แม้สะพานที่เราข้ามมาจะชื่อว่า สะพานอังวะ แต่เราก็ไม่สามารถเดินทางโดยใช้ถนนสายเล็กๆที่เชื่อมต่อจากสะพานสู่เมืองอังวะได้ เนื่องจากตัวเมืองนั้นมีสภาพเป็นเกาะ ที่ล้อมรอบด้วยแม่น้ำอิรวดี และแม่น้ำสาขา จึงถือเป็นชัยภูมิที่ดีเยี่ยม ที่ทำให้พระเจ้ามังระเลือกที่จะย้ายราชธานีจากมณีปุระหรือเมืองสะกาย มายังเกาะกลางสายน้ำแห่งนี้ แล้วก่อตั้งราชธานีแห่งใหม่ นามว่า รัตนปุระ หรือ กรุงอังวะ (Inwa) ที่คนไทยรู้จักกันดีจากเหตุการณ์การเสียกรุงครั้งที่ 2

p0kdsum0xg6o

nt2jn3bddf6x

ก่อนที่เราจะลงไปยังท่าเรือ เพื่อข้ามไปยังเมืองอังวะ มิวมิวแนะนำให้เรากินอาหารเที่ยงกันที่ร้านอาหารบริเวณท่าเรือก่อน เนื่องจากในเมืองอังวะไม่มีร้านอาหาร ซึ่งทีแรกเราก็ไม่ค่อยอยากเชื่อในสิ่งที่มิวมิวบอก เพราะเป็นไปได้อย่างไร ที่อดีตราชธานีอันยิ่งใหญ่ของพม่า จะไม่มีแม้กระทั้งร้านขายอาหาร แต่เมื่อเราได้สัมผัสอังวะแบบที่เป็นในปัจจุบันแล้ว เราจึงได้พบว่า สิ่งที่เราคิด กับความจริงที่อังวะเป็น มันช่างต่างกันยิ่งนัก

q52umeex0ctg


x9qssf2hfs0f

6yjs0c2rmfde

นั่งรับลมอยู่บนเรือเพียงไม่นาน เรือก็พาเราข้ามฟากไปยังเมืองอังวะ จากท่าเรือ เราเดินไปตามทางที่เป็นดินทราย อังวะไม่มีถนนลาดยางให้รถยนต์วิ่ง มีเพียงรถม้าหลายคันที่จอดอยู่ แต่ลักษณะของรถม้านั้นต่างจากรถม้าที่พุกาม โดยรถม้าที่พุกามจงใจทำที่นั่งด้านหลังใหม่ให้ดูสวยงามเพื่อการท่องเที่ยว แต่สำหรับที่นั่งของรถม้าในอังวะดัดแปลงมาจากเกวียน จึงมีสภาพค่อนข้างเก่า แต่ก็ดูเข้ากับบรรยากาศเก่าๆของเมืองได้ดี โดยมีป้ายแสดงราคาพาเที่ยวเมืองอังวะแบบตายตัวคือ คันละ 4000 จ๊าต

pazl514krdvs
pqg8dicnbynf

คนขับชื่อ เนี่ยรี่ ควบรถม้าพาเราเข้าสู่เมืองอังวะ ซึ่งสภาพบ้านเรือนที่เราได้เห็น ทำให้เรารู้ว่า ที่มิวมิวบอกว่าในอังวะไม่มีร้านอาหารนั้นคือความจริง เพราะแม้จะเป็นอดีตราชธานี แต่เพราะสภาพพื้นที่มีลักษณะเป็นเกาะ อีกทั้งในปัจจุบันยังไม่มีสะพานที่ทอดข้ามสายน้ำมาสู่แผ่นดินอังวะ ทำให้อังวะเป็นอดีตราชธานีที่ถูกลืม ที่กระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกภายนอก ยังไม่แพร่เข้ามามากนัก ผู้คนจึงยังคงใช้วิถีชีวิตเดิมๆ ที่ยังคงสร้างบ้านเรือนแบบยกพื้น เพื่อกันน้ำท่วมในเวลาที่น้ำเหนือไหล่บ่า ชาวบ้านยังคงใช้วัวเทียมเกวียน สำหรับการเดินทาง และการขนส่งสินค้า ซึ่งบางที วิถีชีวิตในปัจจุบันของชาวอังวะ อาจไม่ต่างจากเมื่อสองร้อยปีที่ล่วงมาแล้วก็เป็นได้

