มาค่ะ !! วันนี้จะพาไปทำความรู้จักกับวัดพระศรีสรรเพชญ์กัน นอกจะได้เที่ยวถ่ายรูป ตามรอยออเจ้ากันแล้ว เราต้องได้รู้จักประวัติศาสตร์ด้วยค่ะ

lrwnxpp6asb4
aoa212ermgh4

(1) วัดพระศรีสรรเพชญ์ ตั้งอยู่ในเขตอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ต.ประตูชัย อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา

(2) สาเหตุที่เรียกว่า "วัดพระศรีสรรเพชญ์" นั้น เพราะตั้งชื่อตามพระพุทธรูปที่หล่อด้วยทองสำริด ประดิษฐานอยู่ในวิหารหลวง ในปี พ.ศ.2042 โดยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ทรงโปรดเกล้าให้สร้างพระวิหารหลวงขึ้น และทรงหล่อพระพทธรูปยืนสูงประมาณ 16 เมตรหุ้มด้วยทองคำหนักประมาณ 171 กิโลกรัม


l06ahz8y2uf1


(3) เดิมเป็นพระราชวังที่ประทับของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ต่อมาในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงสร้างพระราชมณเฑียร (ที่อยู่ของกษัตริย์) ขึ้นใหม่จึงยกพระราชวังให้เป็นเขตพุทธาวาส สำหรับประกอบพิธีสำคัญต่างๆ ของบ้านเมือง


oceb2dc4coi7
7xkww6k7jlid

(4) วัดพระศรีสรรเพชญ์เป็นวัดประจำพระราชวัง เหมือนกับ วัดมหาธาตุ จ.สุโขทัย และวัดพระศรีรัตนศาสดาราม(วัดพระแก้ว) ในกรุงเทพฯ แต่เป็นวัดที่ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา

(5) เนื่องจากเป็นวัดในวังหลวงอยุธยา จึงเป็นต้นแบบให้มีวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) ในกรุงเทพฯ เพื่อเป็นที่ประดิษฐานของพระคู่บ้านคู่เมือง (กรุงรัตนโกสินทร์)


vowrjrnay23x
o6icit9x9645


(6) จุดเด่นภายในวัดมีพระเจดีย์ 3 องค์ เป็นทรงระฆังแบบลังกา เปรียบเจดีย์ทั้ง 3 เหมือนญาติพี่น้องกัน

เจย์ดีองค์ตะวันออก และ เจดีองค์กลาง สร้างโดยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ในปี พ.ศ. 2035 เพื่อบรรจุพระอัฐิของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พระราชบิดา) และ พระบรมอัฐิของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 (พระบรมเชษฐา)

เจดีย์องค์ตะวันตก สร้างโดยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4 (สมเด็จพระหน่อพุทธางกูร ) เพื่อบรรจุพระบรมอัฐิของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 (พระราชบิดา)


dndhlvxb1uaq
vz904iksubfy
byi6l34njxwr


(7) ภายในวัดมี "เจดีย์ดีราย" ที่รายล้อมอยู่ทั้งหมด 33 องค์ มีการบรรจุพระบรมอัฐิของกษัตริย์กรุงศรีอยุธยาเกือบทุกพระองค์ เช่น สมเด็จพระนารายณ์ สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง สมเด็จพระเพทราชา สมเด็จพระเจ้าท้ายสระ สมเด็จพระเจ้าเสือ และอัฐิของพระบรมวงศานุวงศ์อื่นๆ


3uld32blttcs
12dknckvdnoc
u5e8rqn6h8s6


(8) ซากปรักหักพังที่แทรกอยู่ระหว่างพระเจดีย์ประธาน เชื่อว่าเป็น มณฑป ปัจจุบันเหลือเพียงซากฐานสี่เหลี่ยมด้านเท่า ซึ่งเป็นฐานเฉพาะของมณฑป


oazeo7rvayq1



ขอบคุณสำหรับการติดตามค่ะ
แล้วพบกันใหม่ในการเดินทางครั้งต่อไปนะคะ
ไปตามกันต่อได้ที่ วันศุกร์ขึ้นเขาวันเสาร์ลงห้วย

ความคิดเห็น