มหาเจดีย์ชะเวดากอง กรุงย่างกุ้ง พม่าเป็นสถานที่ผู้เขียน บันทึกท่องเที่ยว ในความทรงจำ โดย. ณ วงเดือน อยากมานานหลายปีแล้ว จึงขอบันทึกเรื่องราวไว้เป็นความทรงจำ เมื่อครั้งเดินทางมายังที่แห่งนี้ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 8 มิถุนายน 2562 ที่ผ่านมา
ในครั้งนั้น ได้มาเที่ยวและกราบชมความยิ่งใหญ่ ของมหาเจดีย์ชะเวดากองแห่งนี้ ซึ่งตั้งอยู่ที่เนินเขาสิงคุตระ มีอายุมายาวนานนับ 2500 กว่าปีมาแล้วมหาเจดีย์ชะเวดากองนี้ เชื่อกันว่าเป็นที่บรรจุพระเกศาธาตุ (คือเส้นผม ) ของพระพุทธเจ้าพระนามว่า โคตมพุทธเจ้าจำนวน 8 เส้น บรรจุอยู่ภายในลูกแก้วหยาดน้ำค้าง บนยอดสุดของมหาเจดีย์ ลูกแก้วนั้นรายรอบประดับด้วยเครื่องอัญมณีของมีค่ามหาศาล ทั้งเพชรที่ประดับจำนวน 5,448 เม็ด และยังมีทับทิมอีกกว่า 2,317 เม็ด รวมเพชรเม็ดใหญ่สุดถึง 76 กระรัตเลยทีเดียว
การได้ไปเยือนท่องเที่ยวและแสวงบุญ ยังประเทศเมียนมาร์ในครั้งนี้ ที่ได้มายังมหาเจดีย์ชะเวดากอง ซึ่งเป็นที่ชาวพุทธทั่วโลก ก็อยากจะมาเยือนสักครั้งหนึ่งในชีวิตเช่นกัน ทางผู้เขียนจึงขอบันทึกเรื่องราวที่ได้ไปเยือนและความประทับใจครั้งหนึ่งในชีวิต ที่มหาเจดีย์ชะเวดากอง ในบันทึกท่องเที่ยวในความทรงจำตลอดไป
ยอดบนสุดของมหาเจดีย์ชะเวดากอง เป็นที่บรรจุพระเกศาธาตุนี้ จะได้รับแสงแรกระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นสาดส่องบนผิวโลก และรับลำแสงสุดท้ายหลังพระอาทิตย์กำลังตก มาเป็นระยะเวลามายาวนานหลายพันปีมาแล้วหลังจากสร้างมหาเจดีย์นี้สำเร็จเป็นต้นมา
ผู้เขียนมีความฝันอยาก มากราบเที่ยวชมเป็นบุญวาสนาของชีวิตสักครั้งหนึ่งในชีวิต มานานหลายปีแล้ว จนพึ่งมีโอกาศเมื่อปีที่ผ่านมา ยังความปราบปลื้มใจที่ได้มาเยือนอย่างหาที่สุดไม่ได้ จึงขอบันทึกเรื่องราวไว้ในความทรงจำ ในบันทึกเที่ยวในความทรงจำแห่งนี้และขอบันทึกตามตำนาน ที่ได้มีกล่าวบันทึกมายาวนานนับพันปี ไว้ถึงความเป็นมาของมหาเจดีย์ชะเวดากองนี้ ได้รับการก่อสร้างมาเมื่อ 2,500 กว่าปีมาแล้ว
ทั้งนักประวัติศาสตร์และโบราณคดี เชื่อกันว่าอยู่ระหว่าง คริสต์ศตวรรษที่ 6-10 โดยชาวมอญ ซึ่งเป็นพ่อค้าวาณิชย์ 2 พี่น้อง คือ ตะปุสสะ และพัลลิกะ ได้เดินทางรอนแรมไปค้าขายยัง ชมพูทวีป ได้ไปพบพระพุทธเจ้าสมัยที่พระองค์เพิ่งตรัสรู้อนุตระสัมมาสัมโพธิญาณใหม่ ๆ
และได้เข้าไปกราบพระองค์ ถือได้ว่าเป็นพุทธมามะกะ คู่แรกของโลกเลยก็ว่าได้เมื่อนำภัตตาหารเข้าไปถวายและได้รับการฟังธรรมแล้ว องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงได้ประทานเส้นเกศา ให้กับพ่อค้าชาวมอญ ทั้ง 2 คนนั้นเพื่อไว้บูชา เป็นสิริมงคลในการเดินทางติดตัว หรือเป็นเครื่องที่ระลึกนึกถึงพุทธองค์ก็เป็นได้จำนวน 8 เส้น จากนั้นได้เดินทางกลับมายังประเทศพม่าของตนเอง
