วันนี้จะพาเพื่อนๆไปเที่ยวสถานที่ท่องเที่ยวที่ไม่ไกลจากกรุงเทพมากนัก เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงสำหรับการดูผีเสื้อหลากหลายสายพันธ์ นั่นคืออุทยานแห่งชาติปางสีดา ซึ่งอยู่ในจังหวัดสระแก้ว วันนี้เราจะมาทำตัวให้เล็กลง และมาดูโลกใบเล็กของผีเสื้อ และสัตว์ตัวเล็กๆต่างๆที่ปางสีดากันครับ

อุทยานแห่งชาติปางสีดา ประกาศจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 22 กุมพาพันธ์ พ.ศ. 2525 มีพื้นที่ครอบคลุมอำเภอเมือง ฯ อำเภอ วัฒนานคร อำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว และอำภอ นาดี จังหวัดปราจีนบุรี มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 844 ตารางกิโลเมตร หรือ 527, 500 ไร่ อาณาเขตทางด้านทิศเหนือทั้งหมดกับด้านทิศตะวันตกบางส่วนมีแนวป่าต่อเนื่องกับอุทยานแห่งชาติทับลาน สภาพป่าเป็นภูเขาสูงชันสลับซับซ้อน มีทั้งป่าดิบชื้น ป่าดิบเขา ป่าดิบแห้ง ป่าเต็งรัง และป่าทุ่งหญ้า เป็นป่าแห่งต้นกำเนิดของต้นน้ำลำธารหลายสายเช่นเดียวกับเขาใหญ่ เช่น ห้วยโสมง ห้วยเสียว ห้วยน้ำเย็น ห้วยพระปรง ห้วยพลับพลึง ห้วยยาง ห้วยเลิงไผ่ ห้วยละพูด ลำห้วยต่างๆ เหล่านี้จะไหลลงสู่แม่น้ำบางปะกงหรือแม่น้ำปราจีนบุรี ซึ่งจัดเป็นแม่น้ำสายสำคัญของภาคตะวันออก

อุทยานแห่งชาติปางสีดาเป็นป่าที่น่าสนใจมากโดยเฉพาะเรื่องสัตว์ป่า เพราะมีสัตว์ป่าหายากและนกกว่า 300 ชนิด เช่น นกเงือก นกยูง จุดหนึ่งที่พบสัตว์ป่ามากก็คือ บริเวณ ห้วยคลองพลู ซึ่งอยู่ใกล้ๆกับไร่ร้าง ปัจจุบันมีสภาพเป็นทุ่งหญ้าที่สัตว์ป่าหลายชนิดมักจะมากินน้ำ สัตว์ที่พบในบริเวณนี้คือช้างป่า กระทิง เก้ง กวาง หมูป่า หรือแม้แต่เสือลายพาดกลอน สำหรับนักท่องเที่ยวที่ชอบกิจกรรมเดินป่า ทางอุทยานฯ ได้แนะนำและจัดเส้นทางเดินป่าท่องไพรดูนก ดูผีเสื้อที่มีหลากหลายสายพันธุ์ได้ตลอดทั้งปี

สำหรับชื่อผีเสื้อ ขอออกตัวก่อนนะครับว่าไม่ค่อยมีความรู้ อาจจะลงชื่อผิดไปบ้างก้อขออภัยครับ

hfy30p2gi12v

ผีเสื้อมลายา ชื่อไทย : ผีเสื้อมลายา

ชื่อสามัญ : Malayan

วงศ์ : ผีเสื้อสีน้ำเงิน

ลักษณะ : ปีกบน-พื้นปีกสีน้ำตาลเข้ม ปีกล่าง-พื้นปีกสีขาว มีจุดและเส้นลวดลายสีดำ ปีกคู่หลังมีจุดดำที่เห็นได้ชัดหลายจุด คือมุมปลายปีกหน้า 1 จุด ขอบปีกด้านนอกบริเวณโคนปีก 1 จุด กลางปีกค่อนไปทางโคนปีก 1 จุด และขอบปีกด้านใน 2 จุด

