2fi3aitvbms6

“Jaipur” หรือที่เรียกกันติดปากว่า “ชัยปุระ” มีความหมายว่า เมืองแห่งชัยชนะ เป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของรัฐราชาสถาน สิ่งปลูกสร้างโดยเฉพาะในบริเวณตัวเมืองเก่านั้นได้รับการทาให้เป็นสีชมพู
เหตุเพราะในสมัยของ Maharaja Ram Singh อินเดียยังเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ เพื่อเป็นการต้อนรับกษัตริย์ Edward VII จากสหราชอาณาจักร เมื่อปี ค.ศ.1853 พระองค์จึงมีรับสั่งให้ราษฎรทาสีบ้านเรือนเป็นสีชมพูเพื่อเป็นการถวายพระเกียรติเจ้าอาณานิคม จนทำให้ Jaipur ได้รับสมญานามว่า “นครสีชมพู”
ในชัยปุระมีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจมากมาย แต่ 13 สถานที่ที่ผมจะแนะนำให้เพื่อนได้รู้จักนี้ บอกเลยว่าไม่ควรพลาด หากมาเที่ยวที่ชัยปุระครับ


1. City palace

fyx8rngelif6

City palace เป็นพระราชวังอันดับที่ 2 ของชัยปุระ เป็นสถาปัตยกรรมแบบผสมระหว่างราชปุตกับโมกุล เดิมเป็นพระราชวังของมหาราชใจสิงห์ (Jai Singh) พระราชวังถูกสร้างขยายออกในสมัยหลัง ปัจจุบันได้รวบเป็นพิพิธภัณฑ์ Sawai Man Singh Museum ประกอบด้วย 4 ส่วนที่น่าสนใจ ส่วนแรกคือ ส่วนของพระราชวัง ส่วนที่สองเป็นส่วนของพิพิธภัณฑ์ที่จัดแสดงฉลองพระองค์ของกษัตริย์และมเหสี ซึ่งมีการตัดเย็บอย่างวิจิตร ส่วนที่สามเป็นส่วนของอาวุธและชุดศึกสงครามที่จัดแสดงไว้อย่างน่าทึ่งมากมายหลายชิ้น บางชิ้นก็เป็นอาวุธได้อย่างน่าพิศวง และส่วนที่สี่คือส่วนของศิลปะภาพวาด รูปถ่าย และราชรถ พรมโบราณ ซึ่งได้รับการจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ ตรงกลางอาคารมีหม้อน้ำขนาดมหึมา 2 ใบทำจากโลหะเงินสูง 1.50 เมตร มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก เชื่อกันว่าเป็นหม้อน้ำที่กษัตริย์ Madho Singh ได้รับมาจากงานราชาภิเษกของพระเจ้าเอ็ดเวิล์ดที่ 7 ซึ่งบรรจุน้ำจากแม่น้ำคงคาอันศักดิ์สิทธิ์

ค่าเข้าชม City Palace อยู่ที่ Rs.700 แต่ถ้าใครต้องการชมห้องพิเศษเพิ่มอีก 3 ห้อง ค่าเข้าชมจะอยู่ที่ Rs.3500 ราคานี้จะรวมค่าไกด์ มีเครื่องดื่ม ชา/กาแฟ/น้ำผลไม้ (เลือกได้หนึ่งอย่าง) นอกจากนี้ยังมีคุกกี้
และน้ำดื่มให้อีกคนละ 1 ขวดครับ

l6nn0z3hvmdp

The Blue Palace in Chandra Mahal เป็นห้องพิเศษห้องแรก ในอดีตเป็นห้องสำหรับพักพระวรกายของราชวงศ์ด้วยการโล้ชิงช้า ห้องนี้เน้นโทนสีฟ้า และมีการเขียนลวดลายเป็นดอกไม้ ใบไม้ด้วยสีขาว ดูสวยงามทีเดียวครับ

