สวัสดีครับ

เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ผมมีโอกาสได้ไปทำตามความฝันของตัวเองมาครับ

เป็นความฝันที่เกิดขึ้นมาประมาณ 1-2 ปีที่แล้ว ซึ่งเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่เกินตัวมากๆ

นั่นคือการได้ไปเดินเทรคบนภูเขาหิมาลัย เส้นทางที่สวยติดอันดับ 1 ใน 10 ของโลก

โดยเส้นทางนั้นมีชื่อว่า Annapurna Cicuit



จุดเริ่มต้นเลยคือ เมื่อประมาณ ปีสองปีก่อน ผมได้อ่านกระทู้รีวิวเกี่ยวกับการเดินเทรคในประเทศเนปาล ได้เห็นรูปภูเขาสูงๆ

ก็เริ่มมีความรู้สึกว่าอยากไปยืนอยู่ตรงจุดนั้นบ้างจัง อยากไปเที่ยวอะไรแบบนั้น ได้แบกเป้ ได้เดินเขา ได้เห็นยอดเขาสูงๆ

มันคงจะรู้สึกดีไม่ใช่น้อย



หลังจากนั้นก็เริ่มหาข้อมูลเกี่ยวกับเนปาลมาเรื่อยๆ

หลายครั้งที่เห็นค่าใช้จ่าย ซึ่งมันค่อนข้างสูง ก็เริ่มถอดใจ คงไม่มีโอกาสได้ไปแน่ๆ



จนอ่านมาเจอกระทู้นึง >> http://pantip.com/topic/30229669

ในกระทู้นั้นมีสมาชิกท่านนึง เคยไปเดิน Everest Base Camp มา ซึ่งหมดค่าใช้จ่ายไป 2 หมื่นกว่าๆเท่านั้น

อ่านจบผมนี่ตาลุกวาว อยากจะจองตั๋วไปซะเดี๋ยวนั้น



จนมาถึงช่วงต้นปีที่แล้ว ผมเกือบได้จองตั๋วไปอินเดีย ตามกระทู้ด้านบนแล้ว

แต่ติดอยู่อย่างเดียวคือเรื่องวีซ่า เนื่องจากผมอายุยังไม่ถึง 18 ปี

เวลาไปขอวีซ่า ต้องให้ผู้ปกครองไปเซ็นชื่อ ซึ่งท่านพ่อคงไม่ยอมไปทำให้แน่ๆ

ทำให้ทริปนั้นเป็นอันต้องล่มไป

จนเดือนเมษาปีที่แล้ว มีเหตุการณ์แผ่นดินไหวเกิดขึ้น

ซึ่งถ้าผมได้ไปเนปาลตอนนั้น ก็อาจจะได้อยู่ในเหตุการณ์นั้นแน่นอน

.

.

ธันวาคม 2558

หลังจากหาข้อมูลมานานนับปี จามเดิมที่ตั้งใจจะไป Everest Base Camp กลับเปลี่ยนมาเป็นเส้นทาง Annapurna Circuit แทน

เนื่องจากค่าใช้จ่ายถูกกว่าเยอะพอสมควร



อายุผมเพิ่มขึ้นมาเป็น 18 ปีบริบูรณ์

ผมสามารถไปขอวีซ่าอินเดีย และเนปาลด้วยตัวเองได้แล้ว

ประกอบกับช่วงนั้นมีโปรโมชั่นตั๋วเครื่องบินพอดี

ผมกดจองอย่างไม่ลังเล ได้ตั๋วไปเนปาลขาเดียวมา 4000 กว่าบาท

ส่วนขากลับ ผมเลือกบินกลับจากอินเดีย ซึ่งจะได้แวะเที่ยวอินเดียก่อนกลับไทย

.

.

หลังจากนั้นผมก็วางแผน และหาข้อมูลให้ได้มากที่สุด

ไปทำวีซ่าอินเดีย และเตรียมความพร้อมก่อนเดินทาง



กระทู้นี่ค่อนข้างยาว ผมเขียนอาจจะวกไปวนมา ใครขี้เกียจอ่าน ดูรูปเฉยๆก็ได้นะครับ 555


อันนี้เป็นแผนที่คร่าวๆของเส้นทาง Annapurna Circuit


ซึ่งถ้าเดินครบรอบจริงๆ จะใช้เวลานานกว่า 18-22 วันระยะทางกว่า 200 กิโลเมตร

แต่ผมเดินไปถึงแค่ Jomsom ใช้เวลาแค่ 13 วัน ระยะทางแค่ 100 กว่ากิโล และนั่งรถลงมาครับ


จุดสีน้ำเงินคือหมู่บ้านต่างๆ ส่วนจุดสีแดงคือหมู่บ้านที่ผมแวะพัก


จาก Besisahar จะมีแชร์จี๊ปขึ้นไปด้านบนครับ ซึ่งไม่แน่ใจว่าขึ้นไปถึงหมู่บ้านไหน

แต่ผมคิดว่าน่าจะถึงหมู่บ้าน Chame ครับ ส่วนราคาก็ไม่แน่ใจเช่นกัน

อาจจะอยู่ที่หลายหลายพันรูปีครับ ยิ่งไกล ก็ยิ่งแพง


ส่วนจาก Muktinath จะมีรถบัสไปที่ Jomsom ราคา 800-900 รูปี

และจาก Jomsom สามารถบินกลับมาที่ Pokhara ได้ครับ

หรือไม่ก็นั่งบัสไปที่ Beni ราคา 1400 รูปี

และต่อรถที่ Beni กลับ Pokhara ราคา 205 รูปี



แผนการเดินทาง

อันนี้คือที่ใช้งานจริง ซึ่งผิดจากแผนที่ตั้งใจไว้ไปเยอะมากๆ

ผมไปวันที่ 21 มีนาคม 2559 และกลับถึงบ้านวันที่ 7 พฤษภาคม 2559 ครับ

รวมทั้งหมด 48 วัน


ตอนแรกตั้งใจจะอยู่เนปาลเกือบเดือน กลายเป็นว่าเดินเทรค และลงมาเร็วกว่าที่คิด

เลยตัดสินใจเดินทางไปอินเดีย และอยู่อินเดียต่ออีกเกือบเดือนเลย

Day 1 Bangkok - Kuala Lumpur - Kathmandu

Day 2 เที่ยวรอบๆทาเมล เทศกาล Holi Festival

Day 3 Kathmandu

Day 4 Kathmandu - Besisahar (820 m) - Ngadi (890 m)

Day 5 Ngadi (890 m) - Jagat (1300 m)

Day 6 Jagat (1300 m) - Dharapani (1900 m)

Day 7 Dharapani (1900 m) - Chame (2700 m)

Day 8 Chame (2700 m) - Lower Pisang (3220 m)

Day 9 Lower Pisang (3220 m) - Bhraga (3475 m)

Day 10 rest day in Manang (3540 m)

Day 11 Manang (3540 m) ไป Shree Kharka (4060 m)

Day 12 Shree Kharka (4060 m) - Tilicho Base Camp (4140 m) to Tilicho Lake (49xx m)

Day 13 Tilicho Base Camp (4140 m) - Ledar (4220 m )

Day 14 Ledar (4220 m ) to High Camp (4870 m)

Day 15 Hight Camp (4870 m) - Thorung La Pass (5416 m) - Muktinath (3670 m)

Day 16 Muktinath (3670 m) to Jomsom (2740 m)

Day 17 Jomsom (2740 m) to Pokhara (820 m)

Day 18 Pokhara

Day 19 Pokhara to Gorakhpur - New Dehli

Day 20 - 48 Indiaค่าใช้จ่าย


ค่าใช้จ่าย

ทริปนี้ 48 วัน อยู่เนปาล 18 วัน และอินเดีย 1 เดือนเต็ม ใช้เงินไปประมาณ 31000 บาทครับ

รวมทุกสิ่งอย่าง ทั้งตั๋วเครื่องบิน โรงแรม อาหาร ที่พัก ค่ารถ ค่าเดินทาง ค่าประกัน และวีซ่า

แถมได้ถุงนอน -10 องศา มาอีก 1 ใบ


แน่นอนว่ามันถูกมากๆๆ เป็นทริปที่คุ้มค่ามากจริงๆ

แต่ต้องบอกก่อนว่า ทริปนี้ค่อนข้างประหยัดมากๆครับ เงินทุกบาททุกสตางค์ที่ใช้ออกไป

ผมคิดแล้วคิดอีก จะซื้อเฉพาะของที่จำเป็นจริงๆ และถูกจริงๆเท่านั้น

ซึ่งไม่ค่อยแนะนำเท่าไหร่ ถ้าไปเที่ยว เตรียมเงินไปเยอะๆ เที่ยวให้สนุกดีกว่าครับ


การเดินเทรคในครั้งนี้ ผมไม่ได้จ้างลูกหาบและคนนำทาง

ทั้งยังแบกอาหารจากไทยไปอีกด้วย ทำให้เซฟค่าใช้จ่ายตรงส่วนนี้ไปได้เยอะพอสมควร


ตั๋วเครื่องบิน

Bangkok - Kuala Lumpur 870 บาท (Lion Air)

Kuala Lumpur - Kathmandu 2768 + กระเป๋า 878 = 3646 บาท (Airasia X)

Kolkata - Bangkok 2689 บาท (Indigo)

รวมค่าตั๋วเครื่องบินไปเนปาล กลับทางอินเดีย 7,205 บาท


แลกเงินอินเดีย 8000 บาท = 14900 รูปีอินเดีย

แลกเงินเนปาล 320 USD = 33720 รูปีเนปาล

- วีซ่าเนปาล 30 วัน 40 USD


สุดท้ายเหลือเงินเนปาลกลับบ้าน 8000 รูปี ส่วนเงินอินเดีย เกลี้ยงครับ 5555


ก่อนเดินทาง 1 วัน..


ผมขับรถไปแลกเงิน ซื้อของกิน และขนมมากมาย โดยต้องเลือกของกินที่เบา

และเก็บได้นานที่สุด ซึ่งจะเป็นพวกโจ๊กซอง อาหารซองโรซ่า หมูหยอง ไข่เค็ม ไข่เยี่ยวม้า

และช็อคโกแลตสำหรับเพิ่มพลังงาน


หลังจากแพ็คของทั้งหมดลงกระเป๋า และลองสะพายดู


สัมผัสแรก โอ้โห หนักชิบ...เลยย

ผมเอาไปทั้งหมด 2 กระเป๋า ใบใหญ่ใส่พวกเสื้อผ้า ของกิน และอุปกรณ์ต่างๆ

อีกใบเป็นใบเล็ก ใส่พวกโน๊ตบุ้ค อุปกรณ์ชาร์จต่างๆ

รวมๆแล้ว 2 กระเป๋า หนักประมาณ 23 กิโลกรัม !

21/3/59


ผมนั่งเครื่องบินจากสนามบินดอนเมืองแต่เช้า ใช้เวลาไม่นานก็ถึงสนามบินกัวลาลัมเปอร์

นั่งรอต่อเครื่องประมาณ 5 ชั่วโมง ก็ได้เวลาขึ้นเครื่องบินอีกครั้ง

คราวนี้เราจะมุ่งหน้าสู่สนามบินตรีภูวัน ประเทศเนปาล กับเที่ยวบิน D7 196 ของสารการบิน Airasia X


บนเครื่องเต็มไปด้วยชาวเนปาล ผมได้ที่นั่งริมหน้าต่าง

แต่พอนั่งไปได้สักพัก กลิ่นตัวแขกคนข้างๆเริ่มโชยมา

.

จังหวะนั้น สายตาเหลือบไปเห็นที่นั่งว่างข้างหน้า จึ่งรีบชิ่งออกมาโดยพลัน

โอ้ยย ใครเล่า จะทนไหว


กว่าจะมาถึงเนปาล เวลาก็ล่วงเลยมาถึงประมาณเกือบๆ 2 ทุ่ม

เป็นอะไรที่ตื่นเต้นมากจริงๆครับ เนปาลเป็นประเทศที่ใฝ่ฝันมานาน วันนี้ได้มาเหยียบจริงๆแล้ว

ในสนามบินคนเยอะมากกก ผมยืนรอทำวีซ่านานกว่า 1 ชั่วโมง


เท่านั้นยังไม่พอ ต้องไปยืนรอรับกระเป๋าอีก 1 ชั่วโมง นานมากจริ

ชาวเนปาลขนอะไรกันมาเต็มไปหมด ทั้งทีวี เสื้อผ้า ของใช้ต่างๆมากมาย

กว่าจะได้ออกจากสนามบินก็ 4 ทุ่มกว่าๆ


ต่อแท็กซี่ไปที่พักย่านทาเมล ได้มาในราคา 600 รูปี


ระหว่างทาง ตาลุงเพื่อนคนขับบอกว่าตัวเองเป็นไกด์ ก็ถามนู่นถามนี่

ผมบอกว่าจะไปเทรค Annapurna Circuit คนเดียว

ตาลุงก็ตกใจ บอกว่าไปคนเดียวไม่ได้หรอก มันอันตรายมากๆนะหนู

อย่างน้อยก็ต้องมีเพื่อนร่วมทาง เผื่อเป็นอะไรขึ้นมา บลาๆๆ


ผมก็ได้แต่นั่งฟังตาปริบๆ ในใจเริ่มกังวล เราจะรอดมั้ยล่ะนี่


สุดท้ายถึงที่พัก ตาลุงพาไปส่งถึงที่ ใจดีสุดๆ แถมให้นามบัตร บอกมีอะไรก็ติดต่อมานะ


ถึงที่พักก็อาบน้ำ และนอนหลับไปด้วยความหิว


3 คืนแรก ผมพักที่ Hotel Silver Home อยู่ในทาเมล ราคาคืนละ 300 รูปี (100 บาท)

เป็นห้องรวมแบบ Dorm ในห้องไม่มีแอร์ ไม่มีพัดลม ไม่มีอะไรเลย มีแค่เตียงให้นอนเท่านั้น

ยังดีที่อากาศตอนกลางคืนค่อนข้างเย็น ทำให้นอนหลับสบาย ไม่มีปัญหาอะไร

ส่วนไวไฟก็พอใช้ได้ แต่กลางวันนี่ไฟดับอยู่บ่อยๆ คาดว่าน่าจะดับกันทั้งเมือง



22/3/59


วันนี้ตรงกับเทศกาลแห่งสีสัน หรือเทศกาลโฮลีนั่นเอง ซึ่งผมเก็เพิ่งได้รู้จากตาลุงเพื่อนคนขับแท็กซี่เมื่อคืน

บ้านเรือน และร้านค้าปิดเงียบ ทุกคนต่างออกมาเฉลิมฉลอง

สายๆหน่อยคนเริ่มเยอะขึ้นเรื่อยๆ ตามตรอกซอยซอยนี่วัยรุ่นเต็มไปหมด



ตอนแรกผมกะจะไม่เล่น เพราะกลัวเลอะ แต่คิดไปคิดมา ลองดูสักครั้งดีกว่า นานๆจะจัดสักทีนึง

สุดท้ายเลยกลับมาเปลี่ยนชุดที่ห้องพัก และออกไปร่วมเฉลิมฉลองกับชาวเนปาล


ผมเดินไปตามถนน ถ่ายรูปเล่นไปเรื่อยๆ ชิวๆ

ชาวเนปาลที่เดินผ่านก็จะเอาผงสีมาป้ายที่หน้าเป็นระยะๆ


ผงสีแบบนี้หาซื้อได้ทุกมุมถนน ราคาไม่แพง 5 รูปี 10 รูปี ก็ขายจ้า


แอบถ่ายสาวๆเนปาล อิอิ

หนุ่มๆก็ไม่เว้น

คนเยอะมากจริงๆ ปิดถนนเล่นกันทุกมุมเมือง



ผมเดินเที่ยว ถ่ายรูปเล่นจนเย็น หลังจากนั้นก็กลับไปอาบน้ำที่ห้องพัก


ผงสีที่เลอะตามตัว และเสื้อผ้า ก็ล้างออกง่ายๆสบายๆ ไม่ได้ติดแน่นหนึบอะไรมากมาย


ช่วงเย็นก็ออกมาเดินเล่น ดูร้านค้าไปเรื่อย

จำได้ว่าในพันทิป มีคนบอกว่า ถ้ามาเนปาล ต้องกินโมโม่ให้ได้

ผมเลยเดินหา จนไปเจอร้านอาหาร สั่ง Buff Momo มา 1 จาน นมอีก 1 แก้ว ราคา 260 รูปี

Buff Momo คือเกี๊ยวซ่าเนื้อควาย รสชาติแรกๆก็อร่อย แต่หลังๆเลี่ยนมาก

ผมฝืนกินจนหมด จุกสุดๆ ก่อนจะกลับที่พัก


23/3/59


เช้าๆ ผมออกมาเดินเล่นแถวๆที่พัก ตามถนนเต็มไปด้วยฝุ่น


ด้วยความบ้า เลยลองตัดผมที่เนปาลดู


ซึ่งตอนแรกๆ ใช้ปัตตาเลี่ยนไร้สายตัด แต่ไถไปไถมา ก็ไถไม่เข้าสักที

สุดท้าย เลยใช้กรรไกรตัดแทน ผมนี่นั่งลุ้นสุดๆ


ตัดเสร็จ ได้ทรงอะไรก็ไม่รู้

แต่ก็ต้องทำใจ จ่ายตังไป 200 รูปี


ช่วงเช้า ผมวางแผนไว้ว่าจะไปทำ Permit สำหรับการเทรค


โดยสำหรับเส้นทาง Annapurna ต้องทำ Tims Card และ ACAP Permit


ผมหาในแผนที่ พบว่ามี TIMS Counter อยู่ในย่าน Thamel ไม่ไกลจากที่พัก

แต่พอลองไปติดต่อดู เจ้าที่หน้ากลับบอกให้ไปทำอีกที่นึง ซึ่งตอนนั้นก็งงๆ ไม่รู้จะไปยังไงดี



บังเอิญจังหวะนั้น มีชาวเนปาล กำลังจะไปที่นั่นเช่นกัน เลยให้ติดรถมอเตอร์ไซค์ไปด้วย ใจดีสุดๆ


สรุปต้องไปทำที่ Nepal Tourism Board ตามรูป



ใช้เวลาทำ Permit ประมาณ 1 ชั่วโมง กรอกนู่นกรอกนี่ มากมาย

ใช้รูปถ่าย 2 รูป ขนาดไหนผมก็ไม่แน่ใจ ผมเอาขนาดใหญ่ไป สุดท้ายก็ตัดทิ้งเหลือแต่หน้า 55555

ค่าทำ Tims Card และ ACAP Permit อย่างละ 2000 รูปี รวมทั้งหมด 4000 รูปี

หรือถ้าไม่สะดวกมาทำเอง ก็หาพวกเอเจ้นท์ ในทาเมลทำให้ก็ได้ครับ


ขากลับที่พัก ผมเดินกลับ ระยะทางประมาณเกือบๆ 2 กิโลเมตร ก็เดินชมเมืองไปเรื่อยๆ

ผ่าน ร้านรับเย็บผ้ากลางแจ้ง


ร้านขายนาฬิกา


ร้านน้ำผลไม้ ผมจัดไป 1 แก้ว บอกเลยว่า..ท้องเสียหนักมากกก


ช่วงบ่ายผมมานั่งคิด ว่ายังขาดอุปกรณ์อะไรรึเปล่า


นึกขึ้นได้ว่าถุงนอนที่เตรียมมา มันน่าจะกันหนาวได้ไม่มาก เพราะแค่ดอยเมืองไทยยังเอาไม่อยู่เลย


