ที่นี่ก็ดีนะ...ปราสาทหินพนมรุ้ง

          เชื่อว่าหลายๆ คนคงเคยได้ยินชื่อ ปราสาทหินพนมรุ้ง และได้เคยเห็นความงดงามผ่านจอทีวีมาก็หลายครั้ง เราเองก็คือหนึ่งในผู้ชมที่เห็นความสวยงามผ่านจอทีวี จนวันหนึ่งได้มีโอกาสไปสัมผัสความสวยงามด้วยตาของตัวเอง โดยไม่มีจอทีวีกั้นกลาง ทำให้รู้ว่าของจริงสวยและยิ่งใหญ่กว่าในทีวีมากเหลือเกิน

i4hw01676s8i

          สิ่งแรกที่สัมผัสได้เมื่อขับรถเข้าไปยังเขตอุทยานฯ คือเราต้องขับรถขึ้นเขา เพราะปราสาทหินพนมรุ้งตั้งอยู่บนยอดเขาพนมรุ้ง ซึ่งเป็นภูเขาไฟที่ดับสนิทมากกว่า 9 แสนปีมาแล้ว (ทำให้รู้ว่าประเทศไทยเคยเป็นดินแดนภูเขาไฟด้วยนะ) 

ค่าเข้าชม >> ชาวไทย 20 บาท , ชาวต่างชาติ 100 บาท

เวลาเปิด-ปิด >> เปิดทุกวันตั้งแต่เวลา 07.00-18.00 น.

wvyxh1fpynej

          ก่อนเข้าชมด้านใน ขออ่านประวัติซักหน่อย จะได้เข้าใจมากยิ่งขึ้น หลังจากนั้นก็ซื้อผ่านประตูเข้าไปด้านในกันเลยจ้า (ควรแต่งกายให้เรียบร้อย ใส่กางเกงขายาวหรือกระโปรงคลุมเข่า เสื้อมีแขนนะคะทุกคน) แต่หากใครแต่งกายมาไม่พร้อมด้านหน้าทางเข้า ก็มีผ้านุ่งและผ้าคลุมไหล่ไว้คอยบริการด้วยค่ะ

9601fomlsdnf

          ถัดจากประตูทางเข้า มองไปก็จะเห็นบันไดขึ้นเนินไป เหมือนเป็นกำแพงกั้นไว้ จากจุดนี้ก็ยังมองไม่เห็นตัวปราสาท วันที่ไปนั้นฟ้าใสมาก

ujcwufrm0rbu

          เมื่อเดินมาถึงด้านบนสุดของบันได ภาพแรกที่เห็นถึงกับต้องร้องว้าว จากตรงนี้จะมองเห็นยอดปราสาทอยู่ไกลๆ ของเนินเขายอดถัดไป

p7tdhz5car0h

          ทางเดินไปสู่ปราสาทประธาน ทั้ง 2 ข้างกอบด้วยเสาจำนวนข้างละ 35 ต้น เรียกว่า "เสานางเรียง"

ze4udgcb7kuz

          ทางเดินจะทอดตัวตรงมายัง "สะพานนาคราช" เป็นพื้นยกสูงรูปทรงกากบาท ราวสะพานเป็นพญานาค 5 เศียร (ห้ามนั่งบนสะพานนาคราชนะคะ มาเที่ยวแล้วต้องปฏิบัติตามกฏและข้อห้ามด้วยความเคร่งครัด)

p81qolz97eqe
ifgwa9d4lpl5

          มองย้อนกลับไปด้านหลัง

hrtui1c167e6

          ถัดไปจะเป็นบันไดขึ้นไปสู่ตัวปราสาท มีบันไดทั้งหมด 52 ขั้น ทั้งสองข้างมีเสาหินเจาะรูด้านบน สันนิษฐานว่ามีไว้สำหรับปักธงหรือโคมไฟในงานพิธีกรรมต่างๆ

aoeyxwt6sxqu

         ทำไมเราถึงรู้ข้อมูลเยอะขนาดนี้ เรียนโบราณคดีมาหรือไง??? ตอบเลยว่าป่าวจ้า อ่านจากป้ายเอาทั้งนั้น 555 ทุกๆจุดที่เราเดินผ่าน จะมีป้ายบอกข้อมูลไว้แทบทุกจุดเลยค่ะ มาเที่ยวโบราณสถาน การอ่านป้ายข้อมูลที่ให้ความรู้เป็นสิ่งสำคัญนะ จะทำให้เราเข้าใจในสถานที่นั้นๆ เพิ่มมากขึ้น มากกว่าความสวยงามเพียงอย่างเดียว

xyahis8iy82a

        มองขึ้นไปเหมือนกำลังเดินขึ้นไปสู่สรวงสวรรค์

we490aunov9c

           ขึ้นมายังลานด้านบน ก็จะพบตัวปราสาท ตั้งตระหง่าน อย่างที่เคยเห็นผ่านตาตามสื่อต่างๆ สวยและยิ่งใหญ่สมคำร่ำรือจริงๆ

