ลิงค์ตอนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในทริปนี้อยู่ด้านล่างสุด

รีวิวการเดินทางไปมาชูปิกชู Machu Picchu หนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคใหม่ ซึ่งเป็นเป้าหมายหลักของเราในทริปนี้

ที่นี่ตั้งอยู่บนภูเขาสูง คาดเดาว่าเป็นเมืองพักตากอากาศของกษัตริย์อารยธรรมอินคาในขณะนั้น

อารยธรรมอินคา คืออารมธรรมสุดท้ายที่ปกครองประเทศเปรูก่อนมาถึงของชาวสเปน และเป็นจักรวรรดิยิ่งใหญ่จักรวรรดิที่สองของประเทศเปรู

5ninetdhmga6

การเดินทาง

มีหลายวิธีให้เลือก ขึ้นกับงบ เวลา และสิ่งที่เราต้องการไปชมที่มาชูปิกชู

1.วิธีเดินทางที่ค่าใช้จ่ายค่อนข้างแพง เดินทางสะดวก ไม่ต้องวางแผนเยอะ

 1.1 มันคือการซื้อทัวร์จากเมืองกุสโกไป จะมีทัวร์แบบเช้าไปเย็นกลับ และแบบ 2 วัน 1 คืนให้เลือก ราคาอยู่ที่ประมาณ 100-200 ดอลล่าร์ อันนี้ต้องเช็ครายละเอียดทัวร์แต่ละเจ้าอีกทีว่าเดินทางยังไง ค่าใช้จ่ายนี้รวมอะไรบ้าง

  ตัวเลือกนี้จะสบายสุดค่ะ เพราะมีคนจัดการให้แทบทุกอย่าง

1.2 นั่งรถไฟ หรือรถบัสต่อรถไฟจากเมืองกุสโกไปมาชูปิกชูในตอนเช้า แล้วนั่งกลับในตอนเย็น ระยะเวลาเดินทางต่อขาอยู่ที่ 4-5 ชม. ไม่นับเวลาต่อแถวรอขึ้นรถบัสจากตีนสถานีรถไฟไปยังปากทางเข้ามาชูปิกชูอีกประมาณ 1 ชม.

     ตัวเลือกนี้จะไม่ต้องเปลี่ยนที่พัก แต่ต้องตื่นเช้ามาก (ประมาณตี4) เพื่อเข้ามาชูปิกชูรอบ 9-10 โมง ใครที่ไม่อยากตื่นเช้า สามารถเลือกรอบรถที่สายกว่านั้นได้

ul94rnqv1w1w

รถไฟที่นักท่องเที่ยวนั่งไปยังมาชูปิกชูได้ มีเพียงรถสำหรับนักท่องเที่ยว ซึ่งมีราคาแพงกว่ารถไฟชาวบ้าน (เยอะมาก) อีกทั้งจำกัดขนาดกระเป๋าที่สามารถนำขึ้นไปได้ ขนาดที่นำขึ้นไปได้ประมาณกระเป๋าสะพายหลังใบเล็กที่มีน้ำหนักไม่เกิน 7 กิโลกรัม

ราคารถไฟท้องถิ่นตกคนละ 8-1x Sol ตีว่าราคาไม่เกิน 200 บาท แต่รถไฟนักท่องเที่ยว (Perurail/Incarail) ขึ้นจาก Ollantaytambo ราคาถูกสุดขาละประมาณ 56 US หรือประมาณ 1900 บาท ถ้ารอบเวลาดีๆ หน่อยก็ขึ้นไปเป็น 100++ US ต่อขา...ใช้เวลา 1.30 ชม. ขากลับราคาจะแพงช่วงบ่าย 3-4

รถไฟมีให้เลือกสองเจ้า คือ Perurail กับ Incarail ราคาตั๋วรถไฟ (แพง) พอๆ กันทั้งสองเจ้า มีโปรโมชั่นลดราคาออกมาบ้าง แต่มักจะออกในช่วงโลว์ซีซั่นเป็นส่วนใหญ่ จากที่อ่านรีวิวมา Perurail จะใหม่กว่า Incarail ค่ะ

