จากย่านมาลาเต้ เราเดินไปขึ้น LRT ที่สถานี Quirino ระหว่างทางเราเดินผ่านย่านตลาดที่มากไปด้วยผู้คน และร้านอาหารริมทางหรือ Street food ทีดูๆไปทั้งสภาพร้านและหน้าตาของอาหารก็แทบไม่ต่างจากเมืองไทย ซึ่งหากผมมาคนเดียว พื้นที่ในท้องคงให้โควต้ากับร้านเหล่านี้จนหมด

8rzjdoq4ms3v

sdh8gtwse0en

5goftso0ifho

เพราะเป็นย่านตลาดจึงมากไปด้วยรถสามล้อถีบ รถสามล้อถีบของฟิลิปปินส์นี้ส่วนของผู้โดยสารจะอยู่ด้านขวาของคนถีบ ต่างจากเมืองที่อยู่จะอยู่ด้านหลัง และที่ต่างอีกอย่างหนึ่งคือ ในกรุงเทพหรือแม้แต่ต่างจังหวัดของประเทศไทยแทบไม่มีสามล้อถีบให้เห็นแล้ว ยกเว้นในบริเวณสถานที่ท่องเที่ยวบางแห่งที่ยังมีเพื่อให้บริการนักท่องเที่ยวเป็นหลัก ต่างจากในกรุงมะนิลาที่ยังมีการใช้บริการสามล้อถีบกันเป็นเรื่องปกติ แต่ก็ไม่แน่ใจนักว่าอีกไม่กี่ปีข้างหน้า สามล้อถีบที่เห็นนี้จะกลายเป็นภาพในอดีตหรือเปล่า

7av2wojmucyk

j5h4o5v9gvqc

juc00s67dpfv

แล้วก็ได้เวลาที่จุ๋ยจะปฏิบัติการสำรวจช่องทางตลาดตามที่บอกไว้ โดยขอเข้าไปสำรวจบรรดาอาหารที่จัดจำหน่ายในซุปเปอร์มาเก็ต โดยน้ำผลไม้สัญชาติไทยก็เข้ามาแบ่งพื้นที่ทางการตลาดได้มากพอดู แต่สำหรับปลากระป๋องแล้ว กวาดตาไปทางไหนก็เห็นแต่ปลากระป๋องสัญชาติฟิลิปปินส์

okrcc6tbu5ee

5kqlyv0w5c4v

qxc4fv03qiib

“ไม่เห็นจะสำรวจตลาดอะไรตามที่บอกเลย เห็นให้ถ่ายรูปคู่กับชั้นนั้นที ชั้นโน้นที” ผมแซวเพื่อนร่วมทาง

“นี่ๆ เอ๋มาดูปลากระป๋องยี่ห้อนี้สิ เห็นแล้วขำเลย”

ผมเดินเข้าไปดูปลากระป๋องที่จุ๋ยพูดถึง มันคือปลากระป๋องยี่ห้อ 555 ซึ่งไม่รู้ว่าคนไทยถือหุ้นหรือเปล่า เพราะหากออกเสียงเป็นภาษาไทยจะเป็น ฮ่าฮ่าฮ่า ที่หากกินเข้าไปแล้วคงได้ขำกันทั้งวัน

n7zc54g8np6o

xl5s7xp4d5ah

เราโดยสาร LRT 1 ขึ้นไปทางเหนือที่สถานี Doroteo Jose ซึ่งเป็นสถานที่ที่เชื่อมต่อกับ LRT 2 ทางเชื่อมต่อนั้นเดินไกลพอควรกว่าจะถึงสถานี Recto ซึ่งเป็นต้นสาย ระหว่างทางได้เห็นวิธีการตากผ้าของชาวบ้านที่มีพื้นที่จำกัด โดยเขาจะขึงเชือกระหว่างบานหน้าต่าง แล้วนำทั้งเสื้อ กางเกง และกางเกงในใส่ไม้แขวนเสื้อ แล้วนำไปแขวนตากให้คนเดินผ่านไปมาเห็นกันจะๆ ซึ่งในเวลาแขวนนั้นก็พอสะดวกอยู่หรอก เพราะไม้แขวนเสื้อก็จะไหลไปตามเชือกที่ตกท้องช้าง แต่อีกตอนเก็บนี้สิ น่าจะลำบากและอันตรายพอดูที่ต้องก้มไปเก็บจากหน้าต่าง ข้อจำกัดของที่อยู่อาศัย จึงกลายเป็นข้อจำกัดของวิถีชีวิตตามไปด้วย