09hbnj3jm5lz


e9cj4vg9wyx9

แล้วเส้นทางก็พาเราผ่านวัดร้าง 2 – 3 แห่ง บางวัดเหลือเพียงเจดีย์องค์เดียว ในขณะที่บางวัดยังคงมีหมู่เจดีย์หลายองค์ จนผมต้องบอกให้เนียรี่จอดเพื่อเข้าไปชมใกล้ๆ โดยวัดร้างเหล่านี้ไม่ได้ถูกบรรจุให้อยู่ในโปรแกรมการท่องเที่ยว อาจเพราะไม่มีอะไรโดดเด่น หรือมีขนาดเล็กเกินไปในสายตาชาวตะวันตก แต่สำหรับคนไทยที่มีประวัติศาสตร์คาบเกี่ยวกับพม่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงการเสียกรุงครั้งที่ 2 นั้นควรแวะชมเป็นยิ่งนัก เพราะลักษณะของเหล่าเจดีย์ และแผนผังการสร้างวัด ดูแล้วชวนให้นึกถึงวัดเก่าๆใน จ.พระนครศรีอยุธยา จนใจหนึ่งคิดไปไกลถึงขั้นว่า เป็นไปได้ไหมที่จะมีช่างศิลป์ชาวอยุธยาถูกจับมาเป็นเชลยที่นี่ จึงทำให้วัดร้างในเมืองอังวะมีลักษณะใกล้เคียงกับวัดในกรุงเก่าของเรายิ่งนัก โดยเฉพาะพระพุทธรูปปูนปั้นองค์ใหญ่ ที่ประดิษฐานอยู่ในวิหารโบราณด้านหลังของวัดจะทะนาเซมมิ นั้นดูอย่างไงก็เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ที่สร้างแบบศิลปะอยุธยา

oeqy6nqww8le

t4y5b88oboo7
owjrluvxnni8

สถานที่แรกที่เนียรี่แวะให้เราชม โดยที่ไม่ต้องร้องขอ คือ วัดบากายา (Bagaya) ซึ่งเป็นวัดที่สร้างด้วยไม้ทั้งหลัง ต้องเสียเงินค่าเข้าชมถึง 10 เหรียญสหรัฐ แม้จะราคาค่อนข้างสูง แต่ความอลังการที่รอให้เราเข้าไปสัมผัสนั้นก็คุ้มสำหรับเงินที่จ่ายไป อีกทั้งบัตรเข้าชมนี้ยังสามารถใช้เป็นบัตรเข้าชมพระราชวังมัณฑะเลย์ โดยมีอายุบัตร นานถึง 3 วัน

35pvfq0qgewk

wohnaqdm28mv

e1wh3ckqgjhr

วัดบากายาสร้างโดยพระเจ้าบาจีดอว์ (Bagidaw) ในปีพ.ศ.2326 นับถึงปัจจุบันก็มีอายุกว่า 200 ปีเข้าไปแล้ว จุดเด่นของวัดคือสร้างด้วยไม้ทั้งหลัง โดยใช้ท่อนซุงในการทำเสาต่างๆถึง 267 ท่อน สำหรับท่อนที่ใหญ่ที่สุดนั้น มีความสูงถึง 18 เมตร อีกทั้งหลังคานั้นสร้างซ้อนกันสูงถึง 7 ชั้น นั่นเป็นตัวเลขที่แสดงถึงความอลังการ แต่สำหรับความงดงามในการแกะสลักลวดลายต่างๆต้องใช้สายตาเดินชมอย่างช้าๆ แล้วจะพบว่า ทั้งลูกบวบ ผนัง ประตู เชิงบันได ล้วนเต็มไปด้วยลวดลายแกะสลักที่ละเอียดยิบ จนแทบไม่น่าเชื่อเลยว่า ระยะเวลาที่ผ่านมากว่า 200 ปีไม่สามารถทำลายความงดงามลงไปได้เลย และที่สำคัญ แม้เวลาจะผ่านล่วงเลยไป แต่ในวันนี้ภายในวัดยังคงมีพระจำวัด และมีเหล่าเด็กน้อยกำลังนั่งเรียนหนังสือ กับพระอาจารย์อย่างตั้งอกตั้งใจ

zm07i651bog8

hrx0bu806xt3

qn8jlq27q336

h0nxy18efo3c

ความคิดเห็น