เมื่อปีที่แล้ว บันทึกเที่ยวในความทรงจำ ได้มีโอกาศเดินทางข้ามไปยัง เมืองไกสอนพรหมวิหาน สะหวันเขต สปป.ลาว เพื่อไปเที่ยวชม วัดวาอารามและไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่่ชาวลาวนับถือกันมากอีกแห่งหนึ่งนั้นก็คือ พระธาตุอิงฮัง ซึ่งเชื่อกันว่ามีอายุในการก่อสร้างไล่เลี่ยกันกับพระธาตุพนม ของไทย

สถานที่นี้เป็นที่เคารพสักการะของชาวพุทธ ทั้งลาว และไทยตลอดจนนักท่องเที่ยวทั่วไปที่นับถือพุทธศาสนา ต่างก็มักมาแสวงบุญและท่องเที่ยวกันที่นี่ เราใช้สะพานมิตรภาพไทย-ลาว มุกดาหาร หลังทำพิธีการตรวจคนเข้าเมืองเรียบร้อย เราขับรถเข้าสู่เมืองลาวทันที

ในครั้งนี้เรามุ่งหน้าตั้งใจ มาที่พระธาตุอิงฮัง เป็นการเฉพาะ เมื่อเราขับรถเข้ามาถึงฝั่งลาวประมาณ เกือบหนึ่งกิโลเมตรจะพบกับ วงเวียนไดโนเสาร์ แล้วเลี้ยวซ้ายมือ ไปตามทางหลวงหมายเลข 13 ขึ้นมา ทางเมืองเซโน บ้านโพนสิม ระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตร เจอป้ายบอกทางเข้าพระทาดอิงฮัง แล้วเลี้ยวขวาเข้าไปอีก ประมาณเกือบ 2 กม.


ทางเข้าไปสู่พระทาดอิงฮัง ขณะกำลังพัฒนาในช่วงที่เข้าไปในตอนนั้น ยังเป็นทางลูกรังอยู่ ซึ่งก็ถือว่าสะดวกพอสมควร ใช้เวลาขับรถเข้ามาไม่ถึง 5 นาที ก็มาถึงลานจอกรถด้านหน้า องค์พระทาด เสียค่าจอดอีก ประมาณ 2,000 กีบ และเมื่อจะเข้าไปด้านในองค์พระทาดอิงฮัง ก็เสียค่าเข้าไปอีก ชาวลาว 2,000 กีบ ต่างชาติ 5,000 กีบ ซึ้งโดยรอบองค์พระธาตุจะสร้างเป็นกำแพงโดยรอบ มีประตูทางเข้าหลายด้าน



เมื่อเข้ามาแล้วด้านในจะมี ขันหมากเบ็งขายให้กับนักท่องเที่ยวที่จะเอาไปบูชา องค์พระทาดอิงฮังอีกด้วย ขายอยู่บริเวณทางเข้าองค์พระทาดนั้นเอง และรอบผนังกำแพงของพระะธาตุด้านใน ยังมีพระพุทธรูปองค์เล็ก ๆ เรียงรายโดยรอบ ทั่วกำแพงหลายร้อยองค์เลยทีเดียว

ในบันทึกเรื่องของการสร้างพระธาตุอิงฮังนี้ ที่เป็นข้อมูลของชาวลาว ได้บันทึกไว้เป็นภาษาลาวว่า " พะทาดอิงฮังเป็นเจดีที่บันจุกะดูกของสมเด้ดพะพุดทะเจ้า ส้างขึ้นเมื่อปี พ.ส. 500 เพื่อเป็นอะนุสอนไว้ว่าคั้งหนึ่งพะพุดทะเจ้า ได้มาโผดสัดในดินแดนสุวันนะพูมแห่งนี้ และได้นั่งสันเข้าอิงต้นฮังยู่ จึ่งใส่ชื่อว่า " ทาดอิงฮัง "

ซึ่งบันทึกท่องเที่ยวในความทรงจำ ในการได้มาเยือนกราบไหว้องค์พระธาตุอิงฮัง เมืองสะหวันนะเขต ในครั้งนี้นั้น จึงขอนำเรื่องราวการสร้างพระธาตุและความเป็นมาในที่ต่าง ๆ มาบันทึกไว้เป็นความรู้ของผู้เขียนอีกด้วย ซึ่งการบันทึกเรื่องราวก็มีความแตกต่างกันออกไป ต่างได้ความรู้ในมุมมองต่างกัน และดูอีกบันทึกหนึ่งขององค์พระธาตุอิงฮังนี้ว่า



ในประวติการสร้างพระธาดุอิงฮัง นี้สร้างขึ้นราว พ.ศ. 400 ในสมัยอาณาจักรศรีโคตรบูร มีความสูง 25 เมตร ก่อสร้างด้วยอิฐถือปูนโบราณ ฐานรอบองค์พระธาตุกว้างแต่ละด้าน 9 เมตร มีประตูเข้าภายในองค์พระธาตุ ทั้ง 4 ด้าน และรอบด้านขององค์เจดีย์ มีภาพแกะสลักนูนต่ำ เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ได้รับการบูรณะในสมัยอาณาจักรล้านช้าง และสมัยฝรั่งเศสปกครอง

องค์พระธาตุได้รับการบูรณะมาในหลายสมัย ในครั้งรัชสมัยของพระเจ้าฟ้างุ้ม ช่วงปี พศ.1892 เมื่อพระองค์รวบรวมอาณาจักรลาว ให้เป็นปีกแผ่น พระองค์ก็ได้ทำนุบำรุงองค์พระธาตุให้มีความสวยงามเจริญขึ้นมากในยุคพระองค์


และในปี พศ.2492 ประชาชนชาวลาว ร่วมแรงร่วมใจสละเงินทุนทรัพย์ พัฒนาพระธาตุอิงฮัง ด้วยการขยายอาณาพื้นที่สร้างเป็นกำแพงโดยรอบและ สร้างประตูโขง สร้างศาลาโรงธรรม ให้กับผู้มากราบไหว้บูชาได้มีที่พักพิง ทำพิธีกรรมของทางวัด อีกด้วย

โดยรอบขององค์พระธาตุ มีการแกะสลักลายนูนต่ำอย่างสวยงาม และภายในองค์พระธาตุนี้ ได้มีการอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ ส่วนกระดูกสันหลังของพระพุทธเจ้ามาประดิษฐานไว้ภายใน



ในทุกวันทางวัดพระธาตุอิงฮังจะเปิดให้กับผู้คนได้เข้าไปเที่ยว และกราบไหว้ขอพรกัน ตั้งแต่เวลา 08.00 จนถึงเวลา 16.30 น. และในทุกปีจะมีการจัดงานนมัสการองค์พระธาตุในช่วงเดือน ธันวาคม ในงานมีขบวนแห่เทียน การฟ้อนรำถวายองค์พระธาตุอย่างยิ่งใหญ่ ผู้คนนับหมื่นๆ ร่วมงานอย่างยิ่งใหญ่เป็นประจำทุกปี





ในการได้มาเยือนองค์พระธาตุอิงฮังในครั้งนี้ จึงขอบันทึกทุกเรื่องราวความเป็นมา ไว้ในบันทึกท่องเที่ยวในความทรงจำ ของผู้เขียน ได้รับรู้ประเพณีอันดีงาม ศิลปะวัฒนธรรมของท้องถิ่นต่าง ๆ ที่ได้ไปเยือน มาบันทึกไว้เป็นความรู้ทรงจำดี ๆ ให้คงอยู่ตลอดไป..
โดย.ณ วงเดือน
วันพฤหัสที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 เวลา 09.43 น.