นิทรรศการ จากบ้านสู่เมือง : รัฐแรกเริ่มบนแผ่นดินไทย"
นิทรรศการพิเศษเนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย พ.ศ 2561
นิทรรศการแห่งการเรียนรู้เรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของแผ่นดินไทยที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง
ตื่นตาตื่นใจไปกับการรวบรวมและจัดแสดงโบราณวัตถุล้ำค่าจากทั่วทุกสารทิศในประเทศไทย
ที่เป็นหลักฐานชิ้นสำคัญในการบ่งบอกถึงการมีอยู่ของรัฐต่างๆในดินแดนไทย
"ปรับเปลี่ยนมุมมองและความรู้สึกอันน่าเบื่อหน่ายกับการเรียนรู้
เป็นความตื่นเต้นและจดจำความรู้สึกอันล้ำค่าที่ตนเองได้สัมผัส"
นิทรรศการนี้แบ่งเนื้อหาการจัดแสดงออกเป็น 5 หัวเรื่อง
จากบ้านสู่เมือง – เรื่องเล่าจากต่างแดน – แกนเชื่อมโลกการค้า – ศาสนา ความเชื่อ – เกื้อกำเนิดรัฐโบราณ
"เริ่มการเดินทางด้วยเข็มทิศประจำเส้นทางที่นำเราไปเรื่อยๆ"
1. จากบ้านสู่เมือง
นำเสนอความเปลี่ยนแปลงของชุมชนหมู่บ้านเกษตรกรรมยุคก่อนประวัติศาสตร์
พัฒนาเข้าสู่การเป็นสังคมเมืองที่มีผู้นำปกครองในช่วงราวพุทธศตวรรษที่ 6 - 11
"บรรยากาศการเข้าสู่ห้องจัดแสดงห้องแรก"
"สินค้านำเข้าจากต่างแดนไกล"
หวีงาช้าง นำเข้าจากอินเดีย พบที่เมืองโบราณจันเสน
อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์
เครื่องประดับหินมีค่า นำเข้าจากเวียดนาม
ลูกปัดหินกึ่งอัญมณี รูปสัตว์ นำเข้าจากอินเดีย
และลูกปัดลายฝังสี หินคาร์เนเลียนและหินอาเกต
"โบราณวัตถุกึ่งก่อนประวัติศาสตร์"
(1,500 - 2,000 ปีมาแล้ว)
"ภาชนะสำริด"
พบที่แหล่งโบราณคดีดอนตาเพชร
อ.พนมทวน จ.กาญจนบุรี
"ระหว่างทางเราก็สังเกตการจัดแสดง เรียนรู้เทคนิคเล็กๆน้อยๆจากการสำรวจดู"
"กลองมโหระทึก"
"เห็นรายละเอียดเทคนิคการจัดแสดงวัตถุชิ้นเล็กๆ"
2. เรื่องเล่าจากต่างแดน
นำเสนอความหลากหลายของผู้คนและวัฒนธรรมของบ้านเมืองแรกเริ่ม
ที่ปรากฏขึ้นในภูมิภาคต่างๆ ของประเทศไทย
จากเอกสารโบราณในมุมมองของชนต่างถิ่นโพ้นทะเลไกลและหลักฐานทางโบราณคดี
"ตะเกียงโรมัน สำริด"
กึ่งก่อนประวัติศาสตร์ พุทธศตวรรษที่ 9 - 11
พบที่แหล่งโบราณคดีพงตึก อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี
"การได้จับจ้องไปกับลายละเอียดอันสวยงามและพื้นผิวของโบราณวัตถุ ช่างน่าสนใจเหลือเกิน"
3.แกนเชื่อมโลกการค้า
นำเสนอบ้านเมืองและชุมชนที่เป็นเมืองท่าตั้งอยู่ท่ามกลางเส้นทางการค้าโบราณ
ระหว่างโลกตะวันออกและโลกตะวันตก
รวมทั้งเรื่องราวเกี่ยวกับเรือโบราณพนม – สุรินทร์
ที่จ.สมุทรสาคร ซึ่งเป็นเรือโบราณที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทยเท่าที่ค้นพบในปัจจุบัน
"จัดแสดงแผนที่เส้นทางการค้าและเมืองท่าที่สำคัญ"
"บรรยากาศการจัดแสดงและการจัดแสงไฟ"
"เครื่องประดับต่างๆ"
"ตราหรือตราประทับ"
"ตราหรือตราประทับรูปเรือ"
ศิลปะทวารวดี พุทธศตวรรษที่ 11 - 13
"แผ่นดินเผารูปท้าวกุเวรและคชลักษมี"
ศิลปะทวารวดี พุทธศตวรรษที่ 13 - 14