fsgqy396h19i

The Room of Mirrors or the Sri Niwas เป็นห้องบรรทม ผนังและเพดานห้องประดับประดาด้วยกระจก ไฮไลท์ของห้องนี้คือ เมื่อปิดประตูแล้วจุดเทียน จะเห็นความวับวาวของกระจกที่สะท้อนแสงเทียน ดูระยิบระยับเหมือนดวงดาวเลยครับ

opfblqxtzobe

The Golden room of Shobha Niwas in Chandra Mahal ห้องนี้คล้ายๆ เป็นห้องรับแขก เป็นอีกห้องที่สวยงาม ห้องนี้ออกโทนสีทอง ภายในตกแต่งด้วยหินอ่อนและมีเสาสีทอง ประดับประดาด้วยกระจก หินสีแดง สีเขียว ตกแต่งเป็นลวดลายดอกไม้อยู่บนผนังและเพดาน 3 ห้องพิเศษที่ได้ชม ในอดีตเป็นสถานที่พักและรับรองแขกที่มาเยือนพระราชวังครับ

g83hy8wklraq

อีกหนึ่งจุด Highlight ที่ใครมาเที่ยวชมใน City Palace ต้องห้ามพลาด นั่นคือ Pritam Niwas Chowk เป็นที่ตั้งของประตู ที่แทนด้วย 4 ฤดูกาล โดยมีประตูนกยูงแทนฤดูฝน ประตูดอกบัว แทนฤดูร้อน ประตูดอกกุหลาบ แทนฤดูหนาว ประตูสีเขียว ลักษณะคล้ายๆ คลื่น แทนฤดูใบไม้ผลิ

ปัจจุบัน City Palace ยังเป็นที่พำนักของราชวงศ์ และเปิดบางส่วนให้นักท่องเที่ยวได้เข้าชม ไกด์เล่าให้ผมฟังว่า เจ้าชายอายุประมาณ 21 ปีเองครับ ที่สำคัญยังโสดอยู่ด้วย City Palace เปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 09.30-17.00 น.


2. Hawa Mahal

p1la6qg527a1
zfo6mx8s7p8s
vdxs0wx8f46v

Hawa Mahal เป็นหนึ่งในหลายพระราชวังที่อยู่ในกำแพงเมืองของนครสีชมพู สร้างขึ้นในสมัยของ Maharaja Sawai Pratap Singh ออกแบบโดย Lal Chand Ustad โดยถอดแบบมาจากรูปทรงของมงกุฎพระนารายณ์ มีลักษณะเด่นอยู่ที่ด้านหน้าอาคารมีหน้าบันสูงห้าชั้นลักษณะคล้ายรวงผึ้ง สร้างขึ้นจากหินทรายสีแดงสดฉลุหินให้เป็นช่องหน้าต่างเล็กๆ ที่นับรวมๆ กันได้ถึง 953 บาน แต่ถูกปิดไว้ด้วยหินทรายฉลุ ทำให้นางในฮาเร็มพระสนมที่อยู่ด้านในสามารถมองออกมาข้างนอกได้แต่คนภายนอกไม่สามารถมองเข้าไปด้านในได้ และประโยชน์ของการที่มีหน้าต่างเยอะนั่นคือเป็นช่องแสงและช่องลม จนเป็นที่มาของชื่อ “Palace of Wind” หรือพระราชวังสายลมนั่นเองครับ 

Hawa Mahal เปิดให้เข้าชมด้านในทุกวัน ตั้งแต่เวลา 09.00-17.00 น. ตั้งอยู่ใกล้ๆ กับ City Palace และ Jantar Mantar สามารถเดินเที่ยว 3 จุดนี้ได้แบบสบายๆ ครับ