จากนั้นเลยเดินตระเวนถามราคาถุงนอนตามร้านค้าต่างๆ ถามเป็นสิบร้าน มีราคาตั้งแต่ 1000 รูปี ไปจนถึงหลักหมื่นรูปี

สุดท้ายมาจบที่ร้านหน้าปากซอยทางเข้าที่พัก เป็นถุงนอนขนเป็ด ที่ป้ายเขียนว่าได้ถึง -10 องศา

น้ำหนักประมาณ โลนิดๆ ถือว่าไม่หนักมาก พับเก็บแล้วเล็กใช้ได้ พกพาสะดวก ต่อราคาได้มาในราคา 4000 รูปี จาก 6000 รูปี


และได้กระติกน้ำ Nalgene 1 ลิตร มาอีกใบ ราคา 100 กว่าบาท เอาไว้ใส่น้ำร้อน


จากนั้นค่ำๆ ก็ออกมาเดินเล่นอีกรอบ ซื้อแผนที่ Annapurna Circuit มา 1 เล่ม ราคา 300 รูปี


ซึ่งใครจะไปเทรค แนะนำให้ซื้อครับ ได้ใช้งานแน่นอน

ในนั้นจะบอกละเอียด ทั้งเส้นทาง หมู่บ้านที่ต้องเดินผ่าน ความสูง และอื่นๆอีกมากมาย



24/3/59


ผมเช็คเอาท์ออกจากที่พักแต่เช้าตรู่ เดินหาแท็กซี่ให้ไปส่ง New Bus Park

แต่ละคันเสนอมา 500 รูปีบ้าง 400 รูปีบ้าง แต่ก็ปฏิเสธไปทุกคัน


สุดท้ายเดินไปเจอคันนึง ต่อได้เหลือ 200 รูปี เอ้า ไปก็ไป

บอกคนขับว่าจะไปท่ารถที่ไป Besisahar คนขับพาไปส่งริมถนน ใกล้ๆ New Bus Park ตามรูปครับ


รถไป Besisahar เป็นรถตู้ ราคา 525 รูปี


รอจนคนเต็มรถ ก็ได้เวลาออกเดินทาง


ออกมาจากเมือง รถก็ขับลัดเลาะไปตามภูเขา ถนนมีเพียง 2 เลนเท่านั้น

และสภาพถนนก็ไม่ค่อยดีเท่าไหร่ นั่งไป หัวก็สั่นดุ๊กดิ๊กตลอดทาง เวียนหัวสุดๆ


บางทีหลับๆอยู่ หัวก็ไปกระแทกกระจก ดังโป๊กอยู่บ่อยๆ

กระแทกอยู่หลายรอบ จนรู้สึกเซงเลยทีเดียว ง่วงก็ง่วง เจ็บก็เจ็บ เห้อออ



ใช้เวลาเกือบๆ 6 ชั่วโมง รวมแวะพักข้างทางประมาณ 3 รอบ ในที่สุดก็มาถึงเมือง Besisahar


ซึ่งเป็นเมืองเริ่มต้นสำหรับเทรคบนเส้นทาง Annapurna Circuit


มาถึง Besisahar อันดับแรกเราต้องไปที่จุด Check Post เพื่อลงทะเบียนก่อนครับ ว่าเราจะเริ่มเดินเส้นทางนี้แล้วนะ

เจ้าหน้าที่ก็จะเขียนชื่อ และข้อมูลเราลงไปในสมุดบันทึก ใช้เวลาแปปเดียวก็เสร็จ


หลังจากลงชื่อที่จุด Check Post เรียบร้อย ก็รู้สึกหิวมากๆ เพราะตั้งแต่เช้ายังไม่ได้ทานอะไรเลย

เลยสั่งผัดหมี่ในร้านอาหารใกล้ๆกัน ราคา 100 รูปี ได้เยอะมากๆ เลยแบ่งครึ่งเก็บใส่กล่องไว้กินเป็นมื้อเย็น


จาก Besisahar เราสามารถแชร์รถจี๊ปกับนั่งท่องเที่ยวคนอื่นๆ เพื่อนั่งไปยังหมู่บ้านที่อยู่สูงขึ้นไปได้


ราคาก็จะตามระยะทาง แน่นอนว่า ยิ่งไกลยิ่งแพง ยิ่งสูงยิ่งหนาว เอ๊ย ไม่เกี่ยว


สำหรับคนงกๆ จนๆ แบบผม แน่นนอนว่าไม่นั่งจี๊ฟ แต่เลือกที่จะเดินแทน


ตอนแรกผมกะจะเอากระเป๋าฝากไว้ที่กาฐมาณฑุก่อน แต่ก็ขี้เกียจย้อนกลับไปเอาตอนเดินเสร็จ

เลยเลือกที่จะแบกมาทั้งหมดเลย

และนี่คือสภาพก่อนเริ่มเดิน แค่สะพายกระเป๋าตอนนั้นก็เซจนแทบล้มแล้ว หนักมากจริงๆ คาดว่าหนักประมาณ 20 กว่าโลนิดๆ

ที่เห็นในถุงโลตัสนั้นคือขนมปังครับ ผมซื้อมา 2 แถวใหญ่ๆ

เอาไว้ทาช็อคโกแลตกินระหว่างทาง ฮ่าๆๆ



ทางเดินจะเป็นทางดินลูกรัง ผ่านหมู่บ้านต่างๆ เวลารถวิ่งผ่าน ฝุ่นนี่ก็ฝุ้งกระจาย

เริ่มแรกก็มีผมเดินอยู่เพียงคนเดียว นั่งท่องเที่ยวส่วนใหญ่จะแชร์จี๊ปล่วงหน้ากันไปหมดแล้ว


ช่วงแรกทางไม่ได้ยากมาก แต่น้ำหนักของกระเป๋าที่ผมแบกมา ทำให้เหนื่อย และต้องใช้พละกำลังมากกว่าปกติ



เหนื่อยนัก ก็พักสักหน่อย



จากจุดเริ่มต้นที่ Besisahar ใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมง


ผมก็มาถึงหมู่บ้าน Bhulbhule ระยะทางรวมประมาณ 9 กิโลเมตร เริ่มหมดแรง

เจอชาวบ้านบอกที่พักราคา 100 รูปี แต่คิดว่ายังมีเวลาเหลือ เลยเดินต่อไปเรื่อยๆ


จริงๆแทบจะหมดแรงอยู่แล้ว แต่ใจมันสั่งให้เดินต่อไป

เจอป้าย Ngadi ใช้เวลา 1 ชั่วโมง เลยกัดฟันเดินต่อ



เดินต่อไปได้ประมาณ 1 กิโลเมตร เจอรถบัสกำลังขับตามหลังมา


โอ้ย เดินไม่ไหวแล้ววว ! เลยลองโบกดู

สุดท้ายเลยได้นั่งรถบัสไปหมู่บ้าน Ngadi กับระยะทางที่เหลืออีกประมาณ 2 กิโลเมตร

ราคา 50 รูปี


รถบัสพามาส่งที่ Guest House แห่งหนึ่ง ณ หมู่บ้าน Ngadi


ลองถามราคาห้องพัก เจ้าของบอกมาว่า 450 ปี ก็ยืนอึ้งไปนิดๆ หมู่บ้านที่ผ่านมาแค่ 100 รูปีเอง

หลังจากทำหน้าเซ็งๆ เจ้าของที่พักเลยถามว่าต้องการเท่าไร ผมบอกไปว่า 100 รูปี

เจ้าของก็บอกโอเค จึงเข้าไปเก็บของ พักผ่อนทันที

ในห้องมีไฟให้ใช้ มีรูให้เสียบชาร์จแบต แต่เสียอย่างเดียว ไม่มีไวไฟ


มื้อเย็น ผมไม่ได้สั่งอาหารจากที่พัก เพราะสู้ราคาไม่ไหว ข้าวจานนึง 100 กว่าบาท


เลยทานผัดหมี่ที่เหลือจากเมื่อตอนกลางวัน และขอน้ำร้อนจากเจ้าของที่พัก

มาชงเนสวีต้ากินกับขนมปังทาช็อคโกแลต


ท้องฟ้าเริ่มมืดลงเรื่อยๆ ความหนาวและความเหงาเริ่มเข้ามาแทนที่

แค่วันแรกก็รู้สึกล้าไปทั้งตัว โดยเฉพาะบริเวณไหล่ ที่ต้องแบกรับน้ำหนักหลายชั่วโมง

เวลา 2 ทุ่ม 15 นาที อุณภูมิลดลงไปเหลือประมาณ 20 องศา

ผมเผลอหลับไปด้วยความอ่อนเพลีย ภายใต้ถุงนอนที่ให้ความอบอุ่นได้อย่างดี



สรุปเส้นทางวันแรก


ระยะทางรวมจาก Besisahar ถึง Ngadi ประมาณ 13 กิโลเมตร

Besisahar (820 m) > Behulbhule (840 m) > Ngadi (890 m)


ทางเดินไม่ยากมาก เดินไปตามถนนเรื่อย

เริ่มเดินจาก Besisahar เวลา 13.30 น. ถึง Ngadi 17.10 น. รวมนั่งรถ 2 กิโลเมตรสุดท้าย



25/3/59

ผมตื่นขึ้นมาตอนประมาณ 6 โมงกว่าๆ นานแล้วที่ไม่ได้นอนเต็มอิ่มขนาดนี้

อากาศตอนเช้าที่นี่ดีมากๆ ไม่หนาวไม่ร้อนจนเกินไป


มื้อเช้าตอนแรกจะสั่งแค่น้ำร้อนมาชงโจ๊กซอง

แต่เจ้าของที่พักบอกว่าต้องสั่งอาหารด้วย ไม่งั้นจะคิดค่าห้องพัก 450 รูปี

ก็เลยสั่งข้าวเปล่ามา 1 จาน 200 รูปี เก็บใส่กล่อง ไว้ทานตอนมื้อกลางวัน


ผมทานโจ๊กซองกับหมูหยอง นมร้อน 1 แก้ว และขนมปังทาช็อกโกแลตจนอิ่ม

ก่อนจะเก็บของออกจากที่พักเดินต่อ ตอนประมาณ 7.30 น.


จาก Besisahar สามารถนั่งรถบัสแบบในรูปมาที่ Ngadi ได้ครับ

ราคา 250 รูปี กับระยะทางประมาณ 13 กิโลเมตร



ออกจากหมู่บ้าน Ngadi ค่อยๆเดินไปตามถนน ขึ้นเนินไปเรื่อยๆ


เช้าๆอากาศดีครับ แดดยังไม่ร้อนมาก


เดินลัดเลาะไปตามเขา ขึ้นมาๆเรื่อยๆ ผ่านหมู่บ้าน Bahundanda ที่ความสูง 1300 เมตร


ความเหนื่อยเริ่มถามหา เหงื่อเริ่มไหล จนร่างกายเปียกชุ่ม


ระหว่างทาง ผมดันเป็นตะคริวซะงั้น


ตอนนั้นรู้สึกท้อแท้ คิดถึงบ้านสุดๆ กระเป๋าก็หนัก ชั้นมาทำอะไรคนเดียวกลางป่าวะเนี่ย


นั่งอยู่สักพัก จนตะคริวหาย ก็ฮึดสู้ เดินต่อไป ฮาาา


เดินลงเขาต่อ มาจนถึงหมู่บ้าน Ghermu ที่ความสูง 1130 เมตร


เป็นเวลาเที่ยงพอดี เลยแวะพักกินข้าวกลางวัน


นั่งกินกะเพราไก่โรซ่า กับข้าวเปล่าที่ซื้อมาเมื่อเช้า อยู่หน้าบ้านใครก็ไม่รู้

ถึงจะไม่ค่อยอร่อย แต่ก็ต้องกินเพื่อเพิ่มพลัง


กินเสร็จก็ได้เวลาออกเดินทางต่อ

จาก Ghermu เดินลงมาไม่นาน ก็จะเจอสะพานแขวนข้ามไปยังหมู่บ้าน Syange


และจากหมู่บ้าน Syange เราต้องเดินต่อไปอีกประมาณ 3 กิโลเมตร ก็จะถึง Jagat


ระยะทางดูเหมือนจะไม่ไกล แต่เหนื่อยสุดๆครับ

เป็นทางเดินขึ้นและก็ขึ้นอย่างเดียว


ผมค่อยๆกระดึ๊บไปเรื่อยๆ ฝรั่งขายาวๆก็เดินแซงกันไปหมด


ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง 40 นาที จาก Syange ในที่สุดก็มาถึง Jagat ที่ความสูง 1300 เมตร


ที่พักวันนี้ราคา 100 รูปี มีไวไฟให้ใช้ ในห้องมีปลั๊กไฟให้เสียบชาร์จ และมีน้ำอุ่นให้อาบ

ผมจำชื่อไม่ได้ แต่กำแพงสีแดงๆส้มๆในรูปนั่นแหละครับ


ส่วนมื้อเย็นวันนี้ ทานผัดกะเพราที่เหลือจากเมื่อตอนกลางวัน กับไข่เยียวม้า และขนมปังทาช็อคโกแลต


ยังคงอดใจไม่ซื้ออาหารจากที่พักได้อยู่ ฮ่าๆ


ยิ่งมืด อากาศยิ่งหนาวขึ้นเรื่อยๆ ผมส่งข่าวให้ที่บ้าน ว่ายังอยู่รอดปลอดภัย

นั่งเล่น นอนเล่น ก่อนจะหลับไปด้วยความเพลีย


สรุปเส้นทางวันที่ 2

Ngadi - Jagat ระยะทางประมาณ 12 กิโลเมตร

Ngadi (890 m) > Bahundanda (1310 m) > Syange (1090 m) > Jagat (1300 m)

เส้นทางลัดเลาะไปตามเขา ไม่ยากมาก



เริ่มเดือนจาก Ngadi 7.30 น. ถึง Jagat เวลา 14.45 น.



26/3/59

ผมลืมตื่นขึ้นมาตอน 6 โมงกว่าๆ เหมือนเช่นเคย

อากาศตอนเช้าดีมากก หนาวจนแทบไม่อยากลุกออกจากถุงนอนเลยล่ะ

มื้อเช้ายังคงเป็นอาหารง่ายๆ โจ๊กซองกับไข่เค็ม และเนสวีต้ากับขนมปัง


ทานเสร็จก็เก็บของ ได้เวลาออกเดินทางต่อ

จ่ายค่าที่พัก 100 รูปี และน้ำร้อนอีก 100 รูปี โอ้มายก้อด ประหยัดสุดๆ


เดินผ่านที่พักมากมาย นั่งท่องเที่ยวบางกลุ่มก็ออกเดินกันสายๆหน่อย ประมาณ 8-9 โมง



ผ่านร้านขายของชำในหมู่บ้าน ซึ่งราคาของอาจจะบวกเพิ่มขึ้นมาจากปกติครับ



เส้นทางช่วงแรกลัดเลาะไปตามเขา บริเวณทางขวาจะเป็นแม่น้ำที่ไหลลงสู่ข้างล่าง


เดินไป ฟังเสียงน้ำไหลไป ชิวๆ สบายๆ แต่กระเป๋าบนหลังนี่ไม่สบายเอาซะเลย


จาก Jagat ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง ก็จะมาถึงหมู่บ้าน Chamche ที่ความสูง 1385 เมตร

ตอนแรกเดินชิวๆ ตอนถึงหมู่บ้านนี่หอบแห่กๆๆ ต้องหาที่นั่งพัก ฮ่าา


เจอเด็กๆชาวเขา น่าร้ากก


ที่ Chamche จะมีทางแยกเป็น 2 ทาง ถ้าเลี้ยวขวาไปตามป้าย จะเป็นเส้นทางสำหรับเดินเทรค


ส่วนถ้าเดินตรงไปทางซ้าย จะเป็นทางสำหรับรถยนต์ อันนี้ก็แล้วแต่ชอบครับ ในแผนที่จะมีบอกเหมือนกัน


ผมเลือกเดินไปตามป้าย เป็นทางลงมาด้านล่างที่แม่น้ำ และต้องข้ามสะพานไปอีกฝั่ง



ก่อนข้ามสะพาน ผมเดินหลบฝูงแพะ แล้วดันไปสัมผัสใบต้นอะไรสักอย่าง ซึ่งมีหนามเล็กๆเต็มใบ

โดนที แสบและคันมากๆครับ ต้องฝืนเดินข้ามสะพานไป

พอข้ามไปถึงอีกฝั่ง ดันไปโดนที่ขาขวาอีกรอบ ทำเอาเซ็งสุดๆ ต้องนั่งพักอยู่หลายนาที กว่าจะหายแสบ หายคัน


มองย้อนกลับไปอีกฝั่ง



ข้ามสะพานมา ก็จะเป็นทางขึ้นเขาไปเรื่อยๆ ขึ้นแล้วก็ขึ้น เหนื่อยสุดๆ ต้องหยุดพักเป็นระยะๆ



มองลงไปด้านล่างเป็นแม่น้ำ ที่เราพึ่งเดินขึ้นมา


สูงเหมือนกันนะเนี่ยย



เดินขึ้นมาเรื่อยๆ ในที่สุดก็มาถึงหมู่บ้าน Tal ที่ความสูง 1700 เมตร


ผมใช้เวลา 3 ชั่วโมง จาก Chamche


เจอป้ายบอกระยะเวลาในการเดิน ก่อนเข้าหมู่บ้าน



หมู่บ้าน Tal เป็นหมู่บ้านแรก ที่ผมเจอ Safe Drinking Water ซึ่งเป็นสถานที่สำหรับเติมน้ำดื่มสะอาด ที่ผ่านการกรองแล้ว

ราคาลิตรละ 40 รูปี ผมเติมไป 2 ลิตร ใส่ถุงน้ำในกระเป๋า เพราะน้ำหมดพอดี


ก่อนหน้านี้ผมกรอกน้ำจากก๊อกกินตลอด สะอาดรึเปล่าก็ไม่รู้ 55555


ตอนแรกผมกะจะแวะพักทานอาหารที่หมู่บ้าน Tal แต่คิดไปคิดมา รู้สึกเสียดายเงิน


เลยเดินต่อไปเรื่อยๆ

เดินไปได้ไม่นาน รู้สึกหิว ไม่ไหวแล้ว เลยต้องนั่งพัก เอาขนมปังทาช็อคโกแลตมากินประทังชีวิต

(มองย้อนกลับไป รู้สึกว่าตัวเองจะงกอะไรขนาดน้านน 5555 )



