ลพบุรีเป็นจังหวัดสำคัญที่จารึกไว้ในประวัติศาสตร์ไทย ตามหน้าหนังสือเรียนของพวกเรา สมัยวัยนักเรียนที่เราได้เรียนเขียนอ่านกัน ชาวไทยในสมัยโบราณเรียกขานเมืองลพบุรีว่า เมืองละโว้ ซึ่งเป็นสถานที่กำเนิดเรื่อง สุภาษิตพระร่วง เดิมพระร่วงเป็นชาวละโว้ หนีการจับกุมของเจ้าขอมไปอยู่สุโขทัย เรื่องเล่าพื้นบ้านนี้ต่อมาได้ปรากฏเป็นการแสดงทางด้านนาฏศิลป์ไทย ตามบทพระราชนิพนธ์ของรัชกาลที่ 6 หลายลักษณะด้วยกัน มีทั้งละครรำ ละครร้อง และละครพูด สถานที่ที่ว่ากันว่าเป็นที่ตั้งของอาณาจักรละโว้ มีปราสาทหินศิลาแลง 3 ยอด ตั้งอยู่ใกล้ศาลพระกาฬ จึงได้ชื่อว่า “พระปรางค์สามยอด” เป็นสัญลักษณ์ของลพบุรี ตัวปราสาทสร้างด้วยสถาปัตยกรรมศิลปะแบบเขมร พูดถึงรูปลักษณ์ของปราสาทแห่งนี้ถูกสร้างด้วยอิฐวางสลับขั้นช้อนกันเหมือนพีระมิด มีการแกะสลักพระพุทธรูปจากหินอยู่ภายใน และมีรางรถไฟบริเวณด้านข้างเป็นวิถีสัญจรของคนที่นี้ เนื่องจากลพบุรีได้ชื่อว่าเป็นเมืองประวัติศาสตร์ จึงมีเมืองโบราณตามตำนานและบรรดาประติมากรรมตกทอดผ่านช่วงรัชสมัย จนปัจจุบันได้แปรเปลี่ยนสถานที่อยู่ในโครงการอนุรักษ์และพัฒนา เพื่อประโยชน์ต่อชุมชน
โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ องค์การบริหารส่วน
ตำบลซับจำปา อำเภอท่าหลวง จังหวัดลพบุรี
พระบาสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช โดยทรงริเริ่มดำเนินงานพัฒนาและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ ทรงมีพระราชดำริให้ดำเนินการสำรวจรวมการปลูกและดูแลรักษาพรรณพืชต่างๆที่หายากและกำลังจะหมดไป ต่อมาในปี พ.ศ.2535 สมด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ทรงสานพระราชปณิธานต่อ โดยมีพระราชดำริกับ นายแก้วขวัญ วัชโรทัย เลขาธิการพระราชวังให้ดำเนินการอนุรักษ์พืชพรรณของประเทศ โดยพระราชทานให้โครงการส่วนพระองค์ฯ สวนจิตรลดา เป็นผู้ดำเนินการจัดสร้างธนาคารพืชพรรณขึ้น ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 เป็นต้นมา การดำเนินโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ในระยะที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันมีหน่วยงานต่างๆ ร่วมสนองพระราชดำริเพิ่มมากขึ้น ทำให้พื้นที่และกิจกรรมการดำเนินของโครงการกระจายออกไปในภูมิภาคต่างๆซึ่ง “ลพบุรี” ได้มีการค้นพบ จำปี ชนิดใหม่ของโลก ชื่อว่า “จำปีสิรินธร” เพื่อเป็นการสนองพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี กรมป่าไม้จึงได้ตั้งโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช บริเวณป่าซับจำปา มีสภาพป่าเป็นป่าพุ น้ำจืดเกิดจากน้ำซับ (น้ำผุด) ขึ้นจากพื้นดิน และได้น้ำบริเวณรอบนอกพื้นที่บางส่วนทำให้เกิดสังคมพืช กลายเป็นลักษณะ ป่าดิบมีความหนาแน่นของต้นไม้สูง หนึ่งในนั้นได้แก่ไม้จำปีสิรินธร ค้นพบโดย ดร.