ฝั่งตรงข้าม Hawa Mahal จะมี Café อยู่ เช่น The Tattoo Café และ Wind View Café หากใครมีเวลาแนะนำให้ขึ้นไปนั่งจิบเครื่องดื่ม แล้วชมวิวช่วงพระอาทิตย์ตกดูนะครับ บรรยากาศดีมากๆ ส่วนบริเวณด้านหน้าของ Hawa Mahal เป็นแหล่งช้อปปิ้งของฝากเยอะแยะมาก มีทั้งร้านขายเสื้อผ้า ขายกระเป๋าหนัง กำไล เรียกได้ว่ามีให้เลือกแบบละลานตาไปหมด ที่สำคัญอย่าลืมต่อราคาด้วยนะครับ ต่อกันแบบกว่าครึ่งของราคาที่พ่อค้าบอกมาได้เลย ถ้าหากพ่อค้าไม่ให้ ขอให้ใช้วิธีเดินออกจากร้าน รับรองพ่อค้าจะต้องเสนอราคา Last Price ที่เราต้องยอมควักเงินออกจากกระเป๋าแน่นอนครับ


3. Amber Fort

3v1vglsrtrzj

Amber Fort เป็นป้อมปราการหินทรายแดงที่ตั้งโดดเด่นอยู่บนเนินเขาเหนือทะเลสาบ Maota ด้านในมีพระราชวังที่เคยเป็นที่ประทับของราชปุตมหาราชาและพระราชวงศ์ ป้อมปราการแห่งนี้มีอายุกว่า 1,000 ปี เคยเป็นศูนย์กลางการทหารและการปกครองของมหาราชาแห่งชัยปุระมาหลายรุ่นหลายสมัย Amber Fort สร้างขึ้นเมื่อปี 966 จนมาถึงสมัยของ Maharaja Man Singh ในปี ค.ศ.1592 จึงได้สร้างพระราชวัง มัสยิด ท้องพระโรงขึ้นภายในป้อม จากนั้นก็มีการก่อสร้างเพิ่มเติมเรื่อยมาจนเสร็จสมบูรณ์ในสมัยของ Maharaja Jai Singh ก่อนจะย้ายเมืองหลวงมาอยู่บนพื้นราบ Amber Fort นับเป็นต้นแบบของศิลปะสถาปัตยกรรมแบบราชปุต เป็นการผสมผสานจากโมกุล (อิสลาม) และฮินดูได้อย่างกลมกลืน เป็น 1 ใน 6 ป้อมปราการแห่งราชาสถานที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ.2556 ครับ

nbroggasc1ji

ในซุ้มประตูที่สำคัญของ Jaipur ด้านบนจะมีรูปปั้นหรือภาพเขียนองค์พระพิฆเนศไว้ทุกแห่ง เพื่อเป็นสิริมงคลเมื่อประชาชนเดินผ่านเข้ามา ใครที่ได้เดินผ่านประตู องค์พระพิฆเนศก็จะปกป้อง คุ้มครองรักษาให้อยู่เย็นเป็นสุขครับ

zuzymahcqw5g

Sheesh Mahal เป็นพระตำหนักของมหาราชาที่ประดับประดาด้วยกระจกเงาและกระจกสีเต็มเพดาน บอกเลยว่าลวดลายละเอียดมากๆ นี่ถ้าหากมาชมที่นี่ช่วงกลางคืนแล้วมาจุดเทียน ที่นี่คงระยิบระยับตาน่าดูเลยครับ

wcbyjgytcqqa

สวน Aram Bagh หรือ Garden of Paradise สวนนี้จะปลูกต้นมะลิไว้โดยรอบ เพื่อให้ส่งกลิ่นหอมทั่วพระราชฐานชั้นใน
Amber Fort เปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.00-17.30 น. การเดินทางขึ้นไปยัง Amber Fort สามารถเดินทางได้ 3 วิธีครับ คือ เดินขึ้น นั่งช้าง และนั่งรถจี๊บ (ราคารถจี๊บ Rs.500 และจะต้องจ่ายค่าผ่านทาง Rs.50 รถจี๊บ 1 คัน สามารถนั่งได้ 5 คน)