เราเลือก Perurail  เพราะเวลาเดินทางไปกลับดีกว่า Incarail ในราคาที่ใกล้เคียงกัน

สถานีขึ้นรถไฟของทั้งสองเจ้าอยู่ห่างจากตัวเมืองกุสโก หากเดินทางตอนเช้าตรู่ ต้องเรียกแท็กซี่ไปเท่านั้นค่ะ

2.ค่าใช้จ่ายถูก ใช้เวลาในการเดินทางนาน ร่างกายต้องฟิต

  คือการนั่งรถบัสจากุสโกไปยัง Hidroelectrica แล้วเดินตามรางรถไฟไปอีกประมาณ 10 กิโลเมตรเพื่อยัง Aguas Calientes เมืองตีนภูเขามาชูปิกชู หากเดินทางวิธีนี้จึงควรแวะค้างที่ Aguas Calientes อย่างน้อยหนึ่งคืน

หมายเหตุ: เส้นทางนี้สุ่มเสี่ยงต่อดินถล่ม บางครั้งรถบัสจึงอาจพาเราไปไม่ถึง Hidroelectrica

แถบนี้อยู่สูงจากน้ำทะเลประมาณ 2-3 พันฟุตจากน้ำทะเล หากร่างกายเรายังปรับตัวเข้ากับความกดอากาศที่เปลี่ยนไปไม่ได้ แล้วฝืนออกกำลังหนัก อาจทำให้เกิดอาการ High altitude sickness ได้ 

3.ค่าใช้จ่ายปานกลาง

  เราไม่อยากเสี่ยงกับ High altitude sickness และไม่อยากย้ายที่พักบ่อย (ไปกว่านี้) จากตอนแรกที่ว่าจะพักที่ Aguas Calientes เลยเปลี่ยนไปปักหลักที่ Ollantaytambo แทน

วิธีเดินทาง

  1. นั่ง collectivo จาก กุสโกไป Ollantaytambo ใช้เวลาประมาณ 1-2ชม. ราคา 10-20 Sol แต่วันที่เราเดินทางเขาขนส่งสไตรท์ เพื่อให้ไปถึง Ollantaytambo ตามแพลน เราเลยต้องนั่งแชร์รถส่วนตัวในราคา 50 Sol แทน
  2. นั่ง Perurail จาก Ollantaytambo ไป Aguas Calientes รอบตี 5.40 น. กำหนดถึงตอน 6.10 น. แต่รถไฟดีเลย์ เราเลือกรอบที่ราคาถูกเกือบสุด ขาละ 59.40 ดอลล่าร์ต่อคน
  3. นั่งรถบัสจาก Aguas Calientes ขึ้นไปยังปากทางมาชูปิกชู ราคา 12ดอลล่าร์/คน/ขา เรานั่งรถขึ้นแล้วเดินลงมาประมาณ 2.2 กิโลเมตร เพื่อประหยัดเงิน โดยเป็นเส้นทางลงเขา 1.3 กิโล (บางส่วนคือเส้นทางเดินของชาวอินคาเก่า) และเป็นทางราบอีกประมาณ 1 กิโล ทางราบ 1 กิโลสุดท้ายฝุ่นจะเยอะหน่อยเวลาที่รถบัสนักท่องเที่ยววิ่งผ่าน โชคดีที่เรามีผ้าคาดปากอยู่ในกระเป๋าเลยหยิบมาใส่เวลาที่ฝุ่นตลบ ส่วนใครที่ร่างกายฟิตพอ จะลองเดินขึ้นเขาไปด้วยก็ได้ค่ะ แต่อย่าลืมว่า บริเวณนี้เป็นที่สูง เราจะหอบเหนื่อยง่ายกว่าปกติอยู่แล้ว

ใครที่ไม่ได้ซื้อตั๋วรถไฟล่วงหน้า จะมาซื้อที่สถานีก็ได้ค่ะ แต่บางขบวน บางราคาอาจเต็มก่อนแล้ว 