183200oskd4f

        มาถึงแล้วต้องถ่ายภาพเก็บไว้ซะหน่อย เดี๋ยวเพื่อนไม่เชื่อ ชาวบ้านหาว่าโม้ 555

7k1zqb4szcc9

          มีสระบัว 2 สระคู่ อยู่ด้านหน้าทางเข้าปราสาท 

vhzrneeymcs6
tpwvc78ijvv5

          "สะพานนาคราช ช่วงที่ 2" เป็นลานยกระดับมีแผนผังเป็นรูปกากบาท กลางลานสลักลายดอกบัว 8 กลีบ ราวสะพานเป็นพญานาค 5 เศียร แผ่พังพานออกไปทั้ง 4 ทิศ

yqh0h4k1x95m
8u4sycp9ssst

    ช่องหน้าต่าง ระเบียงคต คือทางเดินที่มีหลังคาคลุมสร้างล้อมรอบสิ่งก่อสร้างประธาน มักมีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยม

z0sqe72zesv6

       ซุ้มประตูทางเข้าหลัก ทางด้านทิศตะวันออก

htjvve4nsfsi

          ภาพสลักหน้าบันซุ้มประตูทางเข้าทิศตะวันออก ชื่อว่า "โยคะทักษิณามูรติ" หมายถึงพระศิวะในภาคของมหาโยคีผู้ยิ่งใหญ่ ถือประคำในพระหัตถ์ขวา ประทับนั่งลลิตาสนะ (ห้อยพระบาท) แวดล้อมด้วยบริวาร พระองค์สามารถรักษาโรคภัยไข้เจ็บได้ด้วยมนต์คาถา

yypsg5ho2zzo
qr02jkvudaci
kbmz4uioghck

        เดินผ่านระเบียงคตเข้ามาด้านในจะพบกับ "ปราสาทประธาน" เป็นสถาปัตยกรรมหลักที่สำคัญที่สุด มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 16-17 องค์ปราสาทประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วนคือ ส่วนฐาน ส่วนเรือนธาตุ และส่วนยอด

w2wgimpeumf9

ภาพมุมต่างๆ โดยรอบปราสาทประธาน

0jvnro7pdqj6
06e360mj6glq
tnop717usrol
8l7cyjdsef1n

         สะพานนาคราชชั้นที่ 3

5bkgfzlde8tg

         ซุ้มประตูทางเข้าปราสาทประธาน ด้านทิศตะวันออก ถัดจากระเบียงคต

3ps78ah33cij

          ภาพสลักหน้าบันชื่อ "ศิวนาฏราช" คือพระศิวะทรงฟ้อนรำ ซึ่งการฟ้อนรำของพระองค์เป็นการสร้างและทำลาย หากทรงฟ้อนรำด้วยจังหวะที่พอดี โลกจะมีแต่ความสงบสุข แต่หากทรงฟ้อนรำด้วยจังหวะที่ร้อนแรง โลกจะพบกับภัยพิบัติ

jv6ijunx64gs
r27l9njiwan8

          "ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธ์ุ" ตะแคงขวาเหนือพระยาอนันตนาคราช ซึ่งทอดตัวอยู่เหนือมังกรอีกต่อหนึ่ง ท่ามกลางเกษียรสมุทร

6i3c4myw757i

          "ปราสาทอิฐสองหลัง" สร้างขึ้นราวปลายพุทธศตวรรษที่ 15 มีเสาประดับกรอบประตูทำด้วยหินทราย ศิลปะแบบเขมร

nsapv7r52oil
nc8yuj91a31c

          ด้านในปราสาทมีรูปปั้น "โคนทิ" พาหนะของพระศิวะ ทำหน้าที่เป็นผู้เฝ้าประตูวิมานบนเขาไกรลาสด้านทิศตะวันออก และทำหน้าที่เป็นพาหนะเมื่อพระศิวะเสด็จออกภายนอก

ne41ikaadkxf

          "ปรางค์น้อย" สร้างขึ้นเนื่องในศาสนาฮินดู ราวพุทธศตวรรษที่ 16 มีประตูทางเข้าด้านทิศตะวันออก ส่วนยอดสันนิษฐานว่ายังสร้างไม่เสร็จ หน้าบันสลักภาพเล่าเรื่องพระกฤษณะยกภูเขาโควรรธนะ

gd4xspftphvh
8cnp3e0x2qxf

     กำแพงรอบปราสาทประธาน

v7fqbm6xfrzj
b6a5044o4lgb
psjnykqcoap8


การเดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัว

 สามารเลือกเดินทางได้ 2 เส้นทางออกจากตัวจังหวัดบุรีรัมย์ ดังนี้ (ข้อมูลจาก wikipidia)

  • เดินทางโดยใช้เส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 218 (บุรีรัมย์-นางรอง) เป็นระยะทางประมาณ 50 กิโลเมตร จากนั้นให้เลี้ยวซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 24 (สีคิ้ว-อุบลราชธานี) ไปจนถึงหมู่บ้านตะโก ประมาณ 14 กิโลเมตร แล้วจึงเลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 2117 ผ่านบ้านตาเป๊ก อำเภอเฉลิมพระเกียรติอีกประมาณ 12 กิโลเมตร ก็จะถึงอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง
  • เดินทางโดยใช้เส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 219 (บุรีรัมย์-ประโคนชัย) เป็นระยะทางประมาณ 44 กิโลเมตร ถึงตัวอำเภอประโคนชัย จะเห็นทางแยกที่จะไปอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง ซึ่งใช้เวลาเดินทางอีกประมาณ 21 กิโลเมตร โดยใช้ทางหลวงหมายเลข 2075 และเลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 2117 ก็จะถึงอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง

ทางอุทยานฯ ได้จัดทำเว็บไซต์จำลองการท่องเที่ยวแบบเสมือนจริง ดูได้จาก Link นี้

http://virtualhistoricalpark.f...

...ที่นี่ก็ดีนะ...

ความคิดเห็น