4. Panna Meena Ka Kurd

1rn84ej383a4
128ijlbkoyr0

Panna Meena Ka Kurd เป็นบ่อน้ำโบราณที่สร้างขึ้นจากภูมิปัญญาของคนสมัยก่อน ต้องนับถือความคิดของผู้คิดสร้างจริงๆ ครับ ลักษณะของ Step Well จะเป็นบันไดแคบๆ อยู่โดยรอบบ่อน้ำโบราณ การออกแบบโครงสร้างที่ดูซับซ้อนในแต่ละจุดก็จะมีจุดประสงค์เฉพาะที่แตกต่างกัน เช่นการออกแบบให้มีบันไดอยู่โดยรอบก็เพื่อจะได้ให้ชาวบ้านได้ลงไปในบ่อน้ำได้พร้อมกันทีละหลายๆ คน ส่วนที่สร้างให้เป็นบันไดแคบๆ นั้นเพื่อป้องกันการแซงคิว และจะมีจุดให้หยุดพักไว้เป็นระยะๆ ด้วย และถึงแม้น้ำจะแห้งแค่ไหน ชาวบ้านก็สามารถเดินลงไปยังที่ก้นบ่อได้ นอกจากประโยชน์ต่างๆ เหล่านี้แล้ว สิ่งที่ได้แถมมา ผมว่ามันคือความสวยงามของลวดลายที่เกิดจากขั้นบันไดนี่แหล่ะครับ

Panna Meena Ka Kurd เป็น Step well ซึ่งตั้งอยู่ใกล้ๆ กับ Amber Fort ถ้าหากใครใช้บริการนั่งรถจี๊บเพื่อขึ้นไป Amber Fort ก็จะผ่าน Step Well นี้ สามารถให้คนขับรถจอดแวะเที่ยวได้ครับ ที่นี่ไม่เสียค่าเข้าชมครับ


5. Jal Mahal

koc7yal6pt9v

Jal Mahal เป็นพระราชวังกลางน้ำที่ตั้งเด่นอยู่กลางทะเลสาบมันสกา (Man Sagar Lake) มีฉากหลังเป็นเทือกเขานหาร์การห์ (Nahargarh) พระราชวังแห่งนี้สร้างขึ้นตามพระประสงค์ของ Maharaja Sawai Jai Singh II ตัวอาคารออกแบบตามสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานแบบราชปุตและโมกุลอันเป็นเอกลักษณ์ของราชาสถาน Jal Mahal สร้างขึ้นจากหินทรายสีแดง มีทั้งหมด 5 ชั้น โดย 4 ชั้นล่างจะถูกน้ำท่วมเมื่อระดับน้ำในทะเลสาบสูงสุด และจะเหลือให้เห็นเพียงชั้นบนสุดเท่านั้น ฉัตรีซึ่งเป็นยอดหลังคาทรงสี่เหลี่ยม สร้างในแบบสถาปัตยกรรมเบงกอล ส่วนฉัตรีบริเวณสี่มุมของอาคารเป็นทรงแปดเหลี่ยมครับ นักท่องเที่ยวสามารถชม Jal Mahal ได้แต่เพียงภายนอก โดยยืนชมอยู่ริมทะเลสาบเท่านั้นครับ

สำหรับใครที่มาอินเดียแล้วอยากจะลองนั่งบนหลังอูฐ สามารถมาใช้บริการขี่อูฐได้บริเวณถนนด้านหน้า Jal Mahal ครับ สำหรับค่าขี่อูฐ 1 ตัว ราคา Rs.500 สามารถนั่งได้ 2 คน


6. Royal Gaitor

yntins4y0oax
cahyn397ufrn

Royal Gaitor หรือ อนุสรณ์สถานมหาราชาแห่งชัยปุระ สร้างขึ้นเพื่อรำลึกถึงอดีตมหาราชาที่เคยปกครองเมืองชัยปุระ ภายในเป็นสุสานของอดีตมหาราชาหลายพระองค์ แบ่งออกเป็นหลายส่วนตามราชวงศ์ครับ Royal Gaitor เปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 06.00-18.30 น. แต่วันจันทร์จะเปิด 09.00-18.30 น. ครับ