ที่นี่มีจุดขายตั๋วของ Incarail และ Perurail 

จุดขายตั๋วของ Perurail เปิดตั้งแต่ตี 4 ครึ่ง

5q63u384az8c
5szjvrm74gze

ใครที่นั่ง Perurail แล้วเอากระเป๋าใหญ่มา สามารถมาฝากกระเป๋าที่นี่ได้ฟรี แล้วเดินตรงไปไม่นานก็จะถึงชานชาลา

d3qys585250s

ตารางเวลา และตารางราคาของ Perurail

0hhh6mrsz11q
mmb2y6ifbgll

อันนี้เป็นราคาของคนท้องถิ่น ราคาหลักหน่วย ถึงหลักสิบเท่านั้นเอง

tpixcjyxm7p2

Incarail ก็สามารถมาซื้อได้เหมือนกค่ะ อยู่ไม่ไกลกันเลย

lko9vs70p37t

Ollantaytambo เป็นเมืองเล็กๆ เราออกจากที่พักประมาณตีห้าเพื่อเดินไปยังสถานีรถไฟ

qnayaq0lk6s0

ระหว่างทางทั้งหน้าหลังก็จะมีเพื่อนร่วมทาง

u87548n3sczk

รถไฟมาถึงแล้ว Perurail

7pcopavhmf2d

รถไฟจะจอดสักพักใหญ่ แล้วเจ้าหน้าที่จะเอาป้ายบอกขบวนรถมาแขวน เมื่อรู้ตู้แล้วเราก็ไปยืนรอที่ประตูขบวน

o8gje9cxyqcg

ภาพในรถไฟ เราซื้อตั๋วรถไฟขบวน Expedition เขาจะแจกน้ำเปล่าฟรี ส่วนขนม ชา กาแฟ ต้องจ่ายเงินซื้อค่ะ

97hkt0luwf7u

ถ้าให้รีวิววิวระหว่างทางคือ เฉยมากค่ะ...มีวิวต้นไม้ข้างทางเป็นส่วนใหญ่ วิวแม่น้ำก็มีบ้าง แต่มันก็วิว....แม่น้ำธรรมดาค่ะ ไม่ได้ประทับ หรือเสียดายที่ไม่ได้นั่งรถไฟขบวนที่แพงกว่านี้เลย

เมื่อใกล้ถึงสถานีสุดท้าย รถไฟจะจอดให้คนที่มาเดินเทรลเส้น Inca rail ลงไป

1e7unth26fsr

สถานีปลายทาง ถึง Aguas Calientes แล้วจ้า

aju1wbtsifok

ตอนขากลับ เรามานั่งรอข้างใน 

f6af3pbi5fcz

พอมาถึงสถานีปลายทางแล้ว ถ้าเราไม่อยากเดินขึ้นเขา เราก็ต้องไปซื้อตั๋ว Shuttle bus ขึ้นไปยังประตูทางเข้า 

laksfbef86ay

ราคาค่ารถ สามารถเลือกจ่ายได้ทั้งเงินดอลล่าร์ และเงิน Sol รูดบัตรได้ด้วยค่ะ

n106owf6bd2l

จากนั้นให้เราหาคิวของรอบเวลาเข้ามาชูปิกชูที่เราจองไว้ คิวจะยาววววมากนะคะ อย่าได้แปลกใจ

เขาจะเริ่มไลน์คนขึ้นรถไปครึ่งชั่วโมงก่อนรอบตั๋ว อย่างเราจองตั๋วเข้ารอบ 9 โมง คนในแถวทยอยขึ้นรถช่วง 8.30

6xv74ovfctma

รถบัส

dekxr6kfkbb3

ใครที่จะเดินขึ้น ต้องเดินตามทางรถบัสไปประมาณ 1 กิโลเมตร แล้วจะเจอกับป้ายนี้ ให้เดินขึ้นบันไดไปได้เลยค่ะ ระยะทางจากป้ายนี้จนถึงประตูทางเข้าประมาณ 1.3 กิโลเมตร 