ปิยะ เฉลิมกลิ่น เจ้าหน้าที่อนุรักษ์พันธุกรรมพืช ที่ตั้งอยู่ห่างที่ว่าการอำเภอท่าหลวงประมาณ 25 กิโลเมตร บริเวณใกล้เคียงมีสถานที่ทางประวัติศาสตร์ เรียกขานว่า “เมืองเก่าซับจำปา” ทางทิศใต้ของเมืองมีลักษณะรูปคล้ายหัวใจ จากการสำรวจซับจำปา นายวิสิทธิ์ ชูแสงทอง กรมศิลปากร สันนิษฐานว่า บริเวณนี้เป็นซากเมืองทวารวดี ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 11-12 คณะโบราณคดีได้ทำการขุดพบเศษหักของเสาหินปูนรูปแปดเหลี่ยมซึ่งเป็นตัวอักษรแบบอินเดียใต้ ลวดลายเสาหินเป็นศิลปะทวารวดีตอนต้น และพระพุทธรูป หม้อดินเผา โครงกระดูก หินบดยา ขวานหินขัด ประติมากรรมรูปกวางหมอบ รูปตุ๊กตา ร่องรอยเหล่านี้ได้แสดงอารยธรรมโบราณให้ปรากฎ ทางโครงการจึงได้เปิดแหล่งชุมชนเป็นแหล่งเรียนรู้ควบคู่กับการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ มีกิจกรรมปกปักพันธุกรรมพืช การปลูกรักษา การสำรวจพันธุกรรมพืชลักษณะของพืชทั่วไปรวมไปถึงพระเอกของงาน อย่าง ต้นจำปี
ต้นจำปีสิรินธร
ชื่อพฤกษาศาสตร์ Magnolia sirindhorniae noot & chalermglin
วงศ์ Magnoliaceae
ลักษณะ : เป็นต้นไม้ขนาดใหญ่ สูง 20-30 เมตร มีเส้นผ่านศูนย์กลางของลำต้นประมาณ 30 -100 ซม. ใบอ่อนมีขนปกคลุมทั้ง 2 ด้านเมื่อแก่จะน้อยลงใบเป็นรูปรีปลายมน ดอกสีขาว กลีบดอกมี 12-15 กลีบ กลีบยาว 4-5 ซม.โคนกลีบด้านนอกสีเขียวอ่อน มีกลิ่นหอมบาน 2-3 วัน เมื่อใกล้โรยกลีบจะเปลี่ยนเป็นดอกสีเหลืองและน้ำตาล ดอกบานเดือนเมษายน-กันยายน มีผลเป็นช่อยาว 5-6 ซม. มีผลย่อย 15-25 ผล แต่ละผลมี 1-6 เมล็ด
โดยทั่วไปพันธุ์ไม้วงศ์จำปาไม่เกิดขึ้นในบริเวณชื้นแฉะจึงจัดเป็นพันธ์ุไม้ที่มีความพิเศษ หากจัดการพื้นที่ไม่เหมาะสมอาจเสี่ยงต่อการสูญพันธ์ุได้ มาร่วมกันเป็นส่วนหนึ่งในบทบาทนักอนุรักษ์กับกิจกรรมของโครงการได้ ในพื้นที่การท่องเที่ยวเชิงเรียนรู้ที่เปิดใหม่ ผ่านมรดกประวัติศาสตร์และพรรณไม้อนุรักษ์ ที่จังหวัดลพบุรี
ขอบคุณข้อมูลจากแผ่นพับบริการข้อมูลการท่องเที่ยวของ องศ์การบริหารส่วนตำบลซับจำปา
9809 หมู่1 ตำบลซับจำปา อำเภอท่าหลวง จังหวัดลพบุรี 15230
เบอร์ 036-788101
Marimay.N
วันศุกร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2566 เวลา 00.54 น.