7. Jantar Mantar

n2dc546zx3yi
kktlv5mibp6s

Jantar Mantar หอดูดาวจันทรามันตราสร้างและคิดค้นขึ้นโดย Maharaja Jai Singh II ในปี 1727 ด้วยทรงมีความสนพระทัยและพระปรีชาในเรื่องดาราศาสตร์ จึงได้ทรงรับสั่งให้สร้างหอดูดาวแห่งนี้ขึ้นมาพร้อมๆ กับการก่อสร้าง City Palace เพื่อใช้ดูความเคลื่อนไหวของพระอาทิตย์ พระจันทร์ และดวงดาว โดยหอดูดาวจันทรามันตราแห่งนี้ถือได้ว่าเป็นเครื่องมือสําคัญในสมัยโบราณ เนื่องจากจะใช้คำนวณฤกษ์เวลาในการออกรบนั่นเอง หอดูดาวจันทรามันตราได้รับการขึ้นทะเบียนจากองค์การยูเนสโกให้เป็นมรดกโลกในปี พ.ศ. 2553 ด้วยครับ เปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 06.00-18.00 น.


8. Birla Mandir

mq671b97q72y
uy0yzltqxfyp

Birla Mandir สถานที่สักการะของฮินดูเพื่อสักการะแด่พระวิษณุและพระแม่ลักษมี สร้างขึ้นในปี ค.ศ.1988 สถาปัตยกรรมของวัดผสมผสานสไตล์ของยุคใหม่เข้ากับลวดลายแบบอินเดียโบราณ สร้างขึ้นจากหินอ่อนสีขาว มีโดมขนาดใหญ่ที่เป็นสัญลักษณ์แทนศาสนาฮินดู พุทธ และอิสลาม สามศาสนาที่สำคัญของอินเดีย ภายในวัดมีการจารึกภาพเหตุการณ์ตามตำนานบนแผ่นหินอ่อนขนาดใหญ่

Birla Mandir เปิดให้เข้าชมด้านในได้ 2 รอบ รอบแรก 06.30-12.00 น. และ 15.00-20.30 น. ด้านในไม่อนุญาตให้ถ่ายภาพ ที่วัดแห่งนี้ไม่เสียค่าใช้จ่ายในการเข้าชมครับ


9. Ganesh Temple

2lh59ggimq2c
757400zl84wk

Ganesh Temple สร้างขึ้นในช่วงต้นศตวรรษที่ 18 ตั้งอยู่บนเนินเขาเล็กๆ เป็นวัดที่มีชื่อเสียงด้วยความเป็นมงคลขององค์พระพิฆเนศวร นับเป็นไฮไลท์สำคัญที่มีผู้คนทั้งในและนอกเมืองชัยปุระต่างนิยมเข้าชมเคารพบูชาเพื่อเป็นมงคลในชีวิตประจำวันและเพื่อค้นหาของความสุขนิรันดร์

พระพิฆเนศช้างหัวเทพในศาสนาฮินดูถือว่าเป็นพระเจ้าแห่งความเป็นมงคล ภูมิปัญญาความรู้และความมั่งคั่ง จึงทำให้วัดพระพิฆเณศนี้มีผู้คนศรัทธาเข้ามาสักการะโดยนิยมนำขนมโมทกะมาถวายท่านอย่างไม่ขาดสาย Ganesh Temple เปิดให้เข้าชมวันละ 2 รอบ คือ 05.00-13.00 น. และ 14.30-21.30 น. เข้าชมฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายครับ Ganesh Temple อยู่ไม่ไกลจาก Birla Mandir สามารถเดินถึงกันได้ครับ


10. Albert Hall Museum

4s9ft2kwjkcq

Albert Hall Museum เป็นพิพิธภัณฑ์ที่เก่าแก่ที่สุดในรัฐ Rajasthan ในอดีตที่นี่เป็นที่ทำการบริหารส่วนต่างๆ ของเมือง และได้มีการปรับเปลี่ยนภายหลังมาเป็น Art Museum ที่รวบรวมศิลปะและวัฒนธรรมต่างๆ ไว้มากมาย ส่วนชื่อ Albert ก็มีที่มา มาจากการเสด็จประพาสของ King Edward VII (Albert Edward) พิพิธภัณฑ์แห่งนี้โดดเด่นด้วยสถาปัตยกรรมแบบอังกฤษ ด้านในไม่อนุญาตให้ใช้กล้องใหญ่ถ่ายภาพ แต่สามารถใช้กล้องมือถือถ่ายภาพได้ครับ ใครที่ชอบประวัติศาสตร์ น่าจะเพลิดเพลินกับชมบรรดาโบราณวัตถุที่มีอยู่มากมายอย่างแน่นอน นอกจากนี้ยังมีมัมมีให้ชมด้วยนะครับ สำหรับด้านนอกมีฝูงนกพิราบมากมาย เวลาโบยบินดูสวยงามดีครับ