สถานภาพ : พบบ่อย

ถิ่นอาศัย : ป่าโปร่ง ป่าสน ป่าเต็งรัง ป่าละเมาะ ทุ่งหญ้า

การแพร่กระจาย : พบทุกภาคของไทย

l2najegfdtjo
pu3ftcws9uof

ผีเสื้อหนอนพุทราแถบฟ้า ชื่อไทย : ผีเสื้อหนอนพุทราแถบฟ้า

ชื่อสามัญ : Banded Blue Pierrot

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Discolampa ethion

วงศ์ : ผีเสื้อสีน้ำเงิน

ลักษณะ : ปีกบน ขอบปีกสีดำหนา กลางปีกสีขาวทั้งปีกบนและปีกล่าง แต่เพศผู้มีสีฟ้าล้อมรอบสีขาว ปีกล่าง พื้นปีกสีขาว ขอบปีกมีสีดำ และมีจุดดำกระจายทั่วทั้งปีกบนและล่างใกล้โคนปีกมีแถบสีดำหนาพาดขวางลำตัว

สถานภาพ : พบบ่อย

ถิ่นอาศัย : ป่าโปร่ง ป่าสน ป่าเต็งรัง ป่าละเมาะ ทุ่งหญ้า

การแพร่กระจาย : พบทุกภาคของไทย

7cj7nscvs7fb

ผีเสื้อจ่ากระบองจุดใน

xau4t52khski
lzjd8lm351yw

ผีเสื้อจ่าเส้นปีกดำ ชื่อไทย : ผีเสื้อจ่าเส้นปีกดำ

ชื่อสามัญ : Name: Blackvein Sergeant

ชื่อวิทยาศาสตร์ Species : Athyma ranga

วงศ์ : ผีเสื้อขาหน้าพู่ Family: Nymphalidae

วงศ์ย่อย : ผีเสื้อกะลาสี Sub Family: Limenitidinae

ลักษณะ : ปีกบนพื้นปีกสีดำ มีแถบสีขาวพาดกลางยาวต่อเนื่อง แต่ลายจะขาดเป็นช่วงๆ มีลายแต้มสีขาวจางๆเรียงกันตลอด ขอบปีกด้านปลายปีกช่วง ขอบปีกด้านบนจะมีสีเหลือบเขียว ขี้ม้าจางๆ พื้นปีกสีดำ-น้ำตาลไหม้ ไม่มีลวดลวยใดๆ แต่สีสัน ออกเหลือบๆ คล้ายผ้ากำมะหยี่ ด้านข้าง ขอบปีกมีสีขาวแต้ม เป็นรอยประปีกล่าง เหมือนกับปีกบน แต่สีจางกว่าเล็กน้อย

rlfwo8r1jwpa
7sehb4pa3rdl

ผีเสื้อหางติ่งนางละเวง ชื่อไทย : ผีเสื้อหางติ่งนางละเวง

ชื่อสามัญ : Great Mormon

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Papilio memnon Linnaeus, 1758

วงศ์ : วงศ์ผีเสื้อหางติ่ง

ลักษณะ : เพศผู้มีแต้มสีแดงบริเวณโคนปีกของปีกล่าง เพศเมียมีแต้มสีแดงบริเวณโคนปีกทั้งปีกบนและปีกล่าง เพศผู้มีแบบเดียว แต่เพศเมียมีความแตกต่างกันมากถึง 7 แบบ บางแบบมีขอบปีกด้านข้างของปีกคู่หลังยื่นยาวและมีแถบขาวและสีขาวอมชมพูกลางปีก ปีกบน พื้นปีกสีดำ บางส่วนของปีกคู่หน้ามีสีออกเทาเงินเล็กน้อย ปีกคู่หลังมีสีเหลือบน้ำเงิน ปีกล่าง พื้นปีกสีดำ โคนปีกมีแต้มสีแดง

