จากวลีที่ว่า " เฉลิมสร้างสวรรค์ ถวัลย์สร้างนรก "
สวรรค์ในที่นี้หมายถึง วัดร่องชุ่นแห่งนี้ที่ อ.เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ศิลปินแห่งชาติที่ใครๆก็ต้องรู้จัก
ส่วนนรก นั้นเป็น พิพิธภัณฑ์บ้านดำ ของ อ.ถวัลย์ ดัชนี ตามกระทู้ https://th.readme.me/p/28763

เรามารู้จักวัดร่องขุ่นกันครับ

วัดร่องขุ่น ออกแบบและก่อสร้างโดย อาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ สร้างขึ้นในปีพ.ศ. 2540 เป็นวัดที่สร้างขึ้นเพื่อมุ่งสร้างงานพุทธศิลป์ที่มีเอกลักษณ์ของตัวเอง ชาวต่างชาติจะรู้จักในนาม “White Temple” การเดินทางมาที่วัดก็สะดวกสบายเพราะมีป้ายบอกทางตลอดตั้งแต่ออกจากตัวเมืองเชียงราย และที่วัดมีที่จอดรถฟรีให้ถึง 2 จุด คือ ด้านหลังวัดและข้างวัด

อุโบสถวัดร่องขุ่น ที่ อ. เฉลิมชัย ได้สรรค์สร้างขึ้นมาล้วนแต่มีความหมายยิ่ง
โบสถ์ เพราะอาจารย์อยากจะเนรมิตวัดให้เหมือนเมืองสวรรค์ เป็นวิมานบนดินที่มนุษย์สามารถสัมผัสได้โบสถ์ เปรียบเหมือนบ้าน ของพระพุทธเจ้า

สีขาว แทนพระบริสุทธิคุณของพระพุทธเจ้า
กระจกขาว หมายถึง พระปัญญาธิคุณของพระพุทธเจ้าที่เปล่งประกายไปทั่วโลกมนุษย์ และจักรวาล


สะพาน หมายถึง การเดินข้ามวัฏสงสารมุ่งสู่พุทธภูมิ


ครึ่งวงกลมเล็ก หมายถึง โลกมนุษย์
วงใหญ่ที่มีเขี้ยวเป็นปากของพญามารหรือพระราหู หมายถึง กิเลสในใจแทนขุมนรกคือทุกข์ ผู้ที่จะเข้าเฝ้า พระพุทธเจ้าใน พุทธภูมิต้องตั้งจิตปลดปล่อยกิเลสตัณหาของตนเองลงไปในปากพญามาร เพื่อเป็นการชำระจิตให้ ผ่องใสก่อนที่จะเดินผ่านขึ้น ไปพบกับพระราหูอยู่เบื้องซ้าย และพญามัจจุราชอยู่เบื้องขวา
อสูรกลืนกัน16 ตน บนสันของสะพาน หมายถึง อุปกิเลส 16 จากนั้นก็จะถึง

กึ่งกลางสะพาน หมายถึง เขาพระสุเมรุ ซึ่งเป็นที่อยู่ของเทวดา
สระน้ำด้านล่าง หมายถึง สีทันดรมหาสมุทร มีสวรรค์ตั้งอยู่ด้วยกัน 6 ชั้นด้วยกัน ผ่านสวรรค์ 6 เดินลงไปสู่พรหม 16 ชั้น แทนด้วยดอกบัวทิพย์ 16 ดอกรอบพระอุโบสถ
ดอกที่ใหญ่สุด 4 ดอก ตรงทางขึ้นด้านข้างโบสถ์หมายถึง ซุ้มพระอริยเจ้า 4 พระองค์ ประกอบด้วยพระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์ เป็นสงฆ์สาวกที่ควรกราบไหว้บูชา
ครึ่งวงกลมก่อนขึ้นบันได หมายถึง โลกุตตรปัญญา บันไดทางขึ้น 3 ขั้นแทน อนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา ผ่านแล้วจึ้งขึ้นไปสู่อรูปพรหม 4 แทนด้วย

ดอกบัวทิพย์ 4 ดอกและบานประตู4บานบานสุดท้ายเป็นกระจกสามเหลี่ยมแทนความว่าง ซึ่งหมายถึงความหลุดพ้น แล้วจึงก้าว ข้ามธรณีประตูเข้าสู่พุทธภูมิภายในประกอบด้วยภาพเขียนโทนสีทองทั้งหมด ผนัง 4 ด้าน เพดานและพื้นล้วนเป็นภาพเขียนที่แสดง ถึงการหลุดพ้นจากกิเลสมาร มุ่งเข้าสู่โลกุตตรธรรม ส่วนบนของหลังคาโบสถ์ ได้นำหลักการของการปฏิบัติจิต 3 ข้อ
คือ ศีล สมาธิ ปัญญา นำไปสู่ความว่างคือความหลุดพ้นนั่นเอง












ที่ตั้ง ต. ป่าอ้อดอนชัย อ. เมือง จ. เชียงราย เปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 6.30 - 18.00 น.
ห้องแสดงภาพ : เปิดให้เข้าชมวันจันทร์ - ศุกร์ 8.00 - 17.30 น. ส่วนวันเสาร์ อาทิตย์ และวันหยุดราชการ
เวลา 8.00 - 18.00 น.





การเดินทางมายังวัดร่องขุ่น
1. โดยรถยนต์ส่วนตัว
ถนนสายเชียงราย - กรุงเทพฯ ถ้ามาจากกรุงเทพฯ หรือเชียงใหม่ วัดร่องขุ่นจะอยู่ก่อนถึงตัวเมืองเชียงราย13ก.ม ตรงหลัก ก.ม ที่ 816 ถนนพลหลโยธิน (หมายเลข 1/A2 ) เลี้ยวเข้าไปประมาณ 100 เมตร จะมีป้ายบอกเป็นระยะๆ
2. โดยรถสาธารณะ
สามารถขึ้นรถสองแถวสีน้ำเงินรถประจำทางสายที่ผานวัดร่องขุ่น ได้ที่สถานีขนส่งเชียงรายเก่า และลงปากทางเข้าวัดจากนั้นเดินเข้า ไปอีกนิดนึง
ฝากติดตามรีวิวอื่นๆด้วยนะครับที่ B e L L a G i O ..... Studio
B e L L a G i O ..... Studio
วันพฤหัสที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 เวลา 15.47 น.