ส่วนรถบัสจะเลี้ยวซ้ายไปตามทางรถวิ่งขึ้นเขา 

gerhf5remx5q

แล้วเราก็มาถึงแล้ววว และต้องต่อแถวกันต่อไป

ห้ามลืมพกพาสปอร์ตมาโดยเด็ดขาดค่ะ เขาจะเช็คพาสปอร์ตทั้งหมด 5 ครั้ง...ไม่รู้ว่าเช็คอะไรกันนักกันหนา

l8dov404v9yn


การซื้อตั๋วเข้ามาชูปิกชู

ควรซื้อล่วงหน้าอย่างน้อย 3 เดือนค่ะ ตอนซื้อจะต้องเลือกเส้นทางที่เราจะเดิน วันเวลา และรอบ

เส้นทางเดินในมาชูปิกชูจะเปลี่ยนไปเป็นระยะ ตอนไปเราเลือกเส้นทาง Route 2 – Classic route ราคา คนละ 152 sol + ค่าธรรมเนียมรูดบัตรออนไลน์ 7.48 sol รวมเป็น 159.48 sol ประมาณ 1600 บาท

หมายเหตุ: ใครที่เจอปัญหาไม่สามารถรูดบัตรได้ แนะนำให้โหลด vpn แอป แล้วจ่ายเงินซื้อตั๋วขณะเปิด vpn นะคะ เราจ่ายเงินด้วยวิธีนี้ได้ค่ะ          

สำหรับคนที่ซื้อตั๋วออนไลน์ไม่ทัน สามารถมา “ลุ้น” ซื้อหน้างานได้ โดยต้องต่อมาต่อคิวที่ Aguas Calientes เพื่อซื้อตั๋วเข้าวันต่อมา หรือวันถัดๆ ไป แต่ละวันจะมีตั๋วจำกัด แต่มีคนต่อแถวกันเยอะมาก แนะนำให้เผื่อวันไว้2-3 เลยค่ะ เผื่อไม่ได้ตั๋วเข้าในวันถัดไป

หลายคนอาจจะได้ข่าวมาว่า มาชูปิกชูบังคับให้นักท่องเที่ยวต้องจ้างไกด์ จึงจะเข้าไปได้ เราไปคนเดียว ไม่มีไกด์ก็เข้าไปได้ตามปกติค่ะ ใครที่อยากจ้างไกด์สามารถมาหาไกด์ตรงทางเข้าก็ได้ค่ะ ราคาที่ฟังมาคือ 15 ดอลล่าร์ค่ะ

ใครที่ไม่อยากจ้างไกด์แนะนำให้เข้าพิพิธภัณฑ์ Inka museum กับ Museo Casa Concha ที่กุสโกก่อน มีคนรีวิวว่า ถ้าเข้าสองที่นี้แล้วก็ไม่ต้องจ้างไกด์เลยค่ะ เราไม่ได้จ้างไกด์แล้วเข้าพิพิธภัณฑ์สองอันนี้ทีหลัง ก็เข้าใจมาชูปิกชูมากขึ้นกว่าเดินโดยไม่มีไกด์ค่ะ


นอกจากนี้ ตั๋วมาชูมิกชูยังใช้เข้า พิพิธภัณฑ์ที่อยู่ตีนภูเขามาชูปิกชูได้อีก ใครที่ต้องการเข้าพิพิธภัณฑ์แนะนำให้เดินลงมาจากเขาค่ะ เพราะมันจะอยู่ระหว่างทางพอดี และจะห่างจากตัวเมืองประมาณ 2 กิโล

9s6s3a526lgv

ส่วนต่อไปจะเป็นภาพมาชูปิกชูแล้วค่า ของจริงใหญ่กว่าที่คิดมากกก 

ใหญ่แค่ไหนดูรูปจำลองที่จัดแสดงใน Inka museum ที่กุสโกดูได้เลย

03sns337qoq2
vtytgsrr39bm

ความเชื่อของชาวอินคาเขาจะไม่แกะสลักอะไรลงไปบนก้อนหิน แตกต่างจากชาวมายา และแอซเท็ก ทำให้เอาจริงๆ ดูไปดูมาก็แอบเบื่อค่ะ มีแต่หิน หิน และหิน ไม่ค่อยมีรูปแกะสลักสวยๆ แปลกตาให้ดูเลย 