สถานภาพ : พบบ่อย

ถิ่นอาศัย : ป่าดงดิบ ป่าโปร่ง สวนผลไม้ สวนสาธารณะ

การแพร่กระจาย : พบทุกภาคของไทย

pjnlbvxp385g

ผีเสื้อสีอิฐธรรมดา ชื่อไทย : ผีเสื้อสีอิฐธรรมดา

ชื่อสามัญ : Common Yeoman

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cirrochroa tyche Moore, 1872

วงศ์ : ผีเสื้อขาหน้าพู่

ลักษณะ : ปีกบน เพศผู้มีพื้นปีกสีน้ำตาลส้ม ปีกทั้ง 2 คู่มีจุดและเส้นสีดำจางๆ เพศเมียมีสีพื้นปีกออกไปทางน้ำตาลอมเขียวและมีลวดลายคล้ายเพศผู้ ปีกล่าง คล้ายปีกบนแต่สีอ่อนกว่า เห็นจุดและลวดลายจางๆ

สถานภาพ : พบบ่อย

ถิ่นอาศัย : ป่าดงดิบ ป่าโปร่ง ป่าสน

การแพร่กระจาย : พบทุกภาคของไทย

he0z34iry9bz
d1m3yy1j1r51

ผีเสื้อเณรจิ๋ว ชื่อไทย : ผีเสื้อเณรจิ๋ว

ชื่อสามัญ : Small Grass Yellow

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Eurema brigitta (Moore, 1878)

วงศ์ : วงศ์ผีเสื้อหนอนกะหล่ำ

ลักษณะ : ปีกบน พื้นปีกสีเหลือง ขอบปีกสีดำ สีดำที่ต่อกับสีเหลืองบนปีกคู่หน้าโค้งค่อนข้างเรียบ ปีกล่าง คล้ายปีกบน แต่ไม่มีสีดำที่ขอบปีก อาจจะเห็นแถบสีดำจางๆ ของปีกบน ปีกคู่หลังมีลายจุดและเส้นจางๆ กระจายทั่วปีก

สถานภาพ : พบบ่อย

ถิ่นอาศัย : ป่าโปร่ง

การแพร่กระจาย : พบทุกภาคของไทย

yhyvavuqqd4n
5mj3l5xvc3ll
8pzpktkppkwb

เจ้าตัวนี้ไม่มีข้อมูลครับ เป็นตัวที่ตามล่าและถ่ายรูปได้ยากมาก เค้าจะเกาะอยู่ใต้ใบไม้ ไม่เหมือนสายพันธ์อื่นๆ ต้องก้มลงไปถ่ายเสยขึ้นมาเลย

ueti1nx714dg

เจ้าตัวนี้สวยมาก ไม่มีข้อมูลอีกแล้วครับ

yy88c11blxfj

ผีเสื้อลายซิกแซก เป็นผีเสื้อที่พบเจอได้หลายแห่งแต่ค่อนข้างยาก นานๆ จะเจอซักตัวเป็นผีเสื้อที่หายากที่สุดที่อุทยานแห่งชาติปางสีดา

b8cl7a2okcii

ระหว่างที่ถ่ายรูปผีเสื้ออยู่ ก้อเจอผึ้งบินไปบินมา เลยหันกล้องไปกดชัตเตอร์ถ่ายรูปสักหน่อย

53oubwkflrr5
ekj2ei412wq9

นอกจากผีเสื้อแล้ว รอบๆโลกใบเล็กก้อยังมีสัตว์อื่นๆอีกเยอะเลยครับ เช่นตั๊กแตนหิน (ตั้งชื่อเอาเอง เพราะมันเหมือนหินมากๆ)