อีกส่วนหนึ่งของห้องจัดแสดงเรือโบราณพนม-สุรินทร์
เป็นการจำลองให้เห็นและเข้าใจถึงลักษณะของเรือโบราณ
- พ.ศ 2556 มีการพบเรือที่จมอยู่ในพื้นที่โคลนตมน้ำขัง ที่ตำบลพันท้ายนรสิงห์ อ.เมืองสมุทรสาคร จ.สมุทรสาคร
และมีการเรียกชื่อตามเจ้าของที่ดิน สามี-ภรรยา
"เทคนิคการต่อเรือที่พบในเขตทะเลอาหรับ อินเดียและตะวันออกกลาง"
- แผ่นไม้กระดานเปลือกเรือผูกติดกันด้วยเชือกซึ่งทำจากเส้นใยมะพร้าว
ซึ่งเป็นวัสดุที่นิยมใช้ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เท่านั้น
เรียกวิธีการยึดโครงเรือและเปลือกไม้แบบนี้ว่า 'การหมันเรือ' หรือ 'การเย็บเรือ'
"ภายในเรือพบโบราณวัตถุและภาชนะดินเผาเป็นจำนวนมาก"
"ชิ้นส่วนภาชนะดินเผา"
- เป็นชิ้นส่วนของภาชนะก้นแหลมที่เรียกว่า 'แอมเฟอรา' ในวัฒนธรรมอาหรับ
"งาช้างและเขากวางป่า"
พบจากการขุดค้นแหล่งเรือโบราณพนม-สุรินทร์
4. ศาสนา ความเชื่อ
นำเสนอหลักฐานการเข้ามาพร้อมกับการค้าของศาสนาพราหมณ์ (ฮินดู)
และศาสนาพุทธจากอินเดียโดยเฉพาะรูปเคารพ ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 9-11
"พระพิมพ์แสดงภาพพระพุทธรูปปางสมาธิ
ขนาบด้วยเสาธรรมจักรและสถูป"
"ศิวลึงค์ทองคำบนฐานเงินสี่เหลี่ยมจตุรัส"
(พุทธศตวรรษที่ 11 - 12)
พบภายในถ้ำเขาพลีเมือง อ.สีชล จ.นครศรีธรรมราช
"พระวิษณุและศิวลึงค์"
"ส่วนฐานของพระวิษณุ"
5. เกื้อกำเนิดรัฐโบราณ
นำเสนอเรื่องราวของบ้านเมืองโบราณขนาดใหญ่ระดับรัฐหรือนครรัฐ
ที่ปรากฏขึ้นบนแผ่นดินไทยในช่วงพุทธศตวรรษที่ 12-18
เช่น ทวารวดี เจนละ ลวปุระหรือละโว้ ศรีวิชัย
"บรรยากาศการเดินชมห้องสุดท้าย"
"เอกมุขลึงค์บนฐานโยนี"
(ศิลปะทวารวดี พุทธศตวรรษที่ 13 - 14)
ได้จากการขุดแต่งโบราณสถานคอกช้างดิน 5
เมืองโบราณอู่ทอง จ.สุพรรณบุรี
"จารึกเหรียญเงิน ศรีทวารวดีศวรปุณย"
"พระพิมพ์ปางสมาธิมีจารึก"
(พุทธศตวรรษที่ 13 - 14)
- ศิลปะทวารวดี อักษรหลักปัลลวะ ภาษามอญโบราณ
พระพิมพ์มีจารึกว่า "บุญนี้(เป็นของ)กษัตริย์มะระตา(ผู้สร้าง)พระพุทธรูป"
เป็นหลักฐานยืนยันว่ากษัตริย์ทวารวดีทรงนับถือศาสนาพุทธเป็นหลัก
"ฐานรูปเคารพจารึกเรื่องพระเจ้าจิตรเสน"
"รัฐเจนละ"
"รัฐละโว้"
"พระพุทธรูป สถูปจำลอง และสิ่งของเครื่องใช้เนื่องในพุทธศาสนา"
(พุทธศตวรรษที่ 17 - 18)
- ศิลปะลพบุรี
" ความพิเศษคือการที่เราได้สังเกต จับจ้อง และสัมผัสความรู้สึกอันล้ำค่าต่อโบราณวัตถุเหล่านี้
ที่เรียงร้อยด้วยเรื่องราวที่ก่อเกิดแก่ประวัตศาตร์ของแผ่นดินไทยอันน่าเหลือเชื่อ
สิ่งเหล่านี้เองคือสิ่งที่ควรค่าแก่การศึกษาต่อไป
ได้สัมผัสบรรยากาศการจัดแสดงที่น่าตื่นเต้น
พบเจอการจัดแสดงโบราณวัตถุในน้ำ อันจะต้องรักษาสภาพเดิมไว้ให้ได้มากที่สุด
เกร็ดความรู้เล็กๆน้อยๆจากหลายๆเรื่องที่พบเจอ
อีกทั้งยังสนุกกับการเรียนรู้เทคนิคเล็กๆน้อยๆของการจัดแสดงวัตถุชิ้นต่างๆด้วย "
ขอบคุณค่ะ
Adventure-of-St
วันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 เวลา 12.27 น.