dx37p636clly

l92atza79x2t

h8avhtq6l36g

csnvtviu4v9e

เราโดยสาร LRT 2 ไปแค่สถานีเดียวก็ลงที่สถานี Legarda พอออกจากสถานีก็เจอเหตุการณ์ตื่นเต้น จนแทบจะเปลี่ยนใจไม่ไปโบสถ์แซน เซบาสเตียนตามที่ตั้งใจไว้ เพราะบนท้องถนนในเวลานี้มากไปด้วยคนใส่เสื้อสีแดงที่พากันเดินมาชุมชน ประสบการณ์จากเมืองไทยทำให้เราเกรงว่าจะเกิดเหตุการณ์ไม่สงบ จะมีการยิงหรือการขว้างระเบิดกันไหม จนจุ๋ยชวนให้นั่ง LRT กลับ แต่หลังจากยืนดูสถานการณ์สักพัก ก็รู้สึกว่าผู้มาชุมชนนั้นมีจำนวนไม่มากเท่าไหร่ อีกทั้งชาวบ้านชาวเมืองต่างก็เดินไปเดินมาบริเวณที่ชุมนุมกันหน้าตาเฉยเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น เราจึงตัดสินใจเดินผ่านผู้ชุมนุมไปโบสถ์แซน เซบาสเตียนตามที่ตั้งใจไว้

dh4zoyea4co5

pjb82pdb71wm

s95j0nydcj7v

โบสถ์แซน เซบาสเตียน (San Sebastian Church) เป็นโบสถ์ในนิกายโรมันคาโธลิค สร้างขึ้นเมื่อปีค.ศ.1891 ด้วยศิลปะแบบโกทิก โดดเด่นด้วยหอระฆังคู่ยอดแหลม ซึ่งหอระฆังที่สูงชะลูดนี้เองที่ทำให้เราเห็นโบสถ์นี้แต่ไกล

rszntdcqm3vw

mx3bxbglj3p9

นอกจากนี้ตัวโบสถ์ภายนอกยังมีลวดลายอ่อนช้อยกว่าโบสถ์ทั่วๆไป ยิ่งได้เข้าไปข้างใน เราจึงได้พบว่าความงามที่เห็นจากภายนอกนั้นเป็นแค่กระพี้ เพราะภายในโบสถ์ที่สูงโปร่งนี้ร่ำรวยไปด้วยความงามชนิดที่เมื่อได้เห็นเป็นแทบไม่กระพริบสายตา ทั้งเพดานรูปโดมที่ซ้อนกันหลายชั้นจนเกิดมิติที่แปลกตา มองขึ้นไปยังมีภาพวาดของเหล่านักบุญปรากฎอยู่บนนั้น โคมไฟที่ห้อยระหย้ามีเสาหินผอมบางหากแต่แข็งแกร่งโอบขนาน และช่องหน้าต่างที่ประดับประดาด้วยกระจกสี ประติดประต่อกันจนเกิดภาพที่บอกเล่าเรื่องราวของพระเยซู อีกทั้งยังเป็นโบสถ์ที่มีโครงสร้างเป็นเหล็กเพียงแห่งเดียวในฟิลิปปินส์ จึงไม่แปลกใจเลยที่โบสถ์นี้อยู่ในบัญชีที่จะพิจารณาขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก

lltr2km9qckh

n5kte7k07w0c

rle6rhgszdkq

kegu57gv76fo

ความคิดเห็น