ใครที่สนใจรีวิวโบราณสถานมายา และแอซเท็ก ไปตำได้ที่ลิงค์นี้ค่ะ https://th.readme.me/p/47557

มาชูปิกชูจะถูกแบ่งเป็นโซนเกษตรกรรม โซนอยู่อาศัย และโซนพิธีกรรม

คาดว่ามาชูปิกชูเป็นศูนย์กลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างโซนต่างๆ ในอินคา เพราะมีถนนทั้งหมด 8 เส้นที่เชื่อมต่อไปยังที่อื่น ทั้งยังพบข้าวของ วัตถุดิบจากป่าอเมซอน และทะเลด้วย

gu5g0zljyued

ที่นี่เขาให้เดินตามเส้นทาง ไม่ให้ย้อนกลับ เส้นทางที่เราเดิน จะเป็นการขึ้นบันไดไปเรื่อยๆ จึงเก็บภาพวิวกว้างที่ความสูงหลายระดับได้ค่ะ

q1wrqyssn6tn
lnp39ouhr5j3
66brqxyli43y
3tchqrzb0hht
xa6qvu8ra6qs
l0s4spevlk4m

ขั้นบันไดเหล่านี้ เอาไว้ทำเกษตรกรรม ช่วยกักเก็บน้ำ และลดดินถล่มได้อีกด้วย

giwe4dal64n5
7rxdofm4e2j8

ลานกว้าง คาดว่าใช้จัดงานต่างๆ 

2sa21x3paixw
ihmjiz3l2z1s
v33buor4v3he

ปัจจุบันนักโบราณคดีเชื่อว่า มาชูปิกชู คือ บ้านพักตากอากาศของกษัตริย์อินคา เนื่องจากหินที่ีใช้สร้างบางส่วนมีความปราณีต เหมือนหินสำหรับกษัตริย์และขุนนาง ชาวอินคาใช้หินกะเทาะหิน ทำให้เป็นรูปร่างที่ต้องการ

90fppftv4go6

ถ้าเทียบกับหินสำหรับชาวบ้านทั่วไป จะเห็นความปราณีตที่แตกต่างได้เลย

t9b4g98d7vs2
a1bxqwvqbu9a

วิวผ่านช่องหน้าต่าง

26y9oy31ffnp

เจ้าหน้าที่สูงวัยกำลังขูดเอามอสออกจากหิน

k5r1u3dy6xk4

เมื่อเดินไปครึ่งทาง จะเจอกับประตูนี้ มันคือเส้นทางเดินชื่อ Waynapicchu เป็นอีกเส้นทางหนึ่งหนึ่ง แต่ต้องใช้แรงกาย แรงใจเยอะหน่อย จากที่อ่านรีวิวมา มันจะมีจุดที่หวาดเสียวและค่อนข้างอันตรายอยู่ เราเลยตัดทิ้ง ไม่ไปเส้นนี้ค่ะ

t6d0571u3vh3

หลังคาจำลอง แต่โครงบ้านของจริง

bdyx5368vd18

เมื่อเดินออกมาแล้ว ใครที่ต้องการเดินลงเขา เรียนเชิญทางนี้ได้เลยค่า ระยะทางทั้งหมดกว่าจะถึงเมืองประมาณ 2.2 กิโลเมตร

j7mlpf9rswfq

เส้นทางส่วนหนึ่งถูกสร้างโดยชาวอินคา โดยเส้นทางนี้จะตัดผ่านเส้นทางรถบัส

tbahbkc1dy9b
pbebw7lgr2ei

บันไดรูปแบบหนึ่งของชาวอินคา ได้เดินบนบันไดนี้ก็คุ้มแล้วจ้า

26ccys76at3s


เมื่อลงมาถึงตีนเขา เราจะเจอป้ายนี้  เลี้ยวซ้ายไปพิพิธภัณฑ์ เลี้ยวขวาไปสถานีรถไฟ

7j2bvza9tljp

พิพิธภัณฑ์เล็กที่อยู่ใกล้ทางเดินเทรคขึ้น MP แต่ถ้าเดินจากตัวเมืองมา ประมาณ 2 กม.