เมื่อสองพ่อค้าชาวมอญ ทั้งสองท่านกลับมาถึงเมืองได้นำเส้นเกศา ของพระพุทธเจ้าตลอดจนได้เล่าเรื่องราวต่าง ๆ ให้กับผู้ปกครองเมืองสมัยนั้นได้รับทราบ นั้นคือพระราชาโอกะลาปะ จนเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาต่อคำสอนที่ได้รับฟังจากพ่อค้าชาวมอญ จึงได้หาสถานที่เพื่อสร้างประดิษฐานบรรจุพระเกศาธาตุยังสถานที่สมควร นั้นก็คือที่เนินเขา สิงคุตะระ มาจนเท่าทุกวันนี้
จากประตูทางเข้าอีกด้านผู้เขียนใช้เวลาเดิน เพื่อมายังประตูทางเข้าอีกด้าน ต้องใช้เวลาพอสมควร ด้วยพื้นที่ตั้งมหาเจดีย์มีอาณาบริเวณกว้างใหญ่มากเลยทีเดียว
ในหลายยุคสมัยที่เจดีย์ชะเวดากองนี้ ได้ถูกปล่อยทิ้งร้างทรุดโทรม จนมาในคริสต์ศตวรรษที่ 14 ช่วง ( ค.ศ. 1323-1384 ) จึงได้รับการบูรณะขึ้นใหม่อีกครั้งโดยพระยาอู่
เจ้าพระยาอู่ หรือที่ผู้คนทั่วไปพอจะรู้จักชื่ออย่างเป็นทางการว่า พระเจ้าช้างเผือก เป็นพระมหากษัตริย์ของอาณาจักรหงสาวดี ในช่วง ปี ค.ศ. 1348-1384 เป็นผู้เข้ามาทำนุบำรุงองค์พระมหาเจดีย์ที่ทรุงโทรมให้กลับมามีความสวยงาม และบูรณะเจดีย์เก่าให้มีความสูงขึ้นไปอีก 18 เมตร
ต่อมาในรัชสมัยของพระนางเชงสอบู ซึ่งเป็นยุคที่มอญ เรืองอำนาจ พระองค์เป็นกษัตริย์หญิงในราชวงศ์ฟ้ารั่ว พระองค์เดียวแห่งราชอาณาจักมอญ ที่ได้ปกครองชาวมอญพม่า ในช่วง ค.ศ. 1454-1471 เป็นเวลา ถึง 17 ปี ได้มาทำการทำนุบำรุง เจดีย์ชะเวดากอง เพิ่มเติมขึ้นไปอีกให้มีความสูง ถึง 40 เมตร และทำการปรับเปลี่ยนเนินเขา ที่ตั้งของเจดีย์ ให้เป็นฐานเจดีย์ลาดเป็นชั้น ๆ อย่างที่เห็นในปัจจุบัน
ปัจจุบันนี้ เจดีย์ชะเวดากอง มีความสูงจากฐานไปถึงยอดปลายแหลม 368 ฟุต (112.17 ม.) กลายเป็นที่รู้จักของผู้คนทั่วโลก ที่นับถือพุทธศาสนา ที่จะต้องมาท่องเที่ยวชม และกราบไหว้บูชาเพื่อเป็นสิรมงคลให้กับชีวิตตนเองสักครั้งในชีวิตให้ได้
ซึ่งในวันที่ผู้เขียนเดินทางไป ก็ได้พบกับพระเถระชั้นผู้ใหญ่ของชาวพม่า ถือเป็นความโชคดีของผู้เขียนที่ได้เจอ ตลอดจนผู้มีชื่อเสียงของที่นั้น ที่ได้มากราบสักการะในวันนั้นด้วยเช่นกัน
เช่นกันการที่คนทั่วไปตลอดนักท่องเที่ยวจะขึ้นสู่ด้านในของบริเวณ เจดีย์ชะวดากอง จะต้องเสียบัตรผ่านเป็นค่าธรรมเข้าไป ซึ่งจะต้องผ่านด่าน 2 ด่าน โดยด่านแรกจะเป็นด่านจุดคัดกรองตรวจค้นอาวุธ เพื่อป้องกันการนำเข้าก่อเหตุด้านใน ในส่วนด่านที่ 2 จะเป็นด่านการซื้อตั๋วค่าเข้า นักท่องเที่ยวต่างชาติ 10,000 จ๊าต หรือ 200 บาท ไทย แต่อาจจะมีปรับขึ้นลงก็ได้ แต่ในวันนั้นผู้เขียนจ่ายไป ตก 200 บาท