11. Nahargarh Fort

zzepm8gflp5h
16i4hie5cs2h
ir05l1axzjdd

Nahargarh Fort หรือ “ป้อมนาหรครห์” มีความหมายว่า “ถ้ำเสือ” ตั้งอยู่ใกล้ๆกับ Amber Fort เป็น 1 ใน 3 ป้อมปราการที่ในอดีตคอยปกป้องเมืองนี้อยู่ ปัจจุบันนอกจากจะเป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญแล้ว ยังเป็นทั้ง Museum และสถานที่จัดงานศิลปะของเมืองชัยปุระอีกด้วย

Nahargarh Fort เป็นจุดชมวิวมุมสูงของ Jaipur และจะสวยสุดๆ ตอนพระอาทิตย์กำลังตกดินครับ ระหว่างทางที่ขึ้นมายัง Nahargarh Fort หากมาด้วยรถคันเล็กๆ สามารถจอดรถชมวิวระหว่างทางได้ ซึ่งจะมองเห็น Jal Mahal มุมสูงด้วยครับ Nahargarh Fort เปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่ 10.00-18.00 น. ครับ


12. Patrika Gate

fogg7057tm29
t58430e25lby

Patrika Gate เป็นประตูเมืองลำดับที่ 9 ของ Jaipur สร้างโดยเจ้าของหนังสือพิมพ์ Patrika เดิมที่นี่เป็นเพียงวงเวียนธรรมดา แต่เมื่อมีการสร้างประตูเมืองแห่งนี้ขึ้น ก็ทำให้วงเวียนธรรมดาๆ กลับมีสีสันขึ้น นักท่องเที่ยวหลั่งไหลเข้ามาถ่ายภาพที่ Partrika Gate กันมากมายเลยครับ ภายในประตูมีภาพเขียนสีแสดงประวัติศาสตร์ของเมือง Jaipur ใครที่รักการถ่ายภาพแนะนำเลยว่าไม่ควรพลาดที่นี่ครับ ชมฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย


13. Caffé Palladio

2r9wnw1w9y5f
0x4ksvcifff6

Caffé Palladio เป็นร้านอาหารสไตล์อิตาเลียนผสมอาหรับ เจ้าของเป็นชาวอิตาเลียนสวิสและเพื่อนชาวดัตช์ ร้านนี้ได้รับแรงบันดาลใจจาก Andrea Palladio สถาปนิกชาวอิตาลีที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้ที่มีอิทธิพลมากที่สุดผู้หนึ่งทางด้านแนวคิดการออกแบบในประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมตะวันตก ซึ่งก็เป็นที่มาของชื่อร้านด้วย ภายในร้านตกแต่งสไตล์บารอคผสมราชปุต ทางร้านจะนำวัตถุดิบจากท้องถิ่นมาใช้ในการประกอบอาหารครับ

Caffé Palladio หยุดทุกวันอังคาร โดยวันจันทร์-เสาร์ เปิดเวลา 12.30-22.30 น. และวันอาทิตย์เปิด 10.30-22.30 น. ใครที่ชื่นชอบการถ่ายภาพรับรองว่ามาที่นี่ไม่ผิดหวังแน่นอน มุมถ่ายรูปเพียบเลยครับ


ท้ายสุดนี้ เพื่อนๆ สามารถเข้าไปให้กำลังใจและติดตามผลงานของผมเพิ่มเติมได้ที่ https://www.facebook.com/unclegreenshirt นะครับ

ความคิดเห็น