ใช้ตั๋วมาชูปิกชูยื่นแล้วเข้าฟรี 

9s6s3a526lgv

ที่นี่เป็นพิพิธภัณฑ์ที่ีโชว์ของที่ขุดค้นได้ที่มาชูปิกชูบางส่วน และมีบอร์ดอธิบายชีวิต ความเชื่อ และความสามารถในการก่อสร้างของชาวอินคา

nalmcqp22ooe
8ctp6snmnfax

คาดว่ามาชูปิกชูเป็นศูนย์กลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างโซนต่างๆ ในอินคา เพราะมีถนนทั้งหมด 8 เส้นที่เชื่อมต่อไปยังที่อื่น ทั้งยังพบข้าวของ วัตถุดิบจากป่าอเมซอน และทะเลด้วย

iodloh2osdls

เครื่องปั้นด้านล่างเป็นทรงลามะ กับอัลปาก้า

ลามะ - เป็นสัตว์สำหรับใช้แรงงาน กิน และทำเครื่องนุ่มห่ม หากไม่มีลามะก็จะไม่มีอินคาเกิดขึ้น

อัลปาก้า - เลี้ยงไว้กินเนื้อ  และทำเครื่องนุ่มห่ม

01m74hwauqyo
bdi5c61n98dk
npycuuax7ulm

บอร์ดความรู้

1eovm8ktfomb
vqh4jmd3m0pb

แล้วก็ถึงเวลาเดินกลับเมือง เพื่อรอเวลาขึ้นรถไฟกลับที่พัก

ya6c13ufdq3e

มีคนเดินกลับบ้างประปราย

n2erxejwkg5v

มีเวลาว่างเหลือ เราเลยเดินเล่นในเมือง Aguas Calientes

p3n6z01bbvyv


ตอนอื่นๆ ในทริปเปรู คนเดียวก็เที่ยวได้
ตอน 1 รีวิวแพลนการเดินทางไปชมมาชู ปิกชู สิ่งมหัศจรรย์ของโลกที่อเมริกาใต้ ประเทศเปรู ทริปนี้ต่อเครื่องที่สเปน https://th.readme.me/p/75409
ตอน 2 รีวิวพระราชวังมาดริด และพิพิธภัณฑ์ของสะสมกษัตริย์สเปนPalacio real de madrid และ Royal collection gallery https://th.readme.me/p/75410
ตอน 3 Ollataytambo เมืองในหุบเขาศักดิ์สิทธิ์หนึ่งใน Sacred valley หุบเขาศักดิ์สิทธิ์ของชาวอินคา ประเทศเปรู https://th.readme.me/p/75443
ตอน 4 รีวิวการเดินทางและการเที่ยวมาชูปิกชู Machu Picchu หนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคใหม่ https://th.readme.me/p/75436
ตอน 5 เช้าไปเย็นกลับ Pisac โบราณสถานอินคาใกล้กุสโก https://th.readme.me/p/75452
ตอน 6 เช้าไปเย็นกลับ Tipón โบราณสถานด้านการชลประทานของชาวอินคา และเมืองลับ Pukara https://th.readme.me/p/75453
ตอน 7 กุสโก้ Cusco อดีตเมืองหลวงอันรุ่งเรืองของอาณาจักรอินคา https://th.readme.me/p/75454
ตอน 8 การเดินทางใน Lima เมืองหลวงที่(ไม่ค่อย)ปลอดภัยของเปรู และ Huaca Pucllana วิหารของอารยธรรมก่อนอินคา https://th.readme.me/p/75455
ตอน 9 ปั่นจักรยานชมอุทยานแห่งชาติ Paracas ดินแดนที่ทะเลทรายพบกับทะเล กาลาปากอสคนจน https://th.readme.me/p/75456

ความคิดเห็น