คิด 300 400 500 บาท ตามลำดับ ไหนๆ ก็มาแล้ว เอาให้ครบทุกวัดค่ะ 500 บาท ประมาณ 3 ชั่วโมง เรือพร้อม คนพร้อม ไปกันเลยจร้าาาา......
วัดศรีสุวรรณ(เก่า) ควรมาเที่ยวในช่วงฤดูร้อน ตั้งแต่ประมาณเดือนมีนาคม - เมษายน เป็นช่วงหน้าแล้ง น้ำหลังเขื่อนลดลงมาก จะสามารถเดินเข้าไปเยี่ยมชมโบสถ์เก่าได้ ณ บริเวณสามประสบ ส่วนคนที่มาเที่ยวช่วงปลายฝนต้นหนาว ตั้งแต่ประมาณตุลาคม - มกราคม อาจจะได้เห็นแค่บางส่วนของตัวโบสถ์ที่โผล่พ้นน้ำ หรือบางทีก็จมน้ำเป็นเมืองบาดาล จะมีให้เห็นก็เพียงแต่ยอดหอระฆังเดิมเท่านั้นที่สูงพ้นน้ำ
หอระฆัง วัดศรีสุวรรณ(เก่า)
วัดศรีสุวรรณ(เก่า)
วัดศรีสุวรรณ(เก่า)
วัดวังก์วิเวการาม(เก่า)หรือวัดหลวงพ่ออุตตมะ วัดวังก์วิเวการามเดิม ซึ่งกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ถือว่าเป็น Unseen Thailand เพราะมีความแปลกที่มีซากโบราณสถานจมอยู่ใต้น้ำ เป็นสถานที่เล่าขานถึงตำนานความเป็นมาของวัดหลวงพ่ออุตตมะ จนหลายคนเรียกกันว่าเมืองบาดาล
โบสถ์ วัดวังก์วิเวการาม(เก่า)
โบสถ์ วัดวังก์วิเวการาม(เก่า)
โบสถ์ วัดวังก์วิเวการาม(เก่า)
โบสถ์ วัดวังก์วิเวการาม(เก่า)
ดอกไม้สำหรับไหว้พระ
โบสถ์ วัดวังก์วิเวการาม(เก่า)
ดวังก์วิเวการาม(เก่า)
วัดสมเด็จ(เก่า)ตั้งอยู่บนเนินเขาเล็กๆ ตรงข้ามเมืองบาดาล สร้างโดยพระครูวิมลกาญจนคุณเจ้าคณะตำบลหนองลู เป็นวัดที่ไม่ได้จมน้ำ แต่ถูกทิ้งร้างเมื่อครั้งย้ายอำเภอสังขละบุรี ตอนสร้างเขื่อนวชิราลงกรณ (เขื่อนเขาแหลม) อุโบสถของวัดสมเด็จมีพระประธานสภาพค่อนข้างสมบูรณ์รอบตัวโบสถ์มีต้นไทรใหญ่ปกคลุมดูมีมนต์ขลัง นักท่องเที่ยวสามารถนั่งเรือต่อมายังวัดสมเด็จ (เก่า) หลังจากชมเมืองบาดาลแล้ว
วัดสมเด็จ(เก่า)
ครบทุกวัดแล้ว ก็ถึงเวลากลับเข้าฝั่งแล้วสินะ
สูดอากาศสดชื่น พร้อมบอกกับตัวเองว่า ....แล้วเราจะกลับมาใหม่
ทุกอย่างเปลี่ยนไปตามกลาเวลา แต่สิ่งที่ไม่เปลี่ยน คือภาพถ่ายที่ไว้คอยย้ำเตือนความทรงจำ บ๊าย บ๊าย
การเดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัว : จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 4 (ถนนเพชรเกษม) ผ่าน จ.นครปฐม ขับมาเรื่อยๆ จะพบทางยกระดับข้ามไปทาง จ.กาญจนบุรี ขับไปตามทางหลวงหมายเลข 323 ซักระยะจะพบสี่แยกให้เลี้ยวขวา(ทางซ้ายไปบ้านโป่ง) เพื่อไปยังเมืองกาญจนบุรี จากนั้นมุ่งหน้าสู่สี่แยกแก่งเสี้ยนให้ขับไปทาง อ.ทองผาภูมิ จะผ่านทั้งไทรโยคน้อย และไทรโยคใหญ่ ท่านจะพบสามแยกเลี้ยวขวาเข้าสู่สังขละบุรี ขับไปเรื่อยๆจะผ่านอุททยานแห่งชาติเขื่อนเขาแหลม เมื่อไปถึงแยก ผ่านด่านเจดีย์สามองค์เข้าไปอีกนิดเดียวก็จะถึงตัวเมืองสังขละบุรี
การเดินทางโดยรถสาธารณะ : ขึ้นรถโดยสารจากสถานีขนส่งสายใต้ใหม่เส้นทาง กรุงเทพฯ - กาญจนบุรี ใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง ไปลงที่สถานีขนส่งจังหวัดกาญจนบุรี จากนั้นนั่งรถสายกาญจนบุรี - ทองผาภูมิ - สังขละบุรี แล้วไปลงที่ท่ารถสังขละบุรี ใช้เวลาในการเดินทางจากตัวเมืองถึงสังขละบุรีประมาณ 4 ช.ม.
เรื่องเล่าจากสาวขี้เที่ยว
วันศุกร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 เวลา 17.24 น.