3ygp10l0bvln
2lqta63gb00b

แมงมุมขยุ้มหลังคา

hmzrq2y4txnl

บุ้ง สัตว์ตัวน้อยที่หลายคนต้องวิ่งหนี

0b0nskp2pok8

ตั๊กแตนใบไม้

z1iwyvfflvxp

แมลงปอ

o4ea919zqs1w

แมลงวันปางสีดา หาดูยากนะครับเนี่ย ต้องไปดูถึงปางสีดาเลยทีเดียว อิอิ

ezbucomerbfc

ดอกไม้ใบไม้สวยๆก้อมีทั่วไปครับ

4xwvox69vd06
alzphingj03r

ผึ้งกับดอกบัว

9trr7e6bkhy4

พอดีวันที่ไปฝนตก เลยมีรูปหยดน้ำสวยๆบนใบไม้มาด้วย

53h44rcdtl6z
1pjynqkccray

กับดอกอะไรสักย่างข้างทาง

dtbwjayeodd8

ถ้าใครไปถูกฤดู จะสามารถเห็นเห็ดน่ารักๆอย่างเห็ดแชมเปญได้ทั่ไปครับ เป็นเห็นที่สวยมากๆ ได้ยินชื่อก้อเมาซะล่ะ

es0aek0bb9ku
4sxhnxktah9q

นอกจากนี้ ถ้าเบื่อพวกผีเสื้อแล้ว ที่ปางสีดายังมีน้ำตกที่สวยมากๆ ชื่อน้ำตกปางสีดา อีกครับ อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ประมาณ 800 เมตร เป็นน้ำตกที่ไหลจากหน้าผา 3 ชั้น สูงประมาณ 10 เมตร ตัวน้ำตกไหลลงสู่เบื้องล่างเป็นแอ่งน้ำกว้างใหญ่และลานหินบรรยากาศร่มรื่น เหมาะแก่การเล่นน้ำ และจะมีน้ำมากในช่วงฤดูฝน

n48ffa0ygfll

เริ่มสนใจอยากจะไปกันแล้วสิครับ อุทยานเห่งชาติปางสีดาเดินทางกันได้ง่ายๆเลย

รถยนต์ จากตัวเมืองสระแก้วใช้ทางหลวงหมายเลข 3462 ขึ้นไปทางทิศเหนือระยะทางประมาณ 27 กิโลเมตร อุทยานฯ จะอยู่ทางขวามือ

    รถโดยสารประจำทาง สามารถใช้บริการรถสองแถวโดยสารสายสระแก้ว-บ้านคลองน้ำเขียวจากสถานีขนส่ง ระหว่างเวลาประมาณ 09.00-15.30 น. ระยะทางประมาณ 27 กิโลเมตร ถึงที่ทำการอุทยานฯ ค่าโดยสารคนละประมาณ 25 บาท หรือเหมารถสองแถวคันละประมาณ 300 บาท

    รถไฟสายกรุงเทพฯ-อรัญประเทศ ลงที่สถานีรถไฟจังหวัดสระแก้ว จากนั้นต่อรถโดยสารประจำทางสายสระแก้ว-บ้านคลองน้ำเขียว ไปประมาณ 27 กิโลเมตร จนถึงที่ทำการอุทยานฯ

สุดท้ายแล้วใครไปเที่ยวเดินไปเดินมาก้อระวังเพื่อนร่วมโลกตัวน้อยๆด้วยนะครับ อย่าไปเหยียบโดน หรือขับรถทับเค้าล่ะครับ ขอให้เที่ยวให้สนุกครับผม

ขอขอบคุณข้อมูลปางสีดาและผีเสื้อจาก http://www.touronthai.com/

ถ้าดูรีวิวนี้แล้วถูกใจ ฝากกด โหวต กด แชร์ เป็นกำลังใจให้ด้วยนะครับ


-----------------------------------------------------------------------
ติดตามกันต่อได้ที่
https://www.facebook.com/TravelofSalaryMan/
https://www.facebook.com/voravuds

ความคิดเห็น