การไปป้อมอักราด้วยการนั่งริกซอว์อย่างมากก็แค่ลงเดินเพื่อลดน้ำหนักของริกซอว์ แต่การไปเบบี้ทัชที่อยู่อีกฟากหนึ่งของแม่น้ำยมุนา ไม่เพียงแค่ลงเดิน แต่ถึงขั้นผมต้องช่วยคุณลุงเข็นริกซอว์ขึ้นสะพานเหล็กอันสูงชันเพื่อข้ามแม่น้ำยมุนาอย่างทุลักทุเล

xddfbk6h8cb4

z5dx0t6zbv3c

vkqlp8lhadiy

ป้อมอักราว่าเสียค่าเข้าถูกมากๆแล้ว แต่สำหรับที่เบบี้ทัชนั้น พาสปอร์ตไทยยังแสดงอภิสิทธิ์ด้วยการเสียค่าเข้าที่ถูกมากขึ้นไปอีก จากปกติ 110 รูปี เหลือเพียง 5 รูปี !

cgky9gla051e

1xbpz7xxmajt

3n8yw8lr9pn9

เพราะค่าเข้าที่ถูกกว่าทัชมาฮาลถึง 100 เท่า เบบี้ทัช (Baby Taj) จึงมีขนาดเล็กจนเทียบไม่ได้เลยกับความยิ่งใหญ่ของทัชมาฮาล แต่ความเล็กนี้ก็เล็กแบบพริกขี้หนู เพราะเบบี้ทัชนั้นมากไปด้วยลวดลายอันเกิดจากการสลักและการฝั่งหินสีลงบนผนังหินอ่อนไปทุกกระเบียดนิ้ว

m2pe94o76hrv

4gvxilcstsuw

dod296mi82l2

เทคนิคการฝังหินสีบนเนื้อหินอ่อนนี้เองที่กษัตริย์ชาห์ จาฮันทรงนำมาใช้กับทัชมาฮาล จนอาจพูดได้ว่า เบบี้ทัชแห่งนี้เป็นต้นแบบของสิ่งมหัศจรรย์ระดับโลกนามว่า ทัชมาฮาล

pn0awurlsdgn

81lanzd97seu

qunqdcedi84l

ehvnhme0qx21

เพราะมีขนาดเล็ก จึงทำให้สุสานแห่งนี้มีชื่อเรียกว่าเบบี้ทัช แต่สำหรับชื่อจริงๆที่เรียกกันมาตั้งแต่อดีตคือ อิติมัด อุด ดุลลาห์ (Itimad – Ud – Daulah) โดยสร้างจากหินอ่อนด้วยรูปทรงสมมาตร มุมทั้ง 4 สร้างเป็น minarets หรือ หอสูง 12 เมตร แม้ภายนอกจะมีความงามมากเพียงใด แต่เมื่อเดินเข้าสู่ภายในก็จะพบกับสัจธรรมแห่งชีวิต นั่นคือ หีบศพบิดาของราชินีแห่งกษัตริย์จาฮันกิร์ ที่ตั้งอยู่ท่ามกลางบรรยากาศอันเงียบสงบ นี่เองที่เป็นแก่นสำคัญของการสร้าง และนั่นคือสิ่งสุดท้ายที่มนุษย์ทุกคนต้องเดินไปสู่ หลังจากผ่านพ้นเปลือกนอกของชีวิตที่ถูกแต่งแต้มด้วยสีสันที่ต่างกันไป

3gsiopx3lpqt

uawrrkcmj4df

ความคิดเห็น