ทางผู้เขียนได้เข้าไปกราบยังลานวิหารด้านหน้าของมหาเจดีย์ชะเวดากอง เท่านั้น ซึ่งมีผู้คนนักท่องเที่ยวก็เพียงกราบไหว้ด้านนอก ได้เท่านั้นภายในองค์เจดีย์จะต้องเป็นบุคคลสำคัญที่ขออนุยาติเท่านั้นถึงจะเข้าไปได้โดยรอบขององค์มหาเจดีย์ ปกคลุมด้วยแผ่นทองคำกว่า 23 ตัน เลยทีเดียว
ซึ่งแผ่นทองคำจะถูกตอกยึดกับก้อนอิฐด้วยหมุดแบบเก่า จึงยึดแผ่นทองคำให้ ตรึงแน่นมีความมั่นคงแข็งแรงอยู่ได้นานหลายพันปี และมีความสว่างเรืองรอง เหลืองอร่ามไปทั่วทั้งบริเวณมองมีความสวยงามตราตรึง ต่อผู้พบเห็นเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะเวลาค่ำคืน
ผู้จะขึ้นมากราบยังมหาเจดีย์ด้านบนนี้ จะมีบันไดทางขึ้นอยู่ทั้ง 4 ด้านซึ่งก็จะมีการรักษาความปลอดภัยจากเจ้าหน้าที่ เหมือนกันหมด คือ ต้องผ่าน 2 ด่านก่อนจะเข้าสู่ไปยังด้านบน และแต่ละด้านตรงบันไดทางขึ้น
จะมีรูปปั้นสิงโตคู่ขนาดใหญ่ ชาวพม่าจะเรียกชื่อว่า ชินเต เป็นความเชื่อมาแต่โบราณกาลว่า ชินเต คู่จะปักปักรักษาองค์มหาเจดีย์แห่งนี้ ให้มีความปลอดภัยจากภยันตรายต่าง ๆ จึงมักเห็นวัดทั่วไปในวัดพม่ามหาเจดีย์ชะเวดากองแห่งนี้ ในทุกวันก็ยังมีนักท่องเที่ยวทั่วโลก ตลอดจนชาวเมียนมาร์ ที่เคารพศรัทธาในพุทธศาสนาอย่างยิ่งยวด ยังคงเดินทางมาแสวงบุญกราบไหว้บูชาอยู่เนืองแน่นมาโดย
ตลอด และได้ทราบว่า ทางคณะกรรมการของเจดีย์ชะเวดากองนี้ ได้ เปิดงานเทศกาลเฉลิมฉลองประจำปีองค์มหาเจดีย์ขึ้น เป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ - 7 มีนาคม พ.ศ.2555 ที่ผ่านมา หลังจากถูกสั่งห้ามมานานกว่า 30 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ.2531 ในอดีตที่ผ่านมาจะเปิดเทศกาลไหว้พระมหาเจดีย์ชะเวดากองในทุกปี โดยเริ่มขึ้น 1 ค่ำ เดือน ดะบ้องคือในช่วงเดือนวัน มาฆบูชา ของไทยเรา ไปจนถึง ขึ้น 15 ค่ำ ตามปฎิทินพม่า
ในการไปเยือนท่องเที่ยวและแสวงบุญ ยังประเทศเมียนมาร์ในครั้งนี้ ที่ได้มายังมหาเจดีย์ชะเวดากอง ซึ่งเป็นที่ชาวพุทธทั่วโลก ก็อยากจะมาเยือนสักครั้งหนึ่งในชีวิตเช่นกัน ทางผู้เขียนจึงขอบันทึกเรื่องราวที่ได้ไปเยือนและความประทับใจครั้งหนึ่งในชีวิต ที่มหาเจดีย์ชะเวดากอง ในบันทึกท่องเที่ยวในความทรงจำตลอดไป
หากมีโอกาสในครั้งต่อไป เมื่อบุญวาสนามาถึง คงได้กลับไปเยือน เที่ยวชมอีกครั้ง ยังมีหลายที่และแห่ง ที่น่าค้นหา น่าท่องเที่ยว ทั้งวิถีชีวิตผู้คน อาหารการกิน เมืองน่าอยู่ น่าดู น่าเที่ยว กรุงย่างกุ้ง เมียนมาร์..
โดย.ณ วงเดือน
วันอาทิตย์ที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 เวลา 12.55 น.