กินเสร็จก็ออกเดินทางต่อ วิวสองข้างทางเริ่มสวยขึ้นเรื่อยๆ

ตรงกลางเป็นแม่น้ำที่ไหลลงสู่ด้านล่าง ส่วนอีกฝั่งเป็นทางสำหรับรถยนต์


มองย้อนกลับไปด้านหลัง



เดินลัดเลาะริมเขามาเรื่อยๆ ก็ต้องข้ามสะพานแขวนไปอีกฝั่ง กลับไปเดินบนเส้นทางรถยนต์



เดินมาสักพักก็เจอฝูงแกะที่เจอมื่อเช้า ตามมาเร็วจริงๆ


เจ้าของแกะบอกให้เดินไปด้วยกัน



หลังจากข้ามสะพานแขวนมา ก็จะเป็นทางขึ้นเขา ขึ้นแล้วก็ขึ้น


ผมได้แต่เดินตามฝูงแกะไปต้อยๆ เหนื่อยเอาเรื่องเลยทีเดียว



ตอนหลังรู้สึกว่าแกะมันเดินช้าเกินไป มัวแต่ไต่ลงไปกินหญ้าบริเวณหน้าผา

ผมก็เลยเดินล่วงหน้า นำมาคนเดียว


เดินผ่านหมู่บ้าน Karte เจอเจ้าหมานอนอยู่ มันมองผมและบอกว่า

อีก 2 กิโลก็จะถึง Dharapani สู้ๆๆๆ

เดินลัดเลาะภูเขาไปเรื่อยๆ ฝั่งขวายังคงเป็นแม่น้ำ



ในที่สุดก็เดินมาถึงหมู่บ้าน Dharapani ที่ความสูง 1900 เมตร ตอนเวลาเกือบๆสี่โมงเย็น

ผมไม่มีแรงจะเดินหาที่พักแล้ว เหนื่อยมากจริงๆ

หลังจากถามที่แรก ราคา 100 รูปี ก็ตกลงทันที


วันนี้หมดแรง หมดจริงๆ กลางวันก็กินขนมปังไปนิดเดียว ทำให้หิวมากๆ


ตอนเย็นเลยสั่ง แพนเค้ก กับช็อคโกแลตร้อนๆมากิน

ราคา 215 รูปี และ 70 รูปี

กว่าจะกินหมด อิ่มและจุกมากๆ ถึงแม้แพนเค้กมันจะรสชาติแปลกๆ และฝืดคอก็ตาม


สภาพภายในห้องพัก มีเตียงเดี่ยว 2 เตียง ไม่มีผ้าห่มให้นะครับ ต้องเตรียมถุงนอนมาเอง


คืนนี้ไม่มีไฟให้ชาร์จแบต ไวไฟก็ต้องให้เจ้าของปล่อย Hotspot มาให้ ซึ่งพอเล่นได้นิดๆหน่อย

รู้สึกเสียดาย ตอนเย็นน่าจะเดินเลือกที่พักให้ดีกว่านี้


เนื่องจากความเพลีย หลังจากอาบน้ำซักผ้า

ผมก็นอนหลับไปตั้งแต่ 1 ทุ่ม


สรุปเส้นทางวันนี้

ระยะทางรวมจาก Jagat ถึง Dharapani ประมาณ 15 กิโลเมตร

Jagat (1300 m) > Chamche (1385 m) > Tal (1700 m) > Karte (1870 m) > Dharapani (1900 m)

ทางเดินส่วนใหญ่เป็นทางขึ้นเขา ทำให้ค่อนข้างเหนื่อยพอสมควร



27/3/59

อากาศตอนเช้าสดชื่นสุดๆ มีเสียงน้ำในแม่น้ำดังตลอดทั้งคืน

มื้อเช้าของผมยังคงเป็นโจ๊กซองเหมือนเช่นเคย

ถึงจะเบื่อ แต่ก็ต้องกิน 5555


วันนี้เริ่มออกจากที่พักตอนประมาณ 7.30 น.


ผ่านที่พักมากมาย รู้สึกเสียดาย รู้งี้เมื่อวาน น่าจะมาพักแถวนี้



ออกมาจากหมู่บ้าน สองข้างทางจะเป็นภูเขา มีแม่น้ำคั่นกลาง เราก็เดินเลียบแม่น้ำไปเรื่อยๆครับ



เดินมาไม่นาน ประมาณ 20 นาที จะเจอจุด Check Post ให้เราลงชื่ออีกครั้ง



ลงชื่อเสร็จ ก็ออกเดินกันต่อ


ใช้เวลาประมาณ 40 นาที ก็จะมาถึงหมู่บ้าน Bagarchap ที่ความสูง 2120 เมตร

แวะพักเหนื่อยสักหน่อย แฮ่ๆ


1 ชั่วโมงผ่านไป พึ่งเดินมาได้เพียง 2 กิโลเมตรกว่าๆ แต่ความสูงเพิ่มขึ้นมา 200 กว่าเมตรแล้ว

ที่หมู่บ้านนี้ เราจะเริ่มมองเห็นภูเขาที่มีหิมะปกคลุมด้านบน อยู่ไกลๆแล้วครับ

ผมนี่ตื่นเต้นมากก เกิดมาเพิ่งเคยหิมะจริงๆก็วันนี้แหละ


และจาก Bagarchap เดินต่อมาอีก 2 กิโลเมตร ก็จะเจอหมู่บ้าน Danaqyu ที่ความสูง 2200 เมตร

ที่หมู่บ้านนี้จะมี Safe Drinking Water ให้เติมน้ำดื่ม ราคาลิตรละ 50 รูปี



ผมเดินตามนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ แต่ตามได้ไม่ถึง 5 นาที เค้าก็เดินทิ้งห่างไป จนลับสายตา


ตามไม่ทันจริงๆ เพราะผมเดินช้ามาก สุดท้ายก็ต้องเดินคนเดียวเหมือนเดิม


เดินออกจาก Danaqyu มาไม่ไกล จะเจอทางขึ้นด้านซ้าย เป็น Trekking Trail

และทางขวา เป็นทางหลัก สำหรับรถวิ่ง

ผมเห็นมีนักท่องเที่ยวกลุ่มหนึ่งเดินเข้าป่าไป ก็เลยเดินตามขึ้นไป


ช่วงแรกๆต้องเดินขึ้นเขาอย่างเดียว เหนื่อยมากๆ

เป็นทางเดินในป่า ร่มรื่น แต่ไม่ค่อยมีนักท่องเที่ยวเท่าไหร่



เดินอยู่ในป่าประมาณ 1 ชั่วโมง 40 นาที เงียบเหงาและวังเวง ในที่สุดก็มาโผล่ที่เส้นทางหลัก

เดินต่อไปอีกนิด ก็มาถึงหมู่บ้าน Timang ที่ความสูง 2630 เมตร

ที่หมู่บ้าน Timang อากาศดีมากจริงๆ อุณหภูมิประมาณ 10 กว่าองศา


ตอนนี้ผมเริ่มมีกำลังใจเดินมากขึ้นแล้วครับ เพราะอากาศเย็น ทำให้รู้สึกเดินสนุกมากขึ้น


ผมมาถึง Timang เวลาประมาณเที่ยงๆพอดี


แต่วันนี้ไม่รู้สึกหิวเท่าไหร่ หลังจากนั่งพักจนหายเหนื่อย ก็ออกเดินทางต่อทันที



เจอทางแยกอีกแล้ว แต่ผมเข็ดกับ Trekking Trail เมื่อเช้าแล้ว


เลยเลือกเดินไปทางซ้าย ซึ่งเป็นทางปกติที่รถวิ่งดีกว่า



แล้วก็คิดไม่ผิดจริงๆ ที่เลือกเดินทางปกติ ถึงแม้จะอ้อมกว่าหน่อย แต่เหนื่อยน้อยกว่าทาง Trekking แน่นอน


เดินต่ออีกนิด จะมองเห็นหมู่บ้าน Thanchowk มาแต่ไกล

แต่จู่ๆฝนก็ตกลงมาทีละนิด อากาศเย็นขึ้นเรื่อยๆ ผมก็ได้แต่เดินต่อไปอย่างช้าๆ



ผ่านหมู่บ้าน Thanchowk แต่ไม่ได้เดินเข้าไป



ฝนเริ่มตกแรงขึ้น ผมเร่งความเร็วฝีเท้าขึ้นอีก เพราะแถวนั้นไม่มีที่ให้หลบฝน


เดินต่อมา 10 นาที คราวนี้ ฝนมาแบบจัดเต็มมาก ผมเลยต้องหาที่วางกระเป๋า และหยิบแจ็คเก็ตกันฝนออกมา

พยายามคลุมไม่ให้กระเป๋าเปียก


ดูท่าแล้วฝนคงไม่หยุดง่ายๆ ก็เลยเดินลุยฝนต่อ


จาก Thanchowk เดินลุยฝนมา ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง ในที่สุดก็มาถึงหมู่บ้าน Koto ที่ความสูง 2640 เมตร


เนื่องจากฝนตก ทำให้อากาศหนาวเย็น อุณหภูมิลดไปเหลือ 10 กว่าองศา


ผมนั่งพักเหนื่อย จนฝนหยุดสนิท


ตอนนั้นรู้สึกหิวมากๆแล้ว แต่เหลือระยะทางอีกไม่ไกลก็จะถึงหมู่บ้าน Chame เลยกัดฟันเดินต่อ

ก่อนจะออกจากหมู่บ้าน Koto จะมีจุด Check Post ให้ลงชื่ออีกรอบครับ



เดินต่อมาเพียงครึ่งชั่วโมง กับระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร ในที่สุดก็มาถึงหมู่บ้าน Chame ความสูง 2700 เมตร

เจอฝูงแพะอีกแล้ว ฮ่าๆ นับถือเจ้าของจริงๆ รู้สึกจะไล่ต้อนมาตั้งแต่ Besisahar เลยครับ

วันนี้ผมพักที่ Tilicho Guest House ราคาคืนละ 100 รูป

มีน้ำอุ่น ไวไฟ และปลั๊กให้ชาร์จไฟในห้องอาหาร

ไวไฟแรงดีมาก น้ำอุ่นก็ร้อนดีมาก โดยรวมชอบครับ แนะนำเลย


ราคาอาหารส่วนใหญ่ก็ประมาณนี้ครับ บางที่พักก็อาจจะถูกกว่านี้ หรือแพงกว่านี้ ก็ไปต้องลุ้นกันเองครับ

แต่ต่างกันไม่มากเท่าไหร่

มื้อเย็นวันนี้ผมสั่งข้าวเปล่า 200 รูปี มากินกับอาหารซองโรซ่า

และนมร้อนอีกหนึ่งแก้ว มากินกับขนมปัง อิ่มอร่อยเลยทีเดียว

และวันนี้ไวไฟแรง เลยเข้านอนช้ากว่าปกติ มัวแต่นั่งเล่นเฟส เล่นไลน์ มีคนเข้ามาให้กำลังใจกันมากมาย

แต่ฝนก็ยังคงตกมาอย่างต่อเนื่อง อากาศหนาวเย็นสุดๆ กว่าจะได้เข้านอนก็เกือบ 3 ทุ่ม


สรุปเส้นทางวันนี้

จาก Dharapani ถึง Chame ระยะทางรวมประมาณ 16 กิโลเมตร

Dharapani (1900 m) > Bagarchap (2120 m) > Danaqyu (2200 m) > Timang (2630 m) > Thanchowk (2670 m) >

Koto (2640 m) > Chame (2700 m)



วันนี้ค่อนข้างเดินไกลนิดนึงครับ เริ่มเดินตั้งแต่ 7.30 น. มาถึง Chame ตอน 15.30 น.



28/3/59

เช้านี้ฝนยังคงตกอยู่ ผมตื่นขึ้นมา ได้ยินเสียงฝน ก็ล้มตัวลงไปนอนอีกรอบด้วยความขี้เกียจ

กว่าจะลุกขึ้นมาจริงๆจังๆก็ 7 โมงกว่า

เดินออกไปดูหน้าที่พัก ก็ต้องตะลึง ภูเขารอบๆที่พักมันสวยมากจริงๆครับ

บนเขามีหิมะปกคลุม และมีเมฆหมอกไหลผ่าน เห็นแล้วรู้สึกชื่นใจอย่างบอกไม่ถูก



ผมนั่งกินข้าว เล่นโซเชียลอยู่ในที่พัก รอจนฝนหยุด กว่าจะได้เริ่มเดินก็เกือบ 9 โมงเช้า



ที่หมู่บ้าน Chame มี Safe Drinking Water นะครับ



เดินผ่านร้านขายเสื้อผ้า อุปกรณ์กันหนาว ราคาน่าจะแพงอยู่



เดินออกจากหมู่บ้านมาประมาณ 1 ชั่วโมง วิวภูเขาสูงที่มีหิมะปกคลุมก็ได้ปรากฎแก่สายตา


โอ้ยย สุดยอดเลยโว้ยย ! ผมได้แต่อุทานในใจ มันสวยมากจริงๆ นี่ขนาดเห็นแค่ไกลๆ


เดินผ่านเจ้าจามรี มันจ้องเหมือนอยากจะพุ่งเข้ามา แล้วจับผมกินเป็นอาหาร


ผมได้แต่ส่งสายตาอ่อนหวาน ยิ้มอ่อนๆคืนกลับไป

ครึ่งนาทีผ่านไป มันก็เลิกสนใจ และหันไปกินหญ้าต่อ ฮ่าา


วิวมันอลังการงานสร้างจริงๆ ผมนี่มีแรงฮึดเดินต่อเลย



ทางช่วงแรกก็ไม่ยากมากครับ ขึ้นๆลงๆ แต่ก็เหนื่อยอยู่เหมือนกัน


เดินลัดเลาะภูเขาไปเรื่อยๆ มีเสียงแม่น้ำไหลคอยเป็นเพื่อนให้คลายเหงา


ชาวต่างชาติพาลูกๆมาเดินเขาตั้งแต่เด็ก มากันเป็นครอบครัว ดูอบอุ่นดีครับ



จาก Chame ใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง ขึ้นๆลงๆประมาณ 7 กิโลเมตร


ในที่สุดก็มาถึงหมู่บ้าน Bhratang ที่ความสูง 2850 เมตร



แวะนั่งพักเหนื่อยกันสักหน่อย



เส้นทางเดินในวันนี้ ส่วนใหญ่จะเป็นถนนแบบนี้แหละครับ ขึ้นๆลงๆทั้งวัน


จาก Bhratang เดินมาประมาณ 1 ชั่วโมง ก็จะเป็นทางโค้งไปด้านซ้าย

เราต้องเดินข้ามสะพาน และเดินตัดทะลุเข้าป่าไป

ซึ่งเป็น Trekking Trail มีต้นสนรายล้อม บรรยากาศดีมากๆ


หรือจะเดินตามถนนก็ได้ ซึ่งจะอ้อมนิดนึง

หลังจากลุยดงสนสักพัก ก็จะมาโผล่ที่ถนนเหมือนเดิม


จากสะพาน ใช้เวลา 1 ชั่วโมง จะถึงหมู่บ้าน Dhukur Pokhari ที่ความสูง 3200 เมตร

อากาศเริ่มหนาวขึ้นเรื่อยๆ

นักท่องเที่ยวคนอื่นแวะพักทานข้าวในร้านอาหาร ส่วนผมนั่งกินข้าวอยู่ริมถนน


เปิดแผนที่ดู หมู่บ้าน Pisang อยู่อีกไม่ไกล กินข้าวเสร็จ จึงออกเดินต่อ


ออกจากหมู่บ้าน Dhukur Pokharl จะเจอทางแยกเป็น 2 ทาง


ทางซ้ายคือทางที่รถยนต์วิ่งปกติ สู่หมู่บ้าน Lower Pisang

ส่วนทางขวาเป็น Trekking Trail ที่จะพาไปสู่หมู่บ้าน Upper Pisang

ผมเลือกเดินทางซ้าย แต่นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เลือกเดินทางขวา

โดดเดี่ยว เดียวดาย จะโบกรถก็ไม่มีผ่านมาสักคัน ฮาาา


เดินต่อมาเรื่อยๆ ในที่สุดก็มาถึงหมู่บ้าน Lower Pisang


ผมเดินหาที่พักอยู่นาน ที่นึงมี Wifi แต่ราคาคืนละ 400 รูปี

จนมาเจอที่นี่ Tilicho Hotel เค้าบอกว่ามี Wifi มีน้ำร้อนให้อาบ ราคาคืนละ 100 รูปี ผมก็ตกลงทันที


หมู่บ้าน Upper Pisang จะอยู่อีกฝั่งนึง ด้านซ้ายบนตามรูป ต้องข้ามสะพาน และเดินขึ้นเขาไปครับ



มื้อเย็นของผม เป็นโจ๊กซองกับไข่เค็ม และสั่งนมร้อนมากินกับขนมปัง

ยังคงประหยัดไม่เปลี่ยนแปลง ฮ่าๆๆ


หลังจากพยายามใช้ไวไฟอยู่นาน แต่ก็ใช้ไม่ได้สักที เน็ตไม่วิ่งเลย

สุดท้ายเลยได้แต่นั่งผิงไฟ อยู่ในห้องอาหารอย่างเงียบๆ เหงาๆ

ก่อนจะกลับไปนอนที่ห้อง และหลับไปด้วยความเพลีย


สรุปเส้นทางวันนี้

ระยะทางรวมจาก Chame ถึง Lower Pisang ประมาณ 15 กิโลเมตร

Chame (2700 m) > Bhratang (2850 m) > Dhukur Pokhari (3200 m) > Lower Pisang (3220 m)

เส้นทางขึ้นๆลงๆ เดินไปตามถนนเรื่อยๆ ไม่ยาก แต่เหนื่อยพอสมควร



29/3/59

เช้านี้อากาศแจ่มใส่มากครับ ผมตื่นมาด้วยความกระปรี้กระเปร่า

มื้อเช้าอยากกินอะไรอร่อยๆ เลยสั่งข้าวผัดไข่มา 1 จาน ราคา 340 รูปี

ได้เยอะมากก เลยแบ่งครึ่งใส่กล่องไว้กินตอนกลางวัน


ตอนจ่ายเงิน โดนค่าไวไฟไป 100 รูปี และค่าน้ำร้อนสำหรับอาบน้ำอีก 100 รูปี

ผมนี่เซงเลย ไม่แจ้งตั้งแต่ตอนแรก นึกว่าฟรีซะอีก แถมไวไฟก็เล่นไม่ได้ เห้ออ


จากหมู่บ้าน Pisang จะมีทางแยกเป็น 2 ทาง


ทางซ้ายเป็นทางเดินปกติ ง่ายๆผ่านหมู่บ้าน Humde

ส่วนทางขวา เป็น Trekking Trail ต้องเดินขึ้นเขาไปที่หมู่บ้าน Ghyaru ความสูง 3700 เมตร

และเดินต่อไปยังหมู่บ้าน Ngawal ความสูง 3670 เมตร ก่อนจะค่อยๆเดินลงไปบรรจบที่เส้นทางหลักก่อนถึงหมู่บ้าน Braga



ตอนแรกผมลังเลว่าจะไปทางไหนดี สุดท้ายเลือกเส้นทาง Trekking ครับ


จาก Lower Pisang ต้องข้ามสะพานไปอีกฝั่ง

รูปนี้ระหว่างข้ามสะพาน และมองย้อนกลับไปที่ Lower Pisang


ช่วงแรกต้องเดินผ่านป่าสนไปเรื่อยๆ


เดินผ่านทะเลสาบเล็กๆอันเงียบสงบ น้ำใส่แจ๋วว


เดินมาเรื่อยๆจะเจอสะพานแขวน เราต้องข้ามไป และต้องเดินขึ้นเขาทางด้านขวามือนั่นแหละครับ


ตอนเห็นทางที่ต้องเดินขึ้นครั้งแรก ผมนี่แทบอยากจะย้อนกลับไปเดินอีกทางเลย

แค่เห็นก็เหนื่อยแล้วจริงๆ มันสูงมากก

สุดท้าย เลยค่อยๆกระดึ๊บขึ้นมา ทางเดินชันมาก และเหนื่อยมากก


เดินได้ไม่ถึง 10 ก้าว ก็ต้องหยุดพัก

แต่วิวด้านหลังนี่มันสุดยอดจริงๆครับ เทือกเขา Annapurna มันยิ่งใหญ่มากๆ


ในที่สุดผมก็ขึ้นมาถึงหมู่บ้าน Ghyaru ที่ความสูง 3700 เมตร


เส้นทางจากตีนเขา ขึ้นมาด้านบน ไม่ถึง 1 กิโลเมตร แต่ผมใช้เวลานานกว่าชั่วโมงครึ่ง

ขึ้นมาถึงด้านบนนี่แทบคลาน เหนื่อยมากกกก


พึ่งเข้าใจวันนี้ ที่เค้าบอกว่า ยิ่งขึ้นที่สูง ยิ่งเหนื่อยง่าย

คือมันหายใจไม่ทันจริงๆครับ ต้องหายใจเข้าและออกเร็วๆ


วิวพาโนราม่า จากจุดชมวิวหมู่บ้าน Ghyaru


ภูเขาเบื้องหน้ามันยิ่งใหญ่มากๆ ผมนี่ตื่นตาตื่นใจสุดๆ เคยเห็นแค่ในรูป แต่วันนี้ได้มาเจอของจริง


จากหมู่บ้านนี้ จะมองเห็นยอดเขา Pisang Peak ที่สูง 6091 เมตร อยู่เบื้องหลัง

บนนี้มีที่พักอยู่นะครับ ใครว่างๆ จะนอนเล่นที่นี่สักคืนก็ได้

สมัยก่อน คนที่นี่จะนำหินมาเรียงกัน ทำเป็นที่พักอาศัยครับ ความพยายามสูงมากๆ


ตอนอยู่ที่หมู่บ้าน Ghyaru มีนักท่องเที่ยวมาแพ็คกระเป๋าให้ผมใหม่


เอาใบเล็กไปรวมกับใบใหญ่ที่ด้านหลัง

ซึ่งผมเดินไปได้สักพัก รู้สึกไม่ชิน ตอนหลังก็เลยเอากลับมาสะพายไว้ข้างหน้าเหมือนเดิม


ออกจากหมู่บ้าน ก็จะเป็นทางเดินลัดเลาะริมเขาไปเรื่อยๆ มีวิวภูเขาให้ชมตลอดทาง


มองย้อนกลับไปที่หมู่บ้าน Ghyaru


ระหว่างทาง รู้สึกหิว เลยเอาข้าวผัดที่เหลือเมื่อเช้า ออกมากิน


พร้อมกับนั่งชมวิวภูเขาไปด้วย ชิวสุดๆ

อิ่มแล้วก็ออกเดินต่อ


มองลงไปด้านล่าง เห็นหมู่บ้าน Humde อยู่ไกลๆ


ในที่สุดก็มาถึงหมู่บ้าน Ngawal ตอนบ่าย 2



วันนี้เป็นวันที่ผมเดินช้ามากจริงๆ เริ่มเดินตั้งแต่ 7 โมงเช้า จนถึงบ่าย 2 ยังเดินได้ไม่ถึง 10 กิโลเมตร

แต่รู้สึกเหนื่อยกว่าปกติ น่าจะเพราะขึ้นมาบนที่สูง

เดินไปก็ต้องพักไป มันเหมือนหายใจไม่ทัน ยังปรับตัวไม่ได้


เดินผ่านหมู่บ้าน Ngawal


มองย้อนกลับไปที่หมู่บ้าน


จาก Ngawal จะเป็นทางลงเขาไปเรื่อยๆครับ มองเห็นรันเวย์ของสนามบินที่หมู่บ้าน Humde ชัดเจน


ความรู้สึกตอนนั้น ผมเหนื่อยและหนักมาก

วิวสวยๆไม่ได้ช่วยให้ความเหนื่อยลดน้อยลงเลยสักนิดเดียว 5555


หลังจากนั้นเราจะต้องเดินทะลุดงสนไปครับ


น้ำในกระเป๋าของผมก็เริ่มเหลือน้อยลงทุกที แต่ความหิวกระหายน้ำกลับเพิ่มมากขึ้น


นี่ใช่มั้ย ที่เค้าเรียกว่า บ้าหอบฟาง ฮาา


หลังจากเดินเหงาๆ โง่ๆ อยู่ในดงสนนานกว่า 1 ชั่วโมง น้ำก็หมด คอก็แห้ง


ในที่สุด ผมก็โผล่ออกมาที่ลานกว้างๆ ณ หมู่บ้านแห่งหนึ่ง ที่เต็มไปด้วยฝูงจามรี


ผมเดินไปจนเจอก๊อกน้ำข้างทาง เลยกรอกน้ำมากิน

น้ำจะสกปรกมั้ย ผมไม่สนแล้ว เพราะหิวน้ำสุดๆ


หลังจากนั่งพักจนหายเหนื่อย ก็ออกเดินต่อ


ตะวันเริ่มลับขอบฟ้า แต่ผมยังไปไม่ถึงหมู่บ้านปลายทาง


เวลาล่วงเลยมาถึง 6 โมงเย็น ในที่สุดผมก็มาถึงหมู่บ้าน Braga


ขาผมอ่อนแรง ร่างกายรู้สึกอ่อนล้า วันนี้เดินตั้งแต่ 7.30 น. จนถึง 18.00

รวมระยะเวลากว่า 10 ชั่วโมง กับระยะทางไม่ถึง 15 กิโลเมตร


ที่พักคืนนี้ไม่เสียตัง เพียงแค่สั่งอาหารมาทาน มีน้ำอุ่นให้ใช้ แต่ไวไฟไม่มีให้ใช้แล้ว

มื้อเย็นผมเลยสั่งข้าวผัดทูน่า ราคา 390 รูปี และชาดำอีก 50 รูปี มากิน

ได้เยอะและอิ่มมาก ข้าวผัดนี่มาเป็นถาดเลยทีเดียว


สรุปเส้นทางวันนี้

ระยะทางรวมตั้งแต่ Lower Pisang ผ่าน Ghyaru จนถึง Braga ประมาณ 14 กิโลเมตร

Lower Pisang (3220 m) > Ghyaru (3700 m) > Ngawal (3670 m) > Braga (3475 m)

ทางเดินขึ้นหมู่บ้าน Ghyaru เหนื่อยมากก พอขึ้นที่สูงเกิน 3500 เมตร จะเริ่มรู้สึกเหนื่อยง่าย หายใจไม่ทัน

เดินไปได้นิดเดียวก็ต้องหยุดพัก ทำให้วันนี้ผมเดินช้ากว่าปกติ




30/3/59

เช้านี้อากาศดีมากก มากจริงๆ มองไปทางไหนก็สวย มีภูเขาอยู่ล้อมรอบ


มือเช้าผมสั่งข้าวเปล่า 200 รูปี และน้ำร้อนครึ่งลิตร 40 รูปี

ตอนเช้าทานโจ๊กซองกับไข่เค็มและหมูยอง และชงเนสวีต้า

ส่วนข้าวเปล่าเก็บใส่กล่องไว้กินตอนกลางวัน


ด้านหลังของที่พัก จะเป็นทุ่งหญ้าโล่งๆ มีฝูงจามรีมายืนอาบแดดกันเต็มไปหมด

และมีภูเขา Annapurna ตั้งอยู่ด้านหลังอย่างโดดเด่น



จากหมู่บ้าน Braga เราสามารถขึ้นไปเที่ยวที่ Ice Lake ได้ ซึ่งอยู่สูง 4600 เมตร


หรือขึ้นไป Milarepa cave ที่อยู่บนเขาด้านหลังหมู่บ้าน Braga


ซึ่งผมขี้เกียจ เพราะมันต้องเหนื่อยมากแน่ๆ ก็เลยไม่ได้ไป

แต่เลือกที่จะเดินเล่นรอบๆหมู่บ้าน Braga แทน


หมู่บ้าน Braga จะมีวัดตั้งอยู่ ผมเดินขึ้นมาด้านบน แต่ก็ไม่เจอพระจำวัดอยู่ที่นี่


ด้านข้างวัด จะเป็นบ้านเรือนดั้งเดิมของหมู่บ้าน Braga ซึ่งไม่มีค่อยมีคนอาศัยอยู่แล้ว


หลังจากเดินจนทั่วหมู่บ้าน Braga


ผมตัดสินใจเก็บของ เดินออกจากหมู่บ้าน Braga ตอน 10.30 น.

ตั้งใจจะไปหมู่บ้าน Khangsar ซึ่งเป็นหมู่บ้านระหว่างทางสู่ Tilicho Lake


แผนที่แสดงเวลาในการเดิน


จากรูปจะเห็นว่า จากหมู่บ้าน Braga จะแยกออกเป็นสองทาง

ผมเลือกไปทางซ้าย ซึ่งเป็นทางไป Tilicho Lake


วิวระหว่างทาง


เดินมาเรื่อยๆ


แวะถ่ายรูปกับลำธารซะหน่อย อิอิ



มองย้อนกลับไปด้านหลัง ท้องฟ้าเริ่มครื้มๆ


เปิดแผนที่ดู เห็นว่ามีทะเลสาบอยู่ใกล้ๆนี่เอง เลยถามทางชาวบ้านแถวนั้น

ชาวบ้านเลยชี้ทางให้


สุดท้าย ตัดสินใจ ทิ้งกระเป๋าไว้ในพุ่มหญ้าข้างทาง และเดินตัวปลิวขึ้นไปที่จุดชมวิวทะเลสาบ


จากจุดชมวิว มองย้อนกลับไปด้านหลัง จะเห็นทางที่เราเดินมา


และหมู่บ้าน Manang อยู่บนเนินเขาด้านซ้าย


ทะเลสาบ Gangapurna จะมีจุดชมวิวที่ต้องเดินขึ้นเนินเขาไป


และมีอีกทาง ให้เดินเข้ามาชมทะเลสาบใกล้ๆด้านล่าง



มาดูใกล้ๆ แล้วมันสวยมากจริงๆครับ น้ำสีฟ้าสดใส มีวิวภูเขาอยู่ด้านหลัง


หลังจากชมวิวทะเลสาบอยู่นาน ผมก็ค่อยๆเดินกลับออกมาเอากระเป๋า


ผมเปิดแผนที่ดู จากที่นี่ มีทางไปหมู่บ้าน Khangsar อยู่ข้างๆทะเลสาบ


แต่ผมก็ไม่แน่ใจว่ามันไปได้หรือเปล่า เพราะในแผนที่มันเป็นเส้นทางสีฟ้า ซึ่งไม่ใช่เส้นทางหลัก


ผมเลยลองเดินไปเรื่อยๆ ข้ามสะพานแขวน และก็เดินไปตามทางในรูป


เดินมาเรื่อยๆประมาณ 45 นาที มองไปยังอีกฝั่ง เห็นเส้นทางหลักที่จะเดินไปยัง Khangsar


แต่ผมยังมันใจว่าทางที่ผมเดินมา มันก็สามารถไปได้เช่นกัน


เดินต่อไปอีกนิด


และแล้วก็เจอปัญหาจนได้ คือเส้นทางมันขาด ใช่ครับ เส้นทางขาด !

เป็นทาง Landslide ด้านขวาเป็นเหว แล้วมันดันมีหินไหลอยู่ช่วงนึง ซึ่งต้องกระโดดข้ามไป



ผมยังมั่นใจลึกๆว่าทางนี้มันไปได้ เลยตั้งสติอยู่ 1 นาที

รวบรวมความกล้า และกระโดดข้ามทางที่มีหินไหล


มันเป็นวินาทีที่เสียวสุดๆ ถ้าพลาดก็ตกลงไปด้านล่างแน่ๆ


แต่ผมก็กระโดดผ่านมันมาได้



เดินต่อมาไม่ถึง 10 ก้าว คราวนี้เจอปัญหาใหญ่

เส้นทางขาดเป็นทางยาว ไปต่อไม่ได้แน่ๆ

ผมนี่เซงสุดๆ เสียเวลาเดินมาเป็นชั่วโมง หนักก็หนัก แต่เส้นทางดันไปต่อไม่ได้ซะงั้น


สุดท้ายผมเลยต้องเดินย้อนกลับมาทางเดิม


และตัดสินใจ นอนพักที่หมู่บ้าน Manang 1 คืน



เดินหาที่พัก จนมาเจอที่พัก ราคา 50 รูปี

เข้าห้องพักแล้วก็นั่งกินข้าวกลางวัน เป็นผัดกะเพราโรซ่า และข้าวเปล่าที่ซื้อมาเมื้อเช้า


กินข้าวเสร็จก็ออกมาเดินเล่นชมเมือง


ซึ่งด้านหลังหมู่บ้าน Manang จะมีเนินเขาให้ขึ้นไปชมวิว



ตอนแรกจะเดินให้สูงขึ้นไปเรื่อยๆ บนเนินเขา

แต่เดินขึ้นมาได้นิดเดียว ฝนก็ทำท่าจะตก


ชมวิวได้ไม่นาน ฝนก็ค่อยๆโปรยลงมา อากาศหนาวมากๆ


ผมเลยต้องรีบเดินกลับที่พัก

หลังจากนั้นก็ได้แต่อยู่ในที่พัก อาบน้ำ ซักผ้า ทำภารกิจส่วนตัว และลงมาที่ห้องอาหาร


จากฝน เริ่มกลายเป็นละอองหิมะ นี่เป็นครั้งแรก ที่ผมเคยเห็นหิมะตก

มันสวยมากๆ และก็หนาวมากๆเช่นกัน



มื้อเย็นผมสั่ง ซุปไก่ ราคา 230 รูปี และชานมอีก 70 รูปี มาทาน

นั่งซดซุปร้อน และชมหิมะตกไปพลางๆ ท่ามกลางความเงียบเหงา

อินเทอร์เน็ตไม่มี เพื่อนไม่มี ทำได้เพียงนั่งคุยกับตัวเองคนเดียว


31/3/59


ผมตื่นขึ้นมาตอน 6 โมงเช้า มองออกไปที่นอกหน้าต่าง

ก็เห็นหิมะมากมาย เมฆหมอกหนาทึบ


วิวรอบๆสวยเกินกว่าจะบรรยาย


มื้อเช้าสั่งเพียงนมร้อน มาทานกับขนมปัง


ก่อนจะเก็บกระเป๋า ออกจากที่พัก


ที่หมู่บ้าน Manang จะมีจุด Check Post ให้ลงชื่อครับ


เจ้าหน้าที่จะถามเราว่าจะไปไหนต่อ ระหว่าง Tilicho Lake หรือว่าจะไปทาง Yak Kharka เพื่อข้าม Thorung La Pass


ลงชื่อเสร็จก็ได้เวลาออกเดินทาง


เช้านี้อากาศดีมากจริงๆ ท้องฟ้าแจ่มใส มองเห็นยอดเขาชัดเจน


ออกจากหมู่บ้าน Manang จะเจอป้ายบอกทาง


Tilicho Lake ให้ไปทางซ้าย ส่วน Thorung La Pass ให้ไปทางขวา


แวะถ่ายรูปซะหน่อย


บนเนินเขา ฝั่งซ้าย คือทางที่เมื่อวานผมเดินไปแล้วเจอทางตันนั่นแหละครับ ฮ่าๆๆ


ผมเดินต่อมาเรื่อยๆ ข้ามสะพานแขวน 1 สะพาน และเดินขึ้นเขา


สักพักนึกขึ้นได้ว่าลืมขวดน้ำไว้ที่สถานีน้ำดื่มตอนซื้อน้ำเมื่อเช้า

สุดท้ายเลยตัดสินใจ วางกระเป๋าทิ้งไว้ข้างทาง และเดินย้อนกลับไปเอาขวดน้ำที่หมู่บ้าน Manang


ทำให้เสียเวลาไป - กลับ เกือบชั่วโมงครึ่ง

พลาดมากจริงๆ เหนื่อยฟรีเลย


กลับมาถึง ก็ออกเดินต่อ


เดินขึ้นเขามาเรื่อยๆ มองย้อนกลับไป เห็นหมู่บ้าน Manang อยู่ไกลๆ เล็กๆ


ในที่สุดก็เดินมาถึงหมู่บ้าน Khangsar ที่ความสูง 3750 เมตร


ความเหนื่อยจากการเดินบนที่สูงเริ่มกลับมาอีกครั้ง

เดินไปได้ไม่กี่ก้าวก็ต้องหยุดพัก เพราะหายใจไม่ทัน


หลังจากนั่งพักจนหายเหนื่อยที่หมู่บ้าน Khangsar ก็ออกเดินต่อ


ทางเดินจะเป็นทางขึ้นเขามาเรื่อยๆ ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง จะมาถึง Tare Gompa

ซึ่งน่าจะเป็นวัดครับ แต่ตอนผมเดินผ่าน ก็ไม่เห็นมีใครอยู่


จากจุดนี้จะมองเห็นอาคารอยู่บนเขาไกลๆด้านบน

ตรงนั้นคือ Shree Karka ครับ จะมีที่พักอยู่ 2-3 หลัง


ใช้เวลาประมาณครึ่งชั่วโมง เดินขึ้นเขามาเรื่อยๆ และแล้วก็ถึง Shree Karka


ผมตัดสินใจพักที่นี่ก่อนหนึ่งคืน และค่อยเดินไป Tilicho Lake ในวันรุ่งขึ้น เพราะสภาพอากาศไม่ค่อยดี

บนท้องฟ้าเมฆครึ้มๆ ฝนทำท่าจะตกลงมา


ที่พักราคาคืนละ 100 รูปี มีเครื่องทำน้ำอุ่น แต่ว่าเสีย


เจ้าของที่พักเลยต้มน้ำอุ่นมาให้ 1 ถัง เวลาอาบก็ต้องประหยัดน้ำสุดๆ

อาบไปก็สั่นไป หนาวมากกกก


อาบน้ำเสร็จ ก็สั่งพาสต้ามากิน ราคา 305 รูปี เป็นพาสต้าที่ไม่มีอะไรสักอย่าง


เลยต้องเอาหมูหยองในกระเป๋ามาโรยใส่ เพิ่มความอร่อย ฮ่าๆ


และแล้วฝนก็เทลงมา กลายเป็นละอองหิมะ ในช่วงบ่ายๆ เย็นๆ


ผมก็ได้แต่นอนขดอยู่ในห้องพัก อากาศหนาวเย็นมากจริงๆ อุณหภูมิน่าจะเลขหลักเดียว



ช่วงเย็น หิมะหยุดตก เลยออกมานั่งชมวิวหน้าที่พัก บรรยากาศสุดยอดจริงๆครับ

ที่พักหลักสิบ แต่วิวหลักล้าน


สรุปเส้นทางวันนี้


จาก Manang ถึง Shree Karka ระยะทางประมาณ 9 กิโลเมตร

Manang (3540 m) > Khangsar (3750 m) > Shree Karka (4060 m)

ทางเดินขึ้นเขาไปเรื่อยๆ ไม่ยากมาก แต่จะเหนื่อยกว่าปกติ เพราะขึ้นสูงกว่า 3500 เมตร

ทำให้เดินได้ช้าลง ต้องพักเหนื่อยเป็นระยะๆ




1/4/59

ผมตื่นขึ้นมาตั้งแต่ 5.45 น. เพราะจะรีบไป Tilicho Lake แต่เช้า

มื้อเช้าสั่งข้าวผัดราคา 320 รูปี มากินเพื่อเพิ่มพลัง


หลังจากนั้นก็เก็บกระเป๋า เอาของไม่จำเป็น ฝากไว้ที่พักทั้งหมด

เอาไปเฉพาะของที่จำเป็นจริงๆ ทำให้กระเป๋าเบาไปเยอะมาก


ผมเริ่มออกเดินตั้งแต่ 7 โมงเช้า

ระหว่างทางพบเจอกวางผา 3 ตัว กำลังกินหญ้ากันอย่างเมามัน ไม่สนใจใครทั้งนั้น



จาก Shree Karka เดินขึ้นๆลงๆเขามาเรื่อยๆ


ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมงนิดๆ ก็มาถึงทางเดินที่เป็น Landslide


Landslide Area


ทางเดินค่อนข้างแคบ และน่าหวาดเสียวพอสมควร


ถ้าก้าวพลาด ได้ล่วงลงไปด้านล่างแน่นอน


ยิ่งช่วงทางเดินลงแบบนี้ น่ากลัวสุดๆ ฮ่าๆๆ


ทางเดินค่อนข้างยาวนะครับ หลายร้อยเมตรเลยทีเดียว


ต้องกลั้นใจเดินนิดนึง

แนะนำให้เดินผ่าน Landslide ในช่วงเวลาเช้านะครับ

เพราะช่วงบ่าย อากาศแถวนี้ค่อนข้างแปรปรวน อาจจะเจอหินไหลลงมาใส่ได้


บางช่วงเดินสวนกับคนอื่น เราก็ต้องหยุดรอและหลบให้เค้าไปก่อน


ใช้เวลาเกือบๆ 1 ชั่วโมง บนเส้นทาง Landslide ก็จะมองเห็น Tilicho Base Camp อยู่ไกลๆ


เดินเข้าไปใกล้อีกนิด


ภูเขาทางด้านซ้ายนั่นแหละครับ คือทางที่เราต้องเดินขึ้นไป เพื่อชมทะเลสาบ


เดินมาจนถึงที่พัก ก็สอบถามราคา เจ้าของที่พักบอก 150 รูปี ก็ตอบตกลงทันที


และเข้าไปเก็บของ จากนั้นเริ่มเดินขึ้นไปที่ทะเลสาบทันที


เดินขึ้นเขามาเรื่อยๆ

มองย้อนกลับไป เห็นที่พักอยู่ไกลๆ


วิวระหว่างเดินขึ้น



ทางขึ้น Tilicho Lake ก็มี Landslide เช่นกัน


ตอนที่ผมเดิน มีหินไหลลงมา เฉียดตัวนักท่องเที่ยวต่างชาติไปนิดเดียว อันตรายสุดๆ


ทางเดินขึ้น เหนื่อยมากจริงๆครับ เหนื่อยแบบโครตเหนื่อย หายใจหอบสุดๆ


บริเวณที่พักสูง 4140 เมตร แต่เราต้องเดินขึ้นไปที่ทะเลสาบ ซึ่งสูง 4900 กว่าเมตร


ในขณะที่ผมกำลังเดินขึ้น แต่คนส่วนใหญ่กำลังเดินลง


จากที่พักด้านล่าง ผมใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมง

ก็ขึ้นมาถึงด้านบน ซึ่งต้องเดินลุยหิมะไปที่ทะเลสาบอีกครึ่งชั่วโมง


เป็นครั้งแรกที่ต้องเดินย่ำหิมะ มันไม่ง่ายเลยจริงๆ


บางครั้งก็ลื่นจนหัวทิ่ม หน้าคะมำ บางครั้งก้าวพลาด ขาจมลงไปในหิมะเกือบถึงเข่า

แถมหิมะก็สะท้อนแสงได้แสบตาเหลือเกิน ต้องใส่แว่นกันแดดตลอดเวลา


เดินลุยหิมะอยู่นานสองนาน ในที่สุด ก็เดินมาถึง Tilicho Lake


ทะเลสาบที่สูงกว่า 4919 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล

ซึ่งน่าจะสูงที่สุดในโลกด้วยมั้งครับ


แต่พอเห็นทะเลสาบเท่านั้นแหละ ผมนี่ช็อคเลย

น้ำในทะเลสาบกลายเป็นน้ำแข็งไปหมด


ตอนแรกนึกว่าจะได้มาเห็นทะเลสาบสีฟ้าๆ ตัดกับภูเขาหิมะสีขาว เลยแอบผิดหวังนิดๆ


ขาวโพลนไปหมดเลยย


บริเวณนี้ มีผมหลงเหลืออยู่คนเดียว ทุกคนเดิยลงไป

ข้างล่างกันหมดแล้ว


แนวเขาด้านข้างทะเลสาบ


ปกติแล้ว ด้านบนจะมีห้องเล็กๆ น่าจะเอาไว้ขายอาหาร หรือเครื่องดื่ม


แต่วันที่ผมไปถึง กลับโดนหิมะทับจนเกือบมิด


ตอนแรกผมกะจะนั่งกินข้าวไป ชมวิวทะเลสาบไป


แต่หิมะมันช่างร้อนแรงเหลือเกิน จะเปิดผ้าบัฟมากินข้าว หน้าก็คงดำแน่ๆ

สุดท้าย หลักจากชมวิวจนอิ่ม ก็ค่อยๆเดินลง กลับไปยังที่พัก


ระหว่างทางก็ถ่ายรูปเล่นไปเรื่อย บ้าๆบอ ตามประสาเด็กๆ ฮ่าๆๆ


ไหลลงไปเลย ยู้ฮู ...


วิวจากบนนี้มันสวยจริงๆ


เดินลงจริงจังแล้ว ลาก่อนน Tilicho Lake


หากมีโอกาส เราจะกลับมาใหม่


ขาลงง่ายกว่าขาขึ้นครับ เพราะเหนื่อยน้อยกว่า


Landslide ที่แอบน่ากลัว มีหิมะอยู่โปรยปราย


ถ้าเหยียบแล้วลื่นล้ม ล่วงแน่นอนจ้า


วิวภูเขาด้านข้าง


ยอด Tilicho Peak อยู่ตรงไหนก็ไม่รู้เหมือนกันครับ


แวะถ่ายรูปซะหน่อยย อิอิ


ระหว่างทางลง ช่วงที่เป็น Landslide มีเส้นทางขาด เพราะหินไหลลงมา


ซึ่งตอนที่ผมเดินผ่านตอนขาขึ้น มันก็แหว่งไปนิดๆแล้วเหมือนกัน แต่ตอนนี้มันขาดมากกว่าเดิม


ผมต้องเอาขาตั้งกล้อง ยันพื้น แล้วนั่งยองๆ ก้าวขาข้ามช่วงที่หินไหล ไปยังอีกฝั่ง

แล้วก็ก้าวอีกข้างตามไป ซึ่งหินก็ไหลลงมาเรื่อยๆ ต้องรีบๆก้าวให้พ้น

เป็นช่วงเวลาที่เสียวดีจริงๆ แต่สุดท้ายก็ผ่านมาได้


ระหว่างเดินลง ก็มีคนเดินสวนขึ้นไปเหมือนกัน ซึ่งกว่าเค้าจะกลับลงมา คงมืดค่ำแน่ๆ

ขนาดผมเดินตอนกลางวัน ยังรู้สึกกลัวจะตกเขา ไม่อยากคิดถึงเวลาเดินมืดๆเลย


ผมใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมงจากด้านบน ในที่สุดก็ลงมาถึงที่พัก


วันนี้เป็นวันแรก ที่ผมไม่ได้อาบน้ำ เพราะน้ำมันเย็นมากกกกก


ที่พักคืนนี้มีไวไฟ แต่คิดตัง 300 รูปี ซึ่งผมคิดว่ามันแพง เลยไม่ได้ใช้ และก็กลัวจะใช้ไม่ได้ด้วย


มื้อเย็นผมกินข้าวธัญพืชกระป๋องที่ซื้อมา กับแกงกะหรี่ซอง

มันชั่งไม่อร่อยเสียเลย แต่ก็ต้องฝืนกินให้หายหิว


เวลาผ่านไปจนถึง 2 ทุ่ม อากาศเย็นลงเรื่อยๆ

ความหนาวและความเหงาเข้ามาแทนที่

ผมหลับลงไปด้วยความอ่อนเพลีย ถุงนอนที่ซื้อมา ยังคงช่วยให้ความอบอุ่นแก่ร่างกายได้เป็นอย่างดี


สรุปเส้นทางวันนี้

Shree Karka (4060 m) > Landslide Area (4230 m) > Tilicho Base Camp (4140 m) > Tilicho Lake (49xx m)

จาก Shree Karka ไป Tilicho Base Camp ใช้เวลา 2 ชั่วโมงครึ่ง ถึง 3 ชั่วโมง

จาก Tilicho Base Camp ขึ้นไปที่ Tilicho Lake ใช้เวลา ประมาณ 3 ชั่วโมงครึ่ง ถึง 4 ชั่วโมง



2/3/59

เช้านี้ผมสั่งพิซซ่ามาทาน ราคา 430 รูปี

เพราะเจ้าของที่พักบอกว่า ถ้าไม่สั่งอาหาร จะคิดค่าห้อง 500 รูปี ซึ่งผมช็อคมาก เพราะเมื่อวานเค้าบอกแค่ 150 รูปี

สุดท้าย ทานพิซซ่าเสร็จ ค่าห้องพักลดมาเหลือ 300 รูปี ซึ่งผมก็ยังไม่พอใจ

ยืนต่อราคาอยู่นาน แต่เจ๊เจ้าของก็ไม่ยอมลดให้ สุดท้ายเลยต้องยอมจ่ายไป แอบรู้สึกเซ็ง ปนโกรธนิดๆ

(มองย้อนกลับไปตอนนี้ก็ตลกดี อาหารก็ไม่สั่ง ดันจะเอาที่พักราคาถูก ทำไมงกขนาดนั้น 55555)


ผมออกจาก Tilicho Base Camp ตอน 7 โมงนิดๆ


ช่วงที่ผ่าน Landslide ขากลับ ดันมีหินไหลลงมา ทำให้ทางขาด

ผมก็ลังเล ว่าจะเอายังไงดี จะกระโดดข้ามก็กลัวพลาดตกลงไปข้างล่าง

สุดท้าย ก็ค่อยๆก้าวข้ามมาได้


ข้ามอันแรก มาเจอทางขาดอันที่สอง ครั้งนี้ก็เสียวไม่แพ้กัน

แต่ก็ยังสามารถผ่านมาได้ด้วยดี


ช่างเป็นทางที่อันตรายเสียจริงๆ


ผมเดินกลับมาที่ Shree Karka ใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมงครึ่ง เหมือนตอนขาไป


ผมนั่งแพ็คกระเป๋าใหม่อยู่ 15 นาที ก่อนจะออกเดินต่อ

ซึ่งจาก Shree Karka จะมีทางตัดขึ้นไป ไม่ต้องผ่านหมู่บ้าน Khangsar



เดินขึ้นเนิน ลัดเลาะไปริมเขาเรื่อยๆ ก็จะมาโผล่ที่ Old Khangsar


ซึ่งเป็นหมู่บ้าน Khangsar ดั้งเดิม ก่อนที่จะย้ายลงไปอยู่ด้านล่างแทน

ทำให้บ้านบริเวณนี้ กลายเป็นบ้างร้างๆ เหลือแต่ซากปรักหักพัง ไม่มีคนอยู่อาศัย


จาก Old Khangsar ก็ยังคงต้องเดินลัดเลาะภูเขาไปเรื่อยๆ


ซึ่งจะมีสัญลักษณ์บอกทางเป็นระยะๆ ไม่ต้องกลัวหลง


เดินมาเรื่อยๆ จะมาโผลที่ปลายเขา ซึ่งผมขอเรียกว่า 3 แยก


มองลงไปจะเห็นหมู่บ้าน Manang อยู่ไกลๆด้านล่าง


ตอนนั้นเป็นเวลาเที่ยงพอดี

ผมเลยนั่งพัก กินพิซซ่าที่เหลือจากเมื่อเช้า ชิวๆกลางแสงแดด


จาก 3 แยก เราจะต้องเดินลงเขา ไปที่แม่น้ำด้านล่างนั่นแหละครับ


เพื่มข้ามสะพานไปยังภูเขาด้านขวา

ซึ่งแค่เห็นผมก็ท้อแล้ว เดินลง แล้วยังต้องเดินขึ้นอีก เห้ออ


ใกล้ถึงด้านล่างแล้วว


ลงเขานานๆ ทำให้ปวดนิ้วโป้งเท้ามากๆครับ ต้องคอยจิกดินตลอดเวลา


ข้ามสะพานแขวนไปยังอีกฝั่ง จะเจอร้านให้นั่งพัก


ผมสั่งชามะนาวมากิน ราคา 80 รูปี

รสชาติแบบ เอิ่มม... ไม่อร่อยเลยสักนิด ชามะนาวบ้าบออะไรก็ไม่รู้


กินชามะนาว นั่งพักจนหายเหนื่อย ก็เดินขึ้นเขาต่อ


ระหว่างทางเห็นวิวสวย เลยแวะถ่ายรูปซักหน่อย

ดูท่าสิครับ สะดิ้งเชียว 55555+


เดินขึ้นเขามา 1 ชั่วโมง ก็มองเห็นหมู่บ้าน Yak Kharka อยู่ไม่ไกล


เดินมาถึงหมู่บ้าน Yak Kharkar ที่ความสูง 4030 เมตร ตอนบ่าย 3 กว่า


แต่ว่าแรงยังเหลือ ผมเลยเดินต่อ

ตั้งใจจะไปให้ถึงหมู่บ้าน Ledar ซึ่งอยู่ห่างออกไปอีกไม่ไกล ประมาณ 2 กิโลเมตร


ออกจากหมู่บ้าน Yak Kharkar ก็ต้องเดินขึ้นเขาต่อ น้ำในกระเป๋าผมก็ใกล้หมด


คอผมก็เริ่มแห้ง แถมบริเวณนี้ก็ไม่มีที่ให้เติมน้ำ

ทำได้เพียงแค่อดทน และเดินต่อไป


ใช้เวลา 1 ชั่วโมง ในที่สุดก็มาถึงหมู่บ้าน Ledar ที่ความสูง 4220 เมตร

ผมนี่ลิ้นห้อยเลย ทั้งเหนื่อย ทั้งหิว แฮ่กกๆๆ


ถามราคาที่พัก เค้าบอก 200 รูปี แต่ผมต่อจนเหลือ 100 รูปีจนได้


และก็ถามว่ามีน้ำร้อนให้อาบรึเปล่า เค้าก็บอกว่ามี


หลังจากเก็บของเข้าห้องพัก ก็ออกมาอาบน้ำ

ซึ่งนี่ที่มีเครื่องทำน้ำอุ่น แต่ก็พังอีกเช่นเคย



สุดท้าย เค้าเลยหิ้วน้ำอุ่นมาให้ผม 1 กระแป๋ง

ต้องอาบแบบประหยัดสุดๆอีกแล้ว

แต่ผมก็ใช้อาบหมดถังพอดี สดชื่นสุดๆ


อาบน้ำเสร็จก็ต้องซักผ้า ซึ่งใกล้ๆห้องน้ำจะมีก๊อกน้ำ ที่มีน้ำไหลอยู่ตลอดเวลา

ซักไปก็สั่นไป น้ำมันเย็นมากๆ เพราะไหลมาจากบนเขาสูง และอากาศก็หนาวมากๆ


มื้อเย็นผมสั่งแพนเค้ก ราคา 250 รูปี มากิน และทาแยมช็อคโกแลตที่พกมา

มันอร่อยมากกก เป็นอาหารที่อร่อยที่สุดตั้งแต่เดินมาเลย ผมพึ่งมาค้นพบวันนี้



ช่วงเย็นผมก็นั่งอยู่แต่ในห้องอาหาร นั่งมองคนอื่นทำกิจกรรมกัน


บางคนก็นั่งเล่นไพ่ บางคนก็จับกลุ่มคุยกัน

บางคนเขียนบันทึกอะไรสักอย่าง บางคนก็อ่านหนังสือ

หรือบางคนก็นั่งเล่นเกมโทรศัพท์

ทุกคนมาจากหลายประเทศทั่วโลก แต่มารวมตัวกันอยู่ที่นี่ เพื่อเดินเทรคบนเส้นทาง Annapurna Circuit


ส่วนมากจะมากันหลายคน ไม่ค่อยมีใครมาคนเดียวเหมือนผมสักเท่าไหร่


เวลาเกือบ 2 ทุ่ม ผมก็ออกจากห้องอาหารไปแปรงฟัน ก่อนเข้านอน


ซึ่งผมไม่ค่อยเห็นฝรั่งแปรงฟันกันสักเท่าไหร่ ไม่รู้เค้าแปรงฟันกันรึเปล่านะ


สรุปเส้นทางวันนี้


จาก Tilicho Base Camp ถึง Ledar ระยะทางไม่แน่ใจ น่าจะ 10 กว่ากิโลเมตร

Tilicho Base Camp (4200 m) > Shree Karka (4060 m) > 3 แยก (4150 m) > แม่น้ำด้านล่าง (3840 m) > Yak Kharka (4030 m) > Ledar (4220 m )


เส้นทางวันนี้ขึ้นๆลงๆ ลัดเลาะไปตามเขาเรื่อยๆ

เริ่มเดินจาก Tilicho Base Camp ตั้งแต่ 7 โมงเช้า จนถึง Ledar เวลา 4 โมงเย็น



3/3/59


มื้อเช้า ผมซื้อน้ำร้อน ครึ่งลิตร ราคา 200 รูปี มาทำโจ๊กกินกับเนสวีต้า

น้ำร้อนแพงมากก ต่อราคา ก็ไม่ยอมลด เลยต้องจำใจจ่ายไป

และซื้อข้าวเปล่าอีก 1 จาน ราคา 230 รูปี เทใส่กล่อง เอาไว้กินตอนกลางวัน


หลังจากนั้นก็เก็บของ เริ่มออกเดินตอนประมาณ 8 โมงเช้า


มองย้อนกลับไปด้านหลัง เห็นที่พักอยู่ไกลๆ


ออกจากหมู่บ้าน เดินเลียบภูเขามาประมาณ 1 ชั่วโมง ก็จะเป็นทางลงเขาไปที่แม่น้ำด้านล่าง


เราจะต้องข้ามสะพานไปอีกฝั่งนึง และเดินต่อไปจนถึงหลืบเขาด้านใน ก็จะถึง Thorung Phedi ครับ


ระหว่างทางมี Landslide Area ด้วยครับ แต่ไม่ได้น่าหวาดเสียวเหมือนทางไป Tilicho Lake


เป็นทางสั้นๆ นิดเดียว


ในที่สุดก็มาถึง Thorung Phedi ที่ความสูง 4520 เมตร


ระยะทาง 5 กิเลเมตร ใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง จาก Ledar


ที่ Thorung Phedi จะมีห้องพักให้บริการ สามารถพักที่นี่ แล้วตอนเช้าค่อยเดินขึ้นไป Thorung La Pass ก็ได้


แต่ผมเลือกที่จะเดินขึ้นไปพักที่ High Camp เลย พรุ่งนี้จะได้ไม่ต้องเหนื่อยมาก


จาก Thorung Phedi ไปที่ High Camp เราต้องเดินขึ้นเขาด้านหลังครับ


เป็นทางชันพอสมควร เพราะต้องขึ้นจากความสูง 4520 เมตร ไปที่ความสูง 4870 เมตร


หลังจากนั่งพัก จนหายเหนื่อย


ผมก็เริ่มเดินขึ้นทันที


ผมเดินตามนักท่องเที่ยวกลุ่มนึง ซึ่งเจอกันตั้งแต่เมื่อวาน

และเมื่อเช้าก็เดินตามเค้ามาเรื่อยๆ


ทางขึ้นนี้ เหนื่อยมากๆครับ เดินซิกแซก วนไปวนมา ค่อยๆขึ้นไปทีละนิด

เหนื่อยเหมือนตอนเดินขึ้น Tilicho Lake เลย

เดินไปได้ไม่กี่ก้าวก็ต้องหยุดพักเหนื่อย


การแบกกระเป๋าหนัก 20 โล เดินขึ้นเขาที่ความสูง 4000 กว่าเมตร มันไม่ง่ายเลยจริงๆครับ

ขอให้เป็นครั้งแรก และครั้งสุดท้าย ที่ผมจะแบกของหนักขนาดนี้ขึ้นเขา 5555


จาก Thorung Phedi ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง


ในที่สุด ก็ขึ้นมาถึง High Camp ที่ความสูง 4870 เมตร


ที่ High Camp จะมีทีพักอยู่หลายหลังครับ มีทั้งห้องเตียงคู่ ราคา ห้องละ 350 รูปี


และเหมือนจะมีห้องที่เป็น Dorm ด้วยครับ


นักท่องเที่ยวที่ผมเดินตามขึ้นมา ชวนผมไปนอนด้วยในห้อง เพราะเค้ามากัน 5 คน

เลยเหลือเตียงว่าง 1 เตียงพอดี เพราะไม่คบคู่ ผมก็ตกลงทันที


หลังจากเก็บของเข้าห้องพัก ผมก็เอาข้าวเปล่าที่ซื้อมาเมื่อเช้า


ออกมากินกับพะโล้ซองโรซ่าทันที เพราะเริ่มหิว


ขึ้นมาถึงด้านบน ไม่ควรล้มตัวลงนอนนะครับ ผมแนะนำให้ออกไปเดินชมวิวรอบๆที่พัก


เพื่อเป็นการปรับตัวกับความสูงครับ จะได้ไม่เกิดอาการแพ้ความสูง หรือที่เรียกว่า AMS นั่นเอง


ซึ่งถือว่าผมโชคดีมากๆ ที่ไม่เกิดอาการนี้ เพราะผมไม่ได้เตรียมตัว หรือกินยาอะไรเลย

และถ้าเป็น ผมก็ไม่รู้จะหันไปพึ่งใครเลยจริงๆ


บริเวณด้านหลัง จะมีเนินเขาขึ้นไปด้านบน ซึ่งเป็นจุดชมวิวที่สวยมากๆครับ

พร้อมแล้ว เดินขึ้นไปกันเลยดีกว่า


ขึ้นมาด้านบน ก็จะเห็นภูเขาแบบ 360 องศาครับ


อลังการงานสร้างมากจริงๆ ผมนี่ตะลึงไปชั่วขณะ


ซูมเข้าไปใกล้ๆ


ถ่ายรูปซะหน่อย อิอิ


อันนี้คือยอดเขาอะไร ผมก็ไม่รู้เหมือนกันครับ แต่มันยิ่งใหญ่มากจริงๆ


มองกลับมาด้านหลัง จะเห็นที่พักอยู่ด้านล่าง


และด้านหลังจะมีทางอยู่ มันคือทางเดินไปสู่ Thorung La Pass นั่นเองครับ


หลังจากชมวิวเสร็จ ผมก็เดินลงมาด้านล่าง


และเข้าไปหาอะไรทานในห้องอาหาร


ซื้อน้ำร้อนครึ่งลิตร ราคา 75 รูปี มาชงกาแฟ และเนสวีต้า กินกับขนมปังและโอรีโอ้

อร่อยและอิ่มสุดๆครับ พลังเพิ่มขึ้นมาเยอะเลย


กินเสร็จก็ออกไปเดินชมวิวต่อ คราวนี้จะเดินขึ้นไปที่เขา ทางขึ้น Thorung La Pass


เดินตัวเปล่าโดยไม่ต้องมีกระเป๋าที่หนัก 20 กิโล มันสบายตัวมากๆครับ เดินง่ายๆ ชิวๆเลย


แปปเดียวก็ขึ้นมาถึงด้านบนแล้ว


ผมถ่ายรูปเล่นอยู่ด้านบนเกือบๆ ชั่วโมง ซึ่งลมแรง และหนาวนิดหน่อย


ก่อนจะลง เลยตั้งกล้องจะถ่ายรูปตัวเอง

ตั้งเวลาไว้ 10 วิ พอหันกลับมาอีกที ขาตั้งและกล้อง ล้มลงไปที่พื้นดังโครมม !

ผมนี่ช็อคเลยย ใจเสียสุดๆ

โชคดีที่กล้องเลนส์ไม่เป็นอะไรมาก แค่ถลอกที่ตัวกล้องนิดหน่อย


ชมวิวจนอิ่ม ผมก็ค่อยๆเดินกลับลงมา แวะเก็บของที่ห้อง


ก่อนจะมานั่งเล่นที่ห้องอาหาร เพราะอุ่นกว่าข้างนอกมากมาย

นักท่องเที่ยวในห้องอาหารเยอะพอสมควรเลยครับ

ผมดีใจมาก เพราะพรุ่งนี้จะได้มีเพื่อนเดินขึ้น Thorung La Pass

ไม่ต้องกลัวหลง แค่เดินตามๆเค้าไป


ผมมานั่งนึก นี่ก็ 11 วันแล้ว เดินมาได้ 100 กว่ากิโลเมตร กับกระเป๋าหนัก 20 กว่าโล

เราทำได้ยังไงเนี่ย ไม่คาดคิดว่าจะพาตัวเองมาถึงจุดนี้ได้จริงๆ


มื้อเย็น ผมลองสั่ง Chapati ราคา 120 รูปี มาลองกินดู เป็นแป้งแผ่นเหนียวๆ กรอบๆ


ผมเอามาทาช็อคโกแลตกิน อร่อยใช้ได้เลยทีเดียว


ก่อนจะกลับไปที่ห้อง กินแกงกระหรี่โรซ่ากับข้าวที่เหลือ


และสุดท้าย ตอนค่ำๆ ไปสั่ง Chapati อีกจาน เพราะติดใจ

กินตุนไว้ พรุ่งนี้ต้องใช้แรงเยอะ 55555



ในห้องอาหาร เจอแผ่นนี้แปะอยู่ เป็นแผนที่กรุงเทพ ฮ่าๆ


คืนนี้เป็นอีกคืนที่ไม่ได้อาบน้ำ เพราะมันไม่มีน้ำให้อาบแล้วครับ


หลังจากแปรงฟัน ผมก็นอนหลับไปตั้งแต่ 2 ทุ่มครึ่ง


ตื่นขึ้นมาอีกที 4 ทุ่มครึ่ง เพราะท้องเสีย เดินไปเข้าห้องน้ำข้างนอก

ลมแรงมากๆ หนาวสุดๆไปเลย

นั่งส้วมไป ก็สั่นไป ฟินนน


สรุปเส้นทางวันนี้

จาก Ledar ถึง High Camp ระยะทางประมาณเกือบๆ 7 กิโลเมตร

Ledar (4220 m) > Thorung Phedi (4520 m) > High Camp (4870 m)

วันนี้เดินไม่ไกลครับ แต่เหนื่อยพอสมควร เพราะต้องเดินขึ้นหลายร้อยเมตร

จาก Ledar ถึง Thorung Phedi ใช้เวลา 2 ชั่วโมง และขึ้นไปที่ High Camp อีก 1 ชั่วโมง



4/3/59

เมื่อคืน ผมไม่ได้ใช้ถุงนอนที่ซื้อมา เพราะที่พักมีผ้าห่มผืนหนาๆใหญ่ๆให้

ผมแค่ขดตัวเป็นหนอน และก็นอนคุมโปรง ไม่ให้ความร้อนออกไปจากผ้าห่ม

ก็นอนหลับสบาย จนถึงเช้าเลยครับ


ตื่นขึ้นมาอีกทีตอน ตี 4 กว่า ท้องไส้ผมยังปั่นป่วนไม่หาย

ออกไปล้างหน้า แปรงฟัน หนาวมากๆครับ มือชาและแดงเลยทีเดียว


ก่อนจะเข้าไปขอน้ำร้อนที่ครัว มาทำโจ๊กและเนสวีต้ากิน

และเตรียมตัวออกเดินทางต่อครับ


ก่อนจะเริ่มเดิน เลยเข้าไปซื้อน้ำร้อนอีก 1 ลิตร ราคา 150 รูปี

เอาไว้เป็นน้ำกินระหว่างทาง



ผมเริ่มเดินตอนเกือบๆ 6 โมงเช้า แสงบนท้องฟ้าสวยมากจริงๆ


ช่วงแรกๆก็เดินตามใครไม่ทันหรอกครับ โดนคนอื่นแซงไปหมด

แต่ก็ยังมีคนตามหลังมาเรื่อยๆครับ เพราะบางคนก็เริ่มเดินจาก Thorung Phedi


ผ่านธารน้ำแข็งเล็กๆ


มองไปด้านหลัง ยังมีคนเดินตามมาเรื่อยๆ


ถึงจะเหนื่อย แต่เดินสนุกมากจริงๆครับ เช้านี้


มนุษย์ตัวเล็กไปเลย เมื่อเทียบกับภูเขา


เดินต่อไปเรื่อยๆ เหนื่อย เมื่อย ก็ทนเอา


จาก High Camp เดินมาประมาณ 45 นาที ก็จะเจอโรงน้ำชาครับ


มีเครื่องดื่ม และขนมขาย แต่ราคาน่าจะแพงเอาเรื่อง


หลักจากนั่งพักจนหายเหนื่อย ผมก็ออกเดินต่อ


ยังคงเป็นทางขึ้นเขา ขึ้นมาเรื่อยๆ เส้นทางชัดเจนครับ


บางคนเดินเร็ว บางคนเดินช้า

ส่วนผมเดินเหมือนเต่าครับ คล่อยๆก้าวไปทีละนิด


จากตอนแรกที่เดินตามกันเป็นขบวน หลังๆเริ่มทิ้งระยะห่างกันไปเรื่อยๆครับ


คนเดินเร็วก็นำไปไกล ผมก็ยังคงเดินคนเดียวเหมือนเดิม


ถามว่าเหนื่อยไหม ต้องบอกว่าเหนื่อยมากครับ


และหายใจก็ลำบากด้วย ผมเดินๆหยุดๆ ตลอดทาง

เพราะถ้าเดินติดต่อกันนานๆ จะหายใจไม่ทันเลยครับ


ใครเดินไม่ไหว ก็มีม้าให้บริการนะครับ


ค่าบริการน่าจะหลายพันรูปี


ขึ้นมาด้านบน จะเริ่มเป็นทางเดินบนหิมะครับ


ซึ่งโชคดี วันที่ผมมา อากาศดี ท้องฟ้าแจ่มใส และมีนักท่องเที่ยวเดินกันเยอะ

ทำให้มีรอยเท้าอยู่บนเส้นทาง ผมก็แค่เดินตามรอยเท้าไปเรื่อยๆ


ถ้าไม่มีรอยเท้าให้เดินตาม และไม่มีลูกหาบนำทาง


ผมว่าอาจจะมีหลงแน่ๆ


เดินขึ้นเขามาเรื่อยๆ ในที่สุด ก็มาถึง Thorung La Pass ที่ความสูง 5416 เมตร


ผมใช้เวลา 2 ชั่วโมง 40 นาที จาก High Camp


อากาศด้านบนหนาว และลมแรงมากๆครับ หนาวจนน้ำมูกไหล


เห้ย ! เราทำได้ว่ะ ผมแอบภูมิใจในตัวเองนิดๆ


หลังจากที่ต้องเดินจากความสูง 800 กว่าเมตร

ขึ้นมาที่ Thorung la Pass ความสูง 5416 เมตร

ใช้เวลาเดินนานเป็น 10 วัน ระยะทางร้อยกว่ากิโล

มันไม่ง่าย ไม่ง่ายเลยจริงๆ


ถ่ายรูปคู่กะป้ายซะหน่อย แต่ธงมนต์ด้านหลังนี่บังป้ายซะมิดเลย



มีขึ้นก็ต้องมีลงครับ เราต้องเดินลงเขาไปที่ Muktinath ความสูง 3670 เมตร


ทางลงก็อย่างที่เห็นครับ ต้องลัดเลาะไปตามเขาเรื่อยๆ


เดินขึ้นว่ายากแล้ว แต่เดินลงก็ยากไม่แพ้กัน


เวลาลง ต้องจิกปลายเท้า ทำให้ปวดเท้ามากๆครับ และทางก็ชันด้วย


เดินลง เป็นอะไรที่น่าเบื่อมากๆครับ ไม่สนุกเลยจริงๆ


เดินเท่าไหร่ก็ไม่ถึงสักที


จาก Thorung La Pass เดินลงมาประมาณ 2 ชั่วโมงครึ่ง


จะมาถึงร้านอาหารครับ สามารถนั่งพักเหนื่อย สั่งอาหารและเครื่องดื่มมาทานได้


แต่ผมแวะนั่งพักจนหายเหนื่อย แล้วก็เดินต่อทันที เพราะอยากไปให้ถึง Muktinath จะได้พักทีเดียว


เดินต่อมาอีกชั่วโมงนิดๆ ก็มาถึงหมู่บ้าน Muktinath ที่ความสูง 3670 เมตร


รวมๆแล้ว ใช้เวลาลงจาก Thorung La Pass เกือบ 4 ชั่วโมงเลยทีเดียว


ผมเดินหาที่พักอยู่นาน จนไปเจอโรงแรม Bob Marley


สอบถามราคา เจ้าของบอกว่าไม่คิดค่าที่พัก ถ้าสั่งอาหารกิน


ผมเลยตกลงเข้าพักทันที เป็นที่พักใหญ่พอสมควรครับ มีห้องพักหลายสิบห้อง

ด้านบนมีร้านอาหาร


หลังจากผมเข้าห้องพัก อาบน้ำเสร็จ ก็ขึ้นไปหาอะไรทานบนร้านอาหารของที่พัก

ซึ่งเมนูส่วนใหญ่จะเป็นอาหารฟาสฟู้ด ราคาแพงๆ 500-1000 รูปี

ผมเลยสั่ง Dal Bhat เพราะถูกที่สุด ราคา 400 รูปี


รสชาติไม่อร่อยเลยครับ มีแต่ผัก 55555

แต่ก็ได้เยอะ กินจนอิ่มเลยทีเดียว ถ้าไม่อิ่มก็ขอเพิ่มได้


ที่โรงแรมมีไวไฟให้ใช้ แต่ตอน 4 โมงเย็น ไฟดันดับ

ผมเลยออกมาเดินเล่นรอบๆเมือง


ที่เมืองนี้จะมีจุด Check Post อยู่ด้วยครับ


ให้เราลงชื่อ ว่าเราลงจาก Thorung La Pass มาแล้ว และจะไปไหนต่อ


ที่ Muktinath จะมีพวกนักบวช นักแสวงบุญ และชาวบ้าน มาแสวงบุญที่วัดเมืองนี้กันเยอะ


ส่วนใหญ่จะนั่งรถบัส และเหมารถมาจาก Jomsom ครับ


ช่วงเย็น อากาศหนาวขึ้นเรื่อยๆ


กว่าไฟจะมา ก็เกือบ 6 โมงเย็น


ในที่พัก จะมีเตาผิงไฟอยู่ด้านล่าง ตอนเย็นก็จะมีนักท่องเที่ยวมากมาย มานั่งผิงไฟคลายหนาวกัน

ทำให้ไวไฟอืดมากๆ เล่นไม่ค่อยจะได้ เพราะแย่งกันใช้หลายสิบคน


มื้อเย็นผมเลยสั่ง Chapati มา 2 แผ่น ราคา 200 รูปี กินกับช็อคโกแลต

และนั่งมองคนอื่นกินพิซซ่า แฮมเบอร์เกอร์ กันอย่างเอร็ดอร่อย

ผมมีเงินครับ แต่ไม่กล้ากิน เพราะเสียดาย หรือเรียกว่างกนั่นเอง 5555555


นั่งเล่นจนถึง 3 ทุ่มกว่า ก็เข้าห้องไปนอนพักผ่อน


สรุปเส้นทางวันนี้

ระยะทางรวมจาก High Camp ถึง Muktinath ประมาณ 14 กิโลเมตร

จาก High Camp ถึง Thorung La Pass ประมาณ 4 กิโลเมตร

และจาก Thorung La Pass ถึง Muktinath ประมาณ 10 กิโลเมตร

High Camp (4870 m) > Thorung La Pass (5416 m) > Muktinath (3670 m)

High Camp ถึง Thorung La Pass ใช้เวลา 3 ชั่วโมง

Thorung La Pass ถึง Muktinath ใช้เวลา 4 ชั่วโมง



5/3/59

ผมตื่นขึ้นมาตอน 6 โมงเช้า อากาศหนาวพอสมควร

มื้อเช้าซื้อน้ำร้อนครึ่งลิตร 50 รูปี มาทำโจ๊กกินเหมือนเช่นเคย


หลังจากอิ่มก็เก็บของออกจากที่พัก


เดินไปเรื่อยๆ ตามทาง ก็ไปเจอสถานีรถบัส

ซึ่งจากที่ผมหาข้อมูลมา จะมีรถบัสจาก Muktinath ไปที่ Jomsom


ตอนแรกผมกะจะเข้าไปถามราคา แต่เหลือบไปเห็นผู้หญิงกลุ่มนึง จะเดินไป Jomsom


ขนาดผู้หญิงยังเดิน แล้วผมจะไม่เดินได้ไง


(ตอนหลังมารู้ราคา ค่ารถบัสจาก Muktinath ไปที่ Jomsom อยู่ที่ 850 รูปีครับ)


ถนนที่ Muktinath มีแต่ฝุ่นครับ ผมก็เดินเตะฝุ่นไปเรื่อยๆ ชิวๆ


วิวข้างทาง


ผ่านหมู่บ้าน Jharkot ความสูงลดลงมาเหลือ 3520 เมตร


เดินลงเขาไปเรื่อยๆ มีนักท่องเที่ยวเดินไป Jomsom เหมือนกันครับ


แต่ก็ไม่มากเท่าไหร่ ส่วนใหญ่จะนั่งบัสไปกันมากกว่า


รถวิ่งผ่านที ฝุ่นก็ฟุ้งที


รถวิ่งผ่าน 10 คัน ฝุ่นก็ฟุ้ง 10 ที


วิวภูเขาแถวนี้ จะเป็นเขาโล้นๆ แห้งๆครับ ไม่ค่อยมีต้นไม้สักเท่าไหร่


จาก Muktinath ใช้เวลา 3 ชั่วโมงนิดๆ ระยะทางประมาณ 11 กว่ากิโล


เดินท่ามกลางแสงแดดที่ร้อนระอุ แต่อากาศเย็นๆ


ในที่สุดก็มาถึงหมู่บ้าน Kagbeni ที่ความสูง 2850 เมตร


ผมมาเจอกับนักท่องเที่ยวกลุ่มเดิม ที่เจอกันด้านบนเขา เลยเดินตามไปเรื่อยๆ


ตามแผนเดิม ผมจะพักที่ Kagbeni หนึ่งคืน และค่อยเดินไป Jomsom ในวันรุ่งขึ้น


แต่นักท่องเที่ยวกลุ่มนี้จะไปเดินไป Jomsom เลย ผมก็เลยเดินตามไป


เดินต่อมาเรื่อยๆ จนถึงหมู่บ้าน Ekle Bhatti เป็นเวลาเที่ยงพอดี


เลยแวะพักทานอาหารกลางวัน


ผมสั่งชานมกับขนมปังทาน้ำผึ้ง ราคา 200 รูปี


เนื่องจากนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ ทานอาหารกันนาน ผมรอไม่ไหว


ก็เลยออกเดินต่อคนเดียว


ทางเดินไป Jomsom ไม่ยากครับ แต่ลมแรงมากๆๆๆ พัดทีตัวแทบปลิว


และฝุ่นก็เยอะมากๆเช่นกัน เป็นการเดินที่ไม่สนุกเอาเสียเลย


เดินท่ามกลางความอ้างว้าง และแห้งแล้ง


ท่ามกลางสายลมที่พัดเกือบตลอดเวลา


ลมแรงมากๆครับ เป็นพายุขนาดย่อมๆเลยทีเดียว


ใช้เวลาจากเกือบๆ 3 ชั่วโมงจาก Ekle Bhatti


และแล้วผมก็เดินมาถึง Jomsom ในเวลาเกือบบ่าย 3



ผมมาถึง Jomsom ด้วยอาการมึนงง เพราะไม่รู้ว่าคืนนี้จะพักที่ไหน และพรุ่งนี้จะเอายังไงต่อดี


สอบถามชาวบ้าน ได้ความมาว่า

จาก Jomsom จะมีรถลงไปที่ Tatopani ราคา 800 รูปี

และเราสามารถเดินต่อไปยัง Poon Hill ได้ ก่อนจะกลับ Pokhara


ซึ่งตอนแรกที่วางแผนมา ผมกะจะค่อยๆเดินลงไปเรื่อยๆจาก Jomsom

แต่คิดไปคิดมา เลยคิดว่านั่งรถไปน่าจะดีกว่า เพราะแถวนี้ก็วิวไม่ค่อยสวยเหมือนตอนแรกๆแล้ว


ผมเดินวนไปวนมาอยู่ในหมู่บ้าน Jomsom

ถามที่พักนู้นก็เต็ม ที่พักนี้ก็เต็ม


กว่าจะได้ที่พักก็เกือบ 5 โมงเย็น

สอบถามตอนแรก ราคา 200 รูปี แต่ผมต่อจนเหลือ 100 รูปี

มีไวไฟและน้ำอุ่นให้ใช้ อยู่แถวๆ Old Jomsom ซึ่งอยู่ใกล้ๆสนามบิน Jomsom


มื้อเย็นเลยสั่งแพนเค้กมากินให้หายอยาก

ก่อนจะนั่งเล่นเน็ต ส่งข่าวให้ที่บ้าน และนอนหลับไปด้วยความเพลีย


สรุปเส้นทางวันนี้

ระยะทางรวมจาก Muktinath ถึง Jomsom ประมาณ 23 กิโลเมตร

Muktinath (3670 m) - Kagbeni (2840 m) - Jomsom (2740 m)

เส้นทางฝุ่นค่อนข้างเยอะ ยิ่งช่วง Kagbeni ไป Jomsom ลมแรงมากๆ พัดทีตัวแทบปลิว

วันนี้เป็นวันที่เดินเยอะที่สุดตั้งแต่เดินมา



6/3/59

ผมตื่นขึ้นมาตั้งแต่ตี 5 ครึ่ง เพื่อจะได้ไม่พลาดรถบัส ที่ต้องไปซื้อตั๋วแต่เช้า

หลังจากล้างหน้าแปรงฟัน ทานข้าวเรียบร้อย

ผมก็เก็บของออกจากที่พัก


ตอนเดินออกจากที่พัก ผมลังเลมากๆ ว่าจะไป Poon Hill ต่อ หรือว่าจะกลับ Pokhara เลยดี


เพราะตอนนั้น รู้สึกเหนื่อย เบื่อ ขี้เกียจ และไม่ค่อยสนุกเหมือนวันแรกๆแล้ว

และสภาพเท้าของผมนั้นก็ไม่ค่อยโอเค เนื่องจากเดินลงเขาติดๆกันหลายวัน ทำให้นิ้วเท้าบวม และมีหนองไหล

สุดท้าย เลยเลือกที่จะกลับ Pokhara เลยละกัน


ผมเดินมาซื้อตั๋วรถบัสใกล้ๆที่พัก ซึ่งมีชาวบ้านมารอซื้อกันเยอะมากๆ

ผมโชคดีที่ "เจมส์" หนุ่มชาวจีนที่ผมเจอในที่พักเมื่อคืน เบียดชาวบ้านเข้าไปซื้อตั๋วให้

ซึ่งเมื่อคืน ผมและเจมส์ได้คุยกัน และตกลงกันว่าจะไป Poon Hill ด้วยกัน

แต่ตอนเช้าผมดันเปลี่ยนใจจะกลับ Pokhara ทำให้เจมส์ก็จะกลับด้วยเช่นกัน


ได้ตั๋วรถไปที่ Beni มา ในราคาคนละ 1400 รูปี


นี่ครับ ช่องขายตั๋ว ตอนแรกคนเยอะกว่านี้

ถ้าไม่ได้เจมส์เบียดเข้าไปซื้อตั๋วให้ ผมคงไม่ได้ตั๋วมาแน่นอน


และนี่คือรถที่เราจะนั่งลงไปด้านล่างครับ


สภาพเก่าและโทรมมาก เบาะด้านในแคบสุดๆ


เวลา 7.30 น. คนขึ้นมาจนเต็มรถ ก็ได้เวลาออกเดินทาง


ทางจาก Jomsom ลงมาด้านล่าง สภาพทางแย่มากๆครับ เป็นทางลัดเลาะไปตามเขา


หัวนี่สั่นดุ๊กดิ๊กตลอดทาง นั่งมาประมาณ 1 ชั่วโมงครึ่ง รถจะจอดให้ลงไปเข้าห้องน้ำประมาณ 10 นาทีครับ


เสร็จแล้วก็ออกเดินทางกันต่อ


รถจะขับลงเขามาเรื่อยๆ อากาศก็เริ่มร้อน ฝุ่นบนรถก็ตลบอบอวล


ถนนบนเขามีแค่ 1 เลนถ้วน เวลารถสวนกันก็ต้องชะลอ ขับเร็วไม่ได้เลย

ยิ่งบนเขานี่ บางทีต้องหยุดให้รถอีกฝั่งไปก่อน

ฝั่งนึงก็ภูเขา ฝั่งนึงก็เหว นั่งไปก็ลุ้นไป เห้อ

เหนื่อยและเพลียมากๆครับ


ใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมงครึ่ง จากจุดพักรถ ก็จะมาถึง Tatopani ที่ความสูง 1190 เมตร

รวมๆแล้วใช้เวลา 4 ชั่วโมง จาก Jomsom ครับ


คนบนรถส่วนใหญ่จะลงที่หมู่บ้านนี้ เพราะจะเดินไป Poon Hill กันต่อ

แต่ผมขอบาย เดินไม่ไหวแล้วจริงๆ


คนขับรถลงไปทานข้าวประมาณ 15 นาที ก่อนจะออกเดินทางกันต่อ


ออกจาก Tatopani จะเป็นทางลงเขาไปเรื่อยๆ ฝุ่นนี่ฟุ้งไปทั้งรถเลยครับ


แถมรถก็ส่ายไปส่ายมาตลอดทาง

นั่งรถไป ฟังเพลงเนปาลไป

โอ้ยย หนูเพลียค่ะพี่โชเฟอร์ ! ถนนจะแย่อะไรปานนี้


ใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมงกว่าๆ จาก Tatopani ในที่สุดก็มาถึง Beni ตอนบ่าย 2 ครึ่ง


ที่ Beni จะมีรถบัสจอดอยู่เยอะแยะเลยครับ


มีคนเดินเข้ามาถามว่าจะไปไหน ผมบอกว่าไป Pokhara เค้าก็ชี้ให้ไปซื้อตั๋วได้เลย


นี่ครับ รถบัสไป Pokhara ตั๋วราคา 210 รูปี


ขึ้นรถบัสมา นั่งรออยู่นาน รถก็ไม่ออกสักที


สุดท้ายต้องรอจนคนเต็มรถนานครึ่งชั่วโมง กว่าจะได้ออกเดินทาง


เซลฟี่ซะหน่อยย


นั่งรถจาก Beni ผ่านหมู่บ้านต่างๆมากมาย ลัดเลาะไปตามภูเขา


เอียงซ้ายเอียงขวา แวะส่งคนนู้น แวะรับคนนี้

ในที่สุดก็มาถึง Pokhara ตอนประมาณ 6 โมงเย็น


รถบัสปล่อยผมและเจมส์ลงตรงสามแยก ซึ่งต้องเดินไปที่ Phewa lake อีกประมาณ 2 กิโล


ผมลงรถมาด้วยความเพลีย วันนี้เป็นการนั่งรถที่ทรมานสุดๆ นั่งตั้งแต่เช้าจรดเย็นเลยทีเดียว


กว่าผมและเจมส์จะเดินหาที่พักได้ ก็เกือบๆ 1 ทุ่ม

ซึ่งอยู่ไม่ไกลจาก Phewa Lake

ราคาคืนละ 450 รูปี


ช่วงค่ำก็เดินเล่น หาอะไรกินแถวที่พัก ก่อนจะกลับห้องมานอนหลับไปด้วยความอ่อนล้า



7/3/59

วันนี้ ผมไม่ได้ไปไหนไกลครับ

เดินเล่นรอบๆเมือง Pokhara และนอนอยู่แต่ในที่พัก


เจมส์จะบินกลับกาฐมาณฑุ และบินกลับจีน


ส่วนผม จากที่วางแผนมาตอนแรกจะอยู่เนปาลเกือบๆ 1 เดือน

กลายเป็นว่าทุกอย่างผิดแผน ผมเดินเทรค และกลับลงมาเร็วกว่าที่คิด

ทำให้มีเวลาเหลือเยอะ สุดท้ายเลยตัดสินใจ เดินเที่ยวใน Pokhara อีก 1 วัน

และนั่งรถไปอินเดีย เพื่อรับความบันเทิงอีก 1 เดือนเต็ม ในวันพรุ่งนี้


สายๆออกมาเดินเล่นริมทะเลสาบ ซึ่งก็ไม่ค่อยมีอะไรมาก


ลองทานอาหารข้างทานราคาถูกๆดู รสชาติใช้ได้ ราคาไม่แพง


เป็นผัดหมี่เนื้อควาย และเกี๊ยวซ่าเนื้อควาย

ราคาจานละแค่ 30 รูปี ได้เยอะมากๆ ต้องแบ่งเก็บใส่กล่องเลยทีเดียว


ที่ Pokhara จะมีร้านขายพวกอุปกรณ์เดินป่าเหมือนกันครับ


แต่ก็จะน้อยกว่าที่ ทาเมล และราคาก็น่าจะแพงกว่าด้วย

แนะนำให้ซื้อจาก ทาเมล เลยจะดีกว่าครับ


วิวจากที่พัก


ตอนเย็น ผมไปสอบถามราคารถบัส จาก Pokhara ไปที่ Sonauli ซึ่งเป็นชายแดนระหว่างเนปาล และอินเดีย


ร้านแรก บอกราคา 750 รูปี ร้านที่สองราคา 600 รูปี

แต่ผมก็ยังไม่ซื้อ เพราะคิดว่าไปซื้อตั๋วที่ท่ารถพรุ่งนี้น่าจะถูกกว่า



วันรุ่งขึ้น ผมเดินไปที่ Tourist Bus Park ระยะทาง 3 กิโล เพราะไม่อยากนั่งแท็กซี่ราคาแพง

มาถึงที่ท่ารถ มีคนเดินเข้ามาถามว่าจะไปไหน ผมบอกจะไป Sonauli

เค้าก็พาไปขึ้นรถ สุดท้ายผมโดนค่ารถไป 750 รูปี เจ็บใจเหลือเกิน

รู้งี้น่าจะซื้อตั้งแต่เมื่อวาน ไม่น่างกเลยจริงๆ


รถออกจาก Pokhara ตอน 7 โมงครึ่ง


ระหว่างทางถนนแย่มาก อากาศก็ร้อนอบอ้าว ที่นั่งก็เบียด

ได้แต่ทนไปเรื่อยๆ


ระหว่างทาง รถยางแตก ต้องเสียเวลาเปลี่ยนอีก 15 นาที


มาถึง Sonauli ตอน 4 โมงเย็น ใช้เวลานานมาก เกือบ 9 ชั่วโมง


รถจะมาจอดที่ Bhairahawa Bus Park

เราต้องนั่งริคชอว์หรือสามล้อ ไปที่ชายแดนอีก 3 กิโลเมตรกว่าๆ

ผมต่อราคาได้ 200 รูปี


มาถึงชายแดน เราต้องประทับตราออกจากเนปาล และประทับตราเข้าอินเดีย


นี่เป็นครั้งแรกที่ผมจะได้เข้าอินเดียแล้ว ตื่นเต้นสุดๆ


หลังจากเข้าอินเดียมาแล้ว มีนักท่องเที่ยวจะไปสถานีรถไฟ Gorakphur เหมือนกัน


จึงรวมกลุ่มกัน แชร์รถจี๊ปไปที่สถานีรถไฟ คนละ 150 รูปีอินเดีย


คนขับก็ลีลามาก ไม่ยอมไปสักที กว่าจะออกรถก็เกือบ 6 โมงเย็น


บนรถเบียดกันมากๆครับ อัดกันไป 9 คน


คนขับก็ขับช้าสุดๆ ความเร็วแค่ 50-60

ถนนก็โครตแย่ อยากขับเลนไหนก็ขับกัน มั่วซั่วไปหมด


กว่าจะมาถึงสถานีรถไฟ Gorakphur ก็ตอน 3 ทุ่ม

ผมลงรถมาพร้อมกับอาการเมารถ เวียนหัว และคลื่นไส้สุดๆ

เพราะโดนคนข้างๆนั่งทับและเบียด อึดอัดสุดชีวิต

นี่เป็นครั้งแรกที่ผมเมารถเลยทีเดียว


ผมเดินงงๆเข้าไปในสถานีรถไฟ โอ้พระเจ้า คนเยอะมากมายมหาศาล

ซวยแล้วไง ผมไม่ได้จองตั๋วล่วงหน้ามา เพราะต้องใช้เบอร์อินเดียในการจอง


ผมเดินเข้าไปที่ช่องขายตั๋ว ขอซื้อตั๋วไป Dehli

ได้ตั๋วมาหนึ่งใบ ราคา 255 รูปี เป็นตั๋วไม่ระบุที่นั่ง เป็นรถไฟชั้น 3 คล้ายๆรถไฟฟรีบ้านเรา


ได้ตั๋วแล้ว แต่ยังไม่ได้กินข้าวเลย หิวสุดๆ

เลยเดินไปหน้าสถานีรถไฟ มองหาร้านที่คิดว่าน่าจะถูกที่สุด


ได้ข้าวผัดเครื่องเทศอะไรมาก็ไม่รู้ ราคา 40 รูปี

กินไปก็จะอ้วกไป อาการเมารถยังคงไม่หาย

เลยต้องฝืนกินจนหมด เพื่อบรรเทาความหิว


และซื้อน้ำอัดลมมาอีก 1 ขวด เผื่อความซ่าจะช่วยให้อาการเมารถคลายลง

และมันก็ได้ผลจริงๆ อาการเมารถของผมค่อยๆบรรเทาลงไปเรื่อยๆ


เดินผ่านร้านโทรศัพท์มือถือ ตัดสินใจซื้อซิมพร้อมสมัครเน็ต ราคา 500 รูปี


เพื่อใช้ติดต่อที่บ้าน และใช้ในการจองรถไฟ


เวลาผ่านไปจนถึง 5 ทุ่ม ผมควรจะได้ขึ้นรถไฟ

แต่พอเช็คอีกที ก็พบว่า รถไฟดีเลย์ 2 ชั่วโมง เป็นตอนตี 1 แทน

ผมนั่งๆนอนๆอยู่บนม้านั่งในสถานีรถไฟด้วยความเพลีย


ในที่สุด เวลาตี 1 รถไฟก็เข้ามาเทียบที่ชานชาลา

ผมมองเข้าไปในโบกี้ที่ผมต้องเข้าไปนั่ง แล้วก็ต้องช็อค ! ช็อคมากกก

คนเบียดแน่นกันเป็นปลากระป๋อง ทั้งนั่งทั้งยืนกันเต็มไปหมด ไม่มีที่ให้เดินเข้าไปเลย


จังหวะนั้น ผมเลยแอบเนียน เดินเข้าไปในโบกี้ชั้น 2 ซึ่งเป็นรอยต่อระหว่างรถไฟ

และแอบนั่งอยู่ข้างๆห้องน้ำ ในใจก็กลัวเจ้าหน้าที่เดินมาเห็น

แต่จะทำไงได้ ให้ผมขึ้นไปเบียดในโบกี้ชั้น 3 ผมได้ตายแน่ๆ


สุดท้ายเจ้าหน้าที่เดินมาเจอผมจริงๆ

เจ้าหน้าที่พาผมเข้าไปในห้องโดยสาร ซึ่งเป็นตู้นอนชั้น 2

มีเตียง มีแอร์อย่างดี ผมนึกว่าเจ้าหน้าที่จะใจดีให้ผมนอนในนี้

ที่ไหนได้ เดินมาบอกว่า ถ้าจะนอนในนี้ ต้องจ่ายเงิน 1500 รูปี

ผมช็อคอีกครั้ง และผมก็ได้แต่บอกว่าไม่มีตัง


เจ้าหน้าที่เลยบอกให้ผมออกไปที่ข้างห้องน้ำเหมือนเดิม และรอรถไฟจอด



รถไฟยังคงแล่นไปเรื่อยๆ ในที่สุด ก็เข้าเทียบชานชาลาที่สถานีแห่งหนึ่งในเวลาเกือบตี 2

เจ้าหน้าที่เดินมา และบอกให้ผมย้ายไปนั่งในโบกี้ชั้น 3


ผมเดินลงรถไฟมา ด้วยความมึนงง และอ่อนเพลีย

โบกี้ชั้น 3 เต็มไปด้วยผู้คนมากมาย แม้แต้ทางเดินขึ้น ยังไม่มีที่จะให้ผมก้าวขึ้นไป

รถไฟใกล้จะออกเต็มที ผมก็ไม่รู้จะทำไง

สุดท้าย ผมก็ต้องกระโดนขึ้นไปที่โบกี้ชั้น 3 พร้อมกระเป๋าทั้งหน้าและหลังที่แบกมาด้วย


ทุกคนที่นั่งและยืนอยู่ มองมาที่ผมด้วยสายตาเอือมระอา

จะเดินก็เดินไปไหนไม่ได้ ทางเดินบนรถไฟ มีคนนั่งอยู่เต็มไปหมด

ที่ให้วางกระเป๋าก็ไม่มี


ผมยืนแบกกระเป๋าอยู่สักพัก ก็มีคนอินเดีย ช่วยเคลียช่องเก็บกระเป๋าด้านบน

และช่วยยกกระเป๋าไปเก็บในช่องให้

ผมรู้สึกขอบคุณเค้ามากๆ เพราะถ้าไม่ได้เค้าช่วย ผมต้องยืนแบกกระเป๋าไปตลอดทางแน่ๆ



หลังจากนั้นผมก็ไม่รู้จะทำยังไงต่อ เลยได้แต่ยืนไปเรื่อยๆ เพราะไม่มีที่ให้นั่งแม้แต้เซนเดียว


ผมยืนหลับๆตื่นๆอยู่นาน จนเริ่มทนไม่ไหว ความง่วงชนะทุกสิ่ง

ผมเห็นเบาะมันว่างอยู่ติ๊ดนึง ซึ่งปกติเบาะมันนั่งได้แค่คนเดียว

แต่ตอนนั้นก็มีคนนั่งอยู่แล้ว 2 คน นั่งกันเบียดสุดๆ แทบจะนั่งตักกันอยู่แล้ว

ผมเลยเข้าไปกระแซะๆ แย่งเค้านั่งบ้าง กลายเป็นว่า เบาะเล็กๆเบาะเดียว ต้องนั่งกัน 3 คน


แล้วก็นั่งหลับมันอยู่อย่างนั้นจนเช้า ทรมานสุดๆ เดี๋ยวหลับเดี๋ยวตื่นทั้งคืน


เช้าแล้วคนก็ยังเยอะอยู่เหมือนเดิม มีคนลง ก็มีคนขึ้นมาใหม่

จะลุกไปไหนก็ไม่ได้ ไม่งั้นที่นั่งได้หายแน่นอน


โชคดีตอนเช้ามีคนลุก ผมเลยรีบเข้าไปเสียบทันที

แต่ก็ยังคงนั่งเบียดๆอยู่เหมือนเดิม


สรุปทั้งวันไม่ได้ลุกไปไหนเลย

ห้องน้ำก็ไม่ได้เข้า อากาศก็ร้อนอบอ้าว


ดูอย่างในรูปด้านล่างนี้ จะเห็นว่าไม่มีใครสนใจใครทั้งนั้น

ใครจะนั่งตรงไหนก็นั่ง ตีนใครจะแกว่งไปแกว่งมาก็ไม่มีใครบ่น

ที่เก็บกระเป๋าด้านบนกลายเป็นที่นอน บางคนเอาเปลมาผูกก็มี

ช่างเป็นการเดินทางที่สนุกจริงๆ


ในที่สุดผมก็มาถึง Dehli ตอน 4 โมงเย็น


เกือบ 15 ชั่วโมงบนรถไฟชั้น 3 เป็นอะไรที่สุดๆจริงๆ

ใครอยากสัมผัสความเรียล ใกล้ชิดกับคนอินเดีย แนะนำเลยครับ 5555555


ส่วนการเดินทางที่เหลือในอินเดีย ผมขอไม่เขียนนะครับ


เพราะผมก็ไม่ค่อยได้ไปเที่ยวที่ไหน

ส่วนใหญ่จะนอนอยู่แต่ในที่พัก และก็ย้ายเมืองไปเรื่อยๆ ซึ่งก็ไม่มีอะไรน่าสนใจมาก


ถ้างั้น ผมขอจบรีวิว Annapurna Circuit ไว้เพียงเท่านี้นะครับ




ข้อมูลเล็กๆ น้อยๆ เกี่ยวกับเส้นทาง Annapurna Circuit


ที่พัก

ที่พักบนเขาส่วนใหญ่ราคาไม่แพงครับ แค่ไม่กี่สิบบาท บางที่พักฟรีด้วยซ้ำ

ในห้องนอน จะเป็นเตียงเดี่ยวๆ 2 เตียง

แต่ละหมู่บ้าน จะมีที่พักอยู่เยอะครับ ไม่ต้องจองล่วงหน้า ยังไงก็มีเพียงพอสำหรับนักท่องเที่ยว


อาหาร

อาหารราคาค่อนข้างสูงนิดนึง ถ้ากินแบบจัดเต็ม มื้อนึงประมาณ 150-300 บาท

และอาหารค่อนข้างหลากหลายครับ ทั้ง ข้าวผัด มักกะโรนี พิซซ่า พาสต้า เกี๊ยวซ่า แพนเค้ก แกงกะหรี่ มูสลี่

และอื่นๆอีกมากมาย ยังไงก็ไม่อดตายแน่นอน

ซึ่งรายได้ของชาวบ้านส่วนใหญ่ ก็มาจากอาหารนี่แหละครับ


น้ำดื่ม

บางหมู่บ้านจะมี Safe Drinking Water ซึ่งเป็นสถานีน้ำดื่ม

มีน้ำที่ผ่านการกรองและฆ่าเชื้อแล้ว ราคาลิตรละ 10-20 บาท

ซึ่งถ้าหมู่บ้านไหนไม่มี ผมก็จะกรอกน้ำกินจากก๊อกเลยครับ ซึ่งไม่ควรทำตาม

ถ้าใครกลัวสกปรก ก็ซื้อเม็ดยาฆ่าเชื้อจากทาเมลไปก็ได้ครับ

หรือจะซื้อเครื่องกรองน้ำที่เป็นแบบถุงน้ำ ราคา 4000-5000 บาทไปก็ดีครับ

ส่วนน้ำขวดตามที่พัก ขวดนึงประมาณ 50-100 บาทครับ แพงเอาเรื่องเหมือนกัน


เส้นทา

ใครที่ไปคนเดียว ไม่ต้องกลัวหลงครับ เส้นทางค่อนข้างชัดเจน

ตามเส้นทางจะมีสัญลักษณ์บอกตลอด ซื้อแผนที่สักเล่ม เดินได้สบายๆ

ยกเว้นวันที่ข้ามพาสครับ ถ้าอากาศดี ฟ้าเปิด นักท่องเที่ยวเยอะ

เดินตามๆคนอื่นไป ยังไงก็ไม่มีหลง

แต่ถ้าอากาศไม่ดี เส้นทางไม่ชัดเจน อันนี้ก็เสี่ยงพอสมควรครับ


อุปกรณ์ที่จำเป็น

- เสื้อแจ็คเก็ตกันฝน กันลม

- เสื้อขนเป็ด หรือ Down Jacket ผมใช้ Mountain Hardwear Thermostatic กันหนาวได้ดี

- ลองจอน หรือ Base Layer 1-2 ชุด

- เสื้อยืดแห้งเร็ว 2-3 ตัว

- เสื้อแขนยาว ใส่กันแดดวันแรกๆ หรือถ้าไม่กลัวแดด ก็ไม่ต้องมีก็ได้ครับ

- กางเกงกันลม หรือ Soft Shell ใส่เวลาอากาศหนาวๆ หรือใส่นอนครับ

- กางเกงแห้งเร็ว ใส่เวลาเดินอากาศร้อนๆ

- ถุงเท้าแบบบาง 2 คู่ ใส่เดินวันแรกๆ ที่อากาศร้อน

- ถุงเท้าแบบหนา 2 คู่ ใส่เดินตอนอากาศหนาวๆ หรือใส่นอน

- รองเท้าสำหรับเทรค พวก Columbia, TNF, Merrell, Keen ผมใส่ Columbia มือสองคู่ละไม่กี่ร้อย แต่ก็ใช้ได้ดี

- รองเท้าแตะ ใส่ช่วงเย็น เวลาพักผ่อน

- หมวกกันหนาวแบบไหมพรม หรือแบบไหนก็ได้ ผมใช้ Icebreaker Merino Wool กันหนาวได้ดีเลย ที่ทาเมลมีขาย ใบละ 3000-4000 รูปี

- ผ้าบัฟ อันนี้สำคัญสุดๆ ผมเทรค 10 กว่าวัน ไม่ได้ทาครีมกันแดด แต่หน้าคล้ำลงไปนิดเดียว

- แว่นกันแดด ก็สำคัญไม่แพกัน

- ถุงมือ Liner ใส่กันแดด มีหรือไม่มีก็ได้

- ถุงมือกันหนาว

- ไฟฉายคาดหัว

- แผนที่ ซื้อที่ทาเมล 300 รูปี บอกละเอียดพอสมควร

- กระติกน้ำ Nalgene ซื้อที่ทาเมล ราคา 400 รูปี ใช้ใส่น้ำร้อน เผื่ออยากชงอะไรกิน

- ถุงน้ำ มีก็ดี ไม่มีก็ได้ แต่ผมใช้ตลอดการเดินทาง เพราะสะดวก ไม่ต้องหยิบกระติกน้ำออกมา

- ถุงนอน ซื้อที่ทาเมล แบบ -10 องศา ราคา 4000 รูปี ของ The North Face แต่เป็นของปลอม ใช้กันหนาวได้ดี

- Trekking Pole ผมไม่ได้เตรียมไป แต่ใช้ขาตั้งกล้องแทน 55555

- กระเป๋า Backpack แนะนำพวก Deuter, Osprey, Gregory, Lowe Alpine ส่วนตัวผมใช้ Osprey Ariel 65 + Quarsar

หรือถ้าจ้างลูกหาบ ก็หากระเป๋า Duffle ใบใหญ่ๆใส่ไปเลยครับ

- อาหาร ถ้าอยากประหยัดงบ พวกหมูหยอง อาหารซองโรซ่า โจ๊กซอง

- ช็อคโกแลต และสแน็คบาร์


ผมพกหม้อและเตาแก๊สไปด้วย สุดท้ายก็ไม่ได้ใช้ เพราะไม่ได้ซื้อแก๊ส เปลืองเนื้อที่ และหนักสุดๆ


- เดินคนเดียวได้ไหม ?

ผมเดินได้ ทุกคนก็เดินได้ครับ ถ้าไม่รักตัว กลัวตาย ลุยเลยครับ

ซึ่งจริงๆผมก็ไม่แนะนำให้ไปคนเดียว ควรจะจ้างลูกหาบสักคน จะทำให้เดินสนุกมากกว่าแบกเองแน่นอน


- ต้องออกกำลังกาย หรือฟิตร่างกายแค่ไหนก่อนจะมาเดิน ?

ตัวผมเอง ไม่ได้เตรียม หรือฟิตร่างกายอะไรก่อนมาเลย

ประสบการณ์เดินเขาของผม สูงที่สุดที่เคยเดิน ก็แค่ภูเขาไฟ Merbabu ที่อินโดนีเซีย สูงเพียง 3200 กว่าเมตรเท่านั้น

นอกจากนั้นก็ภูเขาในประเทศไทยธรรมดาๆ พวก ดอยหลวงเชียงดาว, ภูสอยดาว, ดอยม่อนจอง

ถ้าให้แนะนำ ผมว่าควรออกกำลังกาย ฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อที่ขาก่อนไปก็ดีครับ


- เหนื่อยมากไหม ?

เหนื่อยครับ เพราะผมแบกของเองทุกอย่าง

ถ้าจ้างลูกหาบสักคน ไม่เหนื่อยมากครับ เดินตัวปลิว สบายๆ


แต่ถ้าขึ้นไปที่สูงเกิน 3500 เมตร จะเริ่มหายใจลำบากครับ

ทำให้เดินได้ไม่กี่ก้าว ก็ต้องหยุดพัก เพราะหายใจไม่ทันจริงๆ



- ค่าใช้จ่าย เอาแบบกลางๆนะครับ

ค่าวีซ่า 15 วัน 25 USD , 30 วัน 40 USD

ค่า Permit 2 ใบ 4000 รูปี

ค่าที่พักบนเขาคืนละ 50-150 รูปี

ค่าที่พัก Kathmandu , Pokhara คืนละ 400-2000 รูปี

ค่าอาหารแบบอิ่มๆ วันละ 1500 - 3000 รูปี

ค่าลูกหาบวันละ 15-20 USD

ค่าเดินทาง 4000 รูปี

ค่าตั๋วเครื่องบิน 10000-15000 บาท


- Annapurna Circuit ใช้เวลาน้อยสุดกี่วัน ?

ประมาณ 10 วันครับ แบบรวบรัดเลย เดินรวมๆประมาณ 65 กิโลเมตร

วันที่ 1 Bangkok to Kathmandu

วันที่ 2 Kathmandu to Chame (นั่งรถไปที่ Besisahar และแชร์จี๊ปขึ้นไปที่ Chame )

วันที่ 3 Chame to Lower Pisang (17 KM)

วันที่ 4 Lower Pisang to Bhraga (13 KM)

วันที่ 5 rest day in Manang

วันที่ 6 Manang to Ledar (11.5 KM)

วันที่ 7 Ledar to High Camp (6.2 KM)

วันที่ 8 High Camp - Thorung La Pass - Muktinath (14 KM)

วันที่ 9 Muktinath - Jomsom

วันที่ 10 Jomsom บินไป Pokhara บินต่อไป Kathmandu และกลับ Bangkokสรุป



การเดินบนเส้นทาง Annapurna Circuit ไม่ยาก และก็ไม่ง่ายครับ

ใครชอบความลำบาก เดินเหนื่อย เมื่อยขา ได้เห็นวิวภูเขาสูงๆ มีหิมะปกคลุมสวยๆ

วันๆไม่ต้องทำไรมาก แค่เดินแล้วก็เดิน ตกเย็นก็มานั่งชมวิว ชิวๆ จิบชา กาแฟ เกร๋ๆ

กลับมาก็มีรูปไปอวดเพื่อนๆ อัพลงไอจี เฟสบุ๊ค โอ้ยย แนะนำเลยครับ

ควรไปอย่างยิ่ง ชีวิตนึงได้ทำอะไรแบบนี้ ตื่นเต้นดีนะครับ



ทริปนี้เป็นทริปนี้ยาวนานมากครับ รวมแล้ว 48 วัน

ไม่มีวันไหนไม่คิดถึงบ้านเลย 55555

หลายครั้งที่ท้อ หลายครั้งที่เหนื่อยจนแทบขาดใจ แต่ผมก็สามารถผ่านมันมาได้

ผมคิดว่าผมแข็งแกร่งขึ้นมากจริงๆ ความอดทนนี่เพิ่มขึ้นเยอะเลย

จากวันแรกที่ต้องแบกกระเป๋าหนัก 20 กว่ากิโล แล้วแทบจะทรุดลงไป

แต่วันหลังๆนี่ผมแบกเดินได้อย่างชิวๆ



ทริปนี้ผมหมดเงินไปประมาณ 31,000 บาท

เป็นทริปนี้แบบยาจกมากๆครับ ต้องแบกอาหารไปกิน

บางมื้อก็อด บางมื้อก็กินจนพุงกาง

มันไม่ใช่การไปเที่ยว แต่มันคือการไปทรมานตัวเองดีๆนี่เอง

ทรมานทั้งร่างกายและจิตใจ เหมือนเป็นการต่อสู้ และเอาชนะความกลัว



สุดท้ายแล้ว ผมก็ผ่านมันมาได้อย่างน่าภาคภูมิใจ (มั้ง) 55555

รู้สึกขอบคุณตัวเอง ที่เอาชีวิตรอดกลับมาได้



สำหรับผม ประเทศเนปาล สวยมากๆครับ ใครชอบเดินป่าปีนเขา ไม่ควรพลาดอย่างยิ่ง

ที่สำคัญ ค่าใช้จ่ายก็ถูกมากๆ ที่พักบนเขาคืนละไม่กี่สิบบาท

แต่อาหารอาจจะแพงสักหน่อย ถ้าแบกไปเอง ก็ประหยัดไปได้แน่นอน



ส่วนอินเดีย คนอินเดียน่ารักนะครับ บางคนดูจริงใจและเป็นมิตร

แต่ประเทศนี้สกปรกจริงๆครับ ไปทางไหนก็มีแต่ขยะ ขี้วัวนี่ให้เกลื่อน

หลายคนอาจจะไปเจอเหตุการณ์ร้ายๆ ไม่ประทับใจ

ซึ่งผมก็เจอมาเหมือนกัน หลายๆครั้งที่อารมณ์เสีย เพราะพวกชอบตื๊อ

แต่เชื่อมั้ย ผมอยู่อินเดียเกือบเดือน ผมไม่โดนคนอินเดียโกงเลย

มีแต่ผมเนี่ยแหละ ไปโกงคนอินเดียซะเอง 55555555

ถ้าคนชอบเที่ยว ดูวิถีชีวิตของผู้คน แนะนำเลยครับ อินเดียมันสุดยอดจริงๆ

แต่สำหรับผมที่ชื่นชอบธรรมาชาติ ก็คงไม่เหมาะกับการเที่ยวอินเดียสักเท่าไหร่



สุดท้ายแล้ว

ขอบคุณทุกท่านที่ผ่านเข้ามา และอ่านจนจบนะครับ สวัสดีครับ